ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนชดเชยทรัพยากรกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิริเดช คำสุพรหม คณบดี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี

คำสำคัญ:

ส่วนชดเชยทรัพยากร, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

ส่วนชดเชยทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรใช้ในการปรับตัวทางการวางแผนและควบคุมนโยบายรวมถึงการกำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญเพื่อนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จและเพิ่มมูลค่าให้กับผลการดำเนินงาน งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนชดเชยทรัพยากรกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารระดับสูงและรายงานประจำปีของสถานประกอบการ โดยใช้แบบสอบถามและกระดาษทำการเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลตัวอย่างจากองค์กร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบ 3 วิธี ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ส่วนชดเชยทางองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานสำหรับส่วนชดเชยทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานของบริษัท โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานและส่วนชดเชยทรัพยากรขององค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานเช่นกัน นอกจากนี้ ยังพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนชดเชยทรัพยากรขององค์กรกับผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด คือความสัมพันธ์ทางอ้อมของส่วนชดเชยทรัพยากรขององค์กร ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการส่วนชดเชยทางองค์กรที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ส่วนชดเชยทางการเงินมีประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน นำมาสู่ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

References

ชลลดา เลิฟ, และพัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2562). ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลกับคุณภาพกำไร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 179-194.

พุทธิสุทธ์ ตรีรัตน์ดิลกกุล, และพัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2562). โครงสร้างเงินทุน นโยบายการจ่ายเงินปันผลและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 70-91.

Artie, N., & Wai, M. W. (2018). Slack resources and quality performance: case of a mega health care organization. International Journal of Quality & Reliability Management, 35(5), 1060-1074.

Astley, W. G. (1978). Sources of power in organizational life (Unpublished doctoral dissertation), University of Washington.

Bourgeois, L. J. (1981). On the measurement of organizational slack. Journal Academy of Management Review, 6(1), 29-39.

Cyert, R. M., & March, J. G. (1963). A behavioral theory of the firm. Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

Dan, M., & Geiger, S.W. (2015). The organizational slack and performance relationship: a configurational approach. Management Decision, 53(10), 2339-2355.

Daniel, F., Lohrke, F. T., Fornaciari, C. J., Turner, R. A. (2004). Slack resources and firm performance: A meta-analysis. Journal of Business Research, 57(6), 565-574.

Fonseka, M. M., Peng, W., & Muhammad, S. M. (2013). Impact of human resource slacks on firm performance: Evidence from a developing country. Zbornik Radova Ekonomskog Fakultet au Rijeci, 31(2), 279-306.

Galbraith, J. (1973). Designing complex organizations. Reading, Mass.: Addison-Wesley.

Geroski P., Machin, S., & Reenen, J. V. (1993). The RAND. Journal of Economics, 24(2), 198-211.

Hambrick, D. C., & Snow, C. C. (1977). A contextual model of strategic decision making in organizations. Academy of Management Proceedings, 1.

Hughes, M., Eggers, F., Kraus, S., & Hughes, P. (2015). The relevance of slack resource availability and networking effectiveness for entrepreneurial orientation. International Journal of Entrepreneurship and Small Business, 6(1), 116-138.

James, D., & Thompson, S. (1967). Organizations in actions social science bases of administrative theory. New York: Routledge.

Jensen, M.C. (1986). Agency costs of free cash flow, corporate finance, and takeovers. The American Economic Review, 76(2), 323-329.

Joseph, L. C., & Idalene, F. K. (1997). Organizational slack and response to environmental shifts: The impact of resource allocation patterns. Journal of Management, 23(1), 1-18.

Lorenzo, B. (2017). The strategic role of financial slack on alliance formation. Management Decision, 55(2), 383-399.

Sanghoon, L. (2012). Corporate governance, financial slack and firm performance: A comparative study between US and UKSeoul. Journal of Business, 18(1), 1-12.

Scott, W. G., Marlin D., & Sharon L. S. (2019). Slack and performance in the hospital industry: A configurational approach. Management Decision, Vol. ahead-of-print No. ahead-of-print. https://doi.org/10.1108/MD-07-2017-0703.

Xing, L., & Zhanming, J. (2018). Effects of unexpected financial slack on SMEs’ diversification and growth: evidence from China. Nankai Business Review International, 9(4), 500-518.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-22