การสร้างแบบจำลองทำนายความสำเร็จเพื่อสนับสนุนการปรับปรุง ระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปัญญวัฒน์ โกมุทบุตร หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปิยะวิทย์ ทิพรส วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิริเดช คำสุพรหม วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

แบบจำลองทำนายความสำเร็จ, การจัดการพลังงาน, ระบบการจัดการพลังงาน, การอนุรักษ์พลังงาน, ประสิทธิภาพพลังงาน

บทคัดย่อ

ระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมซึ่งได้เริ่มประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นกลยุทธ์สำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย แต่กลับพบสัญญาณที่บ่งบอกถึงความถดถอยในเชิงประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าวจากการหยุดชะงักของพัฒนาการประสิทธิภาพด้านพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคธุรกิจการค้าในช่วง 5 ปีล่าสุด นำมาสู่การค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับจากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจนค้นพบแนวทางที่เป็นไปได้ 12 แนวทาง ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันอิทธิพลของแนวทางการปรับปรุงดังกล่าวจึงได้ทำการสร้างแบบจำลองทำนายความสำเร็จโดยใช้ตัวแปรอิสระที่สร้างจากข้อกำหนดที่มีอยู่ในระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับร่วมกับปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดแนวทางการปรับปรุงที่คาดว่าจะส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการพลังงาน บนพื้นฐานของข้อมูลผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งผลที่ได้รับพบว่า สามารถพิสูจน์ผลกระทบเชิงบวกของ 10 ปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ในการออกแบบแนวทางการปรับปรุงผลสำเร็จในการจัดการพลังงาน พร้อมทั้งยืนยันอิทธิพลเชิงบวกของ 4 ข้อกำหนดที่มีอยู่เดิมในระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับของประเทศไทยที่มีต่อความสำเร็จในการจัดการพลังงานภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2559). คู่มือฝึกอบรมการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2562). รายชื่อโรงงานควบคุม (ปรับปรุง 25 ม.ค.62) และรายชื่ออาคารควบคุม (ปรับปรุง 25 ม.ค.62). สืบค้น ธันวาคม 2563, จาก https://www.dede.go.th.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563ก). แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563ข). รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 9 (2562). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ. 2552. (2552, 31 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนที่ 49ก. หน้า 20-25.

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.2552. (2552, 23 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนที่ 47ก. หน้า 7-12.

ปัญญวัฒน์ โกมุทบุตร, และปิยะวิทย์ ทิพรส. (2564). การค้นหาแนวทางพัฒนาระบบการจัดการพลังงานภาคบังคับในประเทศไทย. ใน DPU International Conference on Business Innovation and Social Sciences 2021, (น. 383). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. (2550, 4 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 87ก. หน้า 1-10.

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535. (2535, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 33. หน้า 1-20.

พระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538. (2538, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 112 ตอนที่ 33ก. หน้า 8-11.

พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ. 2540. (2540, 19 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 6ก. หน้า 6-9.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2563). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Al-Balushi, S., Sohal, A. S., Singh, P. J., Al-Hajri, A., Al-Farsi, Y. M., & Al-Abri, R. (2014). Readiness factors for lean implementation in healthcare settings: A literature review. Journal of Health Organization and Management, 28(2), 135-153.

Al-Najem, M., Dhakal, H., & Bennett, N. (2012). The role of culture & leadership in lean transformation: A review & assessment model. International Journal of Lean Thinking, 3(1), 119-138.

Brundu, F. G., Patti, E., Osello, A., Giudice, M. D., Rapetti, N., Krylovskiy, A., Jahn, M., Verda, V., Guelpa, E., Rietto, L., & Acquaviva, A. (2017). IoT software infrastructure for energy management and simulation in smart cities. IEEE Transactions on Industrial Informatics, 13(2), 832-840.

Chongwatpol, J. (2016). Managing big data in coal-fired power plants: A business intelligence framework. Industrial Management & Data Systems, 116(8), 1779-1799.

Craig, A. A. (2018). Influencing cultural change as a new energy manager. Energy Engineering, 115(4), 38-45.

Dayan, M. (2010). Managerial trust and NPD team performance: team commitment and longevity as mediators. Journal of Business & Industrial Marketing, 25(2), 94–105.

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.

Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation and Nuclear Safety [BMU]. (2010). DIN EN 16001: Energy management systems in practice, A guide for companies and organizations. Berlin: Author.

Foss, N., & Lindenberg, S. (2013). Microfoundations for strategy: a goal-framing perspective on the drivers of value creation. Academy of Management Perspectives, 27(2), 85–102.

International Organization for Standardization [ISO]. (2018). ISO 50001:2018 Energy management systems requirements with guidance for use. Geneva: Author.

Jeurissen, R. (2000). John Elkington, cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Journal of Business Ethics, 23, 229-231.

Johansson, M. T. (2015). Improved energy efficiency with in the Swedish steel industry, the importance of energy management and networking. Energy Efficiency, 8(4), 713–744.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krushna, M., Alm, R., Hallgren, R., Bischoff, L., Tuglu, N., Kuai, L., Yang, Y., & Umoru, I. (2018). A behavioral change-based approach to energy efficiency in a manufacturing plant. Energy Efficiency, 11(2), 1103-1116.

Liu, W. H., & Cross, J. A. (2016). A comprehensive model of project team technical performance. International Journal of Project Management, 34, 1150–1166.

Manville, G., Greatbanks, R., Krishnasamy, R., & Parker, D. (2012). Critical success factors for lean six sigma programmes: A view from middle management. International Journal of Quality & Reliability Management, 29(1), 7-20.

Mawed, M., & Al-Hajj, A. (2017). Using big data to improve the performance management: A case study from the UAE FM industry. Facilities, 35(13/14), 746-765.

Menard, S. (2002). Applied logistic regression analysis (2nd ed.). Thousand Oaks, California: SAGE.

Nisiforou, O. A., Poullis, S., & Charalambides, A. G. (2012). Behaviour, attitudes and opinion of large enterprise employees with regard to their energy usage habits and adoption of energy saving measures. Energy and Buildings, 55, 299–311.

Parkhi, S. S. (2019). Lean management practices in healthcare sector: A literature review. Benchmarking: An International Journal, 26(4), 1275-1289.

Pimentel, L., & Major M. (2016). Key success factors for quality management implementation: Evidence from the public sector. Total Quality Management & Business Excellence, 27(9), 997–1012.

Pituch K. A., & Stevens J. P. (2016). Applied multivariate statistics for the social sciences (6th ed.). Routledge: New York & London.

Psychogios, A., & Tsironis, L. K. (2016). Road towards lean six sigma in service industry: A multi-factor integrated framework. Business Process Management Journal, 22(4), 812-834.

Shokouhyar, S., Pahlevani, N., & Sadeghi, F. M. M. (2019), Scenario analysis of smart, sustainable supply chain on the basis of a fuzzy cognitive map. Management Research Review, 43(4), 463-496.

Thollander, P., & Palm, J. (2013). Improving energy efficiency in industrial energy systems. London: Springer.

Tushar, W., Wijerathne, N., Li, W. T., Yuen, C., Poor, H. V., Saha, T. K., & Wood, K. L. (2018). Internet of things for green building management: Disruptive innovations through low-cost sensor technology and artificial intelligence. IEEE Signal Processing Magazine, 35(5), 100-110.

United Nations. (2015). Adoption of the Paris agreement. In 21st Conference of the Parties. Paris: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29