@article{ชูตินันทน์_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย}, volume={33}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/242647}, abstractNote={<p>การตีความกฎหมายอาญาเป็นบทบาทของศาลในการค้นหาความหมายของถ้อยคำในกฎหมายว่ามีความหมายเช่นใด เพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายอันแท้จริงของกฎหมายอันนำมาสู่การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ได้ผลที่ถูกต้องแน่นอน อย่างไรก็ดี นักนิติศาสตร์ไทยยังมีความเห็นในการตีความกฎหมายอาญาที่ยังแตกต่างกันอยู่ อาจเป็นเพราะนักนิติศาสตร์ไทยศึกษากฎหมายในประเทศที่มีระบบกฎหมายที่มีความแตกต่างกันจึงมีนิติวิธี (Juristic Method) ในการตีความกฎหมายอาญาที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า กฎหมายอาญาสามารถตีความขยายความถ้อยคำได้ตราบเท่าที่อยู่ภายใต้เจตนารมณ์แห่งกฎหมายเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เกิดความชัดเจนดังกล่าว ย่อมส่งผลให้ศาลฎีกาไทยยังไม่มีแนวทางเดียวกันในการตีความกฎหมายอาญา ทั้งปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาบางฉบับที่ ศาลใช้ดุลพินิจตีความขยายความถ้อยคำในบทบัญญัติที่มี่โทษทางอาญาอย่างกว้างขวางจนยากหยั่งทราบ เหตุผล ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้การตีความกฎหมายอาญานอกจากตีความตามเจตนารมณ์อันเป็นความมุ่งหมายที่แท้จริงของกฎหมายแล้ว การตีความกฎหมายอาญายังต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระบบกฎหมายด้วย ซึ่งได้รับรองและยืนยันไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางวิชาการตลอดจนป้องกันมิให้ศาลยกเจตนารมณ์แห่งกฎหมายขึ้นอ้างในการตีความบทบัญญัติกฎหมายอย่างไร้ขอบเขต</p>}, number={107}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={ชูตินันทน์ อัจฉรียา}, year={2020}, month={พ.ค.}, pages={248–261} }