@article{จิตร์น้อมรัตน์_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของประกันภัยรายย่อย: การทบทวนวรรณกรรม}, volume={32}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/243696}, abstractNote={<p>ผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยขจัดความเสี่ยงภัยให้กับผู้มีรายได้น้อย และการใช้บริการผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อยจะทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยธุรกิจประกันภัยที่สามารถเข้าถึงลูกค้าประกันภัยรายย่อยจำนวนมากจะทำให้ธุรกิจสามารถมีกำไรและเติบโตได้ แต่ในความเป็นจริงพบว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อยของผู้มีรายได้น้อยยังอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของการประกันภัยรายย่อยตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2006 – ค.ศ. 2017 เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้งานประกันภัยรายย่อยคงอยู่และเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ผลการทบทวนวรรณกรรมพบปัจจัยสำคัญจำนวนมากที่เกิดจาก 1)ผู้เอาประกันภัย ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล ทัศนะคติ ด้านความเสี่ยง ทักษะความรู้ด้านการเงิน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย 2) ผู้รับประกันภัย ได้แก่ราคาของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ค่าสินไหมทดแทน คุณภาพของการบริการ และความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัยรวมทั้งตัวแทน/นายหน้าของบริษัท และ 3) หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและองค์กรต่างๆ ที่ไม่แสวงหากำไร ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดใหม่ในการวิจัย อันจะทำให้งานวิจัยในอนาคตครอบคลุมปัจจัยต่างๆ มากขึ้นในทุกประเด็น</p>}, number={103}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={จิตร์น้อมรัตน์ ธนิดา}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={217–228} }