@article{รอดจันทร์_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ: ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง}, volume={30}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244053}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองโดยการศึกษาจากเอกสาร ซึ่งผู้เขียนพบว่า ความง่าย และความแน่นอนชัดเจนของกฎหมายภาษี และวิธีการในการจัดเก็บ ภาษีที่ง่าย แน่นอนชัดเจน และสะดวกเป็นลักษณะของกฎหมายภาษีและวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยรับเอาวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองมาใช้ วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง สะดวกสำหรับผู้จัดเก็บภาษี และลดต้นทุนในภาครัฐบาลซึ่งสนับสนุนความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคเอกชน เพราะผู้เสียภาษีต้อง กรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีที่ซับซ้อนอันเป็นผลมาจากกฎหมายภาษีที่ซับซ้อน สิ่งนี้ไม่สอดคล้องกับหลักความง่าย ความแน่นอนชัดเจน และความสะดวก ความซับซ้อนในกฎหมายภาษีนำไปสู่แบบแสดงรายการ เสียภาษีที่ซับซ้อน และเพิ่มต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ในปัจจุบันมีอย่างน้อย 3 มาตรการ ในการแก้ไขอุปสรรคในการกรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีและช่วยเหลือผู้ไม่มีความรู้ทางด้านภาษี กล่าวคือ การช่วยเหลือของผู้จัดเก็บภาษีในการคำนวณภาษี การจัดหาคู่มือภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีและการจ่ายภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์</p> <p>นอกจากมาตรการข้างต้น มาตรการที่ผู้เขียนได้เสนอแนะในบทความนี้ดังต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลไทยในการปรับปรุงวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองได้แก่ รัฐบาลควรให้เงินช่วยเหลือการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความซับซ้อนของกฎหมายภาษีควรลดลง (เช่น การยกเลิกรายจ่ายในทางภาษีบางรายการน่าจะช่วยทำให้กฎหมายภาษีง่ายขึ้น) การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ควรที่จะได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ควรมีการบังคับทางกฎหมายเพื่อให้มีการจัดเก็บเอกสารและจัดทำบัญชี และบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายควรมีอยู่อย่างพอเหมาะพอควร</p> <p>วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองอาจนำไปสู่การหนีภาษีและความสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพื่อที่จะก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีให้มากยิ่งขึ้น วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองควรได้รับการออกแบบและทำงานเพื่อลดต้นทุนการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้เสียภาษีและสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจ มาตรการที่ผู้เขียนได้เสนอแนะดังต่อไปนี้จะช่วยปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจได้แก่ การให้การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง การทำให้กฎหมายภาษีและกระบวนการจัดเก็บภาษีง่ายขึ้น การปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ (เช่น การคำนวณความรับผิดในการเสียภาษีโดยอัตโนมัติและระบบเลขหมายประจำตัวผู้เสียภาษี) การฝึกฝนเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษีให้มีความสามารถในการตรวจสอบผู้ที่ละเลยหน้าที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการกำหนดบทลงโทษที่พอเหมาะพอควรกับบุคคลซึ่งเพิกเฉยไม่เก็บเอกสารและบัญชีให้เหมาะสม นักธุรกิจและผู้มีวิชาชีพควรมีหน้าที่แสดงสำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีและใบเสร็จชำระค่าภาษีต่อหน่วยงานของรัฐบาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในเวลาต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือใบประกอบวิชาชีพ กรมสรรพากรควรจัดส่งแบบแสดงรายการเสียภาษีไปให้ประชาชนโดยเร็วหลังสิ้นสุดปีภาษี และผู้ที่ไม่ได้รับแบบแสดงรายการเสียภาษีควรแจ้งต่อกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด</p>}, number={พิเศษ}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={รอดจันทร์ จิรศักดิ์}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={253–265} }