@article{นราภิรมย์ขวัญ_ศิวพิทักษ์_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน}, volume={30}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244230}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางด้านองค์ประกอบที่มีผลต่อการดำเนิน การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน และเพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่ผลต่อการดำเนินการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรใน หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ตั้งแต่ระดับแผนกขึ้นไป จากการสุ่มตัวอย่างประชากรคือ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานคือ t-test, F-test , Spearman’s rho test และ Multiple Regression Analysis</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับ การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 5 ปี ตำแหน่งงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้เป็นคณะกรรมการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และผลการดำเนินการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ภาพรวมมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนมีผลการดำเนินการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และมีปัจจัยทางด้านองค์ประกอบที่มีผลต่อการดำเนินการจัดการความรู้ใน ภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลการดำเนินการจัดการ ความรู้ของมหาวิทยาลัยในภาพรวมแตกต่างกัน แต่มหาวิทยาลัยเอกชนไม่แตกต่างกัน และบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีผลการดำเนินการจัดการ ความรู้ของมหาวิทยาลัยในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ด้านผู้นำองค์การ ด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ด้านบุคลากรที่ใช้ความรู้ ด้านความรู้ ทักษะในการใช้เทคโนโลยี ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านโครงสร้างองค์กร มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินการจัดการความรู้ภาพรวมแตกต่างกัน และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ มี 4 ปัจจัย คือ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Beta = 0.219) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐาน (Beta = 0.184) ด้านผู้นำองค์การ (Beta = 0.176) และด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจและกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ (Beta = 0.149) ส่งผลต่อผลการดำเนินการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในภาพรวม นอกจากนั้นพบว่าไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>}, number={95}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={นราภิรมย์ขวัญ ปณิตตรา and ศิวพิทักษ์ ศิวะนันท์}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={186–200} }