@article{ลีลาทวีวุฒิ_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={ปัจจัยขับเคลื่อนการใช้ระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจไทยให้ประสบผลสำเร็จ}, volume={28}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244783}, abstractNote={<p>ปัจจุบันหลายองค์การกำลังเผชิญปัญหาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความต้องการขยายขนาดโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ ทำให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีมูลค่าสูง และเป็นภาระในการดูแลรักษาในระยะยาว รวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการทำงานและขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ หากองค์การไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการใช้งานจะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจลดลง ดังนั้นการเกิดของระบบคลาวด์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นการใช้บริการทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานแพลทฟอร์มและซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้องค์การดำเนินงานธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการใช้ระบบคลาวด์สำหรับองค์การธุรกิจในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ และมีงานวิจัยไม่มากที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อหาปัจจัยขับเคลื่อนและสร้างตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ รวมถึงเพื่อตรวจสอบยืนยันปัจจัยขับเคลื่อนและตัววัดผลสำเร็จของการใช้ โดยระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้เป็นแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในขั้นเตรียมการ และสำรวจข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 25 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยการวิเคราะห์ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความคิดเห็นสอดคล้องกันเป็นฉันทามติ หลังจากนั้นพัฒนาเป็นแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจข้อมูลจากตัวอย่างขนาด 402 องค์การ และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยขับเคลื่อนที่เป็นสาเหตุของการใช้ระบบคลาวด์สำหรับองค์การธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์การ และด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร สำหรับตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ ประกอบด้วย 4 มุมมองคือ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มุมมองด้านกระบวนการภายในและมุมมองด้านการ เรียนรู้และการพัฒนา นอกจากนี้ผลการตรวจสอบยืนยันปัจจัยขับเคลื่อนและตัววัดผลสำเร็จของการใช้ระบบคลาวด์ พบว่า มีความสอดคล้องกันระหว่างตัวอย่างกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยองค์การขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยขับเคลื่อนสูงสุด ได้แก่ ความรู้และความเข้าใจของผู้บริหาร ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น ขยายขนาดตามความต้องการ ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างโอกาสทางการตลาด และองค์การขนาดเล็กยังมีค่าเฉลี่ยของตัววัดผลสำเร็จสูงสุด ได้แก่ รายได้ของสินค้าและบริการต่อปี ระดับการตอบสนองด้านความต้องการตามมาตรฐานการบริการ ประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน และร้อยละความพึงพอใจของพนักงานต่อระบบคลาวด์ หากเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดองค์การ พบว่า ค่าเฉลี่ยปัจจัยขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ และค่าเฉลี่ยตัววัดผลสำเร็จมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 กล่าวโดยสรุปงานวิจัยนี้ได้นำเสนอกรอบแนวคิดของการประยุกต์การใช้ระบบคลาวด์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับองค์การธุรกิจในการนำระบบคลาวด์ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างผลการดำเนินงานขององค์การที่ดี</p>}, number={88}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={ลีลาทวีวุฒิ สมเกียรติ}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={118–144} }