@article{จิตรไพบูลย์_รุ่งสว่าง_เจียรธนานันต์_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในงานวิจัยทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ: การวิเคราะห์แนวโน้ม}, volume={35}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/247904}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้ศึกษาแนวโน้มของการใช้วิธีวิจัยแบบองค์รวมและการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยศึกษาจากงานวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research articles) ทั้งหมด 24 เรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes journal) ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกผู้วิจัยกำหนดช่วงเวลาตีพิมพ์เป็นสองช่วง ช่วงแรกคืองานวิจัยที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2557 และช่วงหลังคือระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562 โดยนำเอางานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์ 24 ชิ้นดังกล่าวมาจัดเข้ากลุ่มตามช่วงเวลาการตีพิมพ์ เพื่อวิเคราะห์วิธีวิจัยโดยนับความถี่ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งพบว่ามีงานวิจัย 12 เรื่องที่ใช้วิธีเชิงคุณภาพ งานวิจัย 8 เรื่องใช้วิธีแบบผสม และงานวิจัย 4 เรื่องใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพ 5 เรื่องจาก 12 เรื่องมาจากการตีพิมพ์ช่วงหลัง ขั้นตอนที่สอง นำงานวิจัยเชิงคุณภาพ 5 เรื่องดังกล่าวมาศึกษาการใช้วิธีวิจัยเชิงลึก จากประเภทของงานวิจัยตามคำนิยามของ Creswell (2003) และ Dressen-Hammouda (2013) ผลการศึกษาพบว่าวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (ethnographic methods) ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และการวิเคราะห์ความต้องการ (needs analysis) ยังเป็นวิธีวิจัยที่งานวิจัยส่วนมากให้ความสำคัญอีกด้วย</p>}, number={1}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={จิตรไพบูลย์ เจนจิรา and รุ่งสว่าง อติชาต and เจียรธนานันต์ วิรัลพัชร}, year={2021}, month={มี.ค.}, pages={250–265} }