@article{ถาวรปิยกุล_ศรีสมบัติ_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={บทบาทดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516}, volume={34}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/248384}, abstractNote={<p>การศึกษา บทบาทดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีความมุ่งหมายการวิจัย คือเพื่อศึกษาบทบาทของดนตรีไทยเพื่อชีวิตของวงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516</p> <p>ดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษา โดยมีจุดประสงค์ต้องการใช้ดนตรีไทยเป็นสื่อกลาง เพื่อแสดงทางความคิดทางการเมืองและเสียดสีสังคม โดยได้รับแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นการนำดนตรีมารับใช้ประชาชน จึงเป็นเหตุให้วงต้นกล้า ถูกเรียกว่า ดนตรีไทยเพื่อชีวิต บทบาทของวงต้นกล้า ได้แก่ การนำดนตรีมาเป็นสื่อกลางในการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่สังคม สะท้อนสภาพปัญหาของสังคม เสียดสีการเมืองและสภาพสังคมในขณะนั้น</p> <p>บทเพลงของวงต้นกล้าให้มีความสนุกสนาน กินใจและเข้าถึงผู้ฟังได้ง่าย เพื่อผู้ที่ได้รับฟังมีความคิด และอุดมการณ์ทางการเมือง บทเพลงของวงต้นกล้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จหลายครั้งหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในยุคหลังจาก 14 ตุลาฯ บทเพลงของวงต้นกล้า ก็ยังได้ถูกนำกลับมาใช้ในเหตุการณ์ครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาฯ การแสดงคอนเสิร์ต “เพลงของจิตร” การนำไปใช้ในการชุมนุนเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และได้ถูกนำเนื้อเพลงไปใช้เชิงสัญลักษณ์กับการเรียกร้องสัมปทานปิโตรเลียม</p>}, number={112}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={ถาวรปิยกุล นาฐคุณ and ศรีสมบัติ รุจี}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={110–125} }