@article{กาญจนสุวรรณ_ทีปประชัย_สัณฐิติวณิชย์_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={การประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช }, volume={35}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/250012}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงประเมินมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกระบวนการการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 3) ศึกษาการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ของนักศึกษา และ 4) ประเมินผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัย ดังนี้ ใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน 2) ประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) 3) ประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการศึกษา ได้แก่ การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน ได้แก่ ผลงานหรือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดำเนินการเก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ภาคการศึกษา 1/2561 และภาคการศึกษา 2/2561 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) อาจารย์ที่สอนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน 2) นักศึกษาชั้นปี 1 – 4 ในปีการศึกษา 2561 มีนักศึกษาลงทะเบียนทั้งสิ้น 2,877 คน และ 3) ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ TQF 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาและการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ 3) แบบวัดคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) และ 4) แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินกระบวนการการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี พบว่า ผลการสังเกตการณ์การสอนของอาจารย์เป็นไปตามกลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ตามกรอบ TQF ซึ่งในบางชุดวิชามีการเรียนการสอนในสถานที่ที่ลงพื้นที่ในชุมชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมด้านทักษะทางปัญญาเพื่อให้นักศึกษาใช้ความคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีกิจกรรมลงพื้นที่ให้นักศึกษาได้ร่วมกันทำงานเป็นทีม 2. ผลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ดังนี้ 1) ผลการประเมินผลด้านความรู้ของนักศึกษาในหลักสูตร ภาคเรียนที่ 1 มีผลการเรียนรู้ผ่านคิดเป็นร้อยละ 95.74 และภาคเรียนที่ 2 มีผลการเรียนรู้ผ่านคิดเป็นร้อยละ 95.96 2) ผลการวัดและประเมินคุณลักษณะของนักศึกษาตามกรอบ TQF ดังนี้ นักศึกษามีคุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการศึกษาทางไกล อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า นักศึกษามีการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่อยู่ในระดับมาก 4. ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ได้คัดเลือกโครงการและติดตามลงพื้นที่ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานในการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ ได้แก่ โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา ผลกระทบ/การเปลี่ยนแปลงของชาวบ้าน ลดปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้าน เพราะสามารถกำจัดน้ำทิ้งจากครัวเรือนได้ ลดปัญหาน้ำขัง ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ลดการเกิดไข้เลือดออก ปริมาณน้ำบาดาลมีมากขึ้น และ ชาวบ้านมีความพึงพอใจกับการทำธนาคารน้ำใต้ดิน และสนใจทำธนาคารน้ำใต้ดินในบ้านตนเอง</p>}, number={3}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={กาญจนสุวรรณ ศศิธร and ทีปประชัย ณรงค์ and สัณฐิติวณิชย์ อนันดา}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={62–80} }