@article{บุตรดาเลิศ_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={การศึกษาเกลือสินเธาว์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกลือสปาเพื่อกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสุขภาพโดยใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน:อำเภอ ขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา}, volume={35}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/251899}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่แหล่งเกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและจำหน่ายเกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา และ3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสปาและเกลือขัดผิว 16 คน และกลุ่มพนักงานออฟฟิศ 20 คน และกำหนดสุ่มตัวแทน 19 คน ตามวิธีการของเครซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan) พบว่า 1) บริบทพื้นที่แหล่งเกลือสินเธาว์ พบว่า ผู้ผลิตเกลือสินเธาว์แบบดั้งเดิมมีทั้งหมด 16 ครัวเรือน อายุเกิน 40 ปี ผลิตเกลือในรูปแบบของการต้มเกลือแบบดั้งเดิมไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย 2) กระบวนการผลิตและจำหน่ายเกลือสินเธาว์ พบว่า อายุของอาสาสมัครอยู่ระหว่าง 20-30 ปี สถานะภาพโสด ทำอาชีพพนักงานราชการ มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ใช้เกลือสครับ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีข้อเสนอแนะ คือ ปรับปรุงความละเอียดของเกลือ ชื่อผลิตภัณฑ์ให้แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และความสะอาดของเกลือ และ3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีเม็ดเกลือมีความละเอียดพอดี บรรจุภัณฑ์มีการปิดผนึกมิดชิดมีกลิ่นหอมของมะกรูดหลังการใช้รู้สึกสะอาดสดชื่น และไม่ระคายเคืองผิวหนัง</p>}, number={3}, journal={วารสารสุทธิปริทัศน์}, author={บุตรดาเลิศ ภัทรลภา}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={114–131} }