TY - JOUR AU - อินทโชติ, ทวีศักดิ์ AU - ศิวพิทักษ์, ศิวะนันท์ AU - แย้มกลิ่น, โสภณ AU - ชีระกาญจน์, เกื้อจิตร AU - หัตถกิจพาณิชกุล, วัลภา PY - 2020/05/22 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาอัตลักษณ์และการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร JF - วารสารสุทธิปริทัศน์ JA - วารสารสุทธิปริทัศน์ VL - 33 IS - 107 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/242575 SP - 77-93 AB - <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนิสิตและเพื่อศึกษาการพัฒนาอัตลักษณ์ ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 450 คน โดยสุ่มแบบ Quota Sampling ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 แยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสำนึกดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ในระดับมาก ด้านมุ่งมั่นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 อยู่ในระดับมาก ด้านสามัคคี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 อยู่ในระดับมาก และด้านสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.41 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การศึกษาการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลีย เท่ากับ 3.96 แยกเป็นรายด้าน คือ ด้านกิจกรรมมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 อยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และด้านกิจกรรมเพื่อสังคมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3) เพศแตกต่างกัน มีผลต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างกันโดยนิสิตชายมีอัตลักษณ์น้อยกว่านิสิตหญิง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านมุ่งมั่น ด้านสร้างสรรค์และด้านสามัคคีและเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ที่ไม่ต่างกัน ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) คณะแตกต่างกันมี ผลต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านสำนึกดี ด้านมุ่งมั่นและด้านสร้างสรรค์ และมีความคิดเห็นในกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ที่ไม่ต่างกัน ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> ER -