TY - JOUR AU - ใจสุข, นพาวรรณ์ AU - กิ่งคำ, วิไลศักดิ์ PY - 2021/09/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ลักษณะทางภาษาบางประการที่พบใน พระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน JF - วารสารสุทธิปริทัศน์ JA - วารสารสุทธิปริทัศน์ VL - 35 IS - 3 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/250602 SP - 1-20 AB - <p>บทความนี้มุ่งนำเสนอลักษณะทางภาษาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ซึ่งเป็นลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทางภาษาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านวิเคราะห์ได้ 4 ด้านดังต่อไปนี้ 1. อักขรวิธี 2. ลักษณะของคำ 3. ลักษณะของลำดับคำในวลีและประโยค 4.ลักษณะสำนวน ซึ่งแบ่งเป็นลักษณะย่อยได้ดังนี้ 1. อักขรวิธี ได้แก่ การใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย 2. ลักษณะของคำ ได้แก่ คำยืมภาษาอังกฤษ การเรียบเรียงคำ และคำซึ่งมีความหมายเหมือนกันและอยู่ในหมวดคำเดียวกัน แต่มีรูปต่างกัน 3. ลักษณะของลำดับคำในวลีและประโยค ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงลำดับคำในวลี และการเปลี่ยนแปลงลำดับคำในประโยค 4. ลักษณะสำนวน ได้แก่ สำนวนที่ใช้ในความหมายเหมือนกันทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบัน กับสำนวนที่มีความหมายเหมือนกันทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบันแต่มีส่วนประกอบต่างกันอยู่เพียงคำเดียว จากการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ภาษาไทยปัจจุบันที่ได้มีโอกาสอ่านพระราชนิพนธ์ไกลบ้านให้เข้าใจถึงเหตุผลความแตกต่างของลักษณะทางภาษาและสามารถศึกษาได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น</p> ER -