https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/issue/feed
วารสารสุทธิปริทัศน์
2025-05-20T00:00:00+07:00
อาจารย์ ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล
dpujournal@dpu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารสุทธิปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN : 2730-2717 (online) ISSN : 2730-2709 (print)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> ปีละ 4 ฉบับ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม <br />ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน <br />ฉบับที่ 3 สิงหาคม-กันยายน <br />และฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม รวมทั้งฉบับพิเศษ (ถ้ามี)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong>วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ ในด้านสังคมศาสตร์ อันได้แก่</p> <p><strong>สาขาวิชา </strong><strong>:</strong><strong><br /></strong>1. บริหารธุรกิจ การจัดการและการบัญชี<br />2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติและการเงิน</p> <p><strong>สาขาวิชาย่อย :<br /></strong>1. ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี<br />2. การจัดการด้านกลยุทธ์และการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ)<br />3. พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์<br />4. เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงินและการบัญชี</p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/278417
การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นในประเทศไทย
2025-02-28T16:30:04+07:00
ธรรมยุทธิ์ จันทร์ทิพย์
thamayut.j@bu.ac.th
ชยพล มัชมณฑล
chayapol.m@bu.ac.th
ภัคธีมา ไมยรัตน์
bhaktheema.m@bu.ac.th
<p>จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กลยุทธ์เศรษฐกิจเทศกาล “<strong>Festival Economy</strong>” เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในการจัดงานและเทศกาลนานาชาติ ทั้งนี้ “เทศกาลดนตรี” ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของประเทศในการผลักดันกลยุทธ์ และช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ วัยรุ่นเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-24 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยมีประสบการณ์ในการเข้าชมเทศกาลดนตรีในประเทศไทย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการเข้าร่วมเทศกาลดนตรี และปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีมีตัวแปรจำนวน 60 ตัวแปร สำหรับสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) หาจำนวนองค์ประกอบของปัจจัยการจัดเทศกาลดนตรีในประเทศไทย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทยที่ตัวอย่างให้ระดับความสำคัญมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยกลยุทธ์และการสื่อสารการตลาด (Strategy and Marketing Communication) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และปัจจัยอาหารเครื่องดื่มและของที่ระลึก (Catering and Souvenirs) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า สามารถจำแนกองค์ประกอบของปัจจัยการจัดงานเทศกาลดนตรีได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ปัจจัยกลยุทธ์และการสื่อสารการตลาด (Strategy and Marketing Communication) 2. ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริหารจัดการทั่วไป (Facilities and General Management) 3. ปัจจัยสถานที่จัดงานและการเข้าถึง (Venue and Accessibility) 4. ปัจจัยอาหารเครื่องดื่มและของที่ระลึก (Catering and Souvenirs) 5. ปัจจัยการออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) และ 6. ปัจจัยผู้จัดงาน (Event Organizer)</p>
2025-05-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/278769
การศึกษาผลกระทบของผลการดำเนินงาน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลต่อความยืดหยุ่นขององค์กร
2025-02-24T09:19:08+07:00
หมิงต้า หลี่
877654151@qq.com
เสี่ยวหยิ่ง ฉาง
changxiaoying.f@163.com
<p>การวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีการส่งสัญญาณเป็นกรอบทฤษฎีหลัก โดยตั้งอยู่บนบริบทการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีน สร้างแบบจำลองทฤษฎีว่า ด้วยผลการดำเนินงานด้าน ESG ต่อความยืดหยุ่นขององค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้าน ESG กับความยืดหยุ่นขององค์กร โดยใช้แบบจำลองเอฟเฟกต์คงที่ แบบจำลองเอฟเฟกต์สื่อกลาง และการวิเคราะห์ความหลากหลายกับตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นและเซี่ยงไฮ้ช่วงปี ค.ศ. 2010-2023 ผลการวิจัยเชิงประจักษ์พบว่า 1. ผลการดำเนินงานด้าน ESG มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความยืดหยุ่นขององค์กร 2. ความสามารถในการระดมทุนและการสนับสนุนจากรัฐบาลทำหน้าที่เป็นตัวกลางในความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้าน ESG กับความยืดหยุ่นขององค์กร 3. ผลการเสริมสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรจาก ESG จะเด่นชัดกว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ไม่เพียงแต่ให้แนวทางที่เป็นไปได้สำหรับองค์กรในการดำเนินแนวคิด ESG เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีสำหรับภาครัฐในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเปิดเผยรายงาน ESG ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งภาคส่วนระดับจุลภาคและเศรษฐกิจโดยรวม</p>
2025-05-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/278810
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบ e-Office ของบุคลากรสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนกลาง
2025-02-24T09:59:07+07:00
ธมลวรรณ กาญจนศิริสมบัติ
puengtmw@gmail.com
สุรวี ศุนาลัย
suravee.sui@dpu.ac.th
<p>งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบ e-Office ของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้วยระบบ e-Office การวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 320 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่มีเพศที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และอายุงานที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการทำงานด้วยระบบ e-Office ได้แก่ การฝึกอบรมและพัฒนา ความสามารถการใช้งานระบบ e-Office และการสนับสนุนทางกายภาพ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ผลการวิจัยเป็นข้อมูลให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาระบบ e-Office ให้เหมาะสมกับองค์กร ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองนโยบายการพัฒนาองค์กรสู่ดิจิทัล</p>
2025-05-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/278758
ความคาดหวัง และการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
2025-02-24T09:39:36+07:00
สุนทร อักษรเชิดชู
soontorn.a@bu.ac.th
กัลยรัตน์ แพระบำ
kalyarat.ph@bu.ac.th
รัฐชาติ พลแสน
rattachat.p@bu.ac.th
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคาดหวัง และการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวัง และการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้และอาชีพ และ 3. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังกับการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่เคยเข้าร่วมงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืนของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือสสปน. เป็นกรอบในการศึกษา โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติ Independent Sample t-Test, Paired Sample t-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปร ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความคาดหวังต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ระดับการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน ไม่แตกต่างกัน 4. ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ รายได้ และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 5. ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความคาดหวังกับการรับรู้ประสบการณ์จริงต่อการจัดงานอีเวนต์อย่างยั่งยืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2025-05-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/278330
ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์การเดินทางต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน
2025-03-07T15:27:58+07:00
เหวิน-ต๋า กัว
jameskuo2008@hotmail.com
วีระพล ทองมา
weerapon.mju@gmail.com
จิ้น-ฟา ช่าย
cftsai@mail.ncyu.edu.tw
วินิตรา ลีละพัฒนา
w.leelapattana@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้จะสำรวจการจัดการเชิงกลยุทธ์ของจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในไต้หวัน โดยเน้นที่ความท้าทายและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID<strong>-</strong>19 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งบูรณาการกิจกรรมทางการเกษตรเข้ากับการท่องเที่ยว ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในชนบทและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะทำความเข้าใจการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในไต้หวัน ระบุอุปสรรคสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญ <strong><br /></strong>และเสนอมาตรการเชิงกลยุทธ์สำหรับการกำกับดูแลและการฟื้นฟูที่มีประสิทธิผลในยุคหลังการระบาดใหญ่ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการและผู้ดูแลการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การศึกษานี้จะตรวจสอบปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนความสำเร็จและความยั่งยืนในระยะยาวของวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเน้นที่ศักยภาพของภาคส่วนในการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยและชุมชนในชนบท โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การตลาดที่สร้างสรรค์ และแนวทางการจัดการแบบองค์รวม นอกจากนี้ การวิจัยยังศึกษาผลกระทบของ COVID<strong>-</strong>19 ต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยระบุกลยุทธ์การปรับตัวเช่น มาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความชอบของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศและธรรมชาติ โดยกำหนดให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นแนวทางตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการให้ข้อมูลเชิงปฏิบัติแก่ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และผู้พัฒนาพื้นที่ชนบท งานวิจัยนี้มีส่วนสนับสนุนด้านการจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่ชนบท โดยในท้ายที่สุด งานวิจัยนี้ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในฐานะรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถปรับให้เข้ากับแนวโน้มของตลาดได้ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นฟูพื้นที่ชนบทในระยะยาวในไต้หวัน</p>
2025-05-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์