วารสารสุทธิปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal <p><strong>วารสารสุทธิปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN : 2730-2717 (online) ISSN : 2730-2709 (print)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> ปีละ 4 ฉบับ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม <br />ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน <br />ฉบับที่ 3 สิงหาคม-กันยายน <br />และฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม รวมทั้งฉบับพิเศษ (ถ้ามี)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong>วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ ในด้านสังคมศาสตร์ อันได้แก่</p> <p><strong>สาขาวิชา </strong><strong>:</strong><strong><br /></strong>1. บริหารธุรกิจ การจัดการและการบัญชี<br />2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติและการเงิน</p> <p><strong>สาขาวิชาย่อย :<br /></strong>1. ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี<br />2. การจัดการด้านกลยุทธ์และการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ)<br />3. พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์<br />4. เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงินและการบัญชี</p> มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ th-TH วารสารสุทธิปริทัศน์ 2730-2709 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น</p> การตลาดดิจิทัลและความคิดเห็นที่ส่งผลต่อเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/274911 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของการตลาดดิจิทัลและความคิดเห็นที่มีต่อเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภค Gen Y ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524-2539 และอาศัยอยู่ในจังหวัด<br />สุราษฎร์ธานีที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งจำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T<strong>-</strong>Test F<strong>-</strong>test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส แตกต่างกัน มีเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในซื้อสินค้าทางไลฟ์สตรีมมิ่ง นอกจากนี้ ยังพบว่า การตลาดดิจิทัลสามารถอธิบายเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ 71.80% (R<sup>2</sup> = 0.516) โดยการตลาดดิจิทัลที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านเว็บไซต์ รองลงมา คือ ด้านตลาดเชิงเนื้อหา ด้านตลาดบนมือถือและแอพพลิเคชั่น ด้านตลาดแบบไวรัล และด้านประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ตามลำดับ ผลการศึกษายังพบว่า ความคิดเห็นสามารถอธิบายเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ 77.80% (R<sup>2</sup> = 0.606) โดยความคิดเห็นที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านธุรกิจ รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร ด้านการแสดงออกถึงตัวตน ด้านการบันเทิง และด้านผลกระทบต่อสังคม ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยนี้ ไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเลือกช่องทางการทำการตลาดได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ในอันที่จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการตลาดดิจิทัลเพื่อกระตุ้นผู้ซื้อได้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจต่อไป</p> ขวัญชนก สะอาดแก้ว จรัญญา ปานเจริญ สุกัญญา สิงห์ตุ้ย ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 20 36 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน ภายใต้สภาวการณ์ COVID-19 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/275251 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยขององค์กรการเงินชุมชนทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 2. ศึกษาความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน 3. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชนภายใต้สภาวการณ์ COVID-19 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน ภายใต้สภาวการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สถาบันการเงินชุมชน จำนวน 10 แห่ง โดยเลือกตัวอย่างแบบโควตาแห่งละ 20 คน รวมเป็น 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการปรับโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันตัวแปรปัจจัยจูงใจ (FO) มีค่า CMIN/df=2.8072, CFI=0.945, IFI=0.938, RMR=0.046, RMSEA=0.044 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ตัวแปรปัจจัยค้ำจุน (FH) มีค่า CMIN/df=2.747, CFI=0.935, IFI=0.910, RMR=0.010, RMSEA=0.044 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ตัวแปรความเสี่ยงในการบริหารจัดการองค์กร (Risk) มีค่า CMIN/df=2.697, CFI=0.934, IFI=0.950, RMR=0.034, RMSEA=0.045 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ดังนั้น โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันดังกล่าว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> รัฐิยา ส่งสุข อังคณา ลีรัตนานุกูลศิริ ธีรดา บุญพามี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 37 54 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/275292 <p>งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ใช้งานเต็มใจที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ความจริงเสมือนและความจริงเสริม ควอนตัมคอมพิวติ้งและอื่น ๆ ในการทำงาน โดยมีความเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจองค์ประกอบของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ 2. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ และพัฒนาตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีแบบแผนการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้เทคโนโลยีทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้ที่ทำงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบเชิงสำรวจของการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติที่หนึ่ง มิติด้านความพร้อมและการสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วยปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1.1 ความเชื่อมั่นในผู้บริหาร 1.2 การฝึกอบรม 1.3 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 1.4 ความพร้อมด้านเทคโนโลยี และ มิติที่สอง มิติด้านประสิทธิภาพและการใช้เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ 2.1 การรับรู้ประโยชน์ 2.2 การรับรู้ความง่ายในการใช้ 2.3 ทัศนคติในการใช้งาน 2.4 ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ 2.5 การเห็นผลที่ชัดเจน และมิติที่สามมิติด้านความซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ มีปัจจัยเดียวคือความซับซ้อน</p> วุฒิ วัชโรดมประเสริฐ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 55 70 การศึกษาความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/274284 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากทุติยภูมิ ซึ่งเก็บข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ SETSMART ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงปี พ.ศ. 2565 ตลอดทั้ง 3 ปี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 465 บริษัท รวม 1,395 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2. สถิติเชิงสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อคุณภาพกำไรที่วัดด้วยวิธีรายการคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน ส่วนอัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไรส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามต่อคุณภาพกำไรที่วัดด้วยวิธีรายการคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อคุณภาพกำไรที่วัดด้วยวิธีรายการคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ ส่วนอัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไรส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามต่อคุณภาพกำไรที่วัดด้วยวิธีรายการคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ อย่างมีนัยสำคัญระดับที่ 0.01</p> กัลยา ตันมณี ธนธร จงศิริฐิติศักดิ์ ณัฐวุฒิ ปัทมาคม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 71 86 การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้าน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/274645 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรท้องถิ่นและประเมินผลกระทบต่อการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านสลีปิงจัยแก้วกว้าง ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มกับผู้เข้าร่วมการสัมภาษณ์ 24 คน ประกอบด้วย นวัตกรท้องถิ่น สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ตำบลฟ้าฮ่าม และเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามที่มีโครงสร้างจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตำบลฟ้าฮ่าม จำนวน 375 คน ซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี สมาชิกเทศบาล ผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ และลูกค้า โดยกรอบการวิจัยนี้ครอบคลุมในสี่มิติหลัก ได้แก่ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม นำไปสู่การการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างแนวทางการพัฒนาและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะการส่งเสริมความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (Beta = 0.630, t = 32.857, p &lt; 0.001) การสนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรม (Beta = 0.650, t = 26.000, p &lt; 0.001) การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น (Beta = 0.600, t = 28.000, p &lt; 0.001) และการสร้างงานและรายได้ในชุมชน (Beta = 0.700, t = 42.500, p &lt; 0.001) ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมาก แบบจำลองนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการอธิบายที่สูงโดยมีความแปรปรวนในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนร้อยละ 90.3 (R² = 0.903) และมีนัยทางสถิติ (F = 1024.500, p &lt; 0.001) ซึ่งยืนยันถึงประสิทธิภาพของแนวทางการพัฒนาเหล่านี้สำหรับการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้าน</p> อริย์ธัช อักษรทับ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 87 105 ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/274809 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2. อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลเดิมบางนางบวช ตัวอย่างคือ ผู้รับบริการโรงพยาบาลเดิมบางนางบวช เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ มีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.77 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ และการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ รองลงมาคือ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้รับบริการให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ข้อมูลที่ได้รับจากการบริการ (Medical Information) รองลงมาคือ อัธยาศัยความสนใจของผู้ให้บริการ (Courtesy) 2. อิทธิพลของคุณภาพการบริการในด้านความเชื่อถือไว้วางใจ (Beta = 0.664) การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Beta = 0.291) และการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ (Beta = 0.161) มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> ธนัชชนม์ แจ้งขำ รจนา สูงปานเขา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 106 122 คุณภาพบริการ และคุณค่าเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/275795 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการ และคุณค่าเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ลูกค้าหรือผู้ที่เคยใช้บริการทั้งชายและหญิงของธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนเมษายน–กรกฎาคม 2567 โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 400 ราย และทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และด้านความเข้าใจลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถอธิบายความผันแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามได้ร้อยละ 72.4 (R<sup>2</sup> = 0.724) อีกทั้งคุณค่าเชิงประสบการณ์ในด้านคุณค่าทางการใช้งาน ด้านคุณค่าทางอารมณ์ และด้านคุณค่าทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถอธิบายความผันแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามได้ร้อยละ 52.3 (R<sup>2</sup> = 0.523)</p> ศุภวัชร์ พงษ์วัชรวัชฬ์ พัทธ์ธีรา เพ่งพิศ รัตนากาล คำสอน สุชาดา ทรัพยสาร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 123 138 แนวทางการพัฒนาธุรกิจค่าเฟ่ให้ประสบความสำเร็จ : กรณีศึกษาธุรกิจคาเฟ่ในพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/275661 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาแนวทางพัฒนาธุรกิจคาเฟ่ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายให้ประสบความสำเร็จ โดยทำการถอดบทเรียนจากธุรกิจคาเฟ่ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ วิธีการศึกษาใช้วิธีการศึกษาแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าจำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ 30 กิจการ ทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางพัฒนาธุรกิจ 8 ด้าน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตลาด รูปแบบธุรกิจ ข้อมูลลูกค้า ปัจจัยต่อความต้องการ จุดเด่นทางธุรกิจคาเฟ่ องค์ประกอบที่จำเป็น ปัจจัยเสี่ยงและแผนการรองรับ และการวิเคราะห์หาปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่าธุรกิจคาเฟ่เป็นหนึ่งในธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมือง (Urbanized Business) ที่มีศักยภาพ และมีความต้องการสูงจากกลุ่มลูกค้าที่นิยมความทันสมัยและกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย แนวทางการพัฒธุรกิจคาเฟ่ให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้าน ได้แก่ ทิศทางตลาดธุรกิจคาเฟ่ ปัจจัยที่ส่งผลต่ออุปสงค์ ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ และปัจจัยเสี่ยง</p> สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง วราวุฒิ เรือนคำ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 139 163 อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อความพึงพอใจ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/273551 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สหสัมพันธ์ของคุณภาพการให้บริการต่อความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ขนาดตัวอย่าง 400 คน และสถิติที่ใช้ คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ พบว่า คุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มีสหสัมพันธ์เชิงบวกค่อนข้างสูงต่อความพึงพอใจ (<em>r </em>= 0.715) อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.001 และพบว่า ประสิทธิภาพการใช้งานมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจสูงสุด (b = 0.265) รองลงมา คือ ความพร้อมของระบบ (b = 0.237) ความเป็นส่วนตัว (b = 0.229) และการทำให้บรรลุผลสำเร็จ (b = 0.142) ตามลำดับ และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ ร้อยละ 51.10 (R<sup>2</sup> = 0.511)</p> ปิยะวิทย์ ทิพรส ยศยา พูนสุขโข ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล สุกัญญา สิงห์ตุ้ย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 164 180 คาร์บอนเครดิต: วิกฤติและโอกาสเศรษฐกิจไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/268108 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาตลาดคาร์บอนเครดิต 2. เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย 3. เพื่อวิเคราะห์วิกฤติและโอกาสสำหรับเศรษฐกิจไทยจากคาร์บอนเครดิต จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ในระหว่างรอบปีที่ผ่านมาก๊าซเรือนกระจกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหลักที่ต้องการแก้ไขด่วน เพราะการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกมีผลกระทบที่เลวร้ายต่อมนุษย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น มีผลกระทบลบต่อหลายด้าน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านพิธีสารเกียวโตในปี ค.ศ. 1997 เป็นต้นแบบของคาร์บอนเครดิต มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการยอมรับว่าสำคัญในการแข่งขันทางการค้า เช่นกฎหมาย Clean Competition Act ของสหรัฐอเมริกาและระบบ European Union Emission Trading Scheme ของสหภาพยุโรป ในขณะที่ประเทศไทยก็พยายามสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนทุกภาคในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านคาร์บอนเครดิต การรับรู้ถึงความสำคัญของคาร์บอนเครดิตควรมาจากระดับยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรและบริษัทใหญ่ร่วมกันเริ่มทำการลงทะเบียนโรงงานที่ใช้พลังงานสีเขียวตามมาตรฐานคาร์บอนเครดิตและพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของตนเอง การนำโรงงานที่ใช้พลังงานสีเขียวไปขึ้นทะเบียนจะเป็นการดีต่อภาพลักษณ์และความไว้วางใจขององค์กร การซื้อขายคาร์บอนเครดิตยังเป็นการสมัครใจในประเทศไทย และรัฐบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมการทำธุรกิจเชิงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและการเงิน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกในอนาคต</p> ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ พันธกานต์ ทานนท์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 38 4 1 19