วารสารสุทธิปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal <p><strong>วารสารสุทธิปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN : 2730-2717 (online) ISSN : 2730-2709 (print)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> ปีละ 4 ฉบับ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม <br />ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน <br />ฉบับที่ 3 สิงหาคม-กันยายน <br />และฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม รวมทั้งฉบับพิเศษ (ถ้ามี)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong>วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความ ในด้านสังคมศาสตร์ อันได้แก่</p> <p><strong>สาขาวิชา </strong><strong>:</strong><strong><br /></strong>1. บริหารธุรกิจ การจัดการและการบัญชี<br />2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติและการเงิน</p> <p><strong>สาขาวิชาย่อย :<br /></strong>1. ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี<br />2. การจัดการด้านกลยุทธ์และการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ)<br />3. พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์<br />4. เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงินและการบัญชี</p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น</p> [email protected] (อาจารย์ ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล) [email protected] (นางปัทมพร โพนไสว และ นางสุดารัตน์ ขำภักตร์) Sun, 31 Mar 2024 08:55:54 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สิ่งที่เรียนรู้จากชีวิต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/272008 วัชระ วัธนารวี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/272008 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การตลาดเชิงประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/268121 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เคยเห็นการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test F-test และ Multiple Regression Analysis </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเห็นด้วยมากที่สุดกับการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน และมีการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนด้านประสาทสัมผัส ด้านความรู้สึก ด้านการกระทำ และด้านการเชื่อมโยงมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยด้านการกระทำมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้สึก ด้านประสาทสัมผัส และด้านการเชื่อมโยงตามลำดับ ซึ่งการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน สามารถอธิบายความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ร้อยละ 34.00 และพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลมากกว่าด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ซึ่งการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือน สามารถอธิบายความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ร้อยละ 28.90</p> อนิวัฒน์ สุขประเสริฐ, จรัญญา ปานเจริญ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/268121 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา “การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านโครงการปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว” https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269452 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เลือกศึกษาจากโครงการปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว ซึ่งเป็นโครงการปลูกป่าของบริษัทฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการชดเชยการสร้างคาร์บอน และประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงบุคคลทั่วไป โดยได้รับความร่วมมือจาก สิงห์ปาร์ค เชียงราย และบริษัทพันธมิตร อาทิ สยามคูโบต้า และไทยคม รวมถึงหน่วยงาน และชุมชนท้องถิ่น โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสื่อสารด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ประกอบกับอาศัยแนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ เช่น ทฤษฎีการวางแผนการสื่อสาร แนวคิดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์องค์กร รวมถึงการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ภายในบริษัท และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาจัดระเบียบข้อมูล แบ่งกลุ่มของข้อมูลเพื่อหาถึงเหตุและผล ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกันของของข้อมูล แนวคิด นำไปสู่การวางแผนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ การวางแผนการสื่อสารด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และการ วางกลยุทธ์ใน การสื่อสารพร้อมประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์นั้น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) วางแผนการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ จากนั้นวางกรอบการดำเนินงานด้าน ความยั่งยืน และตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน เพื่อนำไปวางกลยุทธ์การสื่อสารที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยการศึกษาปัญหาเพื่อกำหนดแนวคิด วัตถุประสงค์ และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นเลือกเครื่องมือในการสื่อสาร ได้แก่ แคมเปญออนไลน์ การทำกิจกรรมเพื่อ สังคม การประชาสัมพันธ์ การร่วมมือกับพันธมิตรและการโฆษณา หลังจากกำหนดเครื่องมือและวิธีการแล้วก็ดำเนินการตาม แผนกลยุทธ์ที่วางไว้ รวมถึงวัดผลเพื่อพัฒนากระบวนการ สื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป</p> อติโรจน์ โชติพรสวัสดิ์, องอาจ สิงห์ลำพอง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269452 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269250 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก 400 คน จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.75 มีช่วงอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.75 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 54.50 มีอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 22.25 มีรายได้ต่อเดือน 15,001–30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.50 ใช้สิทธิข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 30.75 ตัดสินใจด้วยตนเองในการเข้าใช้บริการ คิดเป็นร้อยละ 74.00 และส่วนใหญ่มาใช้บริการ 2-5 ครั้ง/ปี คิดเป็นร้อยละ 47.00 นอกจากนั้นภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นข้อมูลปัจจัยคุณภาพการบริการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.13) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.05) และด้านการเอาใจใส่ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.03) เช่นกัน และปัจจัยคุณภาพการบริการมีผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ ได้แก่ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านการเอาใจใส่ โดยทุกปัจจัยมีความสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการโดยอ้างอิงจากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนี้ โดยมุ่งเน้นทุกปัจจัยมีความสำคัญทางสถิติ เพื่อส่งเสริมการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอกในอนาคต</p> เสาวลักษณ์ ชัยสุข, ฉัตรฤดี จองสุรียภาส, ธฤตวัน เจริญพร, ชนินทร์ อยู่พชร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269250 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยประชากรศาสตร์และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าหลัง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 : กรณีศึกษา ร้านอาหารระดับกลาง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/267380 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining Restaurant) หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในกลุ่มลูกค้าแบบนั่งรับประทานในร้าน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล</p> <p>ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการร้านอาหารนั่งรับประทานในร้าน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยทฤษฎีการเลือกกลุ่มตัวอย่างของ Cochran งานวิจัยนี้ใช้การเก็บแบบสอบถามในการเก็บรวบรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ที่ระดับ 0.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Stepwise</p> <p>การวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในด้านรายได้มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยด้านอายุ อาชีพ สถานภาพการสมรส และเพศ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่นั่งรับประทานในร้าน ตามลำดับ และด้านคุณภาพการให้บริการ การตอบสนองต่อลูกค้าและการให้ความเชื่อมั่นมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารระดับกลางมากที่สุด ส่วนความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ การรู้จักและเข้าใจ และความเป็นรูปธรรม อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างมากต่อการตัดสินใจใช้ร้านอาหารระดับกลาง</p> ภูมิระพี สุขบาง, ธฤตวัน เจริญพร, ปิยะนาฏ จันทร์กระจ่าง, กษิดิ์เดช ตรีทอง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/267380 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดัชนี SET100 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269045 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนี SET100 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในดัชนี SET100 ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2565 จำนวน 80 บริษัท รวมทั้งสิ้น 400 กลุ่มข้อมูล โดยไม่รวมกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินจำนวน 20 บริษัท โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงิน รายงานประจำปี รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในแบบ 56-1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อัตรากำไรสุทธิ (NI) ขนาดของคณะกรรมการบริษัท (BOD) และตัวแปรควบคุม อายุของกิจการ (AGE) มีอิทธิพลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดัชนี 100 ผลลัพธ์ที่ได้นี้มีประโยชน์ต่อนักลงทุนเพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาก่อนลงทุน อีกทั้งผู้บริหารธุรกิจยังสามารถนำไปใช้ไปในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการดำเนินงานได้ต่อไปในอนาคต</p> จักรกฤษณ์ มะโหฬาร, สุมาลี นามโชติ, นฤพล อ่อนวิมล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269045 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/267929 <p>ในปัจจุบันกรมสรรพากรให้ความสำคัญกับการปรับการให้บริการ โดยเริ่มการพัฒนาและปรับปรุงระบบให้มีความพร้อมด้านการให้บริการ และยกระดับการให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ หรือที่เรียกว่า New e-Filing และจังหวัดชลบุรีถือเป็นจังหวัดที่มีสำนักงานบัญชีมากที่สุดในภาคตะวันออก จำนวน 164 แห่ง นอกจากนี้จังหวัดชลบุรีมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคตะวันออกอีกทั้งจังหวัดชลบุรีมีบริษัทที่เป็นนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ในปี 2564 จำนวน 4,659 แห่ง ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและพนักงานที่ทำงานในสำนักงานบัญชี ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ราย โดยการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มาเป็นระยะเวลา 1-2 ปี และมีความเห็นต่อระบบ New e-Filing เกี่ยวกับทางด้านของความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี การฝึกอบรม การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับการยอมรับมาก ทั้งนี้ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และด้านการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน มีอิทธิพลทางตรงต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี โดยปัจจัยทางด้านความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ New e-Filing และปัจจัยประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี และด้านการฝึกอบรม มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานระบบ New e-Filing</p> วนิดา แสงชวลิตร, อรัญญา นาคหล่อ, สุพิชา ศรีสุคนธ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/267929 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/270083 <p>งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานในสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อการผลต่อการลาออกของพนักงานในสถาบันการเงิน ในการศึกษานี้เก็บรวบข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกับตัวอย่างจำนวน 355 คน ที่เป็นพนักงานประจำขององค์การ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวแปรแสดงให้เห็นว่าค่าตอบแทนเป็นปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลกระทบมาที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.70) ตามด้วยประสบการณ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.38) และชั่วโมงการทำงาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.26) นอกจากนั้น ยังพบว่า สมมติฐานได้รับการสนับสนุนบคือ ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานมีผลกระทบอย่างมากต่อการลาออกของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 R<sup>2</sup> = 0.575. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการลาออกของพนักงานมากที่สุดคือ ค่าตอบแทน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อการลาออกของพนักงาน แต่มีการประเมินในเชิงบวกที่ดีที่สุดคือ ค่าตอบแทนมีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงาน เพราะเมื่อตรวจสอบส่วนประกอบของค่าตอบแทนที่พนักงานควรได้รับ หากมีความรู้สึกว่าไม่เท่าเทียมกับความสามารถของพวกเขาหรือลักษณะของงานที่พวกเขาทำ จะทำให้เกิดความไม่พอใจในค่าตอบแทนที่ได้รับ ความไม่พอใจนี้ส่งผลให้พนักงานต้องการลาออกและค้นหาโอกาสใหม่ในการทำงานที่มีค่าตอบแทนที่ดีกว่า</p> พรพรหม พรพรหม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/270083 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำด้านคุณลักษณะกับการจัดการภาวะวิกฤต โควิด-19 ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/266013 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย 2. ศึกษาระดับการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย และ 3. ศึกษาภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะและการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อผลการดําเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้จัดการร้านอาหาร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะมีความเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน สติปัญญาความสามารถ ลักษณะทางสังคม และบุคลิกภาพ ตามลำดับและการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้ประกอบการ มีความเห็นระดับมาก ได้แก่ การเตรียมความพร้อม การป้องกัน การตอบสนอง การปรับปรุงแก้ไข ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ สติปัญญาความสามารถ และลักษณะที่เกี่ยวกับงาน และปัจจัยการจัดการภาวะวิกฤตโควิด-19 ได้แก่ การป้องกัน การเตรียมความพร้อม มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ภริตพร แสงตึง, เบญจวรรณ เบญจกรณ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/266013 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการศึกษาอิสลาม: วิชาแกนและวิชาเฉพาะในหลักสูตรอิสลามศึกษาในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269444 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเร่งด่วนและความจำเป็นในการสร้างหลักสูตรอิสลามศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในประเทศไทย หลักสูตรควรถูกสร้างให้เหมาะสมกับความต้องการทางวิชาการและความต้องการทางปัญญาของนักเรียนที่ต้องการพัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ่งเกี่ยวกับอิสลาม การศึกษานี้นำเสนอกรอบทฤษฎีที่แสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มรายวิชาหลักและหลักสูตรใหญ่ในหลักสูตร เพื่อเสริมความเข้าใจและความชื่นชมต่อความคิดและวัฒนธรรมอิสลามภายในบริบทที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย กรอบทฤษฎีได้ถูกพัฒนาขึ้นจากการวิจัยที่ผ่านมาและการสนทนาทางวิชาการภายในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของกลยุทธ์นี้คือเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของชุมชนมุสลิมไทย โดยการรวมรวมการศึกษาอิสลามทางดั้งเดิมภายในบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย</p> อับดุลฮาฟิช หิเล, มุจลินท์ มินมุกดา, จักรภพ สาละกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/269444 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700