วารสารนวัตกรรมการพัฒนาจิตและปัญญา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="JsGRdQ">วารสารนวัตกรรม</span><span class="JsGRdQ">การพัฒนาจิตและปัญญา</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="JsGRdQ">ISSN XXXX-XXXX (Online)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="JsGRdQ">...................................................................</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body">&nbsp;</p> th-TH [email protected] (ดร.อัครนันท์ อริยศรีพงษ์) [email protected] (ดร.ทิพย์ธิดา ณ นคร) Thu, 23 Dec 2021 16:04:13 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความสัมพันธ์ของการฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 กับการควบคุมตนเอง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255935 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของการฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 กับการควบคุมตนเอง ความสามารถในการควบคุมตนเองเป็นกระบวนการควบคุมสิ่งเร้า เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าเพื่อให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และเป็นการควบคุมผลกรรมหลังจากที่บุคคลได้แสดงพฤติกรรมเป้าหมายแล้ว<br>โดยตนเอง เป็นผู้วางเงื่อนไขผลกรรมนั้นและให้ผลกรรมนั้นแก่ตนเอง คนที่มีความสามารถในการควบคุมตนเองสูง จะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีศักยภาพได้ การฝึกสมาธิมีประโยชน์ซึ่งสามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน สมาธิทำให้จิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งเป็นสมาธิ ย่อมมีพลังกว่าระดับจิตใจที่ไม่มีสมาธิ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ทำให้จิตผ่อนคลายหายความวิตกกังวล มีความสุข และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ทั้งยังได้รับประโยชน์โดยตรงต่อตนเองคือ จะไม่เป็นทุกข์ มีสติรู้เท่าทันผัสสะและเกิดปัญญาในการไม่ปล่อยให้จิตปรุงแต่งจนเกิดทุกข์</p> Wat Buddha Oregon Turner, Oregon USA. 97392, Wat Buddha Oregon Turner, Oregon USA. 97392 Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255935 Thu, 09 Dec 2021 00:00:00 +0700 ถอดบทเรียนกลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาเยาวชนของไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย: กรณีศึกษาพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255937 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาเยาวชนของไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย: กรณีศึกษาพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ บทความ การศึกษาภาคสนามและการสัมภาษณ์ เรียบเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) แห่งไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย มีเทคนิคและวิธีการสอนและการพัฒนาเยาวชนอย่างมีเป้าหมาย โดยมีลักษณะวิธีการสอนคือ 1) การพัฒนาการสอนโดยกระทำให้เป็นต้นแบบ 2) การพัฒนาการสอนผ่านการพูด บรรยาย ฝึกอบรม 3) การพัฒนาการการสอนโดยการฝึกปฏิบัติทดลองจริง 4) การสอนผ่านการนิพนธ์หนังสือ ผ่านการเขียนถอดรหัส สื่อความ 5) การพัฒนาการผ่านกลไกทางพระพุทธศาสนาในองค์รวม ผ่านการสื่อสารอย่างมีเป้าหมายทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมโดยกระทำและดำเนินการอย่างมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเยาวชนของไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย โดยพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)</p> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255937 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 เพื่อดูแลสภาวะจิตใจในช่วงวิกฤตโควิด 19 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255938 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 เพื่อดูแลสภาวะจิตใจในช่วงวิกฤตโควิด 19 เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกคนกำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างความหวาดกลัวและวิตกกังวลในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตแบบกระทันหัน ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะแห่งทุกข์ภายในจิตใจทั้งสิ้น ความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมแสวงหาเพื่อลดทอนแบ่งเบาความทุกข์ในใจ พรหมวิหาร 4 คือธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหนทางแห่งการเยียวยาดูแลรักษาจิตใจ เพื่อให้เกิดความอาทร เกื้อกูลมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน <br>เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจซึ่งถือว่าเป็นหลักธรรมที่จำเป็นต่อสังคมที่กำลังตกอยู่ในภาวะทุกข์ดังเช่นปัจจุบัน</p> บริษัท มาย เวบ จํากัด Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255938 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 ซาเทียร์โมเดล: ความสุขจากภายใน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255939 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับมนุษยชาติก่อให้เกิดภาวะทุกข์ภายในจิตใจ มนุษยชาติต่างเพียกหาความสุข &nbsp;“ความสุขที่แท้นั้น ย่อมเริ่มต้นจากภายในจิตใจของตน” ความสุขจากภายในจิตเป็นสิ่งที่มนุษยชาติแสวงหาเพื่อลดทอนความทุกข์ในใจ ทฤษฎีทางจิตวิทยา “ซาเทียร์” จึงเป็นหนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเองอย่างลึกซึ้ง มีไมตรีและอารีต่อตนเอง ความสุขจากภายในจึงเป็นความสุขอันเติมเต็มมนุษยชาติได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาวะแห่งทุกข์นี้</p> สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255939 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255940 <p>บทคัดย่อ</p> <p>ความเป็นเลิศของสถานศึกษา คือ การพัฒนาโรงเรียนให้ได้มีมาตรฐาน ซึ่งผู้บริหารจะเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ต้องเปลี่ยนจากกรอบแนวคิดเดิมไปสู่กรอบแนวคิดใหม่ โดยการปรับระบบภายในให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาโดยอาศัยกระบวนการบริหารกระบวนการเรียนการสอนและกระบวนการนิเทศทางการศึกษา เพื่อนำไปสู่ผลผลิต คือ นักเรียนมีคุณภาพคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งทุกกระบวนการของการดำเนินงาน เพื่อจะทำให้ผลงานบรรลุเป้าหมายได้</p> สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255940 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 การบริหารโรงเรียนเชิงพุทธบูรณาการสู่ความสำเร็จ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255941 <p>บทคัดย่อ</p> <p>โรงเรียนอาจพิจารณากำหนดและดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ และแผนปฏิบัติการของโรงเรียน ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นพุทธอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง จนบังเกิดผลที่ชัดเจนทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลิกภาพและคุณธรรมของครู อาจารย์ นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนจนเป็นภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ผู้บริหารมีคุณธรรม มีการบริหารจัดการโดยใช้หลักเมตตาธรรม ครูมีความเป็นกัลยาณมิตร นักเรียนมีกริยาวาจาสุภาพ มีน้ำใจ มีคุณธรรม เป็นลักษณะเด่นที่บุคคลทั่วไปเห็นได้ชัดเจน พร้อม ๆ กันโรงเรียนแนวพุทธมีลักษณะเปิดกว้างสู่ชุมชนและสังคม พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ&nbsp; และพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนสังคมด้วยความเกื้อกูลกันและกันอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จของโรงเรียนในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติ.</p> สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255941 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 การบริหารการศึกษาเชิงพุทธสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255942 <p>บทคัดย่อ</p> <p>การจัดการความรู้ทางพระพุทธศาสนาจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ความรู้คืออะไร ความรู้มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการเข้าถึงอย่างไร การแสวงหาความรู้ทำอย่างไร และเมื่อนำความรู้ทางพระพุทธศาสนามาจัดการเพื่อให้เป็นระบบตามหลักการการบริหารการศึกษาจะเข้าถึงความรู้ได้อย่างไรอันจะทำให้เกิดประโยชน์และความเหมาะสมมากที่สุด และจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ สำหรับการจัดการความรู้ทางโลกสถานศึกษาโดยผู้บริหารมีหน้าที่โดยตรงที่จะนำพาผู้เรียนไปให้ถึงเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดไว้</p> สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255942 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255943 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้เพื่อการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายด้วยกันทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยครูที่ปรึกษาควรทำระเบียนสะสมผลงานนักเรียน และทักษะความสามารถของนักเรียนในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากในเวลาเรียน ทำแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบประเมินคุณธรรมและจริยธรรม ขั้นตอนที่ 2 การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน คือ การจัดกิจกรรมโฮมรูม การจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน การจัดกิจกรรมชุมชนปลอดภัยห่างไกลยาเสพติด ขั้นตอนที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน คือ การให้การปรึกษาเบื้องต้น ทั้งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูผู้สอน การให้คำปรึกษาปัญหาพฤติกรรม ใช้วิธีการปรับพฤติกรรมโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม การวางแผนปรับพฤติกรรมโดยใช้หลักการเสริมแรง และการลงโทษอย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้พฤติกรรมพึงประสงค์เพิ่มขึ้น และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง การให้เทคนิคการปรับพฤติกรรมนักเรียน การจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน ขั้นตอนที่ 5 การส่งต่อนักเรียน เป็นกระบวนการส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและครูที่ปรึกษาได้แก้ไขปัญหาโดยวิธีต่าง ๆ แล้วแต่นักเรียนพฤติกรรมไม่ดีขึ้น จึงต้องดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป</p> มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255943 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700 บทความวิจารณ์หนังสือ ยืนหยัดได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น (Resilience) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255944 <p><strong>บทความวิจารณ์หนังสือ</strong></p> ฝ่ายพัฒนาบุคลากรการเลือกตั้ง สำนักพัฒนาบุคลากร Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JMIDI/article/view/255944 Sat, 04 Dec 2021 00:00:00 +0700