https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/issue/feedSikkhana2020-03-31T12:00:18+07:00Assoc Prof. Dr. Ratchaneekorn Tongsookdeesikkhana.j@gmail.comOpen Journal Systems<p>"Sikkhana: Learning Journal, Faculty of Education, Chiang Mai University" published for academic special education and a resource for disseminating research, theses, and guided reading on special education as well. This is for the result of collaborative learning among professionals, educators, students and other interested parties. Moreover, this journal considerates by the Peer Review Committee.</p>https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240992เรียนรู้ผ่านหนัง : ชีวิตมหัศจรรย์ วันเดอร์ 2020-03-30T16:52:18+07:00วีรยา คำเรืองฤทธิ์yingveeraya@outlook.com<p style="margin-top: 0cm; text-indent: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif';">ชีวิตมหัศจรรย์ วันเดอร์ เป็นภาพยนตร์แนวดราม่า ออก ฉายในปี </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif';">2017 <span lang="TH">กำ</span><span lang="TH">กับโดย สตีเฟน ชบอสกี และเขียนบทโดย สตีเฟน ชบอสกี ร่วมกับ แจ็ค ธอร์น และสตีเวน คอนราด ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายปี </span>2012 <span lang="TH">เรื่อง ชีวิตมหัศจรรย์ของออกัสต์ (ชื่อภาษาอังกฤษ </span>Wonder) <span lang="TH">เขียนโดย </span>RJ. Palacio</span></p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240995ผลการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย2020-03-31T12:00:17+07:00วิชิตา เกศะรักษ์wkesarak@gmail.com<p>ผลการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นโดยใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหว ผู้เข้าร่วมศึกษาจำนวน 3 คน ดำเนินการฝึกรายบุคคลเป็นเวลา 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหว จำนวน 12 กิจกรรม และแบบทดสอบทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าร้อยละ และสถิติ</p> <p> จากการศึกษา พบว่า ผลการการใช้ชุดกิจกรรมการรับความรู้สึกทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่านักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ดีขึ้น โดยมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปรับปรุง 3 คน หลังการพัฒนา นักเรียนมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ในระดับดีทั้ง 3 คน โดยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น 0.77 คิดเป็นร้อยละ 77 โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ย 56.47</p>2020-03-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2020 Special Education Program, Faculty of Education, Chiang Mai Universityhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240996การถอดบทเรียนพี่สอนน้องสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา2020-03-30T17:14:09+07:00สุรางค์ ญานะpeaw.kw@gmail.comศิวรักษ์ ศิวารมย์ssiwarom@gmail.com<p>The purposes of this study were to learn lessons from senior-junior teaching on number 1-5 counting skill for students with intellectual disability and to compare pre and post skill of those number counting.</p> <p> The senior and junior students with intellectual disability were students of Kawila-anukul school under the jurisdiction of Bureau of Special Education Administration, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. The elder student was studying in Grade 5 and the younger one was studying in Grade 2. The tools used for data collection were the observation form and teaching context and environment place’s observation form and also the tests of pretest-posttest of number 1-5 counting skill and 16 during learning tests. Computer assisted instruction on number 1-5 was prepared by the elder student. </p> <p> The lesson learned that the elder student could teach the younger one count number 1-5 in his own style. That was he showed the way to count number and prompted the younger one to imitate, speak, and repeat three or four times. The elder one concretely explained and storied all numbers with computer graphic. Those influenced the younger one concretely understood and remembered number 1-5. Moreover the characteristics of students with intellectual disability were closely Intelligent Quotient made conversation smoothly and the younger one understood the content easily, including the teaching place in classroom was suitable to do activities. The result was the younger one showed higher number 1-5 counting skill after using senior-junior teaching activity, and in 1 month later the younger one still remember number 1-5 counting lesson and could do the test correctly.</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240997ผลการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี2020-03-30T17:20:05+07:00หนึ่งฤทัย ชัยชนะnungruethai202@hotmail.comรัชนีกร ทองสุขดีpia_ratchaneekorn@hotmail.comสุภาพร ชินชัยsupaporn.c@cmu.ac.th<p>การค้นคว้าแบบอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี และศึกษาผลการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรี กรณีศึกษาได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น ออทิสติก ประเภทความพิการ (High Function) เพศชาย อายุ 22 ปี จำนวน 1 คน ปัจจุบันเป็นนักศึกษาโครงการพิเศษ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาทำการศึกษาพบว่า กรณีศึกษามักมีพฤติกรรมชอบเลียนแบบจากหนังสือ การ์ตูนที่ชอบอ่าน ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning)หรือการเลียนแบบ (Modeling) สิ่งแวดล้อม เพราะคนเรามีปฏิสัมพันธ์(Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่เสมอ การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ(Modeling) ผู้ศึกษาเลือกที่จะศึกษาเรื่องทักษะทางสังคมเพราะมีความสำคัญในการช่วยให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยใช้แผนการวิจัย แบบ Single Subject Design รูปแบบ ABA Design โดยวิธีเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. สตอรี่บอร์ดที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์สังคมด้านการแสดงออกกับเพื่อนที่เหมาะสมจำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ การ์ตูน เรื่องไม่ยากถ้าอยากสนิท ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์สังคมเกี่ยวกับการสัมผัสตัวเพื่อนผู้หญิงการนั่งใกล้เพื่อนผู้หญิงมากเกินไปและการพูดเรื่องเดิมซ้ำหลายครั้ง 2. แบบสำรวจพฤติกรรมก่อน ระหว่าง และหลังการทดลองจากเพื่อนสนิทของกรณีศึกษาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน 3. แผนการสอนเฉพาะบุคคลจำนวน 5 แผน และ 4. เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและกราฟเส้นดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเป้าหมายก่อนและหลังการให้กิจกรรมตัวแบบสัญลักษณ์ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาออทิสติกระดับปริญญาตรีโดยใช้สถิติ The Split Middle Method</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241009Safe zone : Barrier to Developmental Potentiality of a Child with Multiple Disabilities2020-03-31T11:16:21+07:00ทรงกลด จารุนนทรากุลsikkhana.j@gmail.comรัชนีกร ทองสุขดีpia_ratchaneekorn@hotmail.com<p>Turning to make coffee plantations of community members in Doi Chang Subdistrict and Wawee Subdistrict, Mae Suay District, Chiang Rai Province has created good stability for the local economy and also helps members comprising of 8 hill tribes, able to build a large family together as a primary source in the safe zone. On the other hands, the stability also caused regression in developing potentialities of multiple disabilities children (MD) even when combined with over-protecting behavior (Overprotective) which can be counted as one of the major obstacles to the hard work of families with MD children, volunteers and related government agencies that are committed to improving the lives of people with disabilities in this community. The reduction of such obstacles is therefore to create a positive attitude of parents on the potential of MD children and to recognize their role in creating an environment that influences the achievement motivation (Achievement Motive) which will help make MD children able to develop themselves to their full potential in the end.</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241010การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตครอบครัวเด็กพิการซ้อนเผ่าลาหู่ในตำบลวาวี2020-03-31T11:22:55+07:00ภทรา นาพนังsikkhana.j@gmail.comรัชนีกร ทองสุขดีpia_ratchaneekorn@hotmail.com<p>กลิ่นอายของวัฒนธรรมชนเผ่าที่สัมผัสได้จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการพัฒนาเด็กพิการซ้อนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Rehabilitation: CBR) ที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ชวนให้นึกถึงวัฒนธรรมดั่งเดิมที่รังสรรค์วิถีชีวิตอันแสนงดงามของชาวบ้านในชุมชนวาวีได้เป็นอย่างดี ก่อนที่เทคโนโลยีและความทันสมัยจะเข้าถึงคนในชุมชน ก่อนที่สังคมจะเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ชาวบ้านใช้ชีวิตกันอย่างไร มีความเชื่อ มีวัฒนธรรม ประกอบอาชีพอะไร และเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าความทันสมัยที่เข้ามาสู่ชุมชนแห่งนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของครอบครัวเด็กพิการซ้อนเผ่าลาหู่ในตำบลวาวีอย่างไรบ้าง มีปัจจัยใดบ้างที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241013ตัวแบบวาวี: มิติใหม่สู่การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน2020-03-31T11:31:13+07:00ภคินี แดงปะละsikkhana.j@gmail.comรัชนีกร ทองสุขดีsikkhana.j@gmail.com<p>การช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2553 โดยมีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีเป้าหมายที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชน เส้นทางเริ่มต้นของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนของตำบลวาวี เริ่มจากสภาพความพิการของเด็กพิการส่วนใหญ่พิการรุนแรง จึงก่อให้เกิดกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยชุมชน โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ชุมชนเรียนรู้ เจ้าหน้าที่เป็นโค้ช ระยะที่ 2 ชุมชนฝึกทำเจ้าหน้าที่เป็นโค้ชพี่เลี้ยง ระยะที่ 3 ชุมชนดำเนินการเองจนเป็นเครือข่ายมหามิตรพัฒนาเด็กพิการตำบลวาวี ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในมิติที่หลากหลาย ทั้งมิติทางสุขภาพเด็กพิการ มิติทางสังคม มิติทางการศึกษา มิติการเสริมพลังความเข้มแข็งของ ผู้พิการและชุมชน การสร้างพลังและความเข้มแข็งในการช่วยเหลือเด็กพิการอย่างเป็นระบบ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาครัฐและเครือข่าย โดยอาศัยครอบครัวและชุมชนเป็นแกนหลักในการดูแลคนพิการอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการพัฒนาเด็กพิการในระดับชุมชนทำให้ชุมชนตำบลวาวีเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งจนได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน (CBR) อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241014“มหามิตรวาวี” เครือข่ายเข้มแข็ง สู่การพัฒนาเด็กพิการซ้อน2020-03-31T11:36:43+07:00มนฤทัย โลกคำลือsikkhana.j@gmail.comวีระพงษ์ แสงชูโตsikkhana.j@gmail.com<p>ชมรมเครือข่ายมหามิตรพัฒนาเด็กพิการ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายทำงานภายใต้แนวคิดของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (Community based rehabilitation) หรือ CBR ประกอบไปด้วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลเด็กพิการในชุมชน มีการทำงานร่วมกัน เป็นพันธมิตรกันในการประสานงาน ดูแลช่วยเหลือ และร่วมมือกันในการให้คำแนะนำ ปรึกษา ดูแล ส่งเสริม จัดการศึกษา รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยชุมชน ปัจจัยที่เครือข่ายมหามิตรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชนทั้งต่อตัวเด็ก ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จมาจากการที่ มีความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่สามารถส่งเสริมศักยภาพด้านต่างๆ แก่เด็กพิการซ้อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่ ด้านสังคม รวมถึงการเสริมสร้างพลัง แรงใจ ในการทำงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน สร้างความตระหนักรู้ของครอบครัวและชุมชนให้เห็นความสำคัญของคนพิการ โดยมุ่งเน้นให้คนพิการและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน มีอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ เป็นที่ยอมรับของชุมชน สังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและมีคุณค่า</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241015การวางแผนการเปลี่ยนผ่านจากบ้านสู่โรงเรียน: แนวทางการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กพิการในพื้นที่ดอยวาวี2020-03-31T11:55:14+07:00ศิริพร ตันทโอภาส sikkhana.j@gmail.comรัชนีกร ทองสุขดีpia_ratchaneekorn@hotmail.com<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของกรณีศึกษาเด็กพิการในชุมชนดอยวาวี จังหวัดเชียงราย ชื่อเด็กชายณัฐ (นามสมมุติ) เด็กชนเผ่าลาหู่ อายุ 6 ปี ยังไม่ได้เข้าโรงเรียน ผู้เขียนได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่เป็นตายายผ่านล่ามที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการโทรศัพท์พูดคุยกับมารดา การสัมภาษณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การได้รับข้อมูลจาก การบรรยายของวิทยากรที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี การสังเกตพฤติกรรมและการบันทึกภาพเคลื่อนไหวของกรณีศึกษาขณะอยู่ที่บ้าน พบว่ากรณีศึกษามีความพร้อมที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน เขามีโอกาสทางการศึกษาแต่กำลังจะไม่ได้รับโอกาสนั้นเพราะภาวะความพิการ ความรัก และความเชื่อ ของผู้ปกครอง การวางแผนการเปลี่ยนผ่านจากบ้านสู่โรงเรียนเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กชายณัฐ ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/241016แนวทางการพัฒนาทางการศึกษาเด็กพิการซ้อนในพื้นที่ห่างไกล2020-03-31T11:56:01+07:00จักรพงศ์ หมื่นสุsikkhana.j@gmail.comสร้อยสุดา วิทยากรsoisudavit@gmail.com<p>การพัฒนาทางการศึกษาเด็กพิการซ้อน โดยผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ตำบลวาวี มีการให้บริการที่ครอบคลุมในรูปแบบของเครือข่ายมหามิตร ทั้งในด้านการศึกษาด้านการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านสวัสดิการสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กพิการซ้อนได้รับบริการทางการศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพแบบบูรณาการ โดยศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงรายเป็นผู้ให้บริการด้านการศึกษาเป็นหลัก ทำให้เด็กพิการได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งครอบครัว ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อ แม่ เด็กพิการอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ การปรับสภาพบ้าน ที่เน้นการออกแบบอารยสถาปัตย์หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล อบรมทักษะอาชีพ การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้คนพิการ ทั้งนี้เน้นการทำงานจะเน้นในรูปแบบสหวิชาชีพ โดยมีการกำหนดบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายอย่างชัดเจน มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนรวมถึงประชุมประชาคมเพื่อวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกคน ทั้งการเยี่ยมบ้าน การสอนที่บ้าน การส่งต่อโรงเรียนเรียนรวมหรือโรงเรียนเฉพาะความพิการ</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240984การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้รูปแบบ SPISIR2020-03-31T12:00:17+07:00สมพร หวานเสร็จsikkhana.j@gmail.com<p>รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวม SPISIR ได้รับความร่วมมือ และสร้างความพึงพอใจให้ครอบครัว ชุมชน ผู้ปกครองและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้รับการสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ ความรู้และการทำกิจกรรมร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ซึ่งเป็นผลดีที่เกิดกับผู้เรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษาและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติในอนาคต</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2020 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSikkhana/article/view/240989บทบรรณาธิการ2020-03-30T16:29:50+07:00รัชนีกร ทองสุขดีpia_ratchaneekorn@hotmail.com<p>วารสาร Sikkhana ฉบับที่ 7 (2562, มิถุนายน) นี้เป็นฉบับเปิดพื้นที่แสดงศักยภาพการเป็นนักวิจัยและนักวิชาการของนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ รหัส 60 ที่ลงเรียนกระบวนวิชาการใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งพาสำหรับบุคคลที่มีภาวะพิการซ้อน (070727) และ กระบวนวิชาการมรส่วนร่วมของชุมชนในการศึกษาพิเศษ (070731) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงของครอบครัว และชุมชนที่มีบุคคลซ้อนรุนแรงที่ติดเตียงจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การพื้นฟูสมรรถภาพด้วยพลังของคนในครอบครัวและคนชุมชนในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่เกิดจากความรัก การได้รับความรู้ และมีเจตคติเชิงบวก ทั้งนี้ผู้สร้างสรรค์บทความเป็นนักศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรครูการศึกษาพิเศษสังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดและโรงเรียนเฉพาะความพิการทั่วประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาจากสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาตนทางวิชาการด้านการจัดการศึกษาให้กับบุคคลพิการซ้อนทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย สอดรับกับนโยบายของวารสารที่จะเป็นเวที/พื้นที่ทางการศึกษา การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน โดยให้น้ำหนักกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการศึกษาพิเศษ ทั้งนี้พื้นที่ทางวิชาการและเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบวารสารวิชาการทางการศึกษาพิเศษที่ยังมีไม่มากในประเทศไทย</p> <p>Sikkhana ฉบับนี้นำเสนอบทความวิชาการของนักศึกษากลุ่มข้างต้น 6 เรื่อง บทความวิชาการทั่วไป 1 เรื่อง และ บทความวิจัยอีก 3 เรื่อง บทความที่มาจากการลงพื้นที่ตำบลวาวีได้สะท้อนให้เห็นถึงบริบทของชุมชนที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ความเชื่อภาษา วัฒนธรรม และวิถีชุมชนภายใต้ภูมิเศรษฐศาสตร์เฉพาะตัวที่อาจส่งผลถึงการดูแลบุตรหลานที่มีความพิการซ้อนรุนแรงได้ นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่อาจต้องปรับกลยุทธ์/กลวิธีเพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้มแข็งและให้การช่วยเหลือสนับสนุนให้บุคคลพิการซ้อนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตโดยพึ่งพาน้อยที่สุดอย่างยั่งยืน</p> <p>ส่วนบทความวิชาการและบทความวิจัยอีก 4 บทความเป็นบทความส่งเสริม การจัดการเรียนรวม การพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นโดยใช้ชุดกิจกรรม การพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้วยพี่สอนน้อง และสุดท้ายเป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาที่มีภาวะออทิซึมด้วยตัวแบบสัญลักษณ์ ทั้ง 4 บทความแสดงให้เห็นถึงแนวทางพัฒนาบุคคลพิการกลุ่มต่าง ๆ ได้เป็นผลสำเร็จและผลจากการวิจัยได้ตอกย้ำว่า “ผู้เรียนพิการทุกคนพัฒนาได้”</p> <p>ส่วนท้ายของเล่มนำผู้อ่านเรียนรู้ผ่านหนังโดยวีรยา คำเรืองฤทธิ์ ที่พาผู้อ่านพบกับ อ๊อกกี้ และครอบครัวในหนังเรื่อง ชีวิตมหัศจรรย์ วันเดอร์ หรือ WONDER อ๊อกกี้เกิดมาพร้อมกับ Treacher Coins Syndrome ที่ส่งผลให้หน้าตาผิดรูปและต้องผ่าตัดมากกว่า 27 ครั้ง เพื่อให้สามารถหายใจ มองเห็น และได้ยินโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วย แต่ไม่อาจช่วยให้หน้าตาเหมือนคนทั่วไปได้ทั้งหมด ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวต่อสายตาสาธารณชนในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งแล้ว ที่ต้องยกย่องและกล่าวถึง คือพ่อ แม่ และพี่สาวที่รักอ๊อกกี้อย่างปราศจากเงื่อนไขที่เป็นกำลังใจและเป็นแฟนพันธุ์ตัวจริง ซึ่งวีรยา คำเรืองฤทธิ์สอดแทรกข้อเสนอแนะกว้าง ๆ ไว้ให้ครูในการช่วยเหลือผู้เรียนกลุ่มนี้ด้วย</p> <p>กองบรรณาธิการ หวังว่า เนื้อหาในฉบับนี้จะมีส่วนในการสร้างการเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาครูก้าวไปสู่ครูมืออาชีพได้ในอนาคต ในฉบับหน้าจะเป็นการนำเสนอบทความวิชาการนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาการศึกษาพิเศษที่ได้ลงทำงานในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายอีกหลายเรื่องที่น่าติดตาม ต่อไป</p>2019-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 0