https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/issue/feed วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) 2024-04-30T23:59:47+07:00 Open Journal Systems <p>ISSN: 2773-9732 (Online)</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) เป็นวารสารที่ได้รับการขับเคลื่อนและพัฒนาให้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการสร้างความรู้ของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดย เครือข่ายวิจัยอาเซียนสำหรับสะเต็มศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) รับตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ ที่เกิดจากการสร้างความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในชั้นเรียน หรือปรากฏการณ์ทางการศึกษา ที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) หรือบทความวิจัยทางการศึกษา และบทความวิชาการทางการศึกษา ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) กำหนดออกตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ 1และปีที่ 2 ได้เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ สำหรับตั้งแต่ปีที่ 3 (พ.ศ.2566 หรือ ค.ศ. 2023) เป็นต้นไป ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/270564 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง โครงสร้างดีเอ็นเอ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา 2024-02-11T21:35:53+07:00 ธัญมน พิมพ์ดีด [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง โครงสร้าง ดีเอ็นเอ ของนักเรียนโดยมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โดยสมมุติฐานของการวิจัย คือ ให้มีนักเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 40 คน (แผนการเรียนสายศิลป์) ของโรงเรียนกัลยาณวัตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบบันทึกการนิเทศ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใบกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างดีเอ็นเอ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยพบว่า นักเรียนทั้งหมดมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม</p> <p> </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/270555 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2024-02-13T23:43:27+07:00 สุธาสินี วรรณภาส [email protected] <p>บทความวิจัยนี้ รายงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ(competency-based instruction) ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ7ขั้น (7E) เรื่อง ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต เพื่อพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา หรือ เรียกย่อว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นที่กำลังเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การรายงานผลการใช้นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) การพัฒนาส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยนวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio มีจำนวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาทั้งหมดจำนวน 19 ชั่วโมง ผลการประเมินโดยใช้ค่าIOC โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านพบว่า มีค่าเท่ากับ 0.88 มีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้ เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ได้แก่ แบบบันทึกหลังการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต เครื่องมือประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบมาตรส่วนประมาณค่า5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการพัฒนาพบว่า1) ผลสัมฤทธิ์สมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์สมรรถนะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาชีววิทยา เรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิชาชีววิทยาเรื่องระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ผ่านเกณฑ์ความรอบรู้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนวัตกรรมการเรียนรู้ CT-HOT in Bio ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.84 ของคะแนนเต็ม</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/268988 การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Edulearn) ร่วมกับ E-Board game สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2023-11-14T21:28:34+07:00 วัชราภรณ์ ถ้ำกลาง [email protected] สุดใจ ศรีจามร [email protected] จีรนันทร์ แก่นนาคำ [email protected] ณิชชา สอนสุข [email protected] ศรีประไพ เพียนอก [email protected] อุดมพร สุพรรณวงศ์ [email protected] วัชรพงศ์ ใจเดียว [email protected] <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่เรียนด้วยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Edulearn) ร่วมกับ E-Board game เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดการแก้ปัญหา แบบสัมภาษณ์กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โปรโตคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.11 ( = 82.11, S.D. = 2.29) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2) ผู้เรียนมีกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวคิดของ Polya (1973) ที่มี 4 ขั้น คือ (1) การทำความเข้าใจปัญหา (2) การวางแผนแก้ปัญหา (3) การดำเนินการตามแผน และ (4) การตรวจสอบ และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียน ผลการประเมินรวมด้านเนื้อหามีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (4.66) ผลการประเมินรวมด้านการจัดการเรียนการสอน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (4.69) และผลการประเมินรวมด้านรูปแบบการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ร่วมกับ E-Board game มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (4.64) ผลการประเมินรวมด้านการวัดและประเมินผล มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (4.67)</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/270609 ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ด้วยการบูรณาการ การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่าน Google Classroom 2024-02-13T11:46:43+07:00 สุวดี สารแสน [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ผ่าน Google Classroom เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ผ่าน Google Classroom กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกัลยาณวัตรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น จำนวน 34 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ผ่าน Google Classroom 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนักเรียนจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 97.06 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ผ่าน Google Classroom อยู่ในระดับมากขึ้นไปร้อยละ 100</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/272680 การศึกษาสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ 2024-04-27T20:22:39+07:00 ศิริธร สุตตานนท์ [email protected] โชคชัย ยืนยง [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนทัศน์เชิงตีความ (Interpretive Paradigm) เพื่อศึกษาสมรรถนะการคิดเชิงเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ ผู้วิจัยต้องคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายโดยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม โดยลักษณะของการวิจัยเป็นการศึกษา วิเคราะห์อย่างเป็นองค์รวม มุ่งทำความใจความหมายและการอธิบาย ภายใต้แนวคิดที่ว่า ความจริงหรือความรู้ขึ้นอยู่กับบริบท สามารถประเมินผลได้จากตัวบ่งชี้คุณภาพ 4 ประการ คือ ความน่าเชื่อถือ (Credibility) การพึ่งพากับเกณฑ์อื่น (Dependability) การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability) และการยืนยันผลการวิจัย (Confirmability) ในระหว่างนักเรียนกำลังเรียนรู้ เรื่อง สมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ในแนวคิดการวิจัยที่อาศัยการทำความเข้าใจแนวคิดที่กลุ่มเป้าหมายยึดถือปฏิบัติ จำนวน 4 แผน รวมทั้งหมด 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Empathize) การตีกรอบปัญหา (Define) การระดมความคิด (Ideate) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test) พบว่าการวิเคราะห์สมรรถนะการคิด<br>เชิงคำนวณโดยรวม 4 องค์ประกอบ พบว่า นักเรียนมีสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม จำนวน 6 คน อยู่ในระดับ ดี 3 คน และไม่มีนักเรียนอยู่อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพ พอใช้ </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online)