วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC <p>ISSN: 2773-9732 (Online)</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) เป็นวารสารที่ได้รับการขับเคลื่อนและพัฒนาให้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการสร้างความรู้ของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดย เครือข่ายวิจัยอาเซียนสำหรับสะเต็มศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) รับตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ ที่เกิดจากการสร้างความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในชั้นเรียน หรือปรากฏการณ์ทางการศึกษา ที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) หรือบทความวิจัยทางการศึกษา และบทความวิชาการทางการศึกษา ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู โดย บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p>วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (JTPLC) กำหนดออกตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ 1และปีที่ 2 ได้เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ สำหรับตั้งแต่ปีที่ 3 (พ.ศ.2566 หรือ ค.ศ. 2023) เป็นต้นไป ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> เครือข่ายวิจัยอาเซียนสำหรับสะเต็มศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น th-TH วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) 2773-9732 การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (HIP) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/275174 <p>การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) เนื่องจากเป็นพื้นฐานในการทำให้นักเรียน เกิดความแตกฉานทางวิทยาศาสตร์ ครูจึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ กระบวนการในการหา คำตอบและอธิบายว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีอะไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร การส่งเสริมให้นักเรียนสร้าง คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าใจถึงหลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ อย่างลึกซึ้ง งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จากกิจกรรมการทดลอง และใบงาน การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลง ของสสาร มีองค์ประกอบครบ 3 ส่วน ตามองค์ประกอบของการสร้างค าอธิบายทางวิทยาศาสตร์ คือ ข้อกล่าว อ้าง ข้อมูล และการให้เหตุผล โดยใช้กรอบแนวคิดของ McNeill and Krajcik กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 31 คน จากโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น การสร้างค าอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ มีความสามารถในการระบุข้อ กล่าวอ้างได้อย่างถูกต้อง การนำข้อมูลมาประกอบข้อกล่าวอ้าง ที่แทบจะไม่ได้ คือ การให้เหตุผลมาสนับสนุน ข้อกล่าวอ้าง ผลการวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ในการก าหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ออกแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ อันส่งผลให้นักเรียน มีความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์มากขึ้น</p> สิรินภา ดงรังษี ววรณภา สมตา สุภลักษณ์ ดียิ่ง Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 4 2 91 103 การพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิด https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/269788 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง และผลการพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิด โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 41 คน งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิด จำนวน 4 แผน 2) ใบกิจกรรม 3) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากใบกิจกรรมสำหรับบันทึกการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนที่ 2 ขั้นทำกิจกรรมเพื่อสังเกตปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิด โดยจัดกลุ่มในรูปแบบร้อยละ และนำข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนมาจัดระดับคุณภาพของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิดสามารถพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ โดยผู้วิจัยควรใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันให้เชื่อมโยงกับทดลอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถระบุข้อกล่าวอ้าง เหตุผล และเลือกใช้หลักฐานได้อย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อการเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างครอบคลุม และนำไปสู่การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ และพบว่าภายหลังการการจัดการเรียนรู้แบบกรอบความคิด นักเรียนมีระดับของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นในทุกวงจรปฏิบัติการ</p> อัญชิสา พรรณจิตต์ ร่มเกล้า จันทราษี จิรากาญจน์ ยืนยง Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 4 2 104 116 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/275250 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ จำนวน 31 คน วิธีวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการประเมินใบงานของผู้เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) เรื่องบทนำกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยใช้การสอนจำนวน 5 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ใน แผนการจัดการเรียนรู้ ใบงานของนักเรียน แบบประเมินใบงานบทนำกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ผลงานวิจัย พบว่า นักเรียนมีหลักการคิดวิเคราะห์ในการทำงานใบงานข้อความตรงตามแนวคิดที่กำหนด การเรียบเรียงเนื้อความส่วนมากตอบคำถามตรงประเด็น การใช้ภาษากึ่งทางการ การลำดับในการนำเสนอเขียนตอบโดยมีการตรวจสอบ ลำดับคำตอบ ด้านความคิดสร้างสรรค์นักเรียนนำข้อความในใบความรู้มาตอบโดยเกิดการสรุปและสร้างสรรค์ ดังนั้นการอภิปรายของนักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย</p> นิภาภรณ์ วรรณวิจิตร สุภลักษณ์ ดียิ่ง Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 4 2 117 130 การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/275249 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน วิธีดำเนินการวิจัยคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่ดำเนินการ 4 วงจร เพื่อเรียนรู้การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดฤดูกาล, วงจรปฏิบัติการที่ 2 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดข้างขึ้นและข้างแรม, วงจรปฏิบัติการที่ 3 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ และ วงจรปฏิบัติการที่ 4 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดน้ำขึ้นและน้ำลง เครื่องมือที่ใช้ตีความการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสะท้อนผลการปฏิบัติ การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หลังจบแต่ละวงจรปฏิบัติการ และครูผู้สอนและผู้ร่วมวิจัยเขียนแบบสะท้อนผลการปฏิบัติ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การจำแนกกลุ่มคำตอบของนักเรียนเพื่อประเมินทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ตามกรอบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยข้อกล่าวอ้าง (Claim) หลักฐาน (Evidence) การให้เหตุผล (Reasoning) โดยมีระดับทักษะแบ่งเป็น 7 ระดับ ประกอบด้วย ปรับปรุง, น้อยมาก, น้อย, พอใช้, ปานกลาง, ดี, ดีมาก 2) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ของแบบสะท้อนผลการปฏิบัติ เพื่อจัดกลุ่มประเด็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ผลวิจัย พบว่า ในวงจรที่ 1 และ 2 นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการสร้างคำอธิบายในระดับปานกลาง ส่วนวงจรที่ 3 และ 4 นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการสร้างคำอธิบายในระดับดี</p> กิตติภพ คำปัน ประเทืองสุข มณีล้ำ Copyright (c) 2024 วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 4 2 131 145