วารสารราชนครินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru <p>วารสารราชนครินทร์ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ การวิจัยจากคณาจารย์ นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม<br />โดยมีหมายเลขมาตราฐานสากล ISSN : 2774-1230 (Online)</p> Rajabhat Rajanagarindra University th-TH วารสารราชนครินทร์ 2774-1222 บทสังเคราะห์การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/266834 <p>ปัจจุบัน<strong>มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ</strong> อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยแก้ปัญหาในการจัดเก็บเอกสารและเข้าถึงเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นบุคลากรภาครัฐยังสามารถปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดทำบริการสาธารณะ รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์<strong> เพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติราชการและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล</strong>ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชการ การขออนุมัติ การอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงินและการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน รวมทั้งสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของภาครัฐในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็วและลดปัญหาการทุจริต ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีความสำคัญที่จะส่งผลกการให้บริการภาครัฐก้าวไปสู่ยุครัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน</p> <p>การปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 จะส่งผลดีต่อการปฏิบัติราชการในด้าน 1) การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านดิจิทัลของประเทศโดยการนำเครื่องมือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตและการให้บริการ เพื่อลดปัญหาด้านการจัดเก็บ การสูญหายของเอกสารและการสืบค้นข้อมูลเอกสาร 2) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนสามารถติดต่อกับหน่วยงานของรัฐได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและลดภาระในด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชน รวมถึงสามารถยื่นเอกสารผ่านวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ได้ ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยงานราชการมากยิ่งขึ้น 3) พัฒนาทักษะอาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรภาครัฐเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ในด้านของการทำงานและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4) สร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลเอกสารเนื่องจากเอกสารเป็นความสำคัญขององค์กร ระบบการจัดการกับเอกสารจึงมีรูปแบบการกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ ควบคุมความปลอดภัย เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ไม่ประสงค์ดีในการเข้าถึงระบบฐานข้อมูล และ 5) ลดปริมาณการใช้กระดาษและแฟ้มเอกสารโดยการเปลี่ยนจากห้องเก็บเอกสารแบบออฟไลน์ให้มาอยู่ในระบบออนไลน์ ซึ่งนำไปสู่กระบวนการการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองของทรัพยากรได้ในอนาคต</p> โสภณวิชญ์ เสกขุนทด สุริยศักดิ์ มังกรแก้ววิกุล Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 183 195 การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/270271 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 22 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model แบบวัดและประเมินผลความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test dependent) โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. <span style="font-size: 0.875rem;">แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PCModel เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.66, S.D. = 0.59) </span>2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนผู้เรียนมีความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅ = 21.73, S.D. = 1.52) และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 36.27, S.D. = 1.10) 3. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( x̅ = 4.59, S.D. = 0.54)</p> กีรติ นันทพงษ์ ณัฐนันท์ จุยคำวงศ์ อุบลวรรณ ส่งเสริม Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 1 16 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/270885 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำนวน 368 คน เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ แบ่งเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารโรงเรียนคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย</p> <ol> <li class="show">ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ</li> <li class="show">ระดับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านประสิทธิภาพการสอนครู, ด้านสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้, ด้านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามลำดับ</li> <li class="show">ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01</li> <li class="show">สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพได้ ดังนี้</li> </ol> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ</p> <p>&nbsp;= 1.255 + .227(X<sub>3</sub>) + .260(X<sub>4</sub>) + .148(X<sub>1</sub>) + .093(X<sub>2</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;= .298(X<sub>3</sub>) + .312(X<sub>4</sub>) + .220(X<sub>1</sub>) + .129(X<sub>2</sub>)</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง; การบริหารสถานศึกษา; การบริหารโรงเรียนคุณภาพ</p> ธนพล จูมแพง สุชาดา บุบผา Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 17 33 การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตบริการ ของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/270738 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมระดับจิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2) ศึกษาคุณลักษณะด้านจิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยเครื่องมือเชิงคุณภาพและเครื่องมือเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 และนักศึกษายินยอมเป็นกลุ่มตัวอย่างในการดำเนินการวิจัย จำนวน 105 คน คัดเลือกแบบอิงจุดมุ่งหมาย เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเป็นประชากรที่เข้าถึงได้ทั้งหมด และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และเลขานุการหลักสูตรฯ จำนวน 9 ท่าน ใช้การเลือกตัวอย่างตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา<br />มาเป็นตัวแทนในการตอบคำถามสัมภาษณ์ มีคุณลักษณะร่วมกัน คือ ประสบการณ์ในการสอนหรือทำงานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป เป็นอาจารย์ผู้สอนให้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยตรงไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา และสามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ </p> <p>ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การเรียนรู้แบบบริการสังคมส่งเสริมระดับจิตบริการได้ในระดับมาก (<em> </em>= 4.18) สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองและสังคม และการเรียนวิชาจิตบริการช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริการได้มีระดับการปฏิบัติจิตบริการในระดับดี คือ การมีน้ำใจต่อผู้อื่น และชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่นอกเหนือจากหน้าที่ของตนเองได้ฝึกให้บริการสังคม การมีจิตอาสา และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริการ มีการวางแผนระหว่างเตรียมกิจกรรมเพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ รับฟังความคิดเห็น และทำงานเป็นทีม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า จิตบริการ มีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อนักศึกษาในปัจจุบันอย่างมากเป็นสิ่งที่นักศึกษาสามารถฝึกฝนพัฒนาตนเองได้ จิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการฯ ในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรอบรู้ และกล้าแสดงออกการเรียนรู้แบบบริการสังคมเป็นกิจกรรมที่ดีเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสานระหว่างการเรียนรู้ทางวิชาการกับการบริการสังคม โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือสังคม คุณลักษณะด้านจิตบริการที่นักศึกษาหลักสูตรการจัดการฯ ปฏิบัติบ่อยครั้ง และมีการแสดงพฤติกรรมอย่างชัดเจน คือ ด้านการรับรู้ตนเอง ด้านการมีแรงจูงใจภายในตนเอง ด้านการมีทัศนคติเชิงบวก ด้านการตอบสนองจากการกระทำของตนเอง และด้านการดูแลเอาใจใส่ เสียสละต่อผู้อื่น</p> อนงค์นาถ ทนันชัย Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 34 49 การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ในสถานีบริการน้ำมันของผู้บริโภค เขตกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271229 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ (Stratified random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหูคูณ ( Multiple Regression ) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านกระบวนการให้บริการ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคคลหรือพนักงาน ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> นัทธ์หทัย อัครธนเตชสิทธิ์ จรีย์ภัสร์ จุฑาธนัญญ์ วลัย ซ่อนกลิ่น สุนิสา หมาดง๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 50 63 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271712 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติของสถานศึกษา ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การสถานศึกษา ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต และด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการพัฒนาเจตคติทางบวก ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านความสามารถในการปรับตัว ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .899 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับตามอำนาจการพยากรณ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติของสถานศึกษา ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การสถานศึกษา ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ และด้านการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต แสดงว่าภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ได้ร้อยละ 82.20 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้</p> <p> Y' = 0.183 + 0.355x<sub>2 </sub>+ 0.207x<sub>1 </sub>+ 0.183x<sub>5 </sub>+ 0.177x<sub>4 </sub>+ 0.103x<sub>6</sub></p> <p> Z'Y = 0.371x<sub>2 </sub>+ 0.222x<sub>1</sub> + 0.168x<sub>5</sub> + 0.197x<sub>4 </sub>+ 0.096x<sub>6</sub></p> วสันต์ พันธ์ทอง กัญภร เอี่ยมพญา นิวัตต์ น้อยมณี Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 64 79 กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล สำหรับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271241 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการที่มีความจำเป็นในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี</p> <p> การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากลสำหรับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โดยมีประชากรในการศึกษา ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 6,179 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงระยะที่ 2 การหากระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) กระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ พบว่า ขั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดอย่างต่อเนื่อง ขั้นการพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ขั้นการมอบอำนาจ การให้อำนาจอย่างกว้าง ๆ ขั้นการสื่อสารให้ผู้อื่น ขั้นการให้ความสำคัญกับผลงานที่ดี และวัฒนธรรมการทำงานแนวใหม่ ขั้นการสร้างความสำเร็จในระยะสั้น ก่อนนำไปสู่ชัยชนะที่ต้องการ ขั้นการสร้างสำนึกแห่งความเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลง ขั้นการริเริ่มในการนำการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ตามลำดับ</p> อนัญญา ทิพย์กำจร สุชาดา บุบผา Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 80 95 ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะ EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/270228 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ในสถานศึกษาสังกัดรัฐบาลในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทราจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดทักษะสมอง EF และชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 9 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ข้าวหลากสี 2) ไข่เจียวแสนอร่อย 3) ไอศกรีมหวานเย็น 4) ต้นไม้รอบตัวเรา 5) ใบไม้หลายสี 6) ผัก ผลไม้ของหนู 7) ก้อนหิน-เม็ดโฟม 8) ของใช้ของหนูๆ และ 9) บล็อกแสนสนุก แต่ละครั้งใช้เวลา 40 นาที 2.ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีค่าเท่ากับ 86.07/96.00 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนคะแนนทักษะ EF ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง </p> <p> </p> ธิดารัตน์ อธิปัญจพงษ์ จิตติพร บ่มไล่ ปรีชา ปั้นเกิด จิราภรณ์ ศรีคำดี Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 96 109 การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271149 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์ขึ้นโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการเมือง Verba &amp; Kim (1978), Lazarsfeid, Berelson &amp; Gaudet (1968), สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2547) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา นำมาคำนวนหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีคำนวนสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง จำนวน 20 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ นำไปหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .85 และนำข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สรุปตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สรุปตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าRสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของตัวแปรอิสระทั้งหมดในสมการกับตัวแปรตาม และวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการจัดการ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ด้านการอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความโน้มเอียงต่อปัจจัยในระบบการเมือง ด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านความโปร่งใส ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการยอมรับและเชื่อมั่นในความสามารถของบุคลากร ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ด้านสถานะทางสังคม ด้านการได้รับผลประโยชน์ ด้านสิ่งเร้าทางการเมือง ด้านการวางแผน และด้านการร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่าปัจจัยที่ 15 ตัว มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้ร้อยละ 47.30 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อมรชัย ปิ่นเจริญ ภมร ขันธะหัตถ์ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 110 124 การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271702 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องและความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้น ปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามรูปแบบ ADDIE Model เริ่มจากขั้นการวิเคราะห์ (A: Analysis) ขั้นออกแบบ (D: Design) ขั้นการพัฒนา (D: Development) ขั้นนำไปใช้ (I: Implementation) และขั้นประเมินผล (E: Evaluation) ภายหลังการพัฒนาตามขั้นตอนดังกล่าวสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งหน้าแรกของแอปพลิเคชันประกอบไปด้วย หน้ายินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชา คำอธิบายรายวิชาและคำชี้แจงการใช้งาน ปุ่มเมนูนำทางไปยังหน้าต่าง ๆ และเพลงประกอบแอปพลิเคชัน หน้าที่สองหน้าเนื้อหาที่ หน้าที่สามแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนและหน้าที่สี่หน้าแบบสอบถามความพึงพอใจ 2) การวิเคราะห์ความสอดคล้องและความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ ภาพรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84, <em>S.D.</em> = .37) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.79, <em>S.D.</em> = .06)</p> ณัฐวุฒิ สีดา สายฝน เสกขุนทด Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 125 140 นวัตกรรมการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/270724 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 27 คน ร่วมพัฒนาสื่อสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสนทนากลุ่มและแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์วิดีโอโดยใช้ค่าสถิติวิจัย วัดระดับความพึงพอใจของประชากรทั้งหมดด้วยมิวและซิกมา ผลวิจัยพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ มีระดับความพึงพอใจ จากค่าเฉลี่ยประชากรรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก แบบที่ 1 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้วิถีท้องถิ่นตำบลข่อยสูง แบบที่ 2 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววัดข่อยสูง แบบที่ 3 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลข่อยสูง และกระบวนการสร้างและผลิตวิดีโอ 5 เทคนิควิธี 1) เทคนิคการถ่ายวิดีโอเพื่อการท่องเที่ยว (V-log) 2) เทคนิคการสร้างเรื่องราว บนวิดีโอ (story telling &amp; story board) 3) เทคนิคในการใช้อุปกรณ์กล้องวิดีโอ 4) เทคนิคการสร้างและถ่ายวิดีโอ และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญในชุมชนจนสามารถถอดรูปแบบโมเดลในการพัฒนาข่อยสูง “KOISOONG” โดยผลจากกระบวนการมีส่วนร่วมและเทคนิคในการผลิตสื่อวิดีโอออกมาในเชิงนวัตกรรมข่อยสูง “KOISOONG” ดังนี้ K: Knowledge สร้างองค์ความรู้, O: Opportunity มีโอกาสทำสิ่งใหม่ ๆ ด้านทักษะการสร้างสรรค์สื่อ, I: Innovation นวัตกรรมสื่อวิดีโอ, S: Social Technology สร้างสื่อสังคมออนไลน์, O: Organization การจัดการอย่างเป็นระบบ, O: Operation การปฏิบัติการ/ ลงมือปฏิบัติจริง, N: Network สร้างเครือข่ายชุมชน/ การประชาสัมพันธ์ และ G: Grow up ออกแบบนวัตกรรมสื่อใหม่ขึ้นมา</p> ปิยะนุช ไสยกิจ ทิพาพร โพธิ์ศรี โอปอล์ รังสิมันตุชาติ กมลฉัตร ศรีเจริญลาภ Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 141 154 แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271205 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) หาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี การดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำนวน 368 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ลำดับแรก คือ ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ประกอบด้วย 1) ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ จำนวน 4 แนวทาง 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 แนวทาง 3) ด้านการทำงานเป็นทีม จำนวน 4 แนวทาง และ 4) ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ จำนวน 3 แนวทาง</p> กษมา กวยทอง สุชาดา บุบผา Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 155 166 การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/271420 <p>การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร &nbsp;ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 225 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ตารางการประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้&nbsp; คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; 1. การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>&nbsp; &nbsp; 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศต่างกันต่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม มีการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันต่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้าน มีการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> ชัญญานุช ประครองใจ นันทิยา น้อยจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารราชนครินทร์ 2024-06-29 2024-06-29 21 1 167 182