https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/issue/feed วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ 2024-12-23T20:45:25+07:00 พระสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย, ดร. kanchanaJournal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์</strong></p> <p> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านพุทธศาสนาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ การท่องเที่ยว ศิลปกรรมด้านการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน ศิลปศาสตร์ และการศึกษาเชิงประยุกต์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)</p> <p><strong>วารสารจะกำหนดออกเผยแพร่ </strong></p> <p> ปีละ 3 ฉบับ (4 เดือนต่อฉบับ)</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271469 รูปแบบการส่งเสริมในการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุ 2024-03-17T10:34:54+07:00 ศิริรัตน์ เช็งเส็ง sirirat9944@kru.ac.th สุทัศน์ กำมณี sutat@kru.ac.th ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร narongdech@kru.ac.th กรัณย์พล วิวรรธมงคล karanphon@gmail.com <p>การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมในการใช้แอปพลิเคชันมีความสำคัญต่อมนุษย์โดยเฉพาะการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุ บทความนี้ได้จากการสังเคราะห์และวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งด้านแอปพลิเคชันของพฤติกรรมผู้สูงอายุ การวางแผนทางการเงิน กระบวนการยอมรับเทคโนโลยี ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในสังคมตั้งแต่นโยบายของประเทศจนมาถึงครอบครัว การหาวิธีการช่วยเหลือผู้สูงอายุลดการพึ่งพิงจากคนรอบข้าง สามารถดูแลตนเองได้ ในด้าน สังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ ซึ่งสังคมจะเน้นให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีสังคมที่สามารถดูแลซึ่งกันและกันทำให้ตัวเองมีทัศนคติที่เกิดคุณค่าต่อสังคม ด้านสุขภาพเน้นไปที่การดูแลสุขภาพด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจได้มีการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยผู้สูงอายุโดยใช้การบันทึกรายรับรายจ่ายซึ่งเป็นกิจกรรมเบื้องต้นก่อนที่จะทำไปสู่การวางแผน บทความวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยผู้สูงอายุที่มีการผสมศาสตร์ด้านการออกแบบเทคโนโลยีและศาสตร์ด้านการสร้างตระหนักและการปรับพฤติกรรมไว้ด้วยกันจำนวน 6 ขั้นตอน 1.เก็บความต้องการ 2.สร้างต้นแบบ 3.การทบทวนต้นแบบ 4.การสร้างความตระหนัก 5.การปรับพฤติกรรม 6.การยอมรับเทคโนโลยี เพื่อสร้างการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันในผู้สูงอายุ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/275161 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการสื่อสาร ต่อการเชื่อมโยงทางสังคมของผู้สูงอายุ 2024-09-16T14:34:04+07:00 พระสุภกิจ สุปญฺโญ vi10.aquare333@gmail.com พระเมธีปริยัติวิบูล vi10.aquare333@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการสื่อสารต่อการเชื่อมต่อทางสังคมของผู้สูงอายุ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น สมาร์ทโฟน แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันการสื่อสาร มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการเชื่อมต่อทางสังคมของผู้สูงอายุ<br />ในด้านบวก เทคโนโลยีเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่สามารถพบปะกันได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ในด้านลบ ความไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและการขาดทักษะดิจิทัลกลับทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยวและแยกตัวจากสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีมากกว่าผู้สูงอายุในเขตเมือง ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ และความจำเป็นในการสนับสนุนและให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271614 แนวทางการนิเทศการศึกษาในยุค BANI World 2024-03-25T11:29:02+07:00 ปุณยนุช ทองศรี punyanuch2019@kan1.go.th จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์ mkmitlsu@gmail.com สุนิสา ละวรรณวงษ์ Sunisalawanwong@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการนิเทศการศึกษาในยุค BANI World และเทคนิคการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา จากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างฉับพลันและก้าวกระโดด (Digital Disruption) การปรับเปลี่ยนจากสภาวะที่พลิกผันแบบ VUCA World และเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค BANI World สังคมสูงวัยและโรคอุบัติภัยใหม่ ๆ ซึ่งเป็นโลกที่เปราะบางเต็มไปด้วยความกังวล เข้าใจยากและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning loss) ทุกระดับชั้น ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น การนิเทศการศึกษาจึงเป็นกลไกที่สำคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ชี้แนะ อำนวยความสะดวกให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การเลือกใช้สื่อการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสม ยังเป็นการเรียนรู้ การวางแผนและพัฒนาวิชาชีพร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือ คุณภาพของผู้เรียนหรือประสิทธิภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งลด ความเหลื่อมล่ำเพิ่มโอกาสทางการศึกษา</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/273471 การพัฒนานักกีฬาในยุคดิจิทัล บทบาทของทรัพยากรมนุษย์ในการปรับปรุงความสามารถของนักกีฬา 2024-06-17T15:35:37+07:00 จักรพันธ์ ชุบไธสง nickbuckcall@gmail.com วรัทยา วโรทัย rcresearch@rpu.ac.th <p>ยุคดิจิทัลนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการกีฬา โดยเปิดโอกาสให้องค์กรกีฬาสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาได้อย่างไม่มีขีดจำกัด วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการศึกษาบทบาทของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในการผลักดันให้องค์กรนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถของนักกีฬา หนึ่งในเครื่องมือสำคัญคือการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ซึ่งช่วยในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นสถิติการแข่งขัน ข้อมูลการฝึกซ้อม ข้อมูลด้านสุขภาพและการบาดเจ็บ รวมถึงข้อมูลด้านจิตวิทยาของนักกีฬา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถวางแผนการฝึกซ้อม ปรับแผนการฟื้นฟูสภาพ และกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแผนการฝึกซ้อมและกลยุทธ์การแข่งขันที่เหมาะสมกับศักยภาพและจุดแข็งของนักกีฬาแต่ละคน อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) และความจริงเสริม (AR) ในการฝึกซ้อมนักกีฬายังช่วยจำลองสถานการณ์การแข่งขันจริงได้อย่างละเอียดและปลอดภัย ทำให้นักกีฬาสามารถพัฒนาทักษะและเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการบาดเจ็บ นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว บทความยังเน้นถึงความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการยอมรับนวัตกรรม รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็น และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274719 การพัฒนาแอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุ สำหรับคนในทุกช่วงวัยจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 2024-08-20T13:55:06+07:00 สุทัศน์ กำมณี sutat@kru.ac.th ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร sutat@kru.ac.th <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุสำหรับคนใน ทุกช่วงวัย จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุสำหรับคนในทุกช่วงวัย และประเมินประสิทธิภาพโมไบล์แอปพลิเคชันแอปพลิเคชันการวางแผนพัฒนาทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุสำหรับคนในทุกช่วงวัย วิธีการวิจัยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเพื่อสร้างต้นแบบโดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 ราย เพื่อสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยจากการออกแบบแบ่งฟังก์ชันการทำงานออกเป็น ฟังก์ชันบันทึกรายรับรายจ่าย ฟังก์ชันรายงานรายรับรายจ่าย ฟังก์ชันการวิเคราะห์สถานะทางการเงินซึ่งทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้แอปพลิเคชันในการบันทึกรายรับจ่ายและวางแผนทางการเงิน ผลการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ผลประเมินความพึงพอใจจากการทดสอบโดยผู้ใช้แอปพลิเคชันพบว่าอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/275412 รูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมเพื่อพัฒนากลไกการตลาดเม็ดพลาสติก ด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล 2024-09-25T15:43:34+07:00 ยงยุทธ ศรีสวัสดิ์ chonkanok20@gmail.com ฐนันวริน โฆษิตคณิน chonkanok20@gmail.com กรัณย์พล วิวรรธมงคล chonkanok20@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล (2) พัฒนารูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล (3) ทดลองใช้รูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล และ (4) สรุปผลการใช้รูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา และใช้การศึกษาในลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มที่ 1 การศึกษาวิจัยองค์ประกอบรูปแบบ ได้แก่เจ้าของธุรกิจหรือหัวหน้า รองหัวหน้า คณะกรรมการบริหารผู้ประกอบการธุรกิจเม็ดพลาสติกธุรกิจขนาดย่อมในพื้นที่ปริมณฑล ได้มาแบบสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก รวมจำนวน 660 คน กลุ่มที่ 2 การศึกษาวิจัยสำหรับทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ เจ้าของธุรกิจหรือหัวหน้า รองหัวหน้า คณะกรรมการบริหารผู้ประกอบการธุรกิจเม็ดพลาสติก โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยความสมัครใจ จำนวน 20 บริษัท รวมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินการวางแผนออกแบบระหว่างการอบรม คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติที (t-value) ค่าสถิติยืนยันเชิงองค์ประกอบ ( KMO and Bartlett's Test) สู่การแปลความหมายของข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล ได้วิเคราะห์ยืนยันเชิงองค์ประกอบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ทรัพยากรของธุรกิจขนาดย่อม ความรู้และแหล่งเงินทุนธุรกิจขนาดย่อม การบริหารจัดการธุรกิจขนาดย่อม การวางแผนด้านการตลาด และการวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจขนาดย่อม (2) ผลการพัฒนารูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล ได้ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (3) ความรู้ ความเข้าใจต่อรูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมการตลาดเม็ดพลาสติก หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการวางแผนออกแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมในระดับดีมาก และ (4) สรุปผลการใช้รูปแบบการยกระดับขนาดธุรกิจขนาดย่อมและกลไกการตลาดเม็ดพลาสติกด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ปริมณฑล มีความพึงพอใจโดยภาพมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก </p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274800 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2024-09-19T12:16:57+07:00 ปิยะวรรณ สงครามรอด rodmaypiyawan@gmail.com นิพนธ์ วรรณเวช Rmpiyawan@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดของเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเลทวูดและแจนซี่ โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 301 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ที่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ส่วนสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านนั้น พบว่าการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม ด้านการเกื้อกูลการยอมรับเป้าหมายของกลุ่ม ด้านการให้การสนับสนุนผู้ตามเป็นรายบุคคล ด้านการคาดหวังการปฏิบัติงานของผู้ตามในระดับสูง ด้านการระบุวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครูเพศชายมีความคิดเห็นมากกว่าครูเพศหญิง และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูในสถานศึกษาขนาดกลางมีความคิดเห็นมากกว่าครูในสถานศึกษาขนาดใหญ่</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/275440 สภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด 2024-09-25T16:12:04+07:00 รดาณัฐ วรนิสาภนิตา joybenyapajoy@gmail.com บุษกร วัฒนบุตร joybenyapajoy@gmail.com วิโรชน์ หมื่นเทพ joybenyapajoy@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของภาวะผู้นำของผู้บริหารบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด 2. ศึกษากระบวนการตัดสินใจโดยใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด 3. ศึกษาปัญหา และอุปสรรคของภาวะผู้นำของบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพทั่วไปของภาวะผู้นำของผู้บริหารบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะทางสติปัญญา ผู้บริหารต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่ซับซ้อน เข้าใจปัญหา และหาแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) คุณลักษณะทางกาย ผู้บริหารควรมีสุขภาพแข็งแรง อดทนต่อสภาวะกดดัน มีบุคลิกภาพดี<br />3) คุณลักษณะทางอารมณ์ ผู้บริหารต้องมีความมั่นใจในตนเอง กล้าตัดสินใจ และมีความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของตนเอง 4) คุณลักษณะอุปนิสัย ผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจ และโปร่งใส รับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง</li> <li>กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ภาวะผู้นำ ของผู้บริหารบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด ได้แก่ 1) การตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจ ผู้บริหารควรเข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้ วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และระบุปัญหาหรือโอกาสที่ชัดเจน 2) การตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือก การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายมากที่สุด 3) การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เช่น แผนก ฝ่าย หน่วยงาน ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน สายการบังคับบัญชา<br />4) การตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคลากร ผู้นำต้องกำหนดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของ กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วม และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร</li> <li>ปัญหา และอุปสรรคของภาวะผู้นำของบริษัท เอมมี เพาเวอร์ จำกัด ได้แก่ การขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ทักษะการตัดสินใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสารที่ไม่ดี สื่อสารคลุมเครือ การบริหารจัดการเวลาที่ไม่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญผิดพลาด ขาดการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และผู้มีส่วนได้เสียได้</li> </ol> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274827 รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร เพื่อคุณภาพชีวิตสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 2024-08-20T14:01:45+07:00 ชนินันท์ แย้มขวัญยืน markanntony1978@gmail.com คณิต เขียววิชัย markanntony1978@gmail.com วิชิต อิ่มอารมย์ markanntony1978@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครของผู้บกพร่องทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สวนสาธารณะบึงหนองบอน ถนนเฉลิมพระเกียรติ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ บกพร่องทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่พำนักพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อแหล่งท่องเที่ยวสวนสาธารณะบึงหนองบอน อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.67, S.D. = 0.98) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านกิจกรรม ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.74, S.D. = 1.04) ด้านองค์กรในการจัดการและการบริหารการท่องเที่ยว ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.71, S.D. = 1.04) <br />ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.69, S.D. = 1.07) ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.67, S.D. = 1.08) ด้านการบริการการท่องเที่ยว (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.67, S.D. = 1.04) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.59, S.D. = 1.03) </p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/273933 พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2024-08-01T11:43:18+07:00 สุกัญญา ชมเชย kanya.sukanya.ch@gmail.com พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ kanya.sukanya.ch@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ซึ่งตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 293 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี รองลงมาคือ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึก ที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่</p> <p>2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ <br />การส่งเสริมวินัย คุณธรรม และจริยธรรม รองลงมาคือ การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ การส่งเสริม สนับสนุนการมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง และการส่งเสริม พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ</p> <p>3) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล โดยภาพรวมพบว่า มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (X<sub>5</sub>) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม (X<sub>6</sub>) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี (X<sub>7</sub>) และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (X<sub>8</sub>) มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย เท่ากับ 0.58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายการบริหารงานบุคคล ได้ร้อยละ 58.00 และได้สมการถดถอย คือ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Y}" alt="equation" />= 1.46+0.16X<sub>5</sub> +0.13X<sub>6</sub>+0.16X<sub>7</sub> +0.23X<sub>8</sub> or <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Z}" alt="equation" /><sub>Y</sub> = 0.22X<sub>5</sub>+0.19X<sub>6</sub>+0.21X<sub>7 </sub>+0.31X<sub>8</sub></p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/275441 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2024-09-16T14:49:14+07:00 เดชาวีย์ นันทธนอัครดี dechavee.nan@northbkk.ac.th ตระกูล จิตวัฒนากร Dechavee.nan@northbkk.ac.th วิโรชน์ หมื่นเทพ Dechavee.nan@northbkk.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร<br />เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ MRA ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการตัดสินใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านการประเมินทางเลือกอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแสวงค้นหาข้อมูลอยู่ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลังการสั่งซื้อ ตามลำดับ</li> <li>ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ด้านลักษณะทางกายภาพ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร ตามลำดับ</li> <li>ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ จำนวน6 ปัจจัยจาก 7 ปัจจัย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05</li> </ol> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274888 การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 2024-08-20T14:03:53+07:00 ทศพร ทองกร aimmyandaimmy@gmail.com ประภัสสร สมสถาน aimmyandaimmy@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหาจากผลลัพธ์ดังนี้<br />1. ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านชุมชนกัลยาณมิตร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.85, S.D. = 0.33) รองลงมือ คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.75, S.D. = 0.48) ด้านภาวะผู้นำร่วม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.68, S.D. = 0.47) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.66 , S.D. = 0.48) และ ด้านการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการทำงาน ร่วมกัน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.66 , S.D. = 0.48)<br />2. ระดับของปัจจัยที่การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.67, S.D. = 0.49) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบรรยากาศองค์กร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.86, S.D. = 0.35) รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.8, S.D. = 0.4) และด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.59, S.D. = 0.53) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านโครงสร้างองค์กร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.41, S.D. = 0.53)<br />3. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์กร โดยการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการขับเคลื่อนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการนิเทศ ตรวจ ติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ รวมทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลประโยชน์และคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ด้านการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร ได้แก่ การมีโครงสร้าง นโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติให้กับครู และบุคลากรที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ตรวจ ติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ และสนับสนุน ส่งเสริมให้ครู และบุคลากรมีความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 3) ด้านครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ในการทำชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน โดยรับการฝึกฝนอบรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความมุ่งมั่งตั้งใจในการพัฒนานักเรียน โดยการนำชุมชนแห่งการเรียนรู้มาใช้ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันและกัน และมีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่เสมอ โดยเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การแบ่งปันเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างครูผู้สอน</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274107 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2024-09-16T14:24:21+07:00 สุดารัตน์ ล้นเหลือ besudarat@gmail.com พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ besudarat@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 293 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ กำหนดระดับความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านลักษณะพื้นฐานธรรมชาติเดิมเป็นทุน ด้านการศึกษา ด้านความรู้ลึกและรู้รอบ ด้านความสามารถ ชำนาญในการบริหารและจัดการศึกษา ด้านบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ</p> <p>2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประเมินผล ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินงาน และด้านการตัดสินใจ</p> <p>3) คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ด้านลักษณะพื้นฐานธรรมชาติเดิมเป็นทุน ด้านบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความสามารถชำนาญในการบริหารและจัดการศึกษา และด้านความรู้ลึกและรู้รอบ มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายเท่ากับ 0.758 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาได้ร้อยละ 75.80 และได้สมการถดถอย คือ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Y}" alt="equation" />= 0.52 + 0.11X<sub>1</sub> + 0.11X<sub>3</sub> + 0.12X<sub>4</sub> + 0.20X<sub>5</sub> + 0.35X<sub>6</sub> หรือ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Z}" alt="equation" /><sub>Y</sub> = 0.11X<sub>1</sub> + 0.13X<sub>3</sub> + 0.14X<sub>4</sub> + 0.24X<sub>5</sub> + 0.43X<sub>6</sub></p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/275445 แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 2024-09-16T14:52:45+07:00 ศิรินญา บุญญาน้อย sirinya.joy1@gmail.com นิพนธ์ วรรณเวช Sirinya.joy1@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4 และ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบในการวิจัย โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 274 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก</li> <li>แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าเป้าหมาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษา 2) ครูมีส่วนร่วมในการวางแผน การประเมินหรือวิเคราะห์สภาพบริบทของสถานศึกษา รวมถึงการแสดงความคิดเห็นและการทำงานเป็นทีมเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา และ 3) ครูมีส่วนร่วมในการประเมินผล ติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีและเขียนรายงานผลการดำเนินงาน ภายใต้การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป</li> </ol> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274899 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2024-09-04T20:11:47+07:00 ณภัค พิศาล npphisan26@gmail.com สาโรจน์ เผ่าวงศากุล Npphisan26@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การปฏิบัติงานของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้กรอบแนวคิดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเป็นกรอบในการวิจัย ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 294 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1<br />โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>การปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารสถานศึกษา<br />มีสมรรถนะการสื่อสาร สมรรถนะการวางแผนและการบริหารจัดการ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะ<br />การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ และสมรรถนะการบริหารตนเอง ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ</li> </ol> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274244 การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชุมชนของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา 2024-07-10T20:40:03+07:00 นรินธน์ นนทมาลย์ nattapong.pr@up.ac.th อาภาพรรณ ประทุมไทย nattapong.pr@up.ac.th นริศรา เสือคล้าย nattapong.pr@up.ac.th วรรณากร พรประเสริฐ nattapong.pr@up.ac.th วัชระ แลน้อย nattapong.pr@up.ac.th น้ำเงิน จันทรมณี nattapong.pr@up.ac.th ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ nattapong.pr@up.ac.th ชลธิดา เทพหินลัพ nattapong.pr@up.ac.th <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวชี้วัดทักษะชุมชน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดทักษะชุมชน และ 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดทักษะชุมชน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาตัวชี้วัดทักษะชุมชน ตัวอย่างการวิจัยคือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ประจำหลักสูตร ระดับปริญญาตรี และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 227 คน คณะกรรมการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 24 คน และ คณะกรรมการดำเนินงานหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 31 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการระดมสมอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดทักษะชุมชน ตัวอย่างการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัดทักษะชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์มัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และตอนที่ 3 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดทักษะชุมชน ตัวอย่างการวิจัยคือ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ที่เรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 860 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินทักษะชุมชน มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 ผลการวิจัยพบว่า<br />1) ตัวชี้วัดทักษะชุมชนของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีจำนวน 4 องค์ประกอบคือ ทักษะการประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชน ทักษะการคิดเชิงออกแบบ ทักษะการจัดการโครงการ และทักษะการพัฒนาชุมชนโดยใช้ทรัพยากรชุมชนเป็นฐาน 2) ตัวชี้วัดทักษะชุมชนของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีจำนวน 4 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด เมื่อทำการพิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัด พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 17 ตัวชี้วัด และ 3) โมเดลการวัดทักษะชุมชนของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=105.845, df = 89, ค่า p-value = 0.1075, RMSEA = 0.015, CFI = 0.998 และ SRMR = 0.014) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยที่ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวชี้วัด</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274902 ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียน เพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ 2024-09-12T20:51:05+07:00 บัณฑิต อินทรเทพ bandit@prc.ac.th ประภัสสร สมสถาน Bandit@prc.ac.th <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัย จำนวนทั้งสิ้น 38 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบสอบถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และยังมีการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้ข้อเสนอและผลลัพธ์ในการพัฒนากิจกรรมนักเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเชียงใหม่ มีอยู่ 5 ด้านโดยมีการพิจารณารายด้าน ดังนี้ด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.59) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.85)<strong><br /></strong>ด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.59) ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.88) ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.66) โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ มีการทบทวนแผนและโครงสร้างบริหารที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 5 ปี 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน เน้นความสอดคล้องกับความเชื่อศรัทธาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซี มีกิจกรรมเสริมสร้างอุปนิสัยทั้ง 5 ด้าน 4) ด้านการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ 5) ด้านการวัดและประเมินผล มีการกำหนดเครื่องมือและนำผลประเมินมาพัฒนาต่อเนื่องแต่ละด้านได้แก่</li> <li>พบว่าด้านการบริหารจัดการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ด้านการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ด้านการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60</li> </ol> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274469 การพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ด้วยการเรียนการสอนแบบไฮบริด ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2024-07-26T13:58:46+07:00 ยุทธนา พันธ์มี yutthana.edu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบไฮบริด วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่สร้างขึ้นกับการเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 49 คน โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 21 คน และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการเรียนการสอนไฮบริด 2 )แผนการเรียนการสอนปกติ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย การหาค่าประสิทธิภาพ, การทดสอบค่าที, ค่าเฉลี่ย และร้อยละ </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนการสอนแบบไฮบริด รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.15/85.32 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/276935 การพัฒนารายวิชา “จิตภาวนาแห่งอีอีซี” ในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา 2024-11-28T08:51:21+07:00 มนตรี วิวาห์สุข montree.wi@go.buu.ac.th วรัญญา ปรีดาธวัช 64810105@go.buu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน กำหนดจากประชากรผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สนใจทั่วไปซึ่งมีจำนวนอนันต์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามด้วยสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากคำถามปลายเปิดในแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีพัฒนาสำเร็จและเผยแพร่ในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา มี 6 บทเรียน สื่อวีดิทัศน์ 21 รายการ ชั่วโมงการเรียนรู้ 180 นาที ซึ่งมีค่าความเหมาะสมอยู่ที่ 2.78 จาก 3 ระดับ 2) ความพึงพอใจโดยภาพรวมของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนความเห็นอื่นที่ได้จากคำถามปลายเปิดในแบบสอบถามมีทั้งความเห็นในเชิงลบและบวก</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274955 สภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 2024-10-11T11:33:02+07:00 สุทธิภัทร เผาะสูงเนิน Suttipat@gmail.com อำนาจ อยู่คำ Suttipat@gmail.com ชูเกียรติ วิเศษเสนา Suttipat@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 44 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 29 คน ครูผู้สอน จำนวน 231 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1แบบสอบถามสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารงานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 2) การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งคุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์