วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor
<p><strong>วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์</strong></p> <p> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านพุทธศาสนาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ การท่องเที่ยว ศิลปกรรมด้านการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน ศิลปศาสตร์ และการศึกษาเชิงประยุกต์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)</p> <p><strong>วารสารจะกำหนดออกเผยแพร่ </strong></p> <p> ปีละ 3 ฉบับ (4 เดือนต่อฉบับ)</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p> <img src="https://so05.tci-thaijo.org/public/site/images/kanchanaburi/999.gif" /> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p>
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ศรีไพบูลย์
th-TH
วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
3027-6802
-
แนวทางการสร้างทักษะซอฟต์สกิลด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/273722
<p>การพัฒนาซอฟต์สกิลกลายเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตทำงานในโลกที่มีความผันผวน เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีทัศนคติเชิงบวก ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ผลของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าทักษะซอฟต์สกิลเป็นส่วนหลักที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ในการทำงานมากกว่าทักษะฮาร์ดสกิล นโยบายด้านการศึกษาทุกระดับจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างทักษะดังกล่าวโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอนให้เด็กมีการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเพิ่มการเรียนรู้นอกห้องเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ใช้ความได้เปรียบในแง่ของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสร้างแนวทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏให้มีซอตฟ์สกิล 4 ทักษะด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 5 เครื่องมือ เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และพัฒนาต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน สร้างระบบกลไกการบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีระบบนิเวศที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ สร้างพื้นที่สำหรับการฝึกปฏิบัติทั้งในชุมชนและในมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้เห็นประโยชน์และมีความตระหนักสำนึกรักและพัฒนาชุมชนตามศาสตร์ของตนเอง ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21</p>
ศิริรัตน์ เช็งเส็ง
สุทัศน์ กำมณี
กรัณย์พล วิวรรธมงคล
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
236
246
-
แนวทางการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271626
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4P มีขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมพร้อมความรู้ (Preparing) 2) นำเข้าสู่เนื้อหา (Presentation) 3) ฝึกสื่อสารภาษา (Practicing) และ 4) นำไปใช้สนทนาตามสถานการณ์ (Production) การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียนจากการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ที่เสมือนจริง ผู้เรียนเห็นความเชื่อมโยงของการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ผลที่ได้จากการจัดการเรียนรู้นี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการเข้าสู่โลกการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการใช้ภาษาผ่านสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน และยังเป็นวิถีทางที่จะส่งเสริมทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต</p>
วาสนา เอี่ยมจริง
สุนิสา ละวรรณวงษ์
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
247
257
-
ทักษะของครูแนะแนวและแนวทางในการรับมือ กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274246
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทักษะของครูแนะแนวในการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียน และ 2) ศึกษาแนวทางในการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียนภาวะหมดไฟในการเรียน จากการศึกษาพบว่า ภาวะหมดไฟในการเรียนเป็นผลมาจากความเครียดในการเรียน ทำให้เกิดการเหนื่่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ เมื่อไม่สามารถจัดการกับความเครียดจากการเรียนที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน การทำงานหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไฟในการเรียน การหาแนวทางการป้องกัน แก้ไข หรือรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งครูแนะแนวจำเป็นต้องมีทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการให้คำปรึกษา 2) ทักษะการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา และ 3) ทักษะการจัดกิจกรรมแนะแนว ทักษะดังกล่าวจะช่วยให้ครูแนะแนวสามารถรับมือและป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในการเรียนได้ สามารถจัดการกับภาระหมดไฟที่นักเรียนกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม และกลับมามีไฟในการเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งครูแนะแนวควรใช้ทักษะดังกล่าวในการขับเคลื่อนแนวทางการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียนภาวะหมดไฟในการเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 4 ระดับ ได้แก่<br />1) ลักษณะพื้นฐานของโรงเรียน 2) นโยบายของโรงเรียน 3) ระบบการให้ความช่วยเหลือ และ 4) การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน</p>
วชิราภรณ์ ทัพวัฒนะ
เบญญาพัชร์ วันทอง
พณัฐ เชื้อประเสริฐศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
258
268
-
การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271431
<p>พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางหนึ่งที่ครูสามารถนำมาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่พร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวสู่สังคมภายนอก</p> <p>ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูต้องวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน และมีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน โดยมีหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการนำพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาไปใช้ในชั้นเรียน อีกทั้งมีรูปแบบหรือกระบวนการที่พัฒนาขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนให้การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมไปพร้อมกับความรู้ทางวิชาการ</p> <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อน การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้รูปแบบ Royal Policy to Learning Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ทบทวนประสบการณ์ (Review) 2) บูรณาการพระบรมราโชบาย (Integration) 3) เชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ (Link) 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share)<br />5) ตระหนักคุณค่า (value) และ 6) สรุปความคิดรวบยอด (Conclude) เพื่อให้การบูรณาการ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง</p>
วิลาสินี แสนวัง
ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร
สุนิสา ละวรรณวงษ์
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
269
281
-
การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/272688
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) เปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา แยกตามประสบการณ์ในการทำงาน เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี เริ่มจากงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา จำนวน 315 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย วิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการยกระดับความสามารถของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการส่งเสริมสนับสนุนระบบการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา 2) การเปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการยกระดับความสามารถของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5-10 ปี และครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี มีการปฏิบัติมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี</p>
วราภรณ์ เพียรทอง
มิตภาณี พุ่มกล่อม
ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
79
89
-
ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274281
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตามเพศ และขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครู จำนวน 276 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านความยืดหยุ่น ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และด้านการเห็นใจผู้อื่น 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ที่จําแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับการเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ที่จําแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ด้านการเห็นใจผู้อื่น ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และด้านความยืดหยุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยครูในสถานศึกษาขนาดกลาง<br />มีความคิดเห็นมากกว่าครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก</p>
จิตติ หงษ์เวียงจันทร์
มิตภาณี พุ่มกล่อม
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
90
103
-
แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่มาตรฐานสากล โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274032
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) บนแนวคิดจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of the Basic Education Commission Quality Awards: OBECQA) ปี 2565-2568 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือครูและเจ้าหน้าที่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่ทำงานในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 250 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยได้แก่ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหาจากการผลการสนทนากลุ่มได้เสนอแนวทางและผลลัพธ์ดังนี้<br />1. สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ อันดับที่ 1 ได้แก่ ความผูกพันของบุคลากร (ค่า PNImodified = 0.13) อันดับที่ 2 คือ สภาพแวดล้อมของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร (ค่า PNImodified = 0.12) อันดับ 3 คือ การจัดการและการพัฒนาประสิทธิภาพ (ค่า PNI= 0.12) ) และประการที่สี่คือ ขีดความสามารถและความสามารถของกำลังคน (ค่า PNI = 0.10) การวัดและการประเมิน (ค่า PNI = 0.09)<br />2. แนวทางการประเมินความผูกพันของบุคลากร คือ (1) เพิ่มรูปแบบกิจกรรม งาน โครงการ แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน 2) ออกแบบกระบวนการประเมินความผูกพันของบุคลากรที่เป็นรูปธรรมตามแนวทางการเรียนรู้ ADLI เพื่อใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและพัฒนากระบวนการทำงานสู่ความเป็นเลิศ (3) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรกิจกรรมที่ได้แสดงออกถึงอุปนิสัยพีอาร์ซี (4) ส่งเสริมการทำงานรับใช้ช่วยเหลือด้วยความรักในแบบพระเยซูคริสต ด้านสภาพแวดล้อมของบุคลากรมีแนวทางการพัฒนาคือ (1) มีการจัดทำคู่มือสิทธิประโยชน์ที่พึงจะมีให้แก่ครูใหม่ (2)การเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ครูที่มีอายุงานนาน อาจจะกำหนดเป็นระยะเวลาเช่นทุก ๆ 5 ปีจะได้ค่าประสบการณ์เพิ่ม (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนครูหรือบุคลากรในการออกแบบนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย และ ความสะดวกในการทำงาน ด้านความผูกพันของบุคลากร ด้านวัฒนธรรมองค์กรทางการพัฒนา (1) จัดโครงการ “Better Together” โดยให้ครูแต่ละช่วงชั้นได้ร่วมมือกันเสนอทางแก้ปัญหาจากสถาณการณ์ที่เป็น pain point ของโรงเรียน และให้นำเสนอในรูปแบบนวัตกรรมในการแก้ปัญหา เราจะได้ทางออก พร้อม ๆ กับเห็นแนวคิดของครูที่ทำงานมีประสิทธิภาพ และสร้างประโยชน์ให้แก่โรงเรียน ด้านความผูกพันของบุคลากร แนวทางพัฒนาด้านการจัดการผลการปฏิบัติงานคือ (1) ทำโครงการคล้ายกับโครงการครูพันธุ์ใหม่ ของโรงเรียนที่เคยจัดโดยให้ครูที่อยู่ต่างช่วงชั้นได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน (2) การสร้าง “ Value Time” ให้ครูได้มีโอกาส พบปะ สังสรรค์ พูดคุยให้กำลังใจกันในเชิงสร้างสรรค์ คล้าย ๆ กับ PLC แต่เป็นบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ 3)จัดการเรียนคอร์สสั้น ๆ ที่ช่วยพัฒนาครู เช่น คอร์สเรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติแนวทางพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมของบุคลากรด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรได้แก่ (1) จัดค่ายครูใหม่ทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (2) ให้มีการเซ็นชื่อ ยินยอม ข้อตกลงหรือกฎ ในสัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎ ระเบียบและวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน</p>
กีรติกันย์ เฟื่องกาญจน์
ประภัสสร สมสถาน
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
104
116
-
การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274353
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนแหลมรวกบำรุง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแหลมรวกบำรุง<br />จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ใช้วิธีคัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุตฐานการวิจัย T-test Dependent for Samples และ T-test One Sample. <br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. ความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />2. ความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R อยู่ในระดับมากที่สุด </p>
เมทนีดล อินทเอื้อ
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
117
128
-
ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274114
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ และพื้นที่จัดการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู และคณะกรรมการรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 142 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี 2) การเปรียบเทียบทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน และการเปรียบเทียบจำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน <br />องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา และใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศและแนวทางในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก</p>
ขนิษฐา รัศมี
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
129
140
-
แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274172
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ และ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 116 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา 2) แนวทางการมีส่วนร่วม ดังนี้ 2.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูควรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม 2.2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูควรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ 2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน ครูควรมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลที่ชัดเจน 2.4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาครูควรมีส่วนร่วมในการวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง 2.5) ด้านการนิเทศการศึกษา ครูควรมีส่วนร่วมในการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานนิเทศภายใน 2.6) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ครูควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ</p>
ธันย์ชนก มีความเจริญ
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
141
155
-
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274184
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ในสถานศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดภาวะผู้นำทางวิชาการและการบริหารงานวิชาการเป็นกรอบในการวิจัย โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 283 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก</li> <li>การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก</li> <li>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา (X<sub>2</sub>) ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร (X<sub>4</sub>) และด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ (X<sub>10</sub>) มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายเท่ากับ 0.95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถทำนายการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ร้อยละ 95 ได้สมการถดถอย คือ = 0.07 + 0.65X<sub>2</sub> + 0.52X<sub>4</sub> - 0.20X<sub>10</sub> หรือ <sub>Y</sub> = 0.68X<sub>2</sub> + 0.55X<sub>4</sub> - 0.23X<sub>10</sub></li> </ol> <p> </p>
สรายุทธ ลอยวน
ปรเมศร์ กลิ่นหอม
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
156
168
-
กลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/274190
<p>บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือกลุ่มวัดและชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) วัดในชุมชนปงสนุกเหนือ บ้านเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง 2) วัดในชุมชนไหล่หินหลวง บ้านไหล่หิน อำเภอเกาะคา และ 3) วัดในชุมชนบ้านหลุก บ้านนาครัว อำเภอแม่ทะ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่มีส่วนในการดูแลพิพิธภัณฑ์ ผู้ที่มีความรู้ด้านการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนและ บุคคลที่มีส่วนในการบริหารจัดการภูมิปัญญาและวัฒนธรรมจำนวน 22 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) แบบการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท องค์ความรู้และข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า กลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย การค้นหาต้นกำเนิดของความรู้ในชุมชน การแยกแยะประเด็นสำคัญของความรู้ การจัดลำดับการนำเสนอความรู้เพื่อการกระจายความรู้สู่ชุมชน และการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ การพัฒนากลวิธีในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างตัวแทนชุมชนเพื่อสร้างทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาอัตลักษณ์และความเป็นมาของชุมชน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามต้นทุนทางสังคมของชุมชน</p>
ตระกูล จิตวัฒนากร
บุษกร วัฒนบุตร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
169
181
-
ตัวแบบความร่วมมือของชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ศึกษากรณี ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271390
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่และกระบวนการจัดการของชุมชน หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน ในปัจจุบัน เกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือชุมชน หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน เกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ และ 3) เพื่อนำเสนอตัวแบบความร่วมมือของชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แนวคิด การมีส่วนร่วมของประชาชน การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคส่วนอื่น เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชาชนเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จํานวนทั้งสิ้น 398 คน คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน ข้อมูลที่ได้เชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์ One-way ANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า<br />1. เทศบาลตำบลหัวหินมีกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่แบ่งเป็น 3 ระยะ มีการจัดการที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ และมีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน<br />2. ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้ความร่วมมือในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ พร้อมที่สนับสนุนการทำงานและระดมทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม แต่ยังขาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ<br />3. การที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนจะต้องดำเนินการอย่างเป็นเป็นระบบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และปัจจัยผลผลิต (Output)<br />ผลการวิจัยจะเป็นตัวแบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตำบลหัวหินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนอกเหนือจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้</p>
ศิริมา บุญมาเลิศ
เอกอนงค์ ศรีสำอางค์
เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
182
194
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/272166
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงวัยที่ได้รับใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัยในตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร 3) แบบตรวจสอบความเหมาะสม 4) ชุดกิจกรรมและคู่มือการใช้ชุดกิจกรรม 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 6) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ และ7) ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า <br />1. ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 6 ส่วนคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมเพื่อร่างกายแข็งแรง (2) กิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ (3) กิจกรรมยามว่างเพื่อสุขภาพ 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5) การวัดและประเมินผล 6) ปัจจัยสนับสนุนและคู่มือใช้ชุดกิจกรรม มีค่าความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด <br />2. คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยหลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ <br />3. ผู้สูงวัยมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยเห็นว่าชุดกิจกรรมมีความเหมาะสม เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย</p>
วินัยธร วิชัยดิษฐ์
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
195
210
-
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยีด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะ การคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/272652
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยีด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงระบบ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.3) พัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิค TAI กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ผลการเรียนรู้ การคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน พื้นที่วิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นกระบวนการกลุ่ม 2.1) กำหนดปญหาที่ตองการแกไขแบ่งปัญหาใหญ่ใหเป็นปญหาย่อย 2.2) การคิดหารูปแบบ 2.3) การคิดเชิงนามธรรม 2.4) ออกแบบขั้นตอนวิธี 3) ขั้นประเมินผล 4) ขั้นเสริมแรง มีประสิทธิภาพ 89.28/81.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80</p> <p>2) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดละเอียดลออ มีคะแนนทั้ง 4 ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 23 คน แสดงว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ศึกษา ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเพื่อนในกลุ่มรับผิดชอบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม และสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจากการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจนสามารถปลูกฝังทักษะความสามารถในการคิด เพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น </p>
ฤทัย สมบัติเจริญไทย
พาที เกศธนากร
ณรงค์ พันธุ์คง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
211
225
-
ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อความต้องการด้านสมรรถนะบัณฑิต ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchana-editor/article/view/271256
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อความต้องการด้านสมรรถนะบัณฑิตในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาโดยมีกรอบแนวคิดที่ศึกษา 4 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้ 2) ด้านเจตคติ 3)ด้านทักษะและ 4) ด้านจริยธรรม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบัน จำนวน 6 คน ศิษย์เก่า จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน/วิทยาลัยและครู จำนวน 4 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กลุ่มและการประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านความรู้ นักศึกษาจะต้องมีความรู้ด้านศาสตร์การสอน หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนและการประยุกต์ใช้ มีความรู้ด้านการวิจัย รู้จักวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรและเป็นผู้ติดตามองค์ความรู้ทางการศึกษาอยู่เสมอ 2) สมรรถนะด้านเจตคติ นักศึกษาจะต้องมีแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองทั้งทักษะวิชาการและทักษะชีวิต มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นครูไว้สูงสุด 3) สมรรถนะด้านทักษะ นักศึกษาจะต้องมีทักษะการสื่อสาร มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายดึงดูดความสนใจของนักเรียน ควบคุมชั้นเรียนได้ ประยุกต์สื่อเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม 4) สมรรถนะด้านจริยธรรม นักศึกษาจะต้องมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูและกฎระเบียบของโรงเรียน เป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนและวางตัวเป็นกลาง ไม่มีอคติต่อผู้เรียน</p>
มนตรี หลินภู
อังสุรีย์ พันธ์แก้ว
ขวัญชัย ขัวนา
จารุนันท์ ขวัญแน่น
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
4 2
226
235