มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL <p>วารสาร มจร เลย ปริทัศน์ เป็นวารสารทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้</p> <p>1. เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และพระพุทธศาสนา แก่อาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป</p> <p>2. เพื่อสร้างเสริมด้านงานวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ สาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) รัฐศาสตร์ 2) พระพุทธศาสนา 3) บริหารการศึกษา 4) ครุศาสตร์ 5) ศิลปศาสตร์ 6) รัฐประศาสนศาสตร์ 7) ศึกษาศาสตร์</p> th-TH <p>JOURNAL OF MCU LOEI REVIEW<br>ISSN 2730-1451</p> <p>ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br>เลขที่ 119 หมู่ 5 ตาบลศรีสองรัก อาเภอเมือง จังหวัดเลย 42100.<br>โทรศัพท์ : 042 039 630<br>โทรศัพท์ : 085 419 3595<br>Email : jarukit.phi@mcu.ac.th</p> jarukit.phi@mcu.ac.th (ดร.จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์) pattanan.nuan@mcu.ac.th (นายพัทธนันท์ นวลน้อย) Fri, 29 Sep 2023 09:54:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลขนาดเล็กในโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268156 <p>&nbsp;โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลขนาดเล็กในโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีปัญหาและอุปสรรคหลายอย่าง ได้แก่ ขาดทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐานที่จำกัด เงินทุนจำกัด การมีส่วนร่วมของชุมชนจำกัด และการเข้าถึงการฝึกอบรมและการพัฒนาวิชาชีพอย่างจำกัด ความท้าทายเหล่านี้อาจทำให้ยากสำหรับ โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนและทรัพยากรที่เหมาะสม เอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียนได้ รูปแบบหรือแนวคิดหนึ่งที่สามารถส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ การจัดตั้งระบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ด้วยการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของครู ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ โรงเรียนจะกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการศึกษา ครูจะร่วมมือกันปรับปรุงวิธีการสอน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน ส่งผลให้มีคุณภาพการศึกษาและวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และตอบสนองกับทิศทางการผลิตและการพัฒนากำลังคนดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้ทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ</p> สิริกร นามลาบุตร, ชนิดา เพชรทองคำ, จันทมร สีหาบุญลี, พีรวิชญ์ นามลาบุตร, นุชลีพร จิตแกล้ว Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268156 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 บูรณาการสุนทรียศาสตร์ในทางโลก และ ทางธรรม เพื่อปรับใช้ในชีวิต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268157 <p>&nbsp;สุนทรียศาสตร์ทางโลก หรือ ความงามอย่างสมมติสัจจะ อันเป็นความงามตามภาษาโลกที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของประสาทสัมผัสทั้ง๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย แม้ความงามเหล่านี้จะวิจิตรเพียงใดก็มิใช่สิ่งยั่งยืน จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ที่พรรณนาความงามอย่างพิศดารก็เพื่อให้มนุษย์เกิดศรัทธาในการให้ทาน รักษาศีล และ เจริญภาวนา <br>&nbsp;ส่วนสุทรียศาสตร์ทางธรรม หรือ ความงามอย่างปรมัตถสัจจะ อันเป็นความงามจริงแท้ เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามธรรมวินัย คือ การละเว้นชั่วด้วย กาย วาจา ใจ เรียกว่า ศีลงาม การเพียรพยายามปฏิบัติธรรม เรียกว่า ธรรมงาม การหลุดพันจากอาสวะกิเลส เรียกว่า ปัญญางาม<br>&nbsp;สุนทรียศาสตร์ทางโลก และ สุนทรียศาสตร์ทางธรรม จะเกื้อกูลกันและกัน ฉะนั้น ในการนำสุนทรียศาสตร์ทางโลก และ ทางธรรม มาปรับใช้ในชีวิตจึงต้องให้เป็นไปอย่างสมดูลย์</p> พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์ ใต้ศรีโคตร, พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268157 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองวิถีใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268158 <p>&nbsp;การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองวิถีใหม่ พบว่า กระบวนการสื่อสารทางการเมืองไทยในปัจจุบันประชาชนมิได้เป็นเพียงผู้รับสารจากแหล่งข่าว (รัฐ-สื่อมวลชน) แต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป แต่ประชาชนได้มีการสื่อสารจากล่างขึ้นด้านบนภายในกรอบของสังคม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชน ได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งปฏิกิริยาการสื่อสารของประชาชนอาจมีการแสดงออกที่มีความรุนแรงมากขึ้นตามช่องทางสื่อสารที่เปิดโอกาส เช่น การโทรศัพท์แสดงความคิดเห็นในรายการคุยข่าว การส่งจดหมาย หรือ forward mail การใช้สื่อใหม่ เช่น Facebook Line YouTube แสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรืออาจเป็นการเดินประท้วงรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาล ฯลฯ การสื่อสารกับการเมืองจึงมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างใกล้ชิด การสื่อสารทางการเมืองยังต้องหาช่องทางการเข้าถึงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ดังนั้น นักการเมือง จึงเลือกใช้รูปแบบมาผสมผสานกัน และยังต้องคำนึงถึงความถี่ที่เหมาะสมในการใช้สื่อด้วย ในแง่มุมหนึ่ง การสื่อสารทางการเมืองโดยการนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งการใช้แคมเปญโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดแบบทางตรงด้วยการอาศัยหาเสียง หรือเดินพบปะประชาชนรวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ของพรรค (brand image) นั้น แสดงถึงบูรณาการทางการเมืองที่ได้มีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดและสื่อหลาย ๆ แขนงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองให้มากที่สุด ทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ พยายามนำเสนอข้อมูลข่าวสาร นั่นก็คือ การนำเสนอผู้สมัครและการสร้าง การสื่อสารทางการเมืองโดยอาศัยการสื่อสารการตลาดเป็นเครื่องมือในการหาเสียงเพื่อ ให้ชนะเลือกตั้ง</p> อาลี คาน Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268158 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 บทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268159 <p><strong>&nbsp;</strong>บทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ จะต้องไม่แบ่งแยก เลือกส่งเสริมเฉพาะสิทธิในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ควรส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ อย่างสมดุล ทั้งในด้านสิทธิทางพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนสิทธิ ในการพัฒนา สิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ เหล่านี้ยังมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน อย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงไม่ควรที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล จะอ้างสิทธิมนุษยชนเพียงด้านใด ด้านหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างขาดความเข้าใจ และสำนึกในบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตน สิทธิเสรีภาพที่จำเป็นขั้นพื้นฐานที่คนทุกคนพึงได้รับอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ชาติกำเนิด ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต เพศ รูปลักษณ์ภายนอก อายุ และสติปัญญา หรือมีความไม่เท่าเทียมกันในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ถือว่าเป็นสิทธิที่รัฐพึงให้ความสำคัญกับประชากรของประเทศ ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ทั้งด้านเครื่องมือ กระบวนการ และกฎหมายพร้อมทั้งระเบียบต่าง ๆ เพื่อความสุขอย่างยั่งยืนของสังคมที่มุ่งเน้นสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายหลักและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษชนสากลที่นานาอารยประเทศให้การยอมรับและยึดมั่นปฏิบัติร่วมกันตามเจตนารมณ์ที่จะสร้างโลกนี้ให้เป็นที่น่าอยู่อาศัยของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง</p> วราธ์ โมรัฐเสถียร Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268159 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 การแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเพศสภาพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268160 <p>&nbsp;ประเทศไทยเริ่มเห็นแสงสว่างตรงปลายอุโมงค์เมื่อมีการเสนอกฎหมายพระราชบัญญัติคู่ชีวิต หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมเพื่อเป็นการคืนสิทธิเสรีภาพให้กลับกลุ่มหลากหลายทางเพศให้มีอิสรภาพ เสรีภาพ และภารดรภาพแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกันกับทุกเพศสภาพและเพศวิถีในสังคมไทย แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ในสังคมไทยจะเดินไปทิศทางใดหรือเติมเต็มด้านสิทธิเสรีภาพในกลุ่มหลากหลายทางเพศอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามกระแสของสังคมที่กำลังเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพอันเป็นไปตามหลักนิติรัฐต่อไป ดังนั้นแม้องค์กรอื่นใด หรือพรรคการเมืองที่พยายามต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของกลุ่มหลากหลายทางเพศอาจมีความคาดหวังในการตักตวงผลประโยชน์จากการเป็น Voter ของกลุ่มหลากหลายทางเพศที่จะลงคะแนนเสียงให้เพื่อจะได้มีตำแหน่งในทางการเมืองในการสนับสนุนให้สมาชิกพรรคการเมืองของตนให้ได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภาหรือการสนับสนุนทางการเมืองอื่นใดก็ตาม สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น</p> <p>&nbsp;มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่ในสังคมที่โดดเดี่ยวแต่ต้องเกี่ยวพันกับผู้อื่นอยู่เสมอจึงจะสามารถมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ เมื่อจำเป็นต้องอยู่ในสังคม กฎของสังคม (Social Law) จึงต้องมีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น ดังนั้น ไม่มีกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดจะได้รับสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์แบบแม้จากสมาชิกของกลุ่มสังคมเดียวกัน แต่การยอมรับในความแตกต่าง ความหลากหลาย โดยไม่มีการปิดกั้นหรือต่อต้านโดยการใช้กฎของปัจเจกบุคคล (Individual Law)เป็นบรรทัดฐานในการสร้างกฎทางสังคม มนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้นก็จะได้รับการยอมรับในสิทธิและเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีและพึงเป็นตามสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ย่อมนำมาซึ่งศักดิ์ศรีในการมีชีวิตอยู่ในสังคมที่ดีได้</p> ผศ.ดร.สันติ พิมพ์ใจใส Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268160 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 วัดกะพังสุรินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268155 <p>กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 วัดกะพังสุรินทร์ พบว่า <br>1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) จากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด<br>2. ผลการสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ และ ผลตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์ การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด<br>3. การทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) ดำเนินการจำนวน 5 กลยุทธ์ ตลอดปีการศึกษา 2565 การดำเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) ผลการทดลองใช้ระดับการปฏิบัติทั้ง 5 กลยุทธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 5 กลยุทธ์ ในภาพรวมสูงขึ้นทุกกลยุทธ์ คิดเป็นร้อยละ 96.49<br>4. การประเมินผลการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์)<br>4.1 ผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน จากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์)<br>4.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 พบว่า จากผู้เรียน จำนวน 1,369 คน ที่ใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์)ในการจัดการเรียนการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับดีเยี่ยม จำนวน 658 คน ร้อยละ 48.06 ระดับดีมาก จำนวน 262 คน ร้อยละ 19.13 ระดับดี จำนวน 194 คน ร้อยละ 14.17 และไม่มีผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ <br>4.1.2 ผลการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 เรื่องการตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การแต่งกาย และกริยามารยาทอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 1,369 คน ร้อยละ 100 ทุกประเด็นการประเมิน<br>4.2 ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของครูจากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) จำนวน 15 เรื่อง ร้อยละ 100<br>4.3 ผลสัมฤทธิ์ด้านพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาครูจากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) มีเครือข่ายชุมชนแห่งการการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครบถ้วนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 9 เครือข่าย คิดเป็น ร้อยละ 100<br>4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ที่มีต่อการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปิลันธร คงจุ้ย Copyright (c) 2023 มจร.เลย ปริทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/268155 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700