Maejo Business Review https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA <p>วารสาร Maejo Business Review เผยแพร่บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ในหลายมิติ โดยต้องนำเสนอให้เห็นถึงการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการที่มีประโยชน์และน่าสนใจ รวมถึงการนำเสนอผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการ และวิชาชีพ <strong>โดยวารสารได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ที่มีความเชี่ยวชาญตรงสาขาที่เกี่ยวข้องโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนต่อผู้พิจารณา (double blind peer review) และ<em>มีผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน</em> ทำหน้าที่ในการประเมินคุณภาพผลงานวิชาการ เพื่อความเป็นมาตรฐานของวารสาร และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ</strong> โดยบทความที่ผ่านการพิจารณาประเมินคุณภาพผลงานวิชาการ จะได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Maejo Business Review</p> th-TH [email protected] (Assistant Professor Dr.Kulchaya Waenkaeo) [email protected] (Mr. Chatchai Kareaw) Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็นของผู้เสียภาษีและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/261605 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น และปัญหาของผู้เสียภาษี และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 393 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ประกอบด้วย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า ผู้เสียภาษีมีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เจ้าหน้าที่รัฐมีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นระดับปัญหาของผู้เสียภาษีที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพบว่า ผู้เสียภาษีที่มีระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อความรู้ความเข้าใจในภาษีที่ดินและ<br />สิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอายุ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการจัดเก็บภาษีแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> วิภาวี ศรีรินทร์, สัตยา ตันจันทร์พงศ์, ดลยา ไชยวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/261605 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านจริยธรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้าของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา FREITAG https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/262534 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านจริยธรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณีศึกษา FREITAG ผ่านแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เป็นผู้บริโภคอายุระหว่าง 18-24 ปี ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ FREITAG จำนวน 405 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 179 คน เพศหญิง จำนวน 153 คน และ LGBTQ+ จำนวน 73 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความซื่อสัตย์ และปัจจัยด้านการสร้างความโปร่งใส ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในขณะเดียวกันปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจควรมีความตรงไปตรงมา และความโปร่งใสในการดำเนินงานที่ควรตรวจสอบได้ต่อผู้บริโภค เพื่อเป็นพื้นฐานตั้งต้นในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยจะนำมาสู่ผลกระทบเชิงบวก และความจงรักภักดีในที่สุด</p> ภัทรขวัญ บุษบงก์, ตรีชฎาพร ลาภรื่นฤดี, ไวภพ ดวงมัฌชิมา, จารุพร ตั้งพัฒนกิจ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/262534 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/263656 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การมีจริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้า และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้การมีจริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้า กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าทั่วไปที่ซื้อสินค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) การรับรู้จริยธรรมของผู้ขายมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้า ความไว้วางใจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันและความภักดีของลูกค้า และความผูกพันของลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างการรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า CMIN/DF เท่ากับ 2.97 GFI เท่ากับ 0.95, NFI เท่ากับ 0.99 CFI เท่ากับ 0.99, RMSEA เท่ากับ 0.07 และ RMR เท่ากับ 0.01</p> จรีพร อินทรเกตุ, วัชระ เวชประสิทธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/263656 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การสร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์โดยชุมชนเพื่อสร้างช่องทางการตลาดออนไลน์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษมาตรฐาน GI ในเขตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/265891 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษ GI ในเขตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 2) สร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ 3) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษ GI ในอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์โดยชุมชนมีส่วนร่วม พบว่าเป้าหมายของการสร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์คือการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้หอมแดงศรีสะเกษ GI กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มลูกค้ารายย่อย กลุ่มคนรักสุขภาพ และกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ เนื้อหาที่จะถ่ายทอดมี 4 ประเด็น ได้แก่ วิธีการเพาะปลูก ลักษณะของหอมแดงศรีสะเกษ GI การเก็บรักษา และคุณประโยชน์ของหอมแดง ช่องทางออนไลน์ที่เลือกคือเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) สื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์มี 3 รูปแบบ คือ สื่อที่เป็นภาพนิ่ง ข้อความ และวิดีโอ 3) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเนื้อหามีความถูกต้องน่าสนใจ สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อ ส่วนความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อดิจิทัลคอนเทนต์มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ภาพและเสียงมีคุณภาพที่ดี สามารถใช้ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักหอมแดงศรีสะเกษ GI มากยิ่งขึ้น และการนำเสนอสื่อช่วยให้เกิดความสนใจในสินค้า และ 4) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนแตกต่างกัน</p> พนิดา พานิชกุล, ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/265891 Wed, 22 Nov 2023 00:00:00 +0700 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Shopee ของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/266650 <p>ในยุคออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและนำไปสู่การตลาดออนไลน์ ปัจจุบัน Shopee เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ได้รับความนิยมอันดับที่ 1 กลยุทธ์การตลาดที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้ากระทั่งก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ คือ ส่วนประสมการตลาด ดังนั้นจึงวิจัยเรื่องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Shopee โดยวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Shopee ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Shopee และพักอาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับการใช้เทคนิควิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ได้ข้อมูลตอบกลับจำนวน 434 คน ผู้วิจัยเลือกใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าโมเดลส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการส่วนบุคคล โมเดลคุณค่าตราสินค้าประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้จำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ตระหนักรู้ในตราสินค้า รับรู้ในคุณภาพของตราสินค้า ความเชื่อมโยงตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้า โมเดลการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ความสะดวกสบาย รีวิวของลูกค้า สินค้าตรงกับความต้องการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ การบอกต่อ และความพึงพอใจของลูกค้า อีกทั้งส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้าและการตัดสินใจซื้อ คุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ สำหรับการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ตัวแปรในโมเดลที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการตัดสินใจซื้อ คือ ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ได้ ร้อยละ 77 อีกทั้งผลการวิจัยยืนยันว่ามีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม</p> อิราวัฒน์ ชมระกา, กมลวรรณ มั่งคั่ง, พิชญาพร พีรพันธุ์, กุลยา อุปพงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/266650 Wed, 22 Nov 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์วิชาชีพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/266899 <p>ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญของทุกองค์กร โดยเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าและไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หน้าที่หนึ่งขององค์กรคือการทำให้พนักงานในองค์กรมีความสุขในการทำงานและอยากจะทุ่มเทให้กับงาน การจูงใจในการทำงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการบรรลุผลการปฏิบัติงานของพนักงานตามเป้าหมายที่วางไว้ หากผู้บังคับบัญชาขาดความเอาใจใส่ ขาดการจูงใจที่เหมาะสม อาจทำให้พนักงานไม่มีความพึงพอใจในการทำงาน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้ ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานในธุรกิจงานขายภาคเอกชนของสัตวแพทย์วิชาชีพ โดยรวบรวมข้อมูลจากสัตวแพทย์วิชาชีพที่ทำงานในธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 404 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านลักษณะของงานมีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์วิชาชีพ 2) ปัจจัยสุขอนามัย ด้านบริษัทและนโยบายบริหารจัดการ ด้านสภาพและบรรยากาศในการทำงาน ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล ด้านความปลอดภัยและมั่นคงในการทำงาน และด้านค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์ ธุรกิจภาคเอกชนจึงควรนำข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการปรับปรุงและเสริมสร้างกลยุทธ์การจูงใจ ให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพัน ลดการตัดสินใจเปลี่ยนงาน และสนับสนุนให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรต่อไป</p> จักรพงศ์ วรรณทิพย์, พรลภัส สุวรรณรัตน์ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/266899 Wed, 22 Nov 2023 00:00:00 +0700 ผลกระทบของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความพึงพอใจการใช้บริการสำนักงานบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัยของนิสิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/265100 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความพึงพอใจการใช้บริการสำนักบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัย ของนิสิตคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตบัณฑิตศึกษา จำนวน 203 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า 1) การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ด้านการเป็นช่องทางในการรับความคิดเห็นด้านการให้บริการเชิงรุก และด้านการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความพึงพอใจการใช้บริการสำนักบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัยโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรมีการปรับกระบวนการให้บริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษากับผู้เรียนมากขึ้น และจะส่งผลต่อความพึงพอใจศิษย์ปัจจุบันและทางเลือกสำหรับศิษย์ใหม่ในการหาข้อมูลผ่านสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> กิรินดา ไชยศรีสุทธิ์, ชลธิชา อินอุ่นโชติ, อินทร์ อินอุ่นโชติ Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/265100 Wed, 22 Nov 2023 00:00:00 +0700