ปัญญาปณิธาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ <p>วารสารปัญญาปณิธาน เป็นวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย เลขมาตรฐาน <strong>ISSN </strong>: 2672-9679 (<strong>Print</strong>) และ <strong>ISSN </strong>: 2697-5122 (<strong>Online</strong>) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษา ภาษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การท่องเที่ยว และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (<strong>Double blind peer reviewed</strong>) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน / ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม (ราย 6 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน</p> th-TH prayad.sun@mcu.ac.th (พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร,ดร.) ingon.boot@mcu.ac.th (คุณอิงอร บุตรศรีผา) Sun, 30 Jun 2024 23:49:18 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270930 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) ใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าฝ่ายหรือครูจำนวน 400 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 390 3) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน 4) การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน และ 5) ใช้แบบสอบถาม สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 395 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 356 และได้วิเคราะห์เนื้อหา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวม พบว่า (1) มีความจำเป็นเท่ากันสองด้าน คือ ด้านความไว้วางใจ และด้านความศรัทธา (2) คือ ด้านความหวัง และ (3) คือ ด้านวิสัยทัศน์ 2) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ส่วนด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากตามลำดับ <br />3) ส่วนประกอบของรูปแบบ 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 3 ตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามหลักพรหมวิหาร 4 ส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 5 เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ</p> พระศักดา ชนาสโภ (สมณวัฒนา), ระวิง เรืองสังข์, อินถา ศิริวรรณ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270930 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270246 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยระยะที่ 1 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน จำนวน 310 คน การสุ่มตัวอย่าง โดยการแบ่งชั้น กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอด้วยวิธีการบรรยาย</p> <p> <span style="font-size: 0.875rem;">ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.90) สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด</span><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong><span style="font-size: 0.875rem;">(<img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> </span><strong style="font-size: 0.875rem;">= </strong><span style="font-size: 0.875rem;">4.65) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นภาพรวม พบว่าค่า PNI</span><sub>Modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> อยู่ระหว่าง 0.224 ถึง 0.277 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ค่า (PNI</span><sub>Modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.277) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองและบุคลากร โดยการจัดสรรงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานในเชิงบูรณาการ ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา</span></p> ปนัดดา ศิลปชัย, ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270246 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271050 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อสอบแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ และแบบสัมภาษณ์จำนวน 5 ข้อ โดยแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนจะต้องจับสลากเพื่อตอบคำถามจำนวน 2 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> และการทดสอบค่า ที แบบไม่เป็นอิสระ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>เท่ากับ 80.21/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ก่อนเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.78 และหลังเรียนเท่ากับ 25.24 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า ผู้เรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> พัชรา พากุล, เรวณี ชัยเชาวรัตน์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271050 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271048 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ที่ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนวัดลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 ห้องเรียน มี 15 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่า ทักษะการจำแนก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และทักษะการเปรียบเทียบ และทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และ 2) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ 1.3 หนูมีความสุขในการทำกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือข้อที่ 2.1 หนูชอบใช้ผังกราฟิกประกอบการทำกิจกรรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และข้อที่ 1.2 หนูมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด</p> จุฑาลักษณ์ อันทอง, กัญจนา ศิลปกิจยาน, ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271048 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา ของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270247 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ข้อมูลเชิงปริมาณได้จาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 183 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาองค์การตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาไม่สม่ำเสมอ ไม่มีการใช้ ICT เป็นฐานในการจัดการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขาดการติดต่อสื่อสาร ประสานงานที่ดีพอ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบ และการประเมินผล โดยใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนา ควรมีนโยบายในการปฏิบัติงานตามทิศทางการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและพัฒนานวัตกรรม</p> ปภาณิน กินาวงศ์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270247 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272909 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก .482-.836 ค่าความเชื่อมั่น .962 และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก .247-.776 ค่าความเชื่อมั่น .936 โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กัน 4. สมการพยากรณ์สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด 4 ตัวแปร คือ สมรรถนะการสื่อสาร ใช้ดิจิทัล การแก้ปัญหา การสร้างนวัตกรรม ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจการพยากรณ์เท่ากับ 37.50 เขียนสมการได้ ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ</p> <p> = 2.208 + .390(X<sub>1</sub>) + .207(X<sub>5</sub>) - .226(X<sub>3</sub>) + .078(X<sub>2</sub>)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน</p> <p> = .542(X<sub>1</sub>) + .300(X<sub>5</sub>) - .256(X<sub>3</sub>) + .101(X<sub>2</sub>)</p> ภคพล ขันทอง, สุชาดา บุบผา Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272909 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271054 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 312 คน การวิจัยแบ่งออกเป็นระยะที่ 1 การศึกษาระดับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยการพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยูในระดับน้อยทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน 2) แนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู พบว่า ผู้บริหารควรใช้โครงสร้างการบริหารในการแก้ไขปัญหา สร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศองค์กรที่ดี เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ มีการมอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถ สร้างแรงจูงใจให้ครูเห็นคุณค่าในตนเอง สร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ให้ความสำคัญกับบุคลากรอย่างเท่าเทียม กำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ติดตามการทำงานและแก้ปัญหาร่วมกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย</p> สุชารัตน์ แก้วอุดร, ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271054 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270365 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ ประชากรจำนวน 1,609 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 310 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหารโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการกระจายอำนาจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการจัดการความหลากหลาย 2) คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านความผูกพันของครู ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้แก่ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านความลุ่มลึกในองค์ความรู้ และด้านความยุติธรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 ร้อยละ 61.1 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> นันทนา มลาตรี, สิทธิชัย สอนสุภี Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270365 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่กับโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270366 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) เพื่อศึกษาระดับโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.923 โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ 2) ระดับโรงเรียนคุณภาพ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านผู้บริหารมืออาชีพ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธี ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำวิถีใหม่ ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถร่วมกันพยากรณ์โรงเรียนคุณภาพ ได้ร้อยละ 55.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> จุฑามาศ ผิวบาง, วัลลภา อารีรัตน์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270366 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273298 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาระดับการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล 4. สร้างสมการพยากรณ์การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 2,516 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 345 คน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.789 - 0.931 มีค่าความเชื่อมั่น 0.910 และแบบสอบถามการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.668 - 0.970 มีค่าความเชื่อมั่น 0.893 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ค่าการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ระดับการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล อยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันในทางบวก 4. สมการการพยากรณ์การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้อำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 61.50 โดยมีสมการ พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานดังนี้</p> <p> = 0.546(X<sub>3</sub>) + 0.263(X<sub>5</sub>) + 0.204(X1) + 0.176(X<sub>4</sub>) + 0.156(X<sub>2</sub>)</p> ยุทธนา ไชยราช, พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ, นวัตกร หอมสิน Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273298 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273315 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังกับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมพลังที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 265 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังกับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 4 ด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านความไว้วางใจ ด้านการตัดสินใจร่วมกัน และด้านการแก้ปัญหาและความขัดแย้ง สามารถพยากรณ์ประสิทธิผล ของโรงเรียนเอกชนได้ร้อยละ 78.30</p> ปราชิญา ศิรินิกร, เสาวนี สิริสุขศิลป์, ปารย์พิชชา ก้านจักร Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273315 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272490 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาด้านองค์ประกอบ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการทำงานเป็นทีม 3) ด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 4) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.824 และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.249 ถึง 0.381 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 14 แนวทาง ซึ่งผลประเมินแนวทางการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> สมพงษ์ ดั่นเจริญ, เสาวนี สิริสุขศิลป์, ปารย์พิชชา ก้านจักร Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272490 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทยภายใต้บริบท Next Normal https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271005 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสของธุรกิจผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการเกษตรผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย ภายใต้บริบท Next Normal โดยใช้ SWOT Analysis 2) พัฒนาแนวทางและจัดทำกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการเกษตรผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย ภายใต้บริบท Next Normal โดยใช้ TOWS Matrix เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง รวมทั้งหมด 27 ราย ทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า จากประเด็นสถานการณ์ที่กลุ่มธุรกิจกำลังเผชิญสามารถแบ่งแนวทางของกลยุทธ์ที่ใช้ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อย เลือกใช้กลยุทธ์เชิงแก้ไข จากสถานการณ์ในปัจจุบัน เน้นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ตามตลาดมากจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดภาระการทำงานที่มากเกินโครงสร้าง และเลือกแนวทางในการหา 3<sup>rd</sup>&nbsp; party มาเสริมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้มั่นคงก่อนที่จะต่อยอดการดำเนินต่าง ๆ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อม เลือกใช้กลยุทธ์เชิงรุก หาเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาผลผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้ได้มากที่สุด เนื่องจากการมีเครือข่ายทางธุรกิจและการสนับสนุนของรัฐ จะทำให้เข้าถึงปริมาณความต้องการของตลาดได้ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง เลือกใช้กลยุทธ์เชิงป้องกัน ควรมุ่งใช้เทคโนโลยีระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ และเพื่อสามารถโยกการแข่งขันของตลาดออกจากตลาดไทยที่มีการผูกขาดมากจนเกินไป ไปสู่ตลาดต่างประเทศได้</p> วรันธร ณ นคร, ปาลิดา ศรีศรกาพล Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271005 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาตราและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าว ของกลุ่มสหกรณ์ชุมชนอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270248 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตราและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าว และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ วิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน 1) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า แล้วนำข้อมูลมาสรุป และนำเสนอแบบพรรณนาความ และ 2) เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ข้าว จำนวน 200 คน กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ข้าว จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 215 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ส่วนการวิเคราะห์และประมวลผล ใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ตราและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ มีสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มีเครื่องหมายรับรองสินค้าเกษตรและอาหารได้มาตรฐาน และมีรูปภาพที่บอกถึงความสะอาดปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการ และยังพบว่าผู้บริโภคมีความความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ในระดับมาก ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เอกลักษณ์และการเพิ่มมูลค่า รูปแบบและความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอย ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีความโดดเด่น 9 ด้าน ได้แก่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สื่อสารผลิตภัณฑ์ได้เหมาะสม ใช้วัสดุที่สร้างเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่า บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกในการใช้งาน บรรจุภัณฑ์มีรูปทรงที่เหมาะสม บรรจุภัณฑ์มีการออกแบบสีตัวอักษรที่เหมาะสม บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดความเสียหายได้ง่าย ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะดวกในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์มีลักษณะจดจำได้ง่าย และบรรจุภัณฑ์ใช้วัสดุที่สร้างเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าได้เหมาะสม</p> ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล, ทรัพย์ อมรภิญโญ, ณัฐ อมรภิญโญ, รักชนก แสงภักดีจิต, นิยุทธ์ สืบสาย Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/270248 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้านำเข้า จากประเทศเกาหลีใต้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/259924 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้านำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มีอายุ 20–50 ปี ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้านำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 12 เดือน ที่เคยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และติดตามผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์ ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ตามสัดส่วนประชากร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 409 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (MRA) ด้วยวิธี Stepwise โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20–30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 10,000–19,999 บาท จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกัน (p&gt;0.05) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านพนักงาน มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (p&lt;0.05) และปัจจัยผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้านความน่าดึงดูใจ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านเนื้อหา มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (p&lt;0.05)</p> วันเฉลิม ศรีรัตนะ, ปาลิดา ศรีศรกำพล Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/259924 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภูมิปัญญาช่างศิลป์พื้นถิ่นไทใหญ่และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271059 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยเรื่อง ช่างศิลป์พื้นถิ่นไทใหญ่และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญา สำรวจ และจัดทำแผนที่ข้อมูลช่างศิลป์พื้นถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลการวิจัยคือ ช่างศิลป์พื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ 7 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่มีคุณสมบัติโดดเด่น หน่วยงานภาครัฐ ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ช่างศิลป์ในพื้นที่เป้าหมายที่ปรากฏตามประเภทงานช่างศิลป์และภูมิปัญญา ประกอบด้วย 1) งานจิตรกรรม 2) งานเครื่องดนตรี 3) งานโลหะศิลป์ 4) งานเครื่องจักสาน 5) งานผ้าและสิ่งถักทอ 6) งานปูนปั้น-งานไม้ 7) งานศาสตราวุธ 8) งานเครื่องสด และ 9) เครื่องรัก เครื่องเขิน ช่างศิลป์ท้องถิ่นแต่ละประเภทนั้น ยังคงมีผู้สืบทอดจำนวน 52 คน (83.87%) และไม่มีผู้สืบทอดจำนวน 10 คน (16.13%) โดยช่างศิลป์ท้องถิ่นบางประเภทเครื่องสด งานเครื่องดนตรี โลหะศิลป์ จักสาน และปูนปั้น มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย การสำรวจข้อมูลช่างศิลป์พื้นถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประวัติชุมชน ศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชน ข้อมูลช่างศิลป์ รวมถึงงานด้านพุทธศิลป์ มีความแตกต่างจากพุทธศิลป์ในพื้นที่ล้านนา เนื่องจากมีความผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ จุดมุ่งหมายในการสร้างและฝึกหัดงานด้านช่างศิลป์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา รวมถึงเป็นงานที่เกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน</p> บุษกร สืบตระกูล, วัชรี วีระแก้ว, กันทนา ใจสุวรรณ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271059 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อองค์การระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272367 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ ประกอบด้วย ก) ด้านลักษณะส่วนบุคคล ครอบคลุมถึงความรู้สึกของบุคคลต่องานและองค์การ ข) ด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การ ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในระดับต่าง ๆ ค) ด้านภาวะผู้นำ ครอบคลุมถึงความรู้สึกต่อการบริหารงานของผู้นำ คุณลักษณะของผู้บังคับบัญชา ง) ด้านนโยบายขององค์การ ครอบคลุมถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ที่องค์การมีให้กับบุคลากร จ) ด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ ครอบคลุมถึงสภาพการทำงาน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างผู้บริหาร/หัวหน้าส่วนงานกับพนักงาน/ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ จำนวน 48 คน เป็นผู้บริหารจำนวน 10 คน และผู้ปฏิบัติงาน 38 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร และการทดสอบที (t-test)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจโดยรวมของบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ต่อองค์การอยู่ในระดับมาก (μ = 2.64, σ = 0.54) โดยความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การมากที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมขององค์การน้อยที่สุด ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนงานมีความพึงพอใจด้านลักษณะส่วนบุคคลสูงที่สุด ในขณะที่พนักงานและผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การสูงที่สุด ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมขององค์การน้อยที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้บริหารกับกลุ่มพนักงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านลักษณะส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์, พัทธนันท์ ตลาดทรัพย์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272367 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 พงศาวดารน่าน: ประวัติพัฒนาการและการพัฒนาสู่การเรียนรู้ชุมชนน่าน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273282 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมพงศาวดารน่าน 2) ปริวรรตและวิเคราะห์คัมภีร์พงศาวดารน่าน 3) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญด้านปริวรรตและแปลภาษาล้านนา ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตรของพื้นที่ปฐมศึกษาน่าน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่าน จำนวน 7 รูป/คน ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตรจำนวน 6 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบหลักสูตรท้องถิ่น จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อย การปฏิบัติการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของคัมภีร์พงศาวดารน่าน เกิดจากความประสงค์ของ พระเจ้าน่านองค์ที่ 63 พระองค์ทรงได้มอบหมายให้แสนหลวงราชสมภาร เป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียงจากเอกสารใบลานต่าง ๆ ให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์มากที่สุด แล้วจดบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา 2) การปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่าน มีรูปแบบการปริวรรต 3 รูปแบบ คือ 1. การปริวรรตตามรูปอักษรตัวต่อตัว 2. การปริวรรตอักษรพื้นเมืองตามเสียงในภาษาท้องถิ่น 3. การปริวรรตคำในท้องถิ่นให้ตรงกับคำในภาษาไทยกลาง ในการปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่านจากล้านนาไทยเป็นภาษาไทย ใช้หลักการปริวรรตคำในท้องถิ่นให้ตรงกับคำในภาษาไทยกลาง 3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน เป็นการพัฒนาหลักสูตรจากองค์ความรู้ของการปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่าน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้มีเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสามารถแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ คือ 1) วิเคราะห์เนื้อหาสาระสำคัญจากพงศาวดารน่าน 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรียนรู้พงศาวดารน่าน 3) ตรวจสอบหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน</p> ฐิติพร สะสม, อนันต์ จิตอารี, สิทธิชัย อุ่นสวน Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273282 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการขยะเพื่อผลสำเร็จของโครงการ กรุงเก่าเมืองสะอาด อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273050 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับองค์ประกอบของเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด (2) ระดับผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด และ (3) แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมจำนวน 252 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารส่วนราชการ และผู้แทนภาคเครือข่าย รวมจำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับองค์ประกอบตามค่าเฉลี่ยคือ เป้าหมายในการเข้าร่วมเครือข่าย รองลงมาคือ ระบบบริหารจัดการภายในเครือข่าย ประโยชน์ของเครือข่าย และปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่าย 2) ผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาดพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนลดลง รองลงมาคือ การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจุดเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรในชุมชน และ 3) ข้อเสนอแนะในการการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาดในอนาคต คือ การลดปริมาณขยะในชุมชน ได้แก่ การขยายพื้นที่ดำเนินการในชุมชนต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้ครบทุกตำบล และการประสานขอความร่วมมือจากตลาดชุมชน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตลาดปลอดโฟม พัฒนาจุดเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร โดยจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะระดับอำเภอ</p> ภัทรภร จ่ายเพ็ง, วัชรพิพัฒน์ ศิลปารัตน์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273050 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในชีวิตของบุคลากรทหาร กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273051 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัย 2) เพื่อศึกษาระดับความสุข 3) เพื่อศึกษาสมการปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะสิ่งที่เสริมสร้างความสุข และ 5) เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในชีวิตของบุคลากรทหาร กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ใช้วิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทหาร จำนวน 218 คน โดยคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Stepwise และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 16 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา สรุปประเด็น และพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความสุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัย โดยรวมมีอยู่ในระดับสูง ค่าเท่ากับ .901 สามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 87.40 มีค่า R<sup>2</sup> = .874 มีค่า F = 5.332 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อความสุขของบุคลากรทหาร 4) ข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่เสริมสร้างความสุข คือ ควรมีการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามสายงาน ควรส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานภายในองค์การ และกัน 5) รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข ประกอบด้วย ปัจจัยคุณภาพชีวิต ปัจจัยความสำเร็จในงาน ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยความสัมพันธ์ในองค์การ ปัจจัยความก้าวหน้าในงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยสวัสดิการ ปัจจัยวินัยทหาร ปัจจัยศาสนา และปัจจัยความสมดุลในชีวิต</p> ปฐมพงษ์ อินทน์จันทน์, วัชรินทร์ สุทธิศัย, รังสรรค์ อินทน์จันทน์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273051 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273048 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (2) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ (3) สร้างรูปแบบการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 12 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พบว่า โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ .574 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวม สามารถอธิบายได้ร้อยละ 35.5 มีค่า R<sup>2</sup> = .355 และมีค่า F = 54.318 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ข้อเสนอแนะต่อการให้บริหาร คือ ควรจัดให้มีการซักซ้อมเสมือนจริงในการปฏิบัติตัว ในการอพยพเคลื่อนย้ายกรณีเกิดสาธารณภัยขึ้นจริง ควรมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนในภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ และ 3) รูปแบบการให้บริการสาธารณะ ประกอบด้วย ปัจจัยก่อนเกิดภัย ปัจจัยหลังเกิดภัย ปัจจัยบุคลากร และปัจจัยวัสดุอุปกรณ์</p> ภัณฑิลา น้อยเจริญ, พระครูปริยัติรัตนาลงกรณ์ (สิงหา มุ่งหมาย), พระครูสุตสารบัณฑิต (จำนงค์ ผมไผ), อริย์ธัช เลิศรวมโชค, อภิวัฒชัย พุทธจร Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273048 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการใช้ดุลพินิจในการเรียกหลักประกัน การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271051 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำและการใช้ดุลพินิจในการเรียกหลักประกันการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพิจารณาจากการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยให้มีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารกฎหมาย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ศาลจะพิจารณาโดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ มาตรา 110 ในการปล่อยชั่วคราวในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ศาลมักจะใช้ดุลพินิจในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่หลบหนี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถหาประกันและหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวได้ จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคสี่ ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ให้ศาลสืบเสาะ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานฝ่ายปกครองท้องถิ่นที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ ประกอบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีประกัน หรือไม่มีประกันและหลักประกัน และมาตรา 110 วรรคสี่ ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ให้นำมาตรา 108 วรรคสี่ มาบังคับใช้โดยอนุโลม</p> นิตยา อุดหล้า, วิชาญ จันทร์อินทร์, จันทร์สม จันทร์อินทร์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271051 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271056 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว โดยพิจารณาจาก 1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว 3) มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศและของประเทศไทย 4) ทำการวิเคราะห์ข้อมูล 5) การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย การวิจัยนี้เป็นการเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสารกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวขาดความสัมพันธ์กัน 2. แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว ทำให้คู่พิพาทสามารถทำข้อตกลงกันได้ โดยผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ 3. มาตรการทางกฎหมายในสหราชอาณาจักร ศาลจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีจากพฤติกรรมและความพยายามในการระงับข้อพิพาทของคู่ความ ในประเทศไทยให้ศาลคำนึงถึง สถานภาพของการสมรส โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตร 4. การวิเคราะห์ปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว เกิดจากการไม่สร้างแรงจูงใจคู่พิพาทและผู้ไกล่เกลี่ย 5. ควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ดังนั้น จึงเสนอแก้ไขระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยค่าป่วยการของผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว พ.ศ. 2555 ข้อ 4 ให้ศาลพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเรื่อง โดยพิจารณาจากจำนวนทุนทรัพย์จำนวนคู่กรณี จำนวนครั้ง ระยะเวลา และผลสำเร็จของการไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ เรื่องละไม่เกิน 10,000 บาท และ ข้อ 4/1 ในกรณีคู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและมีการตกลงประนีประนอมกันได้ ให้ศาลคืนค่าดำเนินคดีตามที่ศาลจะเห็นสมควร</p> กนกวรรณ์ จ๊ะสุนา, จันทร์สม จันทร์อินทร์, วิชาญ จันทร์อินทร์ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/271056 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การถ่วงดุลในงานสอบสวนของพนักงานสอบสวน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/267363 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ในการถ่วงดุลงานสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามหลักนิติธรรมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 2. ศึกษากระบวนการถ่วงดุลอำนาจสอบสวนคดีอาญาของตำรวจในระบบกฎหมายต่างประเทศ ทั้งระบบ ซิวิล ลอว์และระบบคอมมอน ลอว์ 3. ศึกษาแนวทางหรือกระบวนการกฎหมายในประเทศและต่างประเทศ เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียการถ่วงดุลงานสอบสวนคดีอาญาของตำรวจในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากหนังสือ บทความ และเอกสารวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการโครงสร้างขององค์กรตำรวจและพัฒนางานสอบสวนเป็นแบบอำนาจรวมศูนย์ ทำให้มีโอกาสแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและการเมืองได้ การตรวจสอบและลงโทษที่ไม่รุนแรง มีผลต่อการทำผิดของตำรวจ และทำให้ประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองตามหลักนิติธรรม 2. การสอบสวนของไทยมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มีการถ่วงดุลที่เพียงพอ จึงเป็นช่องทางการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหาประโยชน์ส่วนตน 3. เปรียบเทียบการถ่วงดุลงานสอบสวนในประเทศไทยกับประเทศอังกฤษแล้ว พบว่า ประเทศอังกฤษจะมีองค์กรภายนอกที่มาจากการเลือกตั้งมาถ่วงดุลการสอบสวนของตำรวจ ประเทศฝรั่งเศส พนักงานอัยการและผู้พิพากษา สอบสวนร่วมกับตำรวจตั้งแต่เกิดเหตุ ประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตำรวจมีอำนาจมากแต่มีพนักงานอัยการทำหน้าที่ถ่วงดุลตำรวจอย่างเข้มงวด และประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติกฎหมายไว้ให้พนักงานอัยการถ่วงดุลอำนาจสอบสวน การถ่วงดุลการสอบสวนอาจนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลเพื่อประโยชน์ในทางคดี หรือองค์กรอิสระมาถ่วงดุลการสอบสวนคดีอาญา เพื่อป้องกันการแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรม น่าจะเหมาะสมกับสังคมไทย</p> กชพร ทรัพย์โสม, บัณฑิต ขวาโยธา Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/267363 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดผู้ทำหน้าที่แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีการยกฐานะท้องถิ่นเป็นเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273340 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา เจตนารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการพ้นจากตำแหน่งและการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เปรียบเทียบพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งและการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การที่ตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านถูกกำหนดให้พ้นไปเมื่อเขตพื้นที่นั้น ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ส่งผลกระทบกับทั้งตัวอดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ถูกกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งเอง และประชาชน ในเรื่องของการติดต่อ ประสานงาน รับบริการกับราชการ ส่วนภูมิภาคที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก และราชการส่วนภูมิภาคเองที่ขาดกำลังหลักสำคัญระดับพื้นที่ ที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด ในการขับเคลื่อนนโยบายแห่งรัฐ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใด ๆ แห่งการพ้น จากตำแหน่งมารองรับ จึงเห็นปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ไม่มีมาตรการเยียวยาตัวผู้ถูกให้พ้นจากตำแหน่ง 2) ไม่มีผู้ใดมากระทำหน้าที่แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ ตามระเบียบกฎหมายบางเรื่อง ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคือ กำหนดผู้ทำหน้าที่แทนโดยกำหนดให้การใดที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะการยกฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้นำชุมชนมีอำนาจ หน้าที่แทน และกำหนดมาตรการเยียวยา โดยกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งและได้รับค่าตอบแทนจนกว่าจะถึงรอบการประเมิน 4 ปี ของบุคคลนั้น</p> อัญชนา สุริยะ, อัจฉราพร สีหวัฒนะ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273340 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273275 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา 2. ศึกษากฎหมายที่มีผลกระทบกับการผิดสัญญาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 3. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหามาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลและทบทวนเอกสาร บทความ คำอธิบาย วารสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย และจากสื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากภายในประเทศไทยและต่างประเทศ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการวิเคราะห์ผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จ พบว่า มีผลกระทบหลายด้าน ดังนี้ 1) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 2) ผลกระทบทางสังคม 3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ 4) ผลกระทบต่อประชาชน 2. กฎหมายสัญญาของไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายแพ่งเยอรมัน ขณะที่กฎหมายของประเทศอังกฤษและอเมริกาได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายจารีตประเพณี โดยยึดถือหลักสุจริตใจในการทำสัญญา สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่สุจริตจะเป็นโมฆะ ผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และศาลไทยมีอำนาจพิจารณาข้อพิพาทสัญญาระหว่างประเทศที่มีข้อตกลงเลือกศาลไทย 3. แนวทางการแก้ไขและการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 1) ควรมีการประเมินผลกระทบ วางแผนแก้ไข สื่อสารกับประชาชน บังคับใช้กฎหมาย และตรวจสอบความคืบหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 2) ควรมีการเยียวยาประชาชน โดยการชดเชยทางการเงิน สนับสนุนด้านสุขภาพ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และให้การสนับสนุนทางสังคม และมีข้อเสนอแนะ คือ ควรปรับปรุงกฎหมายให้รัฐต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายเมื่อรัฐผิดสัญญา เพื่อความเป็นธรรมและนิติธรรม</p> กริชแก้ว แก้วพรม, เพิ่ม หลวงแก้ว Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273275 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเพื่อกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อกลาง กรณีการกลั่นแกล้งออนไลน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272337 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอร่าง ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อกลาง กรณีการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การยกร่าง ประเมินร่าง จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์ ไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการออกตามลักษณะและรูปแบบของการให้บริการ อีกทั้งมาตรการทางกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้เจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถโต้แย้งเพื่อให้ผู้ให้บริการใช้ยกเลิกการระงับข้อมูล และนำเนื้อหาที่ถูกระงับนำขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ควรมีการระบุฐานความผิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์ไว้โดยเฉพาะ อีกทั้ง ควรมีการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการออกตามลักษณะประเภทของการให้บริการ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการทางกฎหมายที่เปิดช่องให้เจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถโต้แย้งเพื่อให้ผู้ให้บริการใช้ยกเลิกการระงับข้อมูล และนำเนื้อหาที่ถูกระงับนำขึ้นมาใหม่ได้ พร้อมทั้งผลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการประเมินร่างกฎหมายพบว่าการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีความเหมาะสม เนื่องจากการการกำหนด คำนิยาม ลักษณะความผิด และโทษของการกระทำความผิด เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์เพื่อให้ครอบคลุมการกลั่นแกล้งในทุกรูปแบบ ย่อมมีความจำเป็น</p> อุษณีย์ ตันสูงเนิน, สุมาลี วงษ์วิฑิต Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272337 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีการป้องกันและควบคุมขยะมูลฝอยโดยเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273513 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอย และผลกระทบของสภาพปัญหาการจัดการมูลฝอย 2) ศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการขยะมูลฝอย โดยศึกษากรณีเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีสาเหตุจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงในขั้นตอนของการขนส่ง เพราะแม้ประชาชนจะคัดแยกมูลฝอยไว้ก็ตาม แต่ไม่มีการคัดแยกในขั้นตอนการขนส่ง จึงทำให้มูลฝอยกลับไปปะปนรวมกันอีก ส่วนการจัดการปลายทาง ในการเลือกพื้นที่กำจัดขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบยังไม่เหมาะสม รวมถึงข้อพิจารณาของศาลในการกำหนดค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และค่าเสียหายในอนาคต ข้อเสนอแนะ เช่น การให้สิทธิประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการขยะ โดยให้ความรู้และความตระหนักแก่ประชาชนตั้งแต่คัดแยกขยะต้นทาง ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในการกำจัดขยะ ควรเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เช่น วิธีการประเมินมูลค่าของความเสียหายของประชาชนที่ได้รับมลพิษในเรื่องสุขภาพอนามัย ความเจ็บป่วย ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว และศาลสามารถที่จะสงวนสิทธิในการแก้ไขคำพิพากษาให้เหมาะกับความเสียหายในอนาคตด้วย</p> ดิเรก บวรสกุลเจริญ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273513 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273276 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมตามมา มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่มีความผสมผสานระหว่างทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ อันเป็นความเชื่อมโยงที่มีความแน่นแฟ้นระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่อยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่ภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์เดียวกันซึ่งคือภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และเพื่อให้พื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองและอนุรักษ์อย่างเหมาะสม จึงต้องมีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายเข้ามาเป็นหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ทั้งในส่วนบทบาทของหน่วยงานของรัฐหรือในส่วนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มีความชัดเจน ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน</p> <p> จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ใช้เฉพาะเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และประชาชนในพื้นที่ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาปัญหากฎหมาย เพื่อแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเป็นบริเวณพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมที่มีความผสมผสานระหว่างทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เพื่อให้มีความยั่งยืนและดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า</p> อุมาพร กาฬแสน, สุเมธ จานประดับ Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/273276 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับรายวิชาหน้าที่พลเมืองของครูสังคมศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272316 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การปฏิบัติตนเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ และความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายในชีวิตประจำวัน ผู้สอนจึงต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาดังกล่าว ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหา และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นการนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกความจริงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ เชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์แบบเก่ามาสู่กระบวนทัศน์ใหม่ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมความตระหนักรู้ในหน้าที่ของความเป็นพลเมือง เช่น การบริการสังคม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง การลงมือปฏิบัติทดลอง การฝึกกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และมีการผลงานที่มีความภูมิใจให้กับนักเรียน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) เนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง 2) ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 3) องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 4) กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 5) การประยุกต์ใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในรายวิชาหน้าที่พลเมือง ผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษาสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อไป</p> พระครูสมุห์หัตถพร คำเพชรดี Copyright (c) 2024 ปัญญาปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/272316 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700