@article{นักการเรียน_อาจารสุโภ_2015, title={อุปัชฌายวัตร-สัทธิวิหาริกวัตร : แนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อความ สามัคคีในหมู่สงฆ์}, volume={1}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/241490}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตร ในฐานเป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อสร้างความกลมเกลียวในสังคมสงฆ์</p> <p>               จากการศึกษาพบว่า การที่พระพุทธองค์บัญญัติให้ภิกษุถืออุปัชฌายวัตรและกำหนดให้พระอุปัชฌาย์ต้องปกครองดูแลสัทธิวิหาริกนี้เป็นหลักประกันว่า กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธ ศาสนาจะได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาอย่างแน่นอน การที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายกระทำวัตรต่อกันก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ คือเพื่อลดทิฏฐิมานะของศิษย์ ให้มีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์อันจะเป็นการง่ายในการฝึกหัดพัฒนาด้านอื่นๆ และเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการต่อกัน จะได้เกิดความสนิทสนมสมานสามัคคีและความอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก</p> <p>               อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรมีประโยชน์ต่อสังคมสงฆ์ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือในภาวะปกติ การที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกัน สิ่งที่เกิดแน่นอนคือความสมานสามัคคีอย่างแนบแน่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริกและรวมทั้งพระภิกษุร่วมพระอุปัชฌาย์เดียวกัน หากเกิดความขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ การที่คณะสงฆ์ได้ทำอุปการะต่อกัน การแก้ปัญหาก็จะเป็นไปโดยง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะมีความเคารพยำเกรงกัน บางปัญหาก็แก้ได้ เพราะเห็นแก่พระอุปัชฌาย์หรือเพราะมีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์ซึ่งถือว่าเป็นเสมือนผู้ให้กำเนิดในโลกแห่งพระพุทธศาสนา อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรจึงเป็นสายสัมพันธ์เพื่อความสามัคคึในหมู่สงฆ์</p>}, number={2}, journal={วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ }, author={นักการเรียน มานพ and อาจารสุโภ พระมหาวิรัตน์}, year={2015}, month={ธ.ค.}, pages={81–100} }