@article{ประชาบุตร_กิ่งคำ_2021, title={ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท }, volume={7}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/249879}, abstractNote={<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาอานาปานสติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาไตรลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท <br>๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า อานาปานสติ คือ สติที่ทำหน้าที่กำหนดรู้และกำกับลมหายใจเข้าออก เป็นสมถยานิก คือ การเจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า อานาปานสติมีวิธีปฏิบัติ ๑๖ ขั้นแบ่งเป็น ๔ หมวดตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ส่วนไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑) อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นแล้วแตกสลายไป ๒) ทุกขัง เป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นให้คงเดิมไม่ได้ ๓) อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาไม่ได้ ไตรลักษณ์เป็นความจริงที่มีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง แต่มีสิ่งปกปิดไว้ ได้แก่ สันตติคือความสืบเนื่องกัน อิริยาบถคือการเคลื่อนไหว และฆนสัญญาคือความเห็นว่าเป็นกลุ่มก้อน การเห็นไตรลักษณ์ได้ต้องอาศัยปัญญาจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ แสดงให้เห็นลักษณะของลมหายใจเข้าออกที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ ๓ ประการ โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจน คือ อานาปานสติขั้นที่ ๑๓-๑๖ แสดงวิธียกอารมณ์สมถะขึ้นสู่วิปัสสนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับไตรลักษณ์อย่างชัดเจน ทำลายความเห็นที่เป็นอัตตา มีอานิสงส์สูงสุดคือบรรลุพระนิพพาน นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมากมาย ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทำให้ชีวิตประจำวันอยู่อย่างเป็นสุข</p>}, number={2}, journal={วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ }, author={ประชาบุตร อุไรพร and กิ่งคำ วิไลศักดิ์}, year={2021}, month={พ.ค.}, pages={1–12} }