@article{Theanjarend_คุตฺตวีโร_2022, title={ศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา}, volume={8}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/258869}, abstractNote={<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอบายมุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของอบายมุขที่มีต่อตนเองและสังคม 3) เพื่อศึกษากุศโลบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัย พบว่า อบายมุข แปลว่าทางแห่งความเสื่อม เกิดจากอกุศลจิตนำให้เกิดกิเลสวีติกมะ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตล้มเหลวและสังคมเสื่อมทราม มี 6 อย่าง คือ 1) การดื่มน้ำเมา 2) การเที่ยวกลางคืน 3) การเที่ยวดูการละเล่น 4) การเล่นการพนัน 5) การคบคนชั่วเป็นมิตร 6) การเกียจคร้านการทำงาน สภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากอบายมุขก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวเองคือ สุขภาพเสื่อมโทรม เสื่อมทรัพย์ การเป็นทาสอบายมุข เป็นต้น และปัญหาทางสังคม มีความยากจน ครอบครัวแตกแยก สังคมอยู่ด้วยการเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น กุศลโลยายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขตามแนวทางพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาความรู้โดยศึกษาให้รู้คุณและโทษของอบายมุข การฝึกฝนตนให้มีสติสัมปชัญญะ มีหิริและโอตตัปปะเมื่อจะทำผิด ดำรงตนให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้อง ละความพอใจทางอบายมุข ดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีพ และการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ พัฒนาตนด้วยหลักไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นแก่ตน วางแผนจัดการครอบครัวและช่วยเหลือสังคม</p>}, number={2}, journal={วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ }, author={Theanjarend, Phra Narong and คุตฺตวีโร พระมหาวิโรจน์}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={84–98} }