TY - JOUR AU - อัศดรศักดิ์, นันทนัช PY - 2022/07/29 Y2 - 2024/03/29 TI - พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนักเพราะความโกรธ จริงหรือ JF - วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ JA - JMPR VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/251376 SP - 1-14 AB - <p>บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนักเพราะความโกรธ จริงหรือ” โดยเป็นการถอดบทเรียนผ่านรายการ “บาลี : พระพุทธพจน์ทุกคนเรียนได้” จากการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ร่วมกับการศึกษาวิเคราะห์ตามต้นฉบับคัมภีร์ดั้งเดิม (Original Pali) หรือ บาลีพุทธวจนะ (Canon) คือพระไตรปิฏก, อรรถกา, ฎีกา หรือจากคัมภีร์อื่นๆ เช่น อนุฎีกา สารัตถทีปนีฎีกา และอื่นๆ ตามแหล่งข้อมูลที่สำคัญประกอบกัน ทั้งนี้ รูปแบบการศึกษาดังกล่าวจะทำให้เกิดความกระจ่างต่อการศึกษาวิเคราะห์ยิ่งขึ้น ซึ่งหากศึกษาคัมภีร์ หรือตำราเฉพาะบางแง่มุมเดียว อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อการเข้าใจที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่เลือกศึกษาเป็นตัวอย่างของรูปแบบการเรียนรู้ทางคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การแสดงท่าทีต่อการปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ในสมัยครั้งพุทธกาลที่ทำให้เกิดข้อสงสัยในหลายประการ ซึ่งประเด็นการศึกษาสอดคล้องกับสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนัก, 2) พระพุทธองค์ยังละความโกรธไม่ได้ ใช่หรือไม่ และ 3) พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูจริงหรือ เหตุใดจึงไม่ทรงทราบอุบายที่จะทำให้พอพระทัย  โดยเนื้อความปรากฏใน จาตุมสูตร พระสูตรนี้เป็นการบรรยายโวหาร แบบถาม-ตอบ และมีอุปมาอุปไมยประกอบ กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ภิกษุอาคันตุกะ 500 รูป เพื่อแสดงถึงมารยาทในการอยู่ร่วมกัน แนวทางการปกครองคณะสงฆ์ และภัยของบรรพชิตผู้บวชใหม่ 4 ประการ 1) ความไม่อดทนต่อคำสอน <br />๒) ความเห็นแก่ปากท้อง 3) ความหน่วงเนี่ยวจากกามคุณ 5 (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส) และการขาดการสำรวมอินทรีย์ต่อมาตุคาม (สตรี) ภัยดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นภัยที่อันตรายอย่างยิ่งต่อบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้</p> ER -