TY - JOUR AU - ชื่นรักชาติ, ประเชิญ PY - 2022/07/29 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการวัดระดับชาวพุทธด้วยคะแนนพฤติกรรม JF - วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ JA - JMPR VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/258930 SP - 15-29 AB - <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของคำว่าชาวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาระบบคะแนนพฤติกรรมของบริษัทไฟโก้ เพื่อนำแนวคิดและวิธีการมาประยุกต์ใช้ 3) เสนอรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธด้วยคะแนนพฤติกรรม ตามแนวทางของระบบคะแนนพฤติกรรมไฟโก้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมการทดสอบวัดระดับภาคสนาม เครื่องมือทดสอบสร้างด้วยกูเกิ๊ลแอปส์ ข้อมูลและการประเมินผลถูกบันทึกในเครื่องมือ คำถามเป็นแบบปรนัย เสนอผลการวิจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาษาไทย มีคำที่สื่อความหมายถึงชาวพุทธหลายคำ เช่น พุทธศาสนิกชน แต่ใช้กันอย่างไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เมื่อสืบค้นในพระไตรปิฎก พบว่า มีมากกว่า 35 คำ เช่น บริษัท สาวก ผู้วิจัยได้เสนอโครงสร้างชาวพุทธ 5 ระดับตามนัยแห่งสิกขาบทวิภังค์แห่งปฐมปาราชิก ในวินัยปิฎก ได้แก่ ภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อารามิก-อารามิกินี อุบาสก-อุบาสิกา และคฤหัสถ์ (ชาวพุทธทั่วไป) 2) บริษัทไฟโก้ ในสหรัฐอเมริกา ได้สร้างระบบคะแนนพฤติกรรม โดยนำข้อมูลของลูกค้ามาวิจัยแล้วคำนวณออกมาเป็นคะแนน <br />มีแนวคิดสำคัญคือ พฤติกรรมของคนวัดกันได้ 3) ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธขึ้นตามแนวทางระบบคะแนนไฟโก้ และได้เลือกชาวพุทธทั่วไปและอุบาสก-อุบาสิกาเป็นผู้ทดสอบ คำถามมี 2 ชุด วิธีการประเมินผลและการตีความหมายใช้สถิติเชิงพรรณนาและมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท ผลการทดสอบคือ 14 คนในระดับแย่-พอใช้ 32 คนในระดับปานกลาง 19 คนในระดับดี-ดีมาก 2 คนได้คะแนนศูนย์ องค์ความรู้ที่ได้รับคือ ความหมายที่ชัดเจนของคำว่าชาวพุทธ โครงสร้างใหม่ของชาวพุทธ และรูปแบบการวัดระดับชาวพุทธ</p> ER -