TY - JOUR AU - เรืองสังข์, สมาพร AU - พระปัญญารัตนากร, PY - 2022/08/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการจัดการเกษตรในพื้นที่วัดต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน JF - วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ JA - JMPR VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/260870 SP - 182-194 AB - <p>วัดเป็นแหล่งถ่ายทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จากคัมภีร์พระไตรปิฎกสู่ประชาชนโดยมีพระภิกษุเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอบรมปลูกฝังศีลธรรมผ่านกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณี วัดบางแห่งมีกิจกรรมทางการเกษตรสำหรับสร้างรายได้และเป็นแหล่งอาหาร และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยการผลิตอาหารปลอดภัย จำหน่ายราคาไม่แพง และเป็นแหล่งจ้างงาน สร้างอาชีพ รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ประโยชน์ที่ดินของวัดในการปลูกพืชผัก ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตว์ ตามวิถีธรรมชาติ เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ่ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอกแทน ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส เกิดความสามัคคี ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน นอกจากนี้ชุมชนจะเข้มแข็งได้ ยังขึ้นอยู่กับทรัพย์สินทุนการดำรงชีพ ได้แก่ ทุนหรือทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางกายภาพ และทุนทางการเงิน เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน หากชุมชนมีทุนเหล่านี้ในปริมาณมาก ยิ่งทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดี มีความพร้อมในการพัฒนา ปัจจุบันมีวัดและสถานปฏิบัติธรรมหลายแห่งที่แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อเป้าหมายเป็นแหล่งอาหาร สร้างรายได้ และการเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตร และมีกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนเป็นที่รู้จัก เช่น วัดท้าวราษฎร์ วัดมะนาว วัดสวนแก้ว ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน</p> ER -