https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/issue/feed วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ 2025-02-03T08:41:51+07:00 รศ.ดร.ธานี สุวรรณประทีป thanee.suw@mcu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนา วิปัสสนาภาวนา บาลีพุทธศาสตร์ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่ จะได้พิจารณากลั่นกรองผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อบทความ ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blinded)<br /><br /></p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/266423 มนุษย์กับวงจรชีวิต 2024-05-08T16:32:34+07:00 อัจฉราพร ฉากครบุรี Natyoodee2012@gmail.com <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา &nbsp;“มนุษย์กับกระบวนการของชีวิต”ถือว่า พบว่า&nbsp; กระบวนการของชีวิตประกอบด้วยนาม รูป หรือวิวัฒนาการมาจากนาม รูป โดยอาศัยเหตุปัจจัยเป็นตัวการสำคัญกระบวนการของชีวิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาทที่เป็นเหตุปัจจัยสร้างกระบวนการของชีวิต 2 ประการใหญ่ๆ นั้นคือ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เรียกว่า ปรโตโฆษะบ้าง กัลลยาณมิตรบ้าง ปาปมิตรบ้าง โยนิโสมนสิการบ้าง เหตุปัจจัยเหล่านี้ซึ่งเป็นลักษณะของลูกโซ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปของ วงจรชีวิต เพราะกระบวนชีวิตเป็นกระบวนการปฏิจจสมุปบาทที่สัมพันธ์กัน ไม่มีต้น ไม่มีปลาย หรือเรียกว่า กระบวนการของชีวิตที่ประกอบด้วยรูปกับนาม ซึ่งรูปนามนี้จะเกิดขึ้นและดับลง นั้นเอง</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270069 นาง นพขวัญ นาคนวล 2024-06-23T13:52:56+07:00 นพขวัญ นาคนวล Tuijumgem@gmail.com ผศ. (พิเศษ) ดร. สรวิชญ์ วงษ์สอาด sorawit062231@Gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “การประยุกต์ใช้สัมมาวายามะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า สัมมาวายามะ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรค 8 หมายถึง เพียรชอบหรือพยายามชอบ ๑)พยายามระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น ๒)พยายามละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ยังเกิดขึ้นแล้ว ๓.พยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรงชอบ ๔) เจริญกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้น สัมมาวายามะหรือ ความพยายามชอบตามหลักพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายอยู่ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านอัตถประโยชน์ ด้านปรัตถประโยชน์ และด้านอุภยัตถประโยชน์ สำหรับในการประยุกต์ใช้สัมมาวายามะ เพื่อการพัฒนาชีวิต จำแนกออกเป็น ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านการศึกษา ต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายคือปฏิเวธ ๒. ด้านการทำงาน&nbsp; ต้องส่งเสริมให้เกิดหิริโอตตัปปะและวิริยะในการทํางาน มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ และไม่ทุจริตต่หน้าที่ที่รับมอบหมาย ๓) ด้านการพัฒนาตัวเอง การพัฒนาต้องพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ตามหลักภาวนา ๔ &nbsp;และ ๔) ด้านการปฏิบัติธรรม&nbsp; นำหลักสัมมาวายะ มาเป็นหลักในการการทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว ต้องอาศัยหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ 1) สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป และ 2) ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270072 พุทธจริยศาสตร์การแต่งงานกับเพศเดียวกัน 2024-07-02T10:47:40+07:00 ธนะกิจ อินยาโส Natyoodee2012@gmail.com ผศ. (พิเศษ) ดร. สรวิชญ์ วงษ์สอาด sorawit062231@Gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาเรื่อง “พุทธจริยศาสตร์การแต่งงานกับเพศเดียวกัน” จากการศึกษาพบว่า คำว่า “เพศ” มีอยู่ ๒ ทาง คือ เพศทางกายภาพที่และเพศตามแนวคิดทางจิตวิทยา พุทธปรัชญาถือว่า เป็นการนิยามเพศแบบสมมติสัจจะและเป็นปรมัตถสัจจะ ด้วยความจริงแบบขันธ์ ๕ ในแบบสากลเหมือนกันในระดับปัจเจกบุคคลและระดับทางสังคม ระหว่างเพศชาย เพศหญิง และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะว่า ดี-ชั่ว เป็นเรื่องของการกระทำของปัจเจกบุคคล เพราะชีวิตทุกชีวิตล้วนมีค่าในตัวเอง และขึ้นอยู่กับการกระทำของปัจเจกบุคคล การปิดกั้นศักยภาพและความสามารถในการมีชีวิตที่ดีและการมีชีวิตที่ประเสริฐของกลุ่มความหลากหลายทางเพศจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ และการละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มความหลากหลายทางเพศเช่นกัน เพราะว่าคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นการแสดงถึงอาการที่รักสุขเกลียดทุกข์ของปัจเจกบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญในสภาวะของความทุกข์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ นอกจากนี้การสร้างความเข้าใจประเด็นปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นการตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตนั้นเอง</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273694 หลักคำสอนเชิงปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2024-06-26T16:29:00+07:00 สมเพลิน ชนะพจน์ Chnu0505@gmail.com ผศ. (พิเศษ) ดร. สรวิชญ์ วงษ์สอาด sorawit062231@Gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “หลักคำสอนเชิงปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู” เริ่มต้นจากการเกิดขึ้นของชนชาติอารยัน และเกิดวิวัฒนาการทางความเชื่อในสังคมแต่ละยุคแตกต่างกัน พระพรหมได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตลอดกาล คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์หลัก พราหมณ์เป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ คำสอนสำคัญเรื่องหลักอาศรม ๔ หลักการปฏิบัติระหว่างบุคคล หลักปรมาตมันและหลักโมกษะ แนวคิดเชิงปรัชญาจากลัทธิครูทั้ง ๖ คือ ลัทธินยายะ ลัทธิไวเศษิกะ ลัทธิสางขยะ ลัทธิโยคะ ลัทธิมีมางสาและลัทธิเวทานตะ มีความเชื่อเรื่องพรหมันและโมกษะ ตามหลักคำสอนเชิงปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู</p> <p>&nbsp;</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270359 นาง กรณ์รวี ศันธนะ 2024-08-06T12:53:49+07:00 กรณ์รวี ศันธนะ Kavithapornjar@cpall.co.th ผศ. (พิเศษ) ดร. สรวิชญ์ วงษ์สอาด sorawit062231@Gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง” วงจรชีวิตที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบาท” ที่เป็นองค์ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในฐานะเป็นตัวสภาวะหรือกฎของธรรมชาติ ซึ่งเป็นหลักความจริงที่เกี่ยวข้องความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่เกี่ยวโยงกันลูกโซ่ทั้งสายเกิดและสายดับแสดงถึงสภาวะของชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตายในเรื่องโลกและชีวิต นรก สวรรค์ บุญ บาป ชาตินี้ ชาติหน้า และนิพพานว่าเป็นของจริงรู้แจ้งชัดสภาวธรรมของนามรูปตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ในการกำหนดรู้ทางกาย เวทนา จิต และธรรม ของการเจริญวิปัสสนา ซึ่งจะทำให้รู้แจ้งพระนิพพาน โดยผ่านอริยสัจ ๔ กับหลักปฏิจสมุปบาทในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในฐานกาย เวทนา จิต และธรรม การเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต สุดจะ คาดคะเนได้ เป็นองค์ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในฐานะเป็นตัวของสภาวะหรือกฎของธรรมชาติ ซึ่งเป็นหลักความจริงที่มีอยู่ที่แสดงถึงสภาวะของชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ชีวิตทุกชีวิต เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งประกอบด้วยขันธ์ ๕ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือนามรูป อันเป็นทุกข์ มีการเวียนว่ายตายเกิด ในเรื่องขจองโลกและชีวิต นรก สวรรค์ บุญ บาป ชาตินี้ ชาติหน้า และนิพพานว่าเป็นของจริง</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274763 กระบวนการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ในโพธิปักขิยธรรมเพื่อการบรรลุธรรม 2024-08-06T13:03:55+07:00 พระประยูร อาจิณฺณธมฺโม รุ่งเรือง 6511105011@mcu.ac.th วิโรจน์ คุ้มครอง koom-krong9@hotmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาอริยมรรคมีองค์ 8 ในโพธิปักขิยธรรม (2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเจริอริยมรรคมีองค์ 8 ในโพธิปักขิยธรรมเพื่อการบรรลุธรรม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเน้นเอกสารวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย 1. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1039/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4">สัมมาทิฏฐิ</a> คือ ความเห็นชอบ 2. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1040/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B0">สัมมาสังกัปปะ</a> คือความดำริชอบ 3. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1041/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2">สัมมาวาจา</a> คือการเจรจาชอบ 4.<a href="http://www.uttayarndham.org/node/1042"> สัมมากัมมันตะ</a> คือ การงานชอบ 5. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1043/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B0">สัมมาอาชีวะ</a> คือ การเลี้ยงชีพชอบ 6. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1044/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0">สัมมาวายามะ</a> คือ ความเพียรชอบ 7. <a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1045/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4">สัมมาสติ</a> คือ ความระลึกชอบ และ 8.<a href="http://www.uttayarndham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1/1046/%E0%B8%AA-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4"> สัมมาสมาธิ</a> คือ ความตั้งมั่นชอบ เป็นการอบรมอริยมรรคมี 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ทำให้เจริญ งอกงามสมบูรณ์พร้อม เป็นธรรมสามัคคี เกิดประกอบรวมกัน เพื่อให้เกิดญาณปัญญา เมื่อบุคคลเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นอยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ นี้เป็นกระบวนการหรือวิธีการเจริญวิปัสสนาที่ทำให้อริยมรรคทั้งรวมประชุมกัน และการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 สามารถบรรลุธรรม 4 ระดับกล่าวคือ 1) บรรลุพระโสดาบัน 2) บรรลุพระสกิทาคามี 3) บรรลุพระอนาคามี 4) บรรลุพระอรหันต์ จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว 3 หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิพพานไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป ส่วนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัยเป็นแบบ 8 S Model”</p> 2024-12-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277963 ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากร ทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ 2025-01-17T09:00:39+07:00 กณภัทร พงศ์เฉลิมพร Gunkhanaphat@gmail.com สิริวัฒน์ ศรีเครือดง Srikhruedongkk@gmail.com สุวัฒสัน รักขันโท Suwatsanto@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ส่งเสริมการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากรทางการแพทย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ 3) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนชองบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีด้วยวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการะสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 รูป/คน เพื่อสร้างแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 166 คน และ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ส่งเสริมการบรรลุสัจการแห่งตนตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยหลักอริยสัจ 4 กับหลักจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรทางการแพทย์ คือ คุณธรรมจริยธรรม ความรักและศรัทธาในอาชีพและจิตเมตตา และ เกิดการบรรลุสัจการแห่งตน ได้แก่ กัลยาณมิตร การพัฒนาตนเอง การพัฒนาจิตวิญญาณ และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตน พบว่า หลักอริยสัจ 4 และหลักจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตน พบว่า ปัจจัยอริยสัจ 4 และปัจจัยจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีอิทธิพลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05<br /><br /></p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275737 แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2025-01-15T11:01:29+07:00 ธัมมจารี ปุญฺญธมฺโม thammajari07102513@gmail.com <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) พื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนาม นำเสนอผลวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐานสายพุทโธ ใช้วิธีการภาวนาในระดับสมถะและพิจารณาธาตุขันธ์ในระดับวิปัสสนา เน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณ กำหนดบริกรรม พุทโธ ใช้วิธีการปฏิบัติ คือ กายคตาสติ อสุภกรรมฐาน เช่น พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ผู้สูงอายุที่เริ่มฝึกต้องมีสติอยู่กับการเห็นเพราะเป็นการฝึกที่ง่ายที่สุดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ด้าน อาวาสสัปปายะ ได้แก่ ทางลาดชันเนื่องจากเป็นป่าเขา ไม่สะดวกต่อผู้สูงอายุ สถานที่นอน ห้องน้ำ ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ที่มาปฏิบัติ ด้าน อาหารสัปปายะ ได้แก่ การบริโภคอาหารเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่ถูกจํากัดและมีแม่ครัวค่อนข้างน้อย ด้าน บุคคลสัปปายะ ได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์มีจำนวนน้อย แนวทางปฏิบัติอาจแก้ไขปัญหาได้ไม่ทั้งหมด ด้าน ธรรมสัปปายะ ได้แก่ ขาดการพูดคุยสื่อสารในหลักธรรมที่เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรม 3) แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมของผู้สูงอายุตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาวาสสัปปายะ วัดทราบความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ต้นแบบ พัฒนาพื้นที่ทางกายภาพให้เหมาะสม อาหารสัปปายะ วัดจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมเกื้อกูลต่อสุขภาพด้านโภชนาการ และส่งเสริมด้านกองทุนให้เป็นค่าอาหาร บุคคลสัปปายะ เพิ่มจำนวนพระวิปัสสนาจารย์ให้มีสัดส่วนเหมาะสม พัฒนาความสามารถให้เพิ่มขึ้น สร้างความน่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ธรรมสัปปายะ ส่งเสริมการนำหลักธรรมปรับให้เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติ</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275742 รูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2025-01-15T11:01:08+07:00 เจษฎาคม สิริมงฺคโล (แก่นแก้ว) tun29082518@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์/วิปัสสนาจารย์ 6 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 9 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คือ ความรู้ที่ถูกต้อง รู้ในอริยสัจจ์ 4 รู้ในทุกข์ สาเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงดับทุกข์ คือ สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding) การไตร่ตรองพิจารณากำหนดรู้อย่างถูกต้องและถูกวิธี คือ สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) การสำรวมในคำพูด คือ สัมมาวาจา (Right Speech) การสำรวมในร่างกายและจิตใจ คือ สัมมากัมมันตะ (Right Action) การสำรวมในการอุปโภคบริโภคด้วยปัจจัย 4 คือ สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) การมีความเพียรกำหนดจดจ่ออย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ คือ สัมมาวายามะ (Right Effort) การมีสติพิจารณาในกาย เวทนา จิต และธรรม คือ สัมมาสติ (Right Mindfulness) และ การกำหนดจดจ่ออย่างตั้งมั่น คือ สัมมาสมาธิ (Right Concentration) แล้วจึงยกขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนาภาวนาด้วยสติปัฏฐาน 4 (Mindfulness) เกิดเป็นปัญญารู้แจ้งรูป-นาม ตามความเป็นจริง (Right Meditation)</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277960 ผลการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2025-01-08T12:59:13+07:00 พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ phonsommana@gmail.com เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ Udomtamanupab@gmail.com กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ Phoowachanathipong11@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการลดความวิตกกังวลตามแนวพุทธจิตวิทยาในการสอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแผนกิจกรรมการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการลดความวิตกกังวลในการสอบหลังใช้แผนกิจกรรมการเจริญพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการเจริญพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบ และแบบวัดความวิตกกังวล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักทางพุทธจิตวิทยาที่ใช้ส่งเสริมการลดความวิตกกังวลในการสอบ ประกอบด้วย แนวคิดการสวดมนต์ หลักพละ 5 ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เชิงสังคมพุทธิปัญญา แนวทางการพัฒนาปัจจัยลดความวิตกกังวล 4 ปัจจัย ได้แก่ แรงบันดาลใจและทัศนคติของผู้เรียน วิธีการสอน ความคาดหวังสูง และ การประเมินผลเชิงลบ 2) แผนกิจกรรมการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป จำนวน 8 แผนกิจกรรม 3) ผลการใช้แผนกิจกรรม พบว่า หลังใช้แผนกิจกรรม นักเรียนมีความวิตกกังวลลดลงกว่าก่อนใช้แผนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และส่งผลร่วมกันต่อคะแนนการลดความวิตกกังวลในการสอบ คะแนนเฉลี่ยระดับการลดความวิตกกังวลในการสอบระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275741 รูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 2025-01-04T06:29:33+07:00 ธีรเชฎฐ์ สุรธีโร (โพนสุวรรณ) thevitphnswn84@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์/วิปัสสนาจารย์ 8 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 9 คน รวม 21 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร คือ การพัฒนาด้วยการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญเมตตาภาวนา กรุณาภาวนา มุทิตาภาวนา และอุเบกขาภาวนา (Loving-kindness) หรือ เรียกว่า เมตตาอัปปมัญญา คือ การแผ่ไปตามลำดับบุคคล แบบไม่เจาะจงบุคคล 5 จำพวก แบบเจาะจงบุคคล 7 จำพวก และแผ่ไปยังทิศต่าง ๆ 10 ทิศ เรียกว่า การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ เมื่อสภาวะของฌาน 4 มีความสมบูรณ์ ก็จะสามารถพัฒนาขึ้นสู่อรูปฌาน 4 และเข้าถึงเมตตาฌานระดับ 9 คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วจึงยกเมตตาฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 (Mindfulness) คือ การพิจารณากำหนดรู้รูป-นามตามความเป็นจริง จนเกิดเป็นปัญญา (Wisdom) ได้แก่ ปัญญา 1 ปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงอยู่ได้ ไปจนถึง ปัญญา 10 ผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 10 คือ พระอรหันต์</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277955 รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา 2025-01-15T10:59:11+07:00 สมชาย ทุ่งมล 6411101006@mcu.ac.th วิโรจน์ คุ้มครอง koom-krong9@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาฌานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิถีแห่งอริยมรรคตามหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และ3) เพื่อเสนอรูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา เป็นการวิจัยแบบเรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนาที่พบ คือ การเจริญฌานนั้น มีจุดมุ่งหมายในครั้งนี้ คือ เจริญจิตภาวนา เพื่อให้เกิดฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จนได้รับผลบรรลุถึงปัญญา ซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อพิจารณารูปนามให้รู้ตามความเป็นจริงซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่เป็นกุศล ฌานเป็นปัจจัยของการบรรลุธรรม แต่ยังไม่สามารถทำให้เห็นแจ้งอริยธรรมได้เลย และกิเลสหรืออาสวะของผู้บำเพ็ญเพียรยังไม่สิ้นไป และผู้มีฌานต้องเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไปจึงจะเห็นสภาวะความเป็นจริงแห่งอริยสัจ 4 จนถ่ายถอนอาสวะออกหมดสิ้นได้ การเพ่งของฌานแบบพระพุทธศาสนาถือการเพ่งสัญญาไม่ว่าทั้งที่เป็นรูปสัญญาและอรูปสัญญาทั้งนี้เพื่อให้จิตดิ่งเข้าสู่ความสงบนิ่งแนบแน่นหรือเข้าสู่อารมณ์สมมติ ก่อนแล้วจึงพิจารณาเพ่งเพื่อรู้แจ้งสภาวะด้วยสติและสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นการเจริญมรรคเป็นไปเพื่อรู้แจ้งในพระไตรลักษณ์ และส่งเสริมการพัฒนาฌานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญสมถกรรมฐานจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ถึงอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ การที่จะเข้าสู่วิปัสสนาได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการเจริญฌานเบื้องต้นก่อนจนได้ฌานที่สูงขึ้นแล้วนำมาเป็นบาทฐานจากนั้นค่อยถอยออกจากฌานแล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนา จิตนั้นจึงมุ่งสู่อริยมรรคกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้นเท่าทันตามความเป็นจริงตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยพิจารณาเห็นความเป็นพระไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 หรือรูปนาม จนเกิดปัญญาญาณบรรลุถึงโลกุตตรธรรม ในที่สุดเข้าสู่พระนิพพาน</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277953 แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรม วัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 2025-01-07T11:28:59+07:00 ฤาโชติ รชฎทรัพย์ Panavajiro9199@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรม วัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์ 5 รูป ผู้ปฏิบัติธรรม 9 คน รวม 17 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ เริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวก่อนมาปฏิบัติธรรม เพื่อให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่งขึ้น โดยตั้งใจให้แน่วแน่ว่าจะตั้งใจปฏิบัติธรรม ทำใจให้ผ่องใส แล้วจึงทำการสมาทานศีล 5 ศีล 8 ของคฤหัสถ์ หรือ ศีล 227 ของภิกษุ งดเว้นสิ่งที่ทำให้ฟุ้งซ่าน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต หรืองดการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น จากนั้นให้เริ่มศึกษาวิธีการปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติธรรม เช่น สิ่งที่ควรปฏิบัติ สิ่งที่ควรงดเว้น แล้วจึงลงมือปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ มีความเพียรในการปฏิบัติ (Perseverance) มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต (Clear comprehension) และมีสติพิจารณากำหนดในอารมณ์ต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (Mindfulness) ในกาย เวทนา จิต ธรรม</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275738 รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร 2025-01-04T06:26:01+07:00 สุพัฒน์พงษ์ สุขวฑฺฒโน (ธรรมมิยะ) nemooza@hotmail.co.th โอภาสนนทกิตติ์ nemooza@hotmail.co.th บุญเชิด ชำนิศาสตร์ nemooza@hotmail.co.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่าง พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานครจำนวน 297 รูป สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 รูป/คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเขียนวิเคราะห์แบบสรุปความแบบเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNI modified 2) ผลการพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ตามองค์ประกอบของรูปแบบเชิงข้อความ คือ หลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 และผลลัพธ์ที่คาดหวัง 3) ผลการประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร โดย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นประโยชน์ ตามลำดับ สามารถนำไปเป็นรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพในการศึกษาสงเคราะห์แก่พระสังฆาธิการได้</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270806 แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2024-09-12T16:22:33+07:00 พระสมใจ โชติธมฺโม (แช่มรัมย์) phrasomjai@gmail.com อำพล บุดดาสาร amponbuddasarn@gmail.com <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาอาวาสสัปปายะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ/พระวิปัสสนาจารย์ 6 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 15 รูป/คน ซึ่งผู้วิจัยได้ รวบรวม และสัมภาษณ์บุคคลนำมาวิเคราะห์ สรุปเรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ คือ การใช้หลัก 12 ส. ได้แก่ (1) สะอาด (2) สะดวก (3) สงบ (4) สว่าง (5) สะสาง (6) สร้างนิสัย (7) สันโดษ (8) สงัด (9) สุขลักษณะ (10) สร้างความปลอดภัย (11) สถานที่เหมาะสม และ (12) สาธารณะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นปัญญาญาณได้ตามลำดับ</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270448 การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ 2024-07-02T11:17:08+07:00 พระมหาประธาน ธมฺมสุธี (คงเจริญเนตร) banz_osks13@hotmail.com อำพล บุดดาสาร amponbuddasarn@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในสังคมไทย (1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทย (3) เพื่อนำเสนอการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 10 ท่าน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ กล่าวคือ 1) สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ บุคคลทั่วไปและบุตรหลานควรให้สิ่งของแก่ผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามกำลังของตน มีวาจาที่อ่อนหวาน กล่าวคำสุภาพเพื่อให้กำลังใจผู้สูงอายุ มีการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามกำลังของตน และความประพฤติตนสม่ำเสมอให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ 2) พรหมวิหาร 4 ได้แก่ บุคคลทั่วไปและบุตรหลานควรมีความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ มีกรุณาสงสารคิดจะช่วยผู้สูงอายุให้พ้นทุกข์ พลอยยินดีเมื่อผู้สูงอายุมีความสุข และวางใจเป็นกลางในเมื่อผู้สูงอายุท่านอื่นมีความสุข หรือประสบบความทุกข์ 3) ภาวนา 4 ได้แก่ อบรมกายผู้สูงอายุให้มีความสุขตามอัตภาพของตน อบรมศีล ให้ผู้อายุตั้งอยู่ในกฎระเบียบ และกฎหมายของบ้านเมืองไม่เบียดเบียนตน และผู้อื่น อบรมจิตใจให้มีความเข็มแข็งมั่นคง และสมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิตที่ดี อบรมปัญญาให้ผู้สูงอายุรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย และรู้เท่าทันโลกตามความเป็นจริง 4) ศีล 5 ได้แก่ ผู้สูงอายุไม่ควรไม่ฆ่าสัตว์ ไม่รังแกกัน ไม่เบียดเบียนกันมีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ลักทรัพย์ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่สำส่อนทางเพศ แต่จงพอใจเฉพาะคู่ของตน สำรวมระวังควบคุมกามารมณ์ให้พอเหมาะพอดี ไม่พูดเท็จพูดแต่ความจริงเท่านั้น ไม่ดื่มสุราและยาเสพติดมีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต เมื่อผู้สูงอายุมีสติสัมปชัญญะย่อมไม่มีความประมาทในกิจการทั้งปวง</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274274 แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ยุค New Normal : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองอึ่ง ต.เชียงใหม่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 2024-09-23T10:12:03+07:00 สมคิด เศษวงษ์ somkidseswong@gmail.com สุทธรี กระจ่างคันถมาตร์ somkidseswong@gmail.com กุสุมา เมฆะวิภาต somkidseswong@gmail.com ไพฑูรย์ อุทัยคาม uthai.pho@mcu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ (๑)&nbsp; เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏีการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในสังคมไทย (๒) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน&nbsp; (๓) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนาธรรมของชุมชนในยุค New Normol&nbsp; &nbsp;&nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนามโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นมุ่งส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นทุกด้าน ควบคู่กับการพัฒนาและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยการสร้างความตระหนัก เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามต่อสังคมต่อไป</p> <p>ส่วนบริบทการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน&nbsp; พบว่า บริบทของชุมชนบ้านหนองอึ่ง ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลเชียงใหม่ ซึ่งมีการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและมีภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสิ่งเกื้อประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคลสร้างความตระหนักในคุณค่าแห่งความรู้ความสามารถ ที่ผ่านการสั่งสมมาอย่างหลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตและมีศิลปะที่สวยงามของภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ทั้งยังนำมาใช้เป็นแง่คิดในการพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นฐานคุณค่าดั่งเดิมที่เน้นความเรียบง่ายการพึ่งพาตนเอง</p> <p>แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนาธรรมของชุมชนในยุค New Normol&nbsp; พบว่า แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยกันคือ</p> <p>๑) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยการปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นการทำให้คนในชุมชนเกิดความรักและศรัทธาในสิ่งที่ตนเองถือปฏิบัติมาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชนทุกกลุ่มเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของบ้านเกิดของตัวเองและท้องถิ่น ๒) ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นการอนุรักษ์เป็นการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์รักษาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ๓) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาศิลปะวัฒนธรรมของภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องการเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น ๔) การฟื้นฟู ศิลปะและวัฒนธรรมที่กำลังสูญหาย การฟื้นฟูโดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมและมีกระบวนการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ สร้างภาคีเครือข่ายการอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีของชุมชนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267481 นวัตกรรมวิปัสสนาบำบัดเพื่อดุลยภาพทางสุขภาวะองค์รวม 2024-05-29T11:20:40+07:00 นันทนัช อัศดรศักดิ์ nunthanat9.mcu@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมวิปัสสนาบำบัดเพื่อดุลยภาพทางสุขภาวะองค์รวม เป็นการวิจัยเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หรือจากคัมภีร์อื่นๆ เช่น ฎีกา อนุฎีกา ตลอดจนตำราวิชาการและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมวิปัสสนาบำบัดเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งสติปัฏฐานสี่ รวมทั้งปฏิบัติหลักธรรมอื่นๆ ในพุทธศาสนาเพื่อการเกื้อกูลต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เช่น หลักการพัฒนาปัญญาในพุทธศาสนาล้วนเป็นไปเพื่อการเจริญวิปัสสนาปัญญา หลักอายุสสธรรมเป็นความสัปปายะทั้งปัจจัยภายนอกและภายในที่เกื้อกูลต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หลักการให้คำปรึกษาหรือสอบอารมณ์ที่มีครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตรชี้แนะความเข้าใจที่ถูกตรงต่อหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นต้น ทำให้ทราบว่าหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงแบบองค์รวมและมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ซึ่งแตกต่างจากการนำหลักวิธีการฝึกสติที่ปราศจากหลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นโปรแกรมบำบัดรักษาโรคทางการแพทย์แบบตะวันตก &nbsp;</p> <p>นวัตกรรมวิปัสสนาในงานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการบำบัดทุกข์แบบชั่วคราวและแบบถาวรเป็นไปตามพุทธประสงค์เพื่อความพ้นจากทุกข์เป็นอกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล) โดยทำให้เกิดดุลยภาพทางสุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธ ได้แก่ 1) ความสมบูรณ์ทางกายเหมาะสมกับช่วงวัย 2) ความสมบูรณ์ทางจิตมีความบริสุทธิ์ (วิสุทธิ) 3) ความสมบูรณ์ทางสังคมตั้งอยู่ในศีลและระเบียบวินัยเสมือนแคว้นกุรุที่มีความผาสุก เพื่อยังความสัปปายะแก่การเจริญสติปัฏฐาน 4 และ 4) ความสมบูรณ์ทางปัญญาช่วยยกระดับจิตให้ละถอนอวิชชา และเกิดความไพบูลย์ของวิปัสสนาปัญญาสู่ความพ้นทุกข์ (วิมุตติ)</p> 2024-11-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275785 วิเคราะห์การพัฒนาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา 2025-01-06T09:46:55+07:00 ศรายุทธ สราวุโธ (เชษฐ์รัมย์) pheungtale@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท&nbsp; <br>(2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยรวบรวมจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และรายงานอธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความเชื่อที่มีปัญญาประกอบ มีหลักการพัฒนาประกอบด้วยความเพียร มีสติสัมปชัญญะเพียรระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ของรูปนามอยู่เสมอ ๆ ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ความสำคัญของศรัทธาในฐานะต่างๆ โดยเป็นธรรมเกิดก่อนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนกุศลธรรมข้ออื่น ๆ ให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางที่พึงประสงค์คือเกิดปัญญา สภาวะธรรมที่เกิดร่วมศรัทธา หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์ธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินทรีย์ 5 พละ 5 เสขพละ 5 สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 วัฑฒิ หรือ อารยวัฒิ 5 สัปปุริสธรรม 8 อริยทรัพย์ 7 และองค์ของผู้กระทำความเพียร ซึ่งเมื่อสังเกตจะเห็นว่าแต่ละองค์ธรรมทั้งหมดจะมี ศรัทธาเป็นองค์นำเป็นเบื้องต้น และมีปัญญาเป็นเบื้องปลาย คือมีศรัทธาเป็นองค์ธรรมเบื้องต้นอัน นำไปสู่การพัฒนาสู่ปัญญา วิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ศรัทธาในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ซึ่งถือว่าเป็นการนำองค์ธรรม คือศรัทธามาใช้เพื่อเป้าหมายสุงสุดในทางพระพุทธศาสนา คือการนำมาใช้เป็นบาทฐานแห่งการเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน อันเป็นแก่นสูงสุด ซึ่งศรัทธาจึงถือว่าเป็นองค์ธรรมอย่างหนึ่งในการวิปัสสนาภาวนา</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273378 การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ 2024-06-12T09:48:41+07:00 แม่ชีจิราพร ทิพย์ดวงรัตน์ artmahawat@gmail.com <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องกุศลจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ๓. ศึกษาการพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พบว่า กุศลจิต หมายถึง ธรรมชาติที่ทำให้บาปธรรมให้หวั่นไหว หรือ สภาพธรรมที่ทำลายบาปธรรมอันบัณฑิตพึงรังเกียจให้หมดไป ส่วนบุญนั้น หมายถึง การกระทำที่เป็นไปเพื่อการชำระสันดานของตนให้ขาวสะอาด กุศลเป็นสภาพที่ปรากฏขึ้นในจิตใจก่อน โดยการชำระบาปธรรมในจิตใจให้หมดไปเป็นเบื้องต้น เพื่อจะเป็นฐานรองรับความสะอาดที่เป็นสภาพของบุญเข้าไปแทนที่ในจิตใจ หรือ กุศลเป็นสภาพที่ทำการงดเว้นจากอกุศลบาปธรรมทั้งปวง&nbsp; เช่น กุศลกรรมบถ ๑๐ หนทางที่ให้เกิดกุศลกรรม ได้แก่ งดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ เมื่องดเว้นได้เรียกว่า กุศล ส่วน บุญ เป็นสิ่งที่ต้องทำขึ้นเพื่อให้สภาพความดีที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น และเพื่อให้ความดีที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่เต็มที่สมบูรณ์ เรียกว่าบุญ เช่น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สิ่งที่เป็นเหตุเป็นฐานให้เกิดบุญ กุศลจิตจัดเข้าในพุทธพจน์บทว่า “สพฺพปาปสฺส อกรณํ” แปลว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง ส่วนบุญจัดเข้าในพระพุทธพจน์บทว่า “กุสลสฺสูปสมฺปทา” แปลว่า การทำความดีให้เต็มที่ แต่ทั้ง ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันเดียวกัน ตามพระพุทธพจน์บทที่ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” แปลว่า การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว</p> <p>การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะมี ๓ ระดับ คือ ๑. การพัฒนากุศลจิตระดับเบื้องต้น ทาน ศีล ภาวนา ๒. การพัฒนากุศลจิตระดับกลาง การเจริญสมถกรรมฐานสภาพจิตที่เข้าถึงรูปฌาน อรูปฌาน ๓. การพัฒนากุศลจิตระดับสูง โลกุตตรกุศล เป็นกุศลที่สามารถประหาณอนุสัยกิเลสได้โดยสมุจเฉทปหาณ ยกเว้นสกิทาคามิมรรค</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277956 วิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระกีสาโคตมีเถรี 2025-01-15T10:58:37+07:00 บำรุง จรจำรัส bumrung26052507@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและประวัติการบำเพ็ญบารมีของพระกีสาโคตมีเถรี 2) วิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระกีสาโคตมีเถรี โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ แล้วนำมาเรียบเรียงนำเสนอแบบบรรยาย เชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนา หมายถึง การรู้แจ้งอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้แก่การบรรลุโลกุตรธรรม 9 ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ทำการละสังโยชน์ได้ตามกำลังของมรรคญาณ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1) พระโสดาบันสามารถประหาณสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้, 2) พระสกทาคามีทำราคะและปฏิฆะให้เบาบางลงได้, 3) ผู้สำเร็จเป็นพระอนาคามีย่อมประหาณสังโยชน์ทั้ง 3 รวมทั้งกามราคะ ปฏิฆะได้, 4) พระอรหันต์ประหาณสังโยชน์ที่เหลือคือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัทจะ และอวิชชาได้โดยสิ้นเชิง พระกีสาโคตมีเถรีได้เริ่มสั่งสมบารมีและตั้งความปราถนาเป็นเอตทัคคะสาวิกาในด้านผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ และบำเพ็ญบารมีเรื่อยมาจนถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เมื่อมีชีวิตต้องประสบกับความทุกข์โศกเพราะการสูญเสียบุตรอันเป็นที่รักยิ่ง จนขาดสติและได้การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบรรลุโลกุตรธรรมเบื้องต้นและขอบวชเป็นภิกษุณี และเจริญวิปัสสนาภาวนา ใช้เปลวประทีปเป็นอารมณ์จนจิตเกิดสมาธิน้อมจิตสู่วิปัสสนา คือ เมื่อตอนเปลวประทีปแปรปรวนจิตเกิดปัญญา เห็นความแปรปรวนไม่เที่ยงจึงยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา จิตเกิดปัญญาญาณ รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ การกำหนดรู้เท่าทันการเกิดดับที่ปรากฏทางกาย เวทนา จิต และธรรม หรือว่าโดยย่อก็คือการกำหนดรู้ในรูปนามขันธ์ 5 ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง ในที่สุดท่านก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277958 ปฏิสัมภิทามรรค : สงเคราะห์ลงในอริยสัจ 4 โดยหลักเทสนาหาระ 6 2025-01-08T12:57:02+07:00 วีระ สันติบูรณ์ varit.sanboon@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและเนื้อหาหลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค 2) เพื่อศึกษาหลักของเทสนาหาระ 6 อริยสัจ 4 และ 3)เพื่อสงเคราะห์หลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เข้าในอริยสัจ 4 โดยเทสนาหาระ 6 โดยรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นผลงานของพระสารีบุตร เป็นคัมภีร์ชั้นบาลี ในหมวดพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ถือกันว่า ปฏิสัมภิทามรรคเป็นคัมภีร์คู่มือกัมมัฏฐานเล่มแรก และเป็นต้นแบบของคัมภีร์ทางด้านนี้ในสมัยต่อมา เช่น คัมภีร์วิมุตติมรรค ของพระอุปติสสเถระ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆสเถระ หลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค มีลักษณะยกศัพท์ธรรมะขึ้นเป็นบทตั้ง แล้วอธิบายขยายความศัพท์นั้น มีอยู่ 30 กถา หรือ 30 ศัพท์ แบ่งเป็น 3 วรรคคือ มหาวรรคว่าด้วยธรรมหมวดใหญ่ มี 10 เรื่อง สมถะและวิปัสสนา มี 10 เรื่อง ปัญญามี 10 เรื่อง 2) อริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐสำคัญที่สุด ซึ่งพระพุทธเจ้าเจ้าทรงได้พระนาม สัมมาสัมพุทโธ เพราะตรัสรู้อริยสัจและสั่งสอนให้ผู้อื่นให้รู้อริยสัจ ดังพระสารีบุตรอธิบายคำ พุทฺโธ “ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงนำพาหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้” คำว่า สัจจะ หมายถึงอริยสัจ 4 ในคัมภีร์เนตติอัฏฐกถา ได้แสดงความหมายของพระดำรัสว่า “ความจริง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พ้นจากสัจจะ ไม่มี ในคำนั้น โดยเหตุที่พระพุทธดำรัสแม้เพียงคาถาหนึ่งที่พ้นไปจากอริยสัจ หามีไม่” 3)การสาธิตให้ชัดแจ้งว่าคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคคืออุปกรณ์เครื่องมือการศึกษากรรมฐาน ที่ถูกต้องตามแนวทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีอัตลักษณ์พิเศษ คู่ควรเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในแนวทางการปฏิบัติสำหรับทุกสำนักกรรมฐาน เนื้อหาทุกกถา กว้างขวาง เกิ้อกูลต่อเนื่องกัน ละเอียดลุ่มลึก คัมภีร์นี้จึงเป็นเครื่องมืออนุรักษ์คำสอนกรรมฐานตามหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญยิ่งเล่มหนึ่ง</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274275 ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตพื้ นที่ ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามแนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน 2024-09-23T10:30:00+07:00 คมเดช ธนาธิษณ์ Komdej.ta@gmail.com ธีรภัทร กุโลภาส Komdej.ta@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามแนวคิดคุณค่า&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อัตลักษณ์ชุมชน และ เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบล&nbsp;&nbsp; ตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามแนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย โรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 โรงเรียน มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 39 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครู จำนวน 37 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างด้วยการใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามแนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามแนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน ภาพรวมมีความต้องการจำเป็น ในระดับมาก (PNI<sub>modified</sub> = 0.897) โดยการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI<sub>modified</sub> = 0.925) รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI<sub>modified</sub> = 0.916) และ ด้านการวัดและประเมินผล (PNI<sub>modified</sub> = 0.849) ตามลำดับ และแนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชนที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การตระหนักรู้คุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277962 การพัฒนาเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจการคณะสงฆ์: กรณีวัดหนองโสน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.นครศรีอยุธยา 2025-01-08T13:03:53+07:00 บุญโชค วงษ์วัง 6311105208@mcu.ac.th <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจการคณะสงฆ์ของวัดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่กิจการคณะสงฆ์ของวัด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ และสังเคราะห์และเขียนการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการวิจัยพบว่า<strong> 1) </strong>กิจการคณะสงฆ์ถือเป็นหน้าที่ในการบริหาร การวางแผน การจัดองค์การคณะสงฆ์ และการบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารกิจการคณะสงฆ์มีวัตถุประสงค์ 10 ประการการดำเนินกิจการคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน มหาเถรสมาคมมีหน้าที่การบริหารงาน ออกนโยบาย และแผนปฏิบัติการประจำปี มี 6 ด้านเพื่อให้การพัฒนาพระพุทธศาสนา สภาพการณ์ยังต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยแล้ะองตตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคมด้วย 2) สื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่อยู่ในรูปสื่อออนไลน์เพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ให้เกิดความรู้ ความสัมพันธ์ดี ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เพื่อแบ่งความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ ก่อให้เกิดชุมชนออนไลน์ทั่วโลกเพื่อเผยแพร่กิจกรรมขององค์กรได้กว้างและมีประสิทธิผล 3) แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเผยแพร่งานกิจการคณะสงฆ์ถือเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นประโยชน์ต่อบุคคล สังคม ต้องเน้นการพัฒนามนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านคุณธรรม ศีลธรรม จิตใจและสติปัญญา เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน อนาคตและประโยชน์สูงสุดคือการดับทุกข์และปัญหาทุกอย่าง โดยนำแบบพุทธวิธีการสอนธรรม 4 อย่าง มาจัดเป็นกรอบ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน 1) ด้านการพัฒนาหน้าเพจของสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่กิจการคณะสงฆ์ของวัด 2) ด้านเนื้อหา 3) ด้านภาพประกอบ/วีดิทัศน์ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยคือ&nbsp; <strong>VIED+3</strong> Model</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270894 นวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อพัฒนาสติ 2024-09-17T07:48:22+07:00 ดรุฑ สิทธิรัตน์ uthai.pho@mcu.ac.th <p>พุทธศิลป์ในครั้งพุทธกาล เน้นการสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ จึงปรากฏงานพุทธศิลป์ประเภทสถาปัตยกรรม เช่น สถูปต่าง ๆ เป็นต้น และต่อมาในยุคหลังครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว จึงปรากฏเป็นงานพุทธศิลป์ด้านประติมากรรม คือมีการสร้างพระพุทธรูปตามยุคตามสมัยต่าง ๆ ที่ตนนับถือ ผู้วิจัยเป็นผู้ที่เห็นงานพุทธศิลป์มาตั้งแต่กำเนิด จึงเกิดความคิดที่ว่าถ้าหากมีอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกสติสำหรับผู้เริ่มต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนหรือพัฒนาสติได้มากขึ้น จึงเกิดเป็นนวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อช่วยพัฒนาสติสำหรับผู้ที่เริ่มต้น จึงเกิดเป็นนวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อช่วยพัฒนาสติสำหรับผู้ที่เริ่มต้น และอีกหลายท่านที่ได้ทดลองนวัตกรรมนี้แล้ว ตอบโจทย์ในการเริ่มต้นฝึกสติ นวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อพัฒนาสตินี้ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นฝึกฝนให้เกิดสมาธิได้ง่ายขึ้น จึงให้ชื่อว่าเป็น “ยานขับเคลื่อนจิต”</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277952 รูปแบบการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของวัดห้วยเจริญ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2025-01-15T11:00:14+07:00 พระครูสมุห์สุทัศน์ ทตฺตมโน (แสงอินทร์) mcu.phasutas@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยเจริญ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) รูปแบบการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยเจริญ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า สัปปายะ 7 คือ สภาพที่เอื้ออำนวย สภาวะที่เกื้อหนุน เกื้อกู(3) เรื่องการพูดคุย (4) บุคคล (5) อาหาร (6) สภาพดินฟ้าอากาศ และ (7) อิริยาบถ เป็นที่สบาย มีความเหมาะสมต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา ทั้งการเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา สภาพทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยเจริญ มีการพัฒนาทั้งเสนาสนะ และบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมร่มรื่นด้วยต้นไม้และสวนป่า สะอาดเหมาะสมต่อการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ตามหลักคำสอนและแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของพระพุทธเจ้า โดยพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยเจริญ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีการแก้ปัญหาและอุปสรรคตามหลักสัปปายะ 7 และทบทวนงานการพัฒนาที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อวางแผนการดำเนินงานและส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสัปปายะ 7 ให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ของบุคลากรและเจ้าหน้าที่แต่ละคน โดยระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ภาระหน้าที่และระยะเวลา ในการดำเนินงาน เอกสารที่เหมาะกับสภาพและความต้องการของคณะกลุ่มบริหารจัดการวัด สามารถส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมได้อย่างถูกจุดตามหลักสัปปายะ 7 อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งและเกี่ยงการทำงานของบุคลากรเจ้าหน้าที่ภายในวัด เมื่อทุกคนนำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดประโยชน์ก่อให้เกิดปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อผู้ที่มาปฏิบัติธรรม องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ 7SMC (Model): 7S= Seven Sappaya (หลักสัปปายะ 7) M=Meditation (การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4) C=Center (สำนักปฏิบัติธรรมพัฒนาตามหลักสัปปายะ 7)</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275358 ศึกษาวิเคราะห์วิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อการปฏิบัติวิปัสนาภาวนา 2025-01-04T06:20:38+07:00 นางสาวสิรินทิพย์ วงษ์สวรรค์ sirin.w.th@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภูมิ 6 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพเป็นการศึกษาเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค เป็นต้น ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า วิปัสสนาภูมิ หมายถึง ภูมิแห่งปัญญา ถือเป็นอารมณ์สำหรับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ผู้เจริญวิปัสสนาต้องกำหนดรู้วิปัสสนาภูมิ 6 ที่กำลังปรากฏชัดในปัจจุบันขณะ ได้แก่ 1) ขันธ์ 5 2) อายตนะ 12 3) ธาตุ 18 4) อินทรีย์ 22 5) ปฏิจจสมุปบาท 12 และ 6) อริยสัจ 4 ทั้งหมดสรุปย่อลงเป็น รูปนาม วิปัสสนาภูมิเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ ซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์ด้วยมรรคอริยมรรค 8 ซึ่งเป็นทางสายกลาง การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสังเกตอารมณ์ตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงรูปนาม ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้สภาวะของ รูกาย เวทนา จิต และธรรม ในฐานะรูปธรรมและนามธรรมตามอาการต่าง ๆ คือ การพองและยุบของท้อง โดยการปฏิบัติเช่นนี้จะสามารถแยกให้รู้เห็นรูปนามตามวิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อให้เกิดการเห็นแจ้งไตรลักษณ์และการปล่อยวางอารมณ์</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273695 พระพุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) 2024-06-13T06:20:55+07:00 นายธนะกิจ อินยาโส Natyoodee2012@gmail.com <p>หนังสือเล่มนี้มีชื่อเรื่อง “พระพุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ” ผู้เขียนโดย “สายชล สัตยานุรักษ์” หนังสือของท่านเคยเป็นที่ยอมรับกันมานานว่าชนชั้นในระยะแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์พยายามที่จะฟื้นฟู “ความเป็นกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่งานเขียนทางประวัติศาสตร์ในระยะ ๔-๕ ปีที่ผ่านมาให้ภาพของสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมกับความคิดของชนชั้นนำในต้นรัตนโกสินทร์ก่อนการทำสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ. ๒๓๙๘ ผลงานของท่านสร้างแรงบันดาลใจและช่วยให้เห็นถึงคู่ทางที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางพระพุทธศาสนาของไทยในยุคเริ่มตันของสมัยรัตนโกสินทร์ที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดของไทยอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญระยะหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เพราะนอกจากจะเป็นระยะที่ราชอาณาจักรอยุธยาได้แตกสลายลงและมีการสถาปนาระบบการเมืองขึ้นมาใหม่แล้ว ยังเป็นระยะที่มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมมาก</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273109 พระราชนิพนธ์ เรื่อง มหาชนก 2024-05-13T13:11:15+07:00 พระครูสุภัทรปัญญาคุณ พิเนตทัน somkidseswong@gmail.com <p>หนังสือพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ &nbsp;เรื่อง“พระมหาชนก” เป็นหนังสือที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธนฺมสาโร มหาเถร) วัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลานคร</p> <p>เรื่องมีใจความว่า ที่ทางเข้าสวนหลวงมีตันมะม่วงสองต้น ต้นหนึ่งมีผล อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทรงลิ้มรสมะม่วงอันโอชา แล้วเสด็จเยี่ยมอุทยาน เมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวง ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงที่มีผลรสดี ถูกข้าราชบริพารดึงทึ้งจนโค่นลง ส่วนตันที่ไม่มีลูกก็ยังคงตั้งอยู่ตระหง่าน แสดงว่าสิ่งใดดี มีคุณภาพ จะเป็นเป้าหมายของการยื้อแย่ง และจะเป็นอันตรายในท่ามกลางผู้ที่ขาดปัญญา</p> <p>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒) และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น</p> <p>พระมหาชนกบำเพ็ญวิริยบารมีที่ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลานครด้วยพระปรีชาสามารถ มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วง</p> <p>พระบาทสมแด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่กรุงมิถิลานครยังไม่ครบถ้วน กล่าวคือข้าราชบริพาร "นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างคนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ" อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่ เก้าวิธีอีกด้วยด้วยประการเช่นนี้</p> 2025-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์