วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa
<p>วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนา วิปัสสนาภาวนา บาลีพุทธศาสตร์ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่ จะได้พิจารณากลั่นกรองผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อบทความ ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blinded)<br /><br /></p>
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
th-TH
วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
2539-5777
<p> เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น </p>
-
วิเคราะห์การพัฒนาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274769
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท <br />2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยรวบรวมจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และรายงานอธิบายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความเชื่อที่มีปัญญาประกอบ มีหลักการพัฒนาประกอบด้วยความเพียร มีสติสัมปชัญญะเพียรระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ของรูปนามอยู่เสมอ ๆ ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ความสำคัญของศรัทธาในฐานะต่างๆ โดยเป็นธรรมเกิดก่อนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนกุศลธรรมข้ออื่น ๆ ให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางที่พึงประสงค์คือเกิดปัญญา สภาวธรรมที่เกิดร่วมศรัทธา หรือองค์ธรรมประกอบของศรัทธา คือ อินทรีย์ 5 พละ 5 เสขพละ 5 สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 วัฑฒิ หรือ อารยวัฒิ 5 สัปปุริสธรรม 8 อริยทรัพย์ 7 และองค์ของผู้กระทำความเพียร ซึ่งเมื่อสังเกตจะเห็นว่าแต่ละองค์ธรรมทั้งหมดจะมีศรัทธาเป็นองค์นำเป็นเบื้องต้น และมีปัญญาเป็นเบื้องปลาย คือมีศรัทธาเป็นองค์ธรรมเบื้องต้นอันนำไปสู่การพัฒนาสู่ปัญญา วิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาถือว่าเป็นการนำองค์ธรรม คือศรัทธามาใช้เพื่อเป้าหมายสุงสุดในทางพระพุทธศาสนา คือการนำมาใช้เป็นบาทฐานแห่งการเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน อันเป็นแก่นสูงสุด ซึ่งศรัทธาจึงถือว่าเป็นองค์ธรรมอย่างหนึ่งในการวิปัสสนาภาวนา</p>
พระมหาศรายุทธ สราวุโธ เชษฐ์รัมย์
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
1
11
-
รูปแบบการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267781
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติ 2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก พระวิปัสสนาจารย์ 7 รูป นักวิชาการศาสนา 4 ท่าน และผู้ปฏิบัติธรรม 5 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า เริ่มจากเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ พร้อมด้วยอนุสสติ 6 จึงปฏิบัติตามรูปแบบ ดังนี้ 1) เมตตาภาวนา คือ การแผ่ไปเป็นอัปปมัญญา(2) เมตตาเจโตวิมุตติ คือ แผ่เมตตาฌานเพื่อพัฒนาสู่สมาบัติ 8 และ 3) เมตตาอินทรีย์ คือ การพอกพูนอินทรีย์ 5 โพธิปักขิยธรรม ตัดละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 พร้อมทั้งสมถพละและวิปัสสนาพละ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้ การเข้ามี 2 ช่วง ได้แก่ (1) การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติจนสำเร็จผล คือ ละกามราคะปฏิฆะและได้สมาบัติ 8 จึงบ่มอินทรีย์ 5 จนเต็มฐาน ดับสังขาร 3 ตามธรรมชาติได้หลายครั้ง และ (2) ฝึกการเข้าอยู่ ทบทวนสมาบัติ 8 เป็นวสีภาวะ คู่กับพัฒนาปัญญาเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ให้เบาบาง จิตว่างจากกิเลสเพิ่มขึ้น จึงเข้าสู่การอธิษฐานและเพิ่มเวลาการเข้าอยู่ ถัดไปเป็นการละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ด้วยอนิมิตตาเจโตวิมุตติ คือ การแผ่เมตตาด้วยเจตนาที่เป็นอุเบกขา เพื่อละนิมิตว่าเที่ยง สุข เป็นอัตตา เพื่อถอนตัณหา อัสสมิมานะ และอวิชชา บรรลุพระอรหันต์แบบอุภโตภาควิมุตติ ผู้สัมผัสวิโมกข์ 8</p>
Nawaporn Thongsripetch
สุภีร์ ทุมทอง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
12
28
-
การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/266284
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิตของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ 3) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกร ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลคำสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินชีวิตของเกษตรกร เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาความสุข ทั้งของตน ผู้อื่น และคนหมู่มาก เป็นผลดีทั้งแก่ตน ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม เกษตรกรผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางนี้จะเป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุข เนื่องจากทุกองค์ประกอบของชีวิตคือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน 2) ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นหลักธรรมสำคัญทางเศรษฐกิจในพุทธศาสนาหมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง คือ (1) อุฏฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียร คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน, (2) อารักขสัมปทา การรักษา คือ รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์ และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร, (3) กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย, (4) สมชีวิตา มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิต หรือเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” คือ อุ อา กะ สะ 3) การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกร คือ (1) ความหมั่น ในการรับรู้การประกอบอาชีพที่สุจริต ฝึกฝนตนให้มีความชำนาญและรู้จริงในกิจการงาน, (2) การรักษา มีความเข้าใจ ความพึงพอใจในการใช้ปัญญาเป็นหลักคิดพิจารณาและคิดคำนวณเสมอ, (3) การคบหามิตร ที่ต้องมีเพื่อนที่ดีสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำสิ่งดีๆ และสามารถนำหลักธรรมในพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ได้, (4) การเลี้ยงชีวิต ที่ต้องรู้จักใช้จ่ายทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีวิตอย่างสมเหตุสมผลสอดคล้องกับหลักโภคสุข องค์ความรู้ที่ได้จาการวิจัย ออกมาเป็น “UAKS Model”</p>
นิลุบล เผือกเดช
โสภณ ขำทัพ
สุจิตรา ทิพย์บุรี
พระครูบวรชัยวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
29
42
-
รูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274771
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาการปกป้องคุ้มครองคณะสงฆ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อพระสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์กฎหมายและศูนย์ปรึกษากฎหมายระดับจังหวัด ควรมีหน้าที่ 4 ประการ ดังนี้ 1) การให้ความรู้ทางด้านกฎหมายกับพระสงฆ์ 2) เป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระหว่างวัด กับคู่กรณี ชาวบ้าน ชุมชน และพระสงฆ์ 3) เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายเมื่อเกิดกรณีข้อข้อขัดแย้ง 4) สถาบันทางกฎหมายต้องเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้ของคณะสงฆ์ โดยการสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพระสงฆ์ ทั้ง 4 ประการสำคัญนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ รูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ คือ “PDSC MODEL” ประกอบด้วย 1) ให้ความรู้ทางกฎหมาย (P) 2) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (D) 3) ปรึกษากฎหมายกรณีมีข้อขัดแย้ง (S) 4) สร้างเครือข่ายเพื่อความแข็งแกร่งของพระสงฆ์ (C)</p>
พระครูวิสาลสรนาท อุดม อติพโล
อำพล บุดดาสาร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
43
58
-
สังเคราะห์ความรู้จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการกับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267826
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ความรู้จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม โดยใช้การสังเคราะห์เชิงปริมาณ ผ่านระเบียบวิธีวิจัยทางสถิติ นำเสนอข้อค้นพบที่มีประเด็นใกล้เคียงกันจากงานวิจัยทุกเรื่อง และบูรณาการข้อค้นพบรายงานการประเมินผลที่นำมาสังเคราะห์ทั้งหมด พร้อมแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างลักษณะการวิจัยกับการสังเคราะห์เชิงปริมาณ ดังนั้น จึงเป็นการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ หรือการวิเคราะห์เชิงผสมผสาน โดยประเมินคุณภาพงาน ศึกษาโดยใช้เกณฑ์วัดคุณภาพงานวิจัย ส่วนสำคัญของงานวิจัยนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับกรณีอื่น ๆ และพัฒนาเป็นการวางลำดับตามโครงสร้าง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และข้อสรุปของผู้วิจัย จากการการสังเคราะห์งานวิจัย มักใช้กับกรณีงานวิจัยเชิงคุณภาพทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการสังเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ ได้เริ่มมาจากการนำผลรายงานการวิจัย 2-3 เรื่อง หรือหากมีมากยิ่งขึ้นทำให้ได้ข้อสรุปที่มีความครอบคลุม และน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้กว้างขึ้น</p>
กิ่งแก้ว สุวรรณคีรี
สุธิดา สองสีดา
พิชชา บัวแย้ม
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
59
73
-
แนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/266761
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและคุณค่าของประเพณีการตีก๋องปูจาในกลุ่มจังหวัดล้านนา 2) ศึกษาสภาพปัญหาของการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน และ 3) นำเสนอแนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีการตีก๋องปูจามีประวัติความเป็นมาผ่าน 4 ยุคสมัย คือ 1) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ล้านนา ก๋องใช้ในพิธีกรรมทางภูติผีและจิตวิญญาณ 2) ยุคประวัติศาสตร์ล้านนา ก๋องใช้ในการศึกสงครามและพิธีกรรมทางศาสนา 3) ยุคพระพุทธศาสนา ก๋องใช้ในการสื่อสารระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร และ 4) ยุคปัจจุบัน ก๋องใช้ในกิจกรรมและประเพณีทางศาสนาและสังคม ก๋องปูจา ยังมีคุณค่า 5 ด้าน ได้แก่ 1) วัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงความเชื่อกับวิถีทางพระพุทธศาสนา 2) การศึกษา ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณี 3) การท่องเที่ยว ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว 4) เศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้จากการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ และ 5) สังคม ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารและจัดระเบียบทางสังคมสภาพปัญหาการสืบทอดประเพณีมี 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ ที่ชำรุดและไม่เพียงพอ 2) ปัญหาด้านผู้นำ ผู้ฝึกสอนและวิทยากร ที่มีไม่เพียงพอ และ 3) ปัญหาด้านองค์ความรู้และหลักสูตรการสอน ที่ขาดคู่มือสำหรับการศึกษาและถ่ายทอด และแนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจามี 3 แนวทาง คือ 1) การสืบทอดด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยหน่วยงานและองค์กรภาคประชาชนควรร่วมมือแก้ไขปัญหา 2) การสืบทอดด้านผู้นำ ผู้ฝึกสอน และวิทยากร โดยสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ และ 3) การสืบทอดด้านองค์ความรู้หรือหลักสูตรการสอน โดยส่งเสริมการรวบรวมองค์ความรู้ จัดทำหลักสูตรและคู่มือ และเปิดกว้างให้มีการเรียนการสอน</p>
มณี มณเฑียร
โสภณ บัวจันทร์
สว่างจิต ขันตี
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
74
85
-
แนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275609
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการสัมภาษณ์เชิงลึกในภาคสนาม วิเคราะห์และสังเคราะห์ผ่านความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 16 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR Model ซึ่งเป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายกระบวนการประชาสัมพันธ์ ยังคงมีความเกี่ยวข้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและดำเนินการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมบริการสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักธรรมกถึก 5 ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้แสดงธรรม ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานการประสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี และ3) แนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ตามทฤษฎีการสื่อสาร SMCR Model ร่วมกับ หลักพระธรรมกถึก 5 ประการ ในการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อบริการสังคม ผู้ส่งสาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 3 สาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 1 และ 2 ช่องทาง ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 5 ผู้รับสาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 4 สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็น SMCR-B Model.</p>
ว่าที่ ร.ท. ธีร์ธวัช ภูมิประมาณ
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
86
100
-
ศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์การพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267209
<p>บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การพรากชีวิตในพระไตรปิฎก 2) เพื่อวิเคราะห์การพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก โดยผุ้วิจัยได้มุ่งเน้นที่การศึกษาพระวินัยเป้นหลัก ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนา บทความ วารสาร และงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การพรากชีวิตในพระไตรปิฎกบ่งถึง ต้องมีความจงใจ ใช้กายหรือสิ่งที่เนื่องด้วยกายฆ่าเองหรือสั่งให้ฆ่า พรรณนาคุณแห่งความตาย อันเป็นเหตุให้มนุษย์ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ความพยายามในการกระทำการพรากชีวิตมนุษย์ มี 5 คือ (1) สาหัตถิกประโยค ความพยายามด้วยกายของตน (2) นิสสัคคิยประโยค ความพยายามด้วยอาวุธ (3) อาณัตติกประโยค ความพยายามด้วยการสั่งคนอื่น (4) ถาวรประโยค ความพยายามด้วยอุปกรณที่อยู่กับที่ (5) วิชชามยประโยค ความพยายามด้วยการร่ายมนต์ และ(6) อิทธิมยประโยค ความพยายามด้วยการประกอบฤทธิ์ ความพยายามทั้ง 6 ประการนี้ทำให้พระภิกษุผู้กระทำต้องอาบัติตามวัตถุ ตามสมควรแก่ความพยายาม และความสำเร็จในการพรากชีวิต แนวทางในการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก พบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) บุญกิริยาวัตถุ ประกอบบุญกุศล 2) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักปาริสุทธิศีล สำรวมระวังด้วยศีล 3) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ เลือกฟัง ใช้ปัญญาตรอง 4) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร มีการวางตัวเป็นผู้ใหญ่ และ5) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักกัลยาณมิตตา มีความสอดส่องดูแลตามสถานภาพของตน เพื่อความบริสุทธิ์แห่งตัวพระภิกษุสงฆ์ ไม่สร้างความเดือดร้อนสูญเสียให้ใคร เป็นเนื้อนาบุญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของชาวโลก สืบไป</p>
พระมหาดำรงค์ ปชฺโชตชโย
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ
เสนาะ ผดุงฉัตร
พระปลัดณัฐยุทธ โฆสิตวํโส
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
101
113
-
การพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273300
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สภาพปัจจุบันด้านคุณลักษณะจิตบริการและคุณภาพชีวิตของจิตอาสา 2) องค์ประกอบการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา วิปัสสนา จิตวิทยา และจิตอาสา จำนวน 25 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิควิเคราะห์สามเส้า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันด้านคุณลักษณะจิตบริการของจิตอาสาวัดป่าเจริญราช มีศรัทธาพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมในการใช้ชีวิต มีจิตบริการจากใจ เอาใจใส่ มีเมตตา มีทัศนคติที่ดี กระตือรือร้นช่วยเหลือ มีความสุข พร้อมเป็นผู้ให้ 2) องค์ประกอบการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา ได้แก่ บุคคลต้นแบบของจิตอาสา คุณลักษณะสำคัญของจิตอาสา หลักธรรมประจำใจ และแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา ได้แก่ ต้นแบบการทำดีที่ยึดถือ คุณลักษณะสำคัญภายในและภายนอกของจิตอาสา หลักธรรมที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาจิตบริการเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา ได้แก่ พละ5 และสังคหวัตถุ4 และแนวทางปฏิบัติในการทำงานจิตอาสาเพื่อให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน อันส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา 4 ด้าน 1) ด้านกาย มีความแข็งแกร่ง อดทน 2) ด้านศีล มีศีลมีธรรมดำเนินชีวิต 3) ด้านจิต มีสติรู้คิด รู้จักควบคุมอารมณ์ และ 4) ด้านปัญญา มีสติรู้เท่าทัน เข้าใจสิ่งรอบข้าง มองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น</p>
อโนทัย สินตระการผล
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
114
128
-
การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274818
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 <br />ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สัปปายะ 7 คือ สภาพที่เอื้ออำนวย สภาวะที่เกื้อหนุน เกื้อกูล ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ มีอยู่ 7 อย่าง ได้แก่ (1) ที่อยู่อาศัย (2) แหล่งอาหาร (3) เรื่องการพูดคุย (4) บุคคล (5) อาหาร (6) สภาพดินฟ้าอากาศ (7) อิริยาบถ เป็นที่สบาย มีความเหมาะสมต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา ทั้งการเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา สำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร มีการพัฒนาทั้งเสนาสนะ และบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมร่มรื่นด้วยต้นไม้และสวนป่า สะอาดเหมาะสมต่อการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ตามหลักคำสอนและแนวทางการปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีการแก้ปัญหาและอุปสรรคตามหลักสัปปายะ 7 และทบทวนงานการพัฒนาที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อวางแผนการดำเนินงานและส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสัปปายะ 7 ที่มีประสิทธิภาพและก้าวหน้า</p>
พระครูวินัยธร ชัยวัตร อาภาธโร พวงลำเจียก
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-06
2024-12-06
10 3
129
142
-
แนวทางการบริหารงานอาสาสมัครตำรวจชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเชิงพุทธบูรณาการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274760
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารงานอาสาสมัครตำรวจชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารงานอาสาสมัครตำรวจชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานอาสาสมัครตำรวจชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 17 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานำเสนอเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการบริหารงานอาสาสมัครตำรวจชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเชิงพุทธบูรณาการกล่าวคือ อาสาสมัครตำรวจชุมชนทุกคนควรมี 1) การบริหารตนตามหลักความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หลักพรหมวิหารกล่าวคือ เมตตาคือ ความปรารถนาดีต่อชุมชน มีความกรุณาช่วยเหลือให้ชุมชนปลอดภัยสงบสุข มีมุทิตาแสดงไมตรีจิตต่อชุมชน มีอุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลางในการแก้ปัญหา หลักฆราวาสธรรมได้แก่ มีสัจจะความจริงใจต่อชุมชน มีทมะคือ การข่มใจจิต มีขันติคือ ความอดกลั้น ไม่ท้อถอย และมีจาคะความเผื่อแผ่ แบ่งปันช่วยเหลือชุมชนตามสมควร 2) การบริหารคนตามหลักสังคหวัตถุ 4 กล่าวคือ มีการให้ และมีน้ำใจรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวาน สมานสามัคคีให้เกิดไมตรี ประพฤติให้เป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายสองฝ่าย และทำตนเสมอต้นเสมอปลาย 3) การบริหารงานตามหลักมีอปริหานิยธรรมกล่าวคือ มีการประชุมกันเป็นประจำ เลิกประชุมพร้อมกัน ไม่ล้มเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของชุมชน เคารพผู้ใหญ่ในชุมชน ไม่เอาเปรียบและข่มแหงสุภาพสตรี และปลูกฝังจิตสำนึกในการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสต่างๆ เพื่อเสริมสร้างแนวทางการบริหารงานของอาสาสมัครตำรวจชุมชนอำเภอบ้านแพ้วให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ส่วนองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นแบบ “KBGSA Model”</p>
พนม คงกลิ่น
วิโรจน์ คุ้มครอง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
143
159
-
กระบวนการสร้างศรัทธาและพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ของพระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) วัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267441
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัติถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างศรัธาเพื่อพัฒนาปัญญาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างศรัทธาเพื่อพัฒนาปัญญาของพระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) วัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างศรัทธาและพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทของพระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) วัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ศรัทธาคือความมั่นใจ ความเชื่อถือ ซึ่งเป็นคุณธรรมจำเป็นที่นำไปสู่การพัฒนาจิตให้บรรลุนิพพาน ด้วยการพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขาคือ 1) อธิสีลสิกขา สำหรับบรรพชิต ศรัทธามุ่งการระงับนิวรณ์โดยการเจริญกุศลธรรมมี ศีล สมาธิ และปัญญา ส่วนผู้ครองเรือน ศรัทธาเป็นธรรมพื้นฐานเพื่อการดำเนินชีวิตให้อยู่ในศีลธรรม สำรวมระวังตนไม่ให้ทำผิดทางกาย วาจา 2) อธิจิตตสิกขา คือ การมีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ และ 3) อธิปัญญาสิกขา คือ การพัฒนาปัญญาญาณจนรู้แจ้งความเป็นจริงเพื่อดับกิเลสและความทุกข์ทั้งหมด วิธีการสร้างศรัทธาและการพัฒนาปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทของพระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) พบว่า หลวงพ่อรวยได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องจนทำให้ผู้พบเห็นเกิดศรัทธาต่อท่าน แล้วจึงสอนให้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ศาสนวัตถุ และมีคุณธรรม ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาปัจเจกชนและสังคมให้มีศีลธรรมและสัมมาปัญญา กระบวนการสร้างศรัทธาและการพัฒนาปัญญาของพระมงคลสิทธาจารย์ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) พบว่าหลวงพ่อรวยมีกระบวนการสร้างศรัทธา 4 ด้านคือ 1) ศาสนวัตถุ สร้างวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างศรัทธาเบื้องต้น 2) ด้านสาธารณสงเคราะห์ สอนให้พึ่งตนเอง ส่งเสริมการศึกษา ฝึกอาชีพ พัฒนาถนนหนทาง ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ร่วมกับภาครัฐและเอกชน 3) <strong> </strong>ด้านสาธารณะประโยชน์ ท่านสร้างสาธารณะประโยชน์ คือ สวนสาธารณะ ศาลาที่พัก ถนนหนทางและนำสู่ 4) ศาสนธรรม คือ การสอนธรรมะเพื่อให้นำไปประพฤติปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากการวิจัยทำให้ได้รูปแบบโมเดลคือ “RUAY” ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและใช้เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคมได้</p>
วันชัย สอนศิริ
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
160
173
-
รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274761
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตสาธารณะ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยภาคสนามและสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 16 รูป/คนนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการประกอบด้วย 1) หลักพรหมวิหาร 4 กล่าวคือ บุคคลผู้มีจิตสาธารณะควรมีหลักเมตตา มีความรักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้บุคคลอื่นมีความสุข หลักกรุณา ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เมื่อเพื่อนมนุษย์ได้รับความลำบาก เดือดร้อน จะต้องไม่นิ่งเฉยหาทางช่วยตามกำลังที่ตนจะทำได้ หลักมุทิตา พลอยยินดีเมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความสุข ไม่มีความริษยา หลักอุเบกขา วางเฉย วางใจเป็นกลางปราศจากอคติแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 2) หลักสังคหวัตถุ 4 กล่าวคือ หลักทาน คือ การให้ ด้วยจิตเสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน วัตถุ สิ่งของ ของตนเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ที่ประสพความทุกข์ต่างๆ หลักปิยวาจา การพูดด้วยถ้อยคำ ที่ไพเราะ จะเกิดความประทับใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่สร้างให้มนุษย์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หลักอัตถจริยา คือ การประพฤติตนเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สงเคราะห์ เสียสละประโยชน์ของตนด้วยการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เดือดร้อน หลักสมานัตตตา คือ การปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีความเสมอภาค ให้ความเท่าเทียมกันเป็นกันเอง และ 3) หลักมงคลสูตรข้อที่ 17 การสงเคราะห์ญาติ คือ สงเคราะห์ อนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นดุจการสงเคราะห์ญาติของตน ด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยช่วยเหลือด้วยทุนทรัพย์และวัตถุสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ต่างๆ ด้วยมีความรัก ความเมตตาเป็นที่ตั้ง ส่วนองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นแบบ “BSN Model”</p>
พระณรงค์ พนฺธุธมฺโม เทียนเจริญ
วิโรจน์ คุ้มครอง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
174
190
-
คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ : การปริวรรต แปล และการวิเคราะห์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274770
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ในด้านประวัติความเป็นมา ผู้แต่ง โครงสร้าง และเนื้อหาของคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ 2) เพื่อปริวรรตคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ จากต้นฉบับบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ ด้านไวยากรณ์ ฉันทลักษณ์ อลังการและคุณค่าต่อการศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้แต่งคัมภีร์นี้ คือพระอัคคธัมมะเถระชาวพม่า คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะมีธาตุทั้งหมด 1,189 ศัพท์ โครงสร้างของคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนต้นของคัมภีร์ คือ คันถารัมภกถา อยู่ในคาถาที่ 1 (2) เนื้อหาของคัมภีร์ แบ่งออกเป็น 5 ปริจเฉท อยู่ในคาถาที่ 2-330 (3) คำลงท้ายของคัมภีร์ คือ นิคมนกถา อยู่ในคาถาที่ 331-32 ต้นฉบับของคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะจัดพิมพ์เป็นบาลีอักษรพม่า ผู้แปลได้ปริวรรตเป็นภาษาบาลีอักษรไทย แปลเป็นภาษาไทยและตรวจชำระ โดยเทียบเคียงกับสัททนีติปกรณ์ ธาตุมาลา ซึ่งแต่งโดยพระอัคควังสะ, สัททนีติธาตุมาลา ฉบับแปล ตรวจชำระโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อุปสมมหาเถระ ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ ซึ่งแต่งโดยพระวิสุทธาจารมหาเถระ และพระไตรปิฎกภาษาบาลี คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ สรุปความไวยากรณ์ที่สำคัญจากสัททนีติปกรณ์ โมคคัลลานไวยากรณ์ ปทรูปสิทธิปกรณ์ และพาลาวตาร คัมภีร์นี้แต่งเป็นอนุฏฐุภาฉันท์ 8 พยางค์ มีคาถาทั้งหมด 22 ประเภท คือ ปัฐยาวัต 1 กลุ่มนการวิปุลา 5 กลุ่มชการวิปุลา 3 กลุ่มมการวิปุลา 3 กลุ่มรการวิปุลา 3 กลุ่มสการวิปุุลา 2 กลุ่มภการวิปุลา 3 กลุ่มตการวิปุลา 2 และประกอบด้วยลักษณะของสัททาลังการ 6 ประเภท คือ ปสาทคุณ มธุรตาคุณ สุขุมาลตาคุณ อัตถพยัตติคุณ โอชคุณ และสิเลสคุณ อีกทั้งคัมภีร์นี้ส่งผลด้านคุณค่าต่อการศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้รู้คณะธาตุและอรรถของธาตุได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพระพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องอันจะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน</p>
พระมหาธีรเพชร ธีรเวที มาตพงษ์
ประเวศ อินทองปาน
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
191
204
-
รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274772
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า งานด้านสาธารณสงเคราะห์ ในกิจการพระพุทธศาสนา ดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์ในภาวะวิกฤต คณะสงฆ์เป็นองค์กรที่สำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วยวัตถุสิ่งของจำเป็นเบื้องต้น โดยนำหลักธรรม 5 หลัก ทางพระพุทธศาสนาคือ 1) อคติ 4 ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ 2) พรหมวิหาร 4 ได้แก่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 3) สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา 4) สาราณียธรรม 7 ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สาธารณโภคี 5) สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ รู้หลักการ รู้จุดหมาย รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล ดำเนินการช่วยเหลือสังคมทางวัตถุที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย คือ โมเดล “KGSA” คือ 1) K= ช่วยเหลือสังคมด้วยความเมตตาและเป็นกลาง G = ช่วยเหลือสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อ S = ช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจและสม่ำเสมอ A = ช่วยเหลือสังคมตามความเหมาะสม</p>
พระครูสังฆภารวิมล สุเทพ รติโก
ประเวศ อินทองปาน
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
205
218
-
วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จ.นครปฐม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274774
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพการสอนวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย และสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สติปัฏฐาน การปฏิบัติที่มีสติเป็นประธาน หลักการปฏิบัตินั้นแบ่งเป็น 4 ฐาน 1) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา 3) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ 4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ โดยเริ่มตั้งความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของคณาจารย์ทั้ง 5 สายนั้น มีอุบายวิธีการปฏิบัติในชั้นสมถะที่ต่างกัน โดยเลือกถือธรรมเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานตามอัธยาศัยของตนเป็นแนวทางภาวนา การกำหนดคำภาวนา มีความแตกต่างกันเล็กน้อยชั้นสมถะ ส่วนในชั้นวิปัสสนายึดหลักสติปัฏฐาน 4 การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม ไม่ได้เน้นการภาวนา เน้นการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 แนวทางการปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรม วัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม เน้นการสอนวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพื่อต่อยอดให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ โดยยึดหลักสติให้ตั้งอยู่ในฐานกาย เวทนา จิต และธรรม ว่าล้วนเป็นไปในกฎสามัญลักษณะ</p>
พระณัฐพล กมฺมสุทฺโธ เครือกนก
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-06
2024-12-06
10 3
219
230
-
ผลการใช้การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267734
<p>บทควาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสามยอด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive sampling) เป็นการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม สอบก่อนและหลัง (The one-group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยบูรณาการการสอนอ่านเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) 2. แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อน-หลังเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) สถิติที่ใช้วิจัยคือสถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยการใช้ทดสอบค่าที(t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยบูรณาการการสอนอ่านของ เมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สำคัญระดับ .05 2.) ความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผู้เรียนโดยบูรณาการการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) ที่อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.50, SD=0.62) </p>
นภวรรณ มุ่งเสรี
วชิระ จันทราช
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-20
2024-12-20
10 3
231
246
-
วิเคราะห์อุปัชฌายวัตร-สัทธิวิหาริกวัตรในวัตตขันธกะ คัมภีร์จูฬวรรค พระวินัยปิฎก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/268470
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำสอนเรื่องอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตร ในบริบทที่เป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในสังคมสงฆ์จากการศึกษาพบว่า การที่พระพุทธองค์บัญญัติให้ภิกษุถืออุปัชฌายวัตรและกำหนดให้พระอุปัชฌาย์ต้องปกครองดูแลสัทธิวิหาริกนั้น เป็นหลักประกันว่า กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาจะได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาอย่างแน่นอน การที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายกระทำวัตรต่อกันก็เพื่อให้เกิดประโยชน์คือ เพื่อลดทิฏฐิมานะของศิษย์ ให้มีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์อันจะเป็นการง่ายในการฝึกหัดพัฒนาด้านอื่น ๆ และเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกัน จะได้เกิดความสนิทสนมสมานสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก</p> <p>อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรมีประโยชน์ต่อสังคมสงฆ์ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือ ในภาวะปกติ การที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกันสิ่งที่เกิดแน่นอนคือ ความสมานสามัคคีอย่างแนบแน่นระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริกและรวมทั้งพระภิกษุร่วมพระอุปัชฌาย์เดียวกันหากเกิดความขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ การที่สงฆ์มีอุปการะต่อกัน การแก้ปัญหาก็จะเกิดขึ้นโดยง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะมีความเคารพยำเกรงกัน บางปัญหาก็แก้ได้ เพราะเห็นแก่พระอุปัชฌาย์หรือเพราะมีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์ซึ่งถือว่าเป็นเสมือนผู้ให้กำเนิดในโลกแห่งพระพุทธศาสนา อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรจึงเป็นสายสัมพันธ์เพื่อความสามัคคีในหมู่สงฆ์</p>
พระมหาชุมพล ธมฺมเตโช(บัวแก้ว)
พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ (ศิริวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
247
260
-
วิเคราะห์คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/267378
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอการวิเคราะห์คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามทัศนะของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม การศึกษานี้สำรวจความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาของสาขาวิชาสังคมศึกษากับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหลักสูตรในการผลิตบัณฑิตสังคมศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมในการเป็นครูสังคมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสำรวจและการสัมภาษณ์เพื่อสำรวจมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล และคุณลักษณะพิเศษที่ผู้ใช้บัณฑิตคิดว่าสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพครูสังคมศึกษา การค้นพบนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับขอบเขตที่หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษาตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับปรุงพัฒนาตามความต้องการ การศึกษานี้มีความหมายต่อการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษายังคงตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของภูมิทัศน์การศึกษาและยังคงผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมที่จะเป็นเลิศในฐานะครูสังคมศึกษาและมีส่วนร่วมในเชิงบวกต่อสังคม ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้บัณฑิตต้องการให้หลักสูตรผลิตบัณฑิตที่มีจุดเด่นด้านมีจิตอาสาและเป็นครูสังคมศึกษามืออาชีพ มีภาวะผู้นำด้านการเป็นพิธีกรจัดพิธีการ พิธีกรรม และเป็นผู้นำกระบวนกรพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน</p>
วรากรณ์ พูลสวัสดิ์
ปัญญา รุ่งเรือง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
261
277
-
การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/265043
<p>บทความวิชการเรื่อง การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการบริหารการศึกษาและประยุกต์ใช้หลักธรรมไตรสิกขากับการบริหารการศึกษาในยุกต์ดิจิทัล โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับไตรสิกขาและการบริหารการศึกษาในยุกต์ดิจิทัล พบว่า การใช้หลักธรรมไตรสิกขาได้แก่ ศีล คือการพัฒนากายให้มีระเบียบวินัย สมาธิ เป็นการภาวนาใช้ในการพัฒนาจิตใจให้มั่นคง และปัญญา เป็นเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้ง 3 ข้อ มีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลาทางการศึกษาให้มีปัญญาสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการศึกษาอย่างทันสมัย พัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการศึกษาให้มีความสะดวกต่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้หลักธรรมไตรสิกขาในการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นการใช้ความรู้ด้านหลักธรรมในการปรับทัศนคติของบุคคลากรให้มีความเข้าใจในระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษาอีกยังเป็นการนำหลักธรรมไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในการปฏิบัติตนให้การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข การประยุกต์หลักธรรมดังกล่าวในยุกต์ดิจิทัล คือการใช้ระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความสะดวก ทันต่อเหตุการณ์และเข้าถึงได้ทุกกลุ่มผู้เรียนอย่างไม่มีข้อจำกัด นอกจากนั้นผู้บริการต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับระบบดิจิทัล เพื่อนำไป ใช้งานตามบริบทดังกล่าว อย่างลึกซึ้ง </p>
พงษ์เทพ ล้อประเสริฐ
พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล
ภัทริณี เจริญธรรม
ธนกร สุวรรณปรุง
ศรพงศ์ศักดิ์ สุวรรณปรุง
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
291
300
-
พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/273072
<p><strong> </strong>หนังสือเรื่อง“พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” ของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ. ดร. เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งหนังสือนี้มีจำนวน ๗๔๒ หน้า<a href="#_ftn1" name="_ftnref1"><sup>[1]</sup></a>ส่วนเนื้อหาภาพรวมจากหนังสือผู้เขียนได้อธิบายถึงรายละเอียดของการบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ หรือศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม อันเป็นส่วนสำคัญในการนำมากำหนดเป็นจุดยืนในการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกรอบวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยว่า จัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาในระดับปริญญาเอก และปริญญาโทเพื่อให้ผู้เรียนให้สามารถเข้าใจโลกตามความเป็นจริงและใช้ชีวิตอยู่เหนือโลกธรรมทั้งมวล จะเห็นได้ว่าสำหรับเรื่องพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่นี้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้าเพื่อหาค าตอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันศาสตร์ต่างๆ ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก กล่าวคือบางศาสตร์ที่มนุษย์ประยุกต์ใช้กับชีวิตก็ได้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางศาสตร์ที่สูญหายไปตามกาลเวลาหรือเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์และมองไม่เห็นคุณค่า แม้กระทั่ง ศาสตร์บางศาสตร์ที่มนุษย์ยังแสวงหาคำตอบไม่ได้ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ต้องเพียรพยายามหาคำตอบอยู่ต่อไป ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงศาสตร์สมัยใหม่จึงนับว่าเป็นคำกล่าวที่กว้างมาก และเป็นคำกล่าวที่ใครๆ ก็มักนึกถึงวิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งที่สัมผัสแตะต้องได้เท่านั้นเป็นหลัก ส่วนที่เป็นนามธรรมหรือเป็นเรื่องภายจิตใจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เข้าใจกันเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนยุคนี้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับศาสตร์สมัยใหม่หรือวิทยาศาสตร์เลย แล้วในท้ายที่สุด การกล่าวเช่นนี้จะเป็นความจริงได้มากเพียงใดสำหรับพัฒนาการของมนุษย์ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่สรรพสิ่งต้องยอมเดินตามวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่าหากอะไรๆ ในสรรพสิ่งขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์แล้วการได้รับการยอมรับจากผู้คนในยุคนี้ย่อมเป็นไปได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งในบรรดาหลายๆ ศาสนาในโลกนี้ที่มนุษย์ยอมรับนับถือจะมีความเป็นไปได้ที่ไม่ขัดแย้งและมีความสอดคล้องกับศาสตร์สมัยใหม่อย่างเช่น วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มากเพียงใด จึงจัดว่าเป็นโจทย์ที่น่าสนใจหาคำตอบเป็นที่สุดผู้เขียนจึงมีความสนใจในการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ในการศึกษาถึงศาสตร์ต่างๆ ที่จะเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อการศึกษาถึงประเด็นต่างๆ</p>
พระครูปริยัติวชิรธรรม
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
10 3
291
300