วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa
<p><strong>วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ ISSN 2539-5807 (Print) และ ISSN 2985-1785 (Online) รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความงานสร้างสรรค์ และบทความปริทัศน์ในสาขาวิชาปรัชญากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เน้นสาขาวิชาด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ อาทิ การจัดการเรียนรู้ การสอน การวัดและการประเมินผลทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมข้ามศาสตร์ </strong></p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong><strong> : </strong>บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็น ทบทวน และตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้อง เหมาะสมทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อบทความ ในรูปแบบพิชยพิจารณ์ (Peer-Review) ก่อนลงตีพิมพ์ และเป็นการประเมินแบบการปกปิดสองทาง (Double-Blind Review) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความลำเอียงหรืออคติหรือเรียกรับผลประโยชน์ใดใด ทั้งนี้หากผู้ประเมินบทความมีข้อเสนอแนะให้ผู้เขียนปรับปรุงเพิ่มเติมหรือแก้ไขบทความ ผู้เขียนบทความจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับผลการประเมิน จากนั้นบรรณาธิการจะพิจารณารับหรือปฏิเสธในขั้นตอนสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุด กระบวนการพิจารณาบทความจนถึงการเผยแพร่วารสาร ใช้เวลาประมาณ 12-22 สัปดาห์</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong> : </strong>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><strong> : </strong>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>1. อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาไทย ดังนี้</p> <p> (1) นักศึกษา บทความละ 1,500 บาท </p> <p> (2) บุคลากร บทความละ 2,000 บาท </p> <p> (3) บุคคลทั่วไป บทความละ 3,000 บาท</p> <p>2. อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษ บทความละ 4,500 บาท</p> <p>หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะเรียกเก็บเมื่อบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ และค่าธรรมเนียมที่ชำระแล้วจะไม่คืนให้กับผู้เขียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong><strong> : </strong>สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม</p>
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
th-TH
วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
2539-5807
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.</p>
-
สารวรรณกรรมในสารนิยาย เรื่อง บ้านชายทุ่ง : การนำเสนอสารความรู้ด้วยกลวิธีทางวรรณกรรม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271462
<p>บทความวิชาการเรื่อง สารวรรณกรรมในสารนิยาย เรื่อง บ้านชายทุ่ง : การนำเสนอสารความรู้ด้วยกลวิธีทางวรรณกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอสารความรู้ด้วยกลวิธีทางวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า สารนิยายสำหรับเยาวชนเรื่อง บ้านชายทุ่ง เป็นงานเขียนสารคดีแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ แต่นำกลวิธีทางวรรณกรรมมาใช้เพื่อเสนอสารความรู้ ตั้งแต่การเลือกใช้องค์ประกอบเหมือน นวนิยาย ได้แก่ การวางโครงเรื่อง สร้างตัวละคร นำเสนอแนวคิดผ่านฉาก และบทสนทนาเหมือนบันเทิงคดี ซึ่งสารวรรณกรรมในสารนิยาย เรื่อง บ้านชายทุ่งนำเสนอสารความรู้แก่เยาวชนด้วยกลวิธีการเขียนแบบบันเทิงคดี อยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญา ที่สอดแทรกความรู้รอบตัวให้แก่เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ เช่น ความรู้เรื่องการนำพืชมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และใช้เป็นยารักษาโรคและ 2) ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ จากตัวละครลูกจันที่เป็นเด็กที่มีบุคลิกภาพที่ดีพร้อม ประกอบด้วย 1) มีความรับผิดชอบ 2) มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน 3) มีความมานะอดทนและ 4) มีความกตัญญู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อ่านที่เป็นเด็กและเยาวชนได้ซึมซับและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน</p>
วรรณธิรา วิระวรรณ
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
1
25
-
ลักษณะเด่นของบทละครเรื่องระเด่นลันได
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271463
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะเด่นของบทละครเรื่องระเด่นลันได จากการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องระเด่นลันได เนื้อเรื่องมีจำนวนคำกลอนทั้งหมด 402 คำกลอน เพลงหน้าพาทย์ จำนวน 11 เพลง และเพลงร้อง จำนวน 7 เพลง เนื้อความเป็นเรื่องล้อเลียนวรรณคดีเรื่องอิเหนา มีการใช้ถ้อยคำในบทประพันธ์ที่มีความกลมกลืน ลีลากลอนกระชับ เนื้อเรื่องเป็นแนวแปลกกว่าบทละครเรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้แสดงถึงคนในสังคมสมัยนั้นว่า มีความเชื่อบางประการอันเป็นลักษณะเด่นด้านคติชน ความเชื่อเรื่องภูตผี ความเชื่อเรื่องนัยน์ตากระตุก ความเชื่อเรื่องผีอำ ซึ่งสังคมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นสังคมพุทธและพราหมณ์ คือ เคารพในพระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องบุญกรรม แต่ยังมีความเชื่อดั้งเดิม เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ตามศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ ส่วนความสำคัญและบทบาทบทละครเรื่อง ระเด่นลันได ได้แก่ คุณค่าทางด้านภาษา คุณค่าทางด้านการให้ความรู้เรื่องค่านิยมในสังคม โดยบทบาทของบทละครเรื่องระเด่นลันได คือบทบาทในฐานะที่เป็นบทประพันธ์วรรณกรรมล้อเลียน</p>
สาทิด แทนบุญ
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
26
35
-
ฟ้อนเอิ้นขวัญ : การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านจากพิธีบายศรีสู่ขวัญ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271466
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม ความเป็นมาของฟ้อนเอิ้นขวัญบทร้อง ทำนองเพลง วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกายและการออกแบบท่ารำ พบว่าผลจากการสร้างสรรค์มีดังนี้ พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ มีความเชื่อว่าการสู่ขวัญจะช่วยให้เกิดศิริมงคล ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไป หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง ฟ้อนเอิ้นขวัญจึงได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีสู่ขวัญหรือบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสานจากการศึกษาพบว่า 1) บทร้องเพลงฟ้อนเอิ้นขวัญ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ การใช้บทร้องดั้งเดิมของอีสาน คือ บทร้องสรภัญญ์ จำนวน 5 ท่อน และส่วนที่ 2 แต่งบทร้องจากเนื้อหาบทสูตรขวัญ 2) ทำนองเพลงฟ้อนเอิ้นขวัญ แบ่งออกเป็น 3 ท่อน คือ ท่อนที่ 1 การเกริ่นแคนลายล่อง ประกอบการขับร้อง และท่อนที่ 2 เป็นทำนองสรภัญญะ และท่อนที่ 3 ลายข้าวต้องลม 3) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ วงหมากกะโหล่งโปงลางประกอบด้วย โปงลาง โปงลางเหล็ก หมากกะโหล่ง พิณ เบส แคน โหวด กลองหาง กลองรำมะนา ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ 4) การแต่งกาย สวมเสื้อแขนกระบอกสีขาว นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น ห่มผ้าขิด เกล้าผมมวยไว้กลางศีรษะประดับด้วยเกลียวฝ้ายสีขาวทัดดอกไม้สีขาว 5) กระบวนท่ารำได้มาจากฟ้อนแม่บทอีสาน 16 ท่า และท่านาฏศิลป์ไทย 4 ท่า ทั้งนี้ การสร้างสรรค์งานการแสดงพื้นบ้านอีสานเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดต่อไป</p>
กิตติยา ทาธิสา
อังศุมาลิน ทาธิสา
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
36
51
-
ครูยุคดิจิทัลสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271470
<p>สังคมยุคใหม่เกิดการพัฒนาสู่โลกดิจิทัลอย่างรวดเร็วไร้ขีดจำกัด เกิดวิถีวัฒนธรรมการเรียนรู้สมัยใหม่ ครูนักวิจัยต้องพัฒนาทักษะการสอนในยุคดิจิทัล ซึ่งบทบาทของครูยุคดิจิทัลสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีข้อควรพิจารณา 2 ประเด็นหลัก คือ 1) บทบาทครูดิจิทัลด้านการสอนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้ (1) ด้านการพัฒนาตนเอง เช่น การจัดการเรียนรู้บนฐานดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ (2) ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน เช่น การออกแบบเนื้อหาและการเรียนรู้นวัตกรรมสมัยใหม่ 2) บทบาทครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ดังนี้ (1) สมรรถนะวิจัยของครู (2) กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้(3) หลักการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยสำหรับครู (4) หลักการทำวิจัยในชั้นเรียนยุค Digital Transformation เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างยั่งยืน</p>
กนกกาญจณ์ น้อยพ่วง
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
52
71
-
สตรีทอาร์ต: การพัฒนาพื้นที่วิถีชีวิตในชุมชนบ้านแฮ่ เทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/267154
<p>บทความวิชาการนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอการพัฒนาพื้นที่วิถีชีวิตชุมชนบ้านแฮ่ เทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ผ่านงานสตรีทอาร์ต ใช้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่และสตรีทอาร์ต เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและลงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านแฮ่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของจังหวัดเลย ที่ชุมชนมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นตลาดวัฒนธรรมสำหรับการท่องเที่ยวกลุ่มผู้นำชุมชนและศิลปินได้เข้ามาขับเคลื่อนให้ชุมชนบ้านแฮ่ด้วยแนวคิดการพัฒนาและแนวคิดสตรีทอาร์ต เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต โดยมีกลุ่มศิลปินจำนวน 30 คน เข้ามาร่วมกันศึกษาบริบทและถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนบ้านแฮ่ ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟ งานบุญออกพรรษา วัฒนธรรมการทอผ้าวิถีการเล่นของเด็กชุมชนบ้านแฮ่ วิถีชีวิตการใช้ห้วยน้ำหมานในการอุปโภคและบริโภคปลาในแม่น้ำ ข้าวจี่ สัตว์เลี้ยง โดยสื่อสารผ่านงานสตรีทอาร์ต จำนวน 20 ผลงานกระจายอยู่ตามบริเวณถนนคีรีรัฐ ลักษณะเป็นภาพวาดระบายสีด้วยสีอคริลิค ผลการพัฒนาพื้นที่มีชีวิตด้วยสตรีทอาร์ตพบว่า ชุมชนบ้านแฮ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดโดยสตรีทอาร์ตช่วยขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม ส่งผลทำให้ชุมชนมีความรักความสามัคคี มีประสบการณ์รับรู้และมีสุนทรียภาพจากการเรียนรู้งานสตรีทอาร์ตในฐานะงานศิลปะสร้างสรรค์</p>
ไทยโรจน์ พวงมณี
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
72
86
-
สมาธิ : การสร้างสรรค์ประติมากรรม เพื่อการเชื่อมโยงกายกับจิตให้สงบนิ่งนำมาซึ่งความสงบ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271501
<p>ผลงานสร้างสรรค์ “สมาธิ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวเพื่อการเชื่อมโยงกายกับจิตให้สงบนิ่งนำมาซึ่งความสงบ โดยการศึกษาข้อมูลภาคเอกสารและข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตมาสนับสนุน สิ่งที่ศึกษาค้นคว้านั้นพบว่าในการทำสมาธิเป็นศิลปะอันลึกซึ้ง เป็นความมหัศจรรย์ทางจิตวิญญาณ เป็นโลกแห่งความสงบนิ่ง และการทำสมาธินั้น ทำกันอย่างกว้างขวาง ผู้คนต่างเห็นคุณค่าในการทำสมาธิ มีแนวโน้มในการปฏิบัติมากขึ้น และได้นำการทำสมาธิเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดจิตใจตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น สมาธิสามารถนำไปใช้ได้กับทุกอย่าง เช่น การเรียน การทำงาน และอื่น ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการกระทำนั้น ๆ ซึ่งผู้สร้างสรรค์เลือกรูปแบบของผู้ปฏิบัติการนั่งสมาธิมาเป็นต้นแบบทางความคิด โดยการนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มา สร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมลอยตัวในรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตน โดยสรุปผลจากการสร้างสรรค์พบว่า แนวคิดใหม่ที่ผู้สร้างสรรค์ได้นำการทำสมาธิ สามารถนำไปสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวที่มีความพิเศษได้ คือ สามารถมองเห็นประติมากรรมลอยตัวที่ดูคล้ายกับท่านั่งสมาธิในรูปแบบเดียวกันทุกด้าน</p>
อัษฎเชษฐ์ เตชะวระนนท์
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
203
218
-
แสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/267458
<p>บทความ เรื่อง แสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรื่องของแสงที่ตกกระทบบริเวณพื้นผิวของวัตถุภายในสถาปัตยกรรม ณ วัดโนนสว่าง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ด้วยเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมโดยนำเสนอความสัมพันธ์ของแสงและความศรัทธาของศาสนาพุทธ เป็นการศึกษากระบวนการตกกระทบของแสง และการสะท้อนเข้าสู่ดวงตาของมนุษย์โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งปรากฏรายละเอียดของวัตถุ และลวดลายของสถาปัตยกรรมทางศาสนาภายในวัดโนนสว่าง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบจิตรกรรมสื่อผสม ที่ใช้วัสดุกระจกและกระดาษ สร้างรูปทรง โทนสี แสงเงา ประกายของแสง และลวดลาย ถ่ายทอดความงามที่เกิดจากมุมมองของแสงตกกระทบของสถาปัตยกรรม แสดงถึงมิติความงดงาม ความประณีตของลวดลายศิลปะไทย เพื่อสื่อความหมายถึงความเรืองรอง ความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนได้ร่วมใจกันสร้างขึ้น อันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวพุทธให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาพุทธในสังคมไทย เพื่อการสืบทอดการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของไทยให้มีความเจริญงอกงาม</p>
พงษ์พัฒน์ กุลเจริญพิพัฒน์
รตบงกช อิฐไธสง
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
219
234
-
การสร้างสรรค์บทเพลงชุด หริณัศศิกษัย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271505
<p>การสร้างสรรค์บทเพลงชุด หริณัศศิกษัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีและสร้างสรรค์บทเพลง ผลการวิจัยพบว่า ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กรมศิลปากรออกแบบโดยเชื่อมโยงชื่อจังหวัดกับตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ ตราสัญลักษณ์มีองค์ประกอบที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์และความผาสุกของประชาชน ปัจจุบันตราสัญลักษณ์ได้ถูกนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น เช่น เครื่องหมายการค้า ป้ายสถานที่ สัญลักษณ์ในงานสำคัญ สอดคล้องกับแนวคิดชาตินิยมของอดีตผู้นำที่ต้องการให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์บ้านเกิดของตนเอง คณะผู้สร้างสรรค์จึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์บทเพลงขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี อีกทั้งยังสามารถนำบทเพลงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม บทเพลงประกอบด้วย 3 องก์ คือ 1) เล่าขานตำนานกระต่าย 2) กระต่ายเริงระบำ และ 3) ผาสุกจันทบูร โดยมีประเด็นในการสร้างสรรค์ ได้แก่ การประพันธ์คำร้อง การประพันธ์เพลงจากเค้าโครงทำนองที่มีอยู่เดิม การประพันธ์ทางเปลี่ยน การประพันธ์โดยใช้จินตนาการ การปรุงแต่งอรรถรสของการบรรเลงและการสร้างสรรค์จังหวะหน้าทับ บทเพลงชุดนี้บรรเลงด้วยวงดนตรีที่ผสมขึ้นใหม่ ระหว่างดนตรีไทยและดนตรีสากล เพื่อให้การถ่ายทอดอารมณ์และความหมายของบทเพลงมีความสมบูรณ์</p>
อมรเทพ ใจเสงี่ยม
ธนพัฒน์ ศรีวอ
พงศธร สุธรรม
ปีติกร เทียนจีน
สุวิชา พระยาชัย
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
235
254
-
กระบวนการสร้างสรรค์ละครเพลงพื้นบ้าน เรื่องชูชก “กงเกวียน กำเกวียน”
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/267923
<p>บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ละครเพลงพื้นบ้านอีสาน เรื่อง ชูชก “กงเกวียน กำเกวียน” เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ศึกษาเอกสารทางวิชาการ นำมาวิเคราะห์ข้อมูล สู่การสร้างสรรค์ผลงาน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ละครเพลงพื้นบ้านอีสาน เรื่อง ชูชก “กงเกวียน กำเกวียน” มีแนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงมาจาก ความเชื่อ ความศรัทธาในพระมหาเวสสันดรซึ่งเป็นชาดกของชาวอีสาน นำมาบูรณาการกับศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน ในรูปแบบการแสดงละครเพลง ซึ่งรูปแบบทำนองเพลงและการขับร้องนั้นจะเป็นภาษาท้องถิ่น รูปแบบของการแสดง ดำเนินเนื้อเรื่องด้วยการร้องสลับกับการเจรจาอย่างละคร ใช้วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ดนตรีสากลและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มอรรถรสในการแสดงแบ่งออกเป็นสี่องก์ คือ องก์ที่หนึ่ง กลัดกลุ้ม องก์ที่สอง ลุ่มหลง องก์ที่สาม วงกต องก์ที่สี่ ชดใช้กรรม บทละครมีการประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์ที่มีความโดดเด่นของภาษาถิ่นอีสาน นักแสดงชายและหญิงจะต้องสามารถร้อง และพูดสำเนียงอีสานได้ การออกแบบลีลาท่ารำพื้นบ้านอีสานผสมผสานผสานลีลานาฏศิลป์ไทยและการเคลื่อนไหวแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย เครื่องแต่งกายจะเป็นแบบวรรณะพราหมณ์ และนักบวช องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การบูรณาการศิลปะการแสดงละครเพลงรูปแบบใหม่ ประกอบด้วย (1) รูปแบบการแสดงหมอลำผสมผสานละครเวที (2) รูปแบบการร้องเพลงพื้นบ้านอีสานและการร้องแร๊ป (3) รูปแบบเพลงที่หลากหลาย 4 รูปแบบ คือ หมอลำ เทศน์แหล่อีสาน เพลงลูกทุ่งอีสาน และเพลงไทยเดิม 2) ประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างการเรียนรู้ด้านจริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ 3) แนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยมิติศิลปวัฒนธรรม</p>
ศิราภรณ์ ลินดาพรประเสริฐ
สุรัตน์ จงดา
สุขสันติ แวงวรรณ
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
255
272
-
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง โดยใช้การเขียนสรุปความด้วยผังกราฟิก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271472
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง ก่อนและหลังใช้การเขียน สรุปความด้วยผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จำนวน 15 คน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสรุปความโดยใช้ผังกราฟิก และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสรุปความโดยใช้ผังกราฟิก นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีร้อยละของคะแนนเพิ่มขึ้นระหว่าง 28.57-66.67</p>
สุริยา อินทจันท
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
87
96
-
การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนา : กรณีศึกษานักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271483
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาของนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 19 - 21 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เรียบลำดับตามการใช้งานคือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร เพื่อความบันเทิง และการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นช่องทางหลัก ระยะเวลาในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฉลี่ยในหนึ่งวันคือ 3 - 4 ชั่วโมง และแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ เฟซบุ๊ก สำหรับการใช้งานเพื่อการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนานั้น เหตุผลสำคัญคือ เพื่อจัดทำรายงานหรือการค้นคว้าสำหรับทำผลงานวิจัยตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงทำการศึกษาค้นคว้าเนื่องจากมีความสนใจศึกษาหาความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ตามความชอบส่วนตัว รวมถึงค้นคว้าข้อมูลเหล่านี้ เพื่อใช้ในการพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์ผลงาน สำหรับข้อจำกัดในการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้นคือข้อมูลที่ได้นั้น จะเป็นภาพถ่ายเป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลส่วนของเนื้อหาจะขาดแหล่งอ้างอิงที่มาส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล แต่โดยรวมแล้วการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการค้นคว้าที่กลุ่มนักศึกษาเลือกใช้งาน เนื่องจากสามารถทำการค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูล ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว โดยปราศจากข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่</p> <p> </p>
รัฐพล พรหมมาศ
ประโยชน์ มีสกุล
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
97
115
-
การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271485
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยอาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้ ฝึกการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฝึกการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมิน สื่อนวัตกรรมการสอน ทักษะการปฏิบัติการสอน บุคลิกภาพการเป็นครู การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสถานภาพ ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ ร้อยละ 30.12 ผู้บริหารโรงเรียน ร้อยละ 34.94 ครูพี่เลี้ยง ร้อยละ 34.94 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ในภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นการประเมิน<br />การฝึกปฏิบัติฯของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="สมการ" />= 4.42, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="สมการ" />= 0.55) แยกตามสถานภาพพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และอาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นในระดับมาก</p>
ปาริชาติ แซ่เบ๊
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
116
131
-
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/267730
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ระหว่างก่อนและหลังอบรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช 2) แผนกิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.71, S.D. = 0.41) 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ หลังอบรมหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.63, S.D. = 0.52)</p>
PHONGSATORN KANHA
คำรณ สุนทรานนท์
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
132
149
-
“กุ๊บลอน” ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านนาแหลม ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271492
<p>กุ๊บลอนเป็นหมวกที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านนาแหลม แต่ปัจจุบันมีข้อจำกัดในการสืบทอดภูมิปัญญานี้ไปสู่คนรุ่นใหม่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้การจักสานกุ๊บลอนของชุมชนบ้านนาแหลม ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การรวบรวมองค์ความรู้ครั้งนี้ได้ใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชนให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจ รวม 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการรวบรวมองค์ความรู้ พบว่า องค์ความรู้กุ๊บลอน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ลักษณะกุ๊บลอน 2) วัสดุและอุปกรณ์/เครื่องมือ 3) ขั้นตอนและวิธีการสาน 4) ผลิตภัณฑ์และราคา องค์ความรู้กุ๊บลอนสะท้อนถึงอัตลักษณ์การมวยผมของคนล้านนาที่ยังคงถูกสืบทอดและรักษาไว้ผ่านลักษณะของลอนกุ๊บ 2 ลอน นอกจากนี้ วิธีการสานตาแหลว ซึ่งมีลักษณะแปดเหลี่ยม ยังแสดงถึงความเชื่อเรื่องขวัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะคอยป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำอันตรายกับผู้ที่สวมใส่ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้สานกุ๊บลอนยังแสดงถึงภูมิปัญญาของคนในการนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิถีการผลิตภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ไม้แบบ ไม้ไผ่ และใบลาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์กุ๊บลอนจะมีความหลากหลายมากขึ้น และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นยังคงเอกลักษณ์รูปแบบดั้งเดิมของกุ๊บลอนไว้</p>
เขมิกา วริทธิ์วุฒิกุล
นพรัตน์ รัตนประทุม
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
150
173
-
การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับงานธุรกิจการบิน ของผู้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271494
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาจีนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ และเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีนสำหรับงานธุรกิจการบิน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะภาษาจีน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาจีนของผู้เรียนก่อนและหลัง</span><span style="font-size: 0.875rem;">การเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ และการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="สมการ" />) </span><span style="font-size: 0.875rem;">หลังเรียนกับก่อนเรียนเท่ากับ 8.28 ซึ่งมีผู้เรียนร้อยละ 96 (24 คน) มีทักษะการสื่อสารภาษาจีนหลังการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติสูงกว่าก่อนเรียน และผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารภาษาจีนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดร้อยละ 80 (อยู่ในระดับดีมาก) โดยมีผลการประเมินเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="สมการ" />) เท่ากับ 21.4 และมีผู้เรียนร้อยละ 88 (22 คน) มีคะแนนหลังเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด</span></p> <p>2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="สมการ" /> = 4.71, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="สมการ" /> = 0.37) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติในประเด็น การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการสื่อสารภาษาจีน, การเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารภาษาจีนในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานธุรกิจการบิน, การสร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้, การเข้าใจประเพณี วัฒนธรรม และธรรมชาติของผู้โดยสารชาวจีนเพิ่มมากขึ้น และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="สมการ" /> = 4.75, 4.72, 4.86, 4.55 และ 4.67 ตามลำดับ) </p>
อดิเรก นวลศรี
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
174
183
-
กลวิธีการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอนปู่เจ้าเรียกไก่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271710
<p>บทความวิจัยเรื่อง กลวิธีการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอนปู่เจ้าเรียกไก่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของละครพันทาง เรื่องพระลอ และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอนปู่เจ้าเรียกไก่ โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงพรรณนา จากการศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัย และการสัมภาษณ์ ตลอดจนการปฏิบัติและสังเกตภาคสนาม ผลการวิจัย พบว่า ละครพันทาง เรียกว่า “ละครออกภาษา” เรื่องที่แสดงนำมาจากพงศาวดาร บทละครพันทาง เรื่องพระลอ มีทั้งสิ้น 6 สำนวน ได้แก่ 1) บทลิลิตพระลอ 2) บทละครเรื่องพระลอนรลักษณ์ พระบวรราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ 3) บทละครเรื่องพระลอ สำนวนเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) 4) บทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ 5) บทละครเรื่องพระลอ กรมศิลปากร และ 6) บทละครเรื่องพระลอ วิทยาลัยนาฏศิลป กลวิธีการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอนปู่เจ้าเรียกไก่ คุณสมบัติของผู้แสดงควรมีพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย มีความแม่นยำในบทร้อง ทำนองเพลง กระบวนท่ารำที่ปรากฏในการแสดง ได้แก่ ท่ารำตัวละครปู่เจ้าสมิงพราย ไก่หมู่ และไก่แก้ว โดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ 1) ท่าแสดงกิริยาและอิริยาบถ 2) ท่าที่แสดงอารมณ์ และ 3) ท่าเลียนแบบสัตว์ นาฏยศัพท์จำแนกตามสัดส่วนของร่างกาย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนศีรษะและไหล่ 2) ส่วนแขนและมือ 3) ส่วนลำตัว และ 4) ส่วนขาและเท้า โดยมีลักษณะตามรูปแบบละครพันทาง</p>
นฤมล ขันสัมฤทธิ์
ธนกร สุวรรณอำภา
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
8 2
184
202