วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa <p><strong>วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ ISSN 2539-5807 (Print) และ ISSN 2985-1785 (Online) รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความงานสร้างสรรค์ และบทความปริทัศน์ในสาขาวิชาปรัชญากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เน้นสาขาวิชาด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ อาทิ การจัดการเรียนรู้ การสอน การวัดและการประเมินผลทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมข้ามศาสตร์ </strong></p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong><strong> : </strong>บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็น ทบทวน และตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้อง เหมาะสมทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อบทความ ในรูปแบบพิชยพิจารณ์ (Peer-Review) ก่อนลงตีพิมพ์ และเป็นการประเมินแบบการปกปิดสองทาง (Double-Blind Review) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความลำเอียงหรืออคติหรือเรียกรับผลประโยชน์ใดใด ทั้งนี้หากผู้ประเมินบทความมีข้อเสนอแนะให้ผู้เขียนปรับปรุงเพิ่มเติมหรือแก้ไขบทความ ผู้เขียนบทความจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับผลการประเมิน จากนั้นบรรณาธิการจะพิจารณารับหรือปฏิเสธในขั้นตอนสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุด กระบวนการพิจารณาบทความจนถึงการเผยแพร่วารสาร ใช้เวลาประมาณ 12-22 สัปดาห์</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong> : </strong>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><strong> : </strong>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ : </strong> ฟรีค่าธรรมเนียม</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong><strong> : </strong>สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.</p> [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร. จินตนา สายทองคำ) [email protected] (อรรถพล ผลประเสริฐ) Wed, 06 Mar 2024 16:27:34 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เส้นสายลายซอ : การประพันธ์เพลงไทยจากความหมายของเส้น https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271354 <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง เส้นสายลายซอ : การประพันธ์เพลงไทยจากความหมายของเส้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอผลงานสร้างสรรค์เพลงไทยในมิติใหม่ ชุด เส้นสาย ลายซอ ดำเนินการสร้างสรรค์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลเชิงเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและศิลปะ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นหลักความรู้เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงในมิติใหม่โดยบูรณาการศาสตร์ด้านดนตรีไทยและศิลปะเข้าด้วยกัน ผลงานสร้างสรรค์ชุด เส้นสายลายซอ : การสร้างสรรค์เพลงไทยจากความหมายของเส้น เป็นผลงานสร้างสรรค์ในมิติใหม่ที่ได้จากการบูรณาการศาสตร์ด้านดนตรีไทย และศิลปะเข้าด้วยกัน สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์เพลงไทยในมิติใหม่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ถอดแบบลายเส้น 2) การใช้ทิศทางลายเส้นเพื่อกำหนดเสียงหลักของทำนอง 3) สร้างสรรค์ทำนองเพลงเส้นสายลายซอ มีความยาวของเพลงทั้งสิ้น 29 ประโยคเพลง ผลงานตามที่นำเสนอในบทความนี้ เป็นโครงทำนองหลักที่สามารถนำไปสร้างสรรค์การประสานทำนองให้เกิดเป็นทำนอง ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ได้โดยอิสระและเปิดโอกาสให้เกิดงานสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ได้ไม่จำกัด</p> สุวรรณี ชูเสน Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271354 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบบอร์ดเกมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปลากัดป่า https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271357 <p>บทความสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบบอร์ดเกม “Breeding Betta” ที่ให้ความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลากัดป่า ในรูปแบบสื่อเคลื่อนไหว 2 มิติ โดยมีวิธีดำเนินการสร้างสรรค์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) วางแผนแนวทางการดำเนินงาน 2) กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเนื้อหา รวบรวมข้อมูลรวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจกับเนื้อหาอย่างถูกต้อง 3) ศึกษาข้อมูลในการทำบอร์ดเกม และ 4) ออกแบบและจัดทำ คณะผู้สร้างสรรค์ได้พัฒนาบอร์ดเกมโดยสร้างสรรค์บอร์ดเกมรูปแบบเกมครอบครัว ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2-4 คน จำลองให้ผู้เล่นเปรียบเสมือนเจ้าของฟาร์มปลากัดป่าพ่อพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่คอยเลี้ยงดูเพาะพันธุ์ปลากัดป่า และพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดป่าเพื่อนำไปขาย โดยภายในเกมจะจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อ้างอิงจากความเป็นจริง เพื่อสร้างความสนุก ในกับเกม และได้รู้จักปลากัดป่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของ ปลากัดสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ สร้างความตระหนักรู้เรื่องปลาเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ เนื่องจากปลากัดป่าบางสายพันธุ์มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และหายากมากขึ้น จึงทำให้มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่ง ที่คณะผู้สร้างสรรค์มีความมุ่งหวังที่จะทำให้ปลากัดป่าเป็นที่รู้จัก และถ่ายทอดแนวทาง การเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้ที่สนใจได้ลองเล่นในรูปแบบบอร์ดเกม</p> อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์, ภัทรพล เกิดปรางค์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271357 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 ตัณหา : จิตรกรรมไทยร่วมสมัยกับสัญลักษณ์ที่เป็นกลางทางเพศ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271358 <p>ตัณหา คือหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความอยากของมนุษย์ แต่ตำนานพุทธประวัติกลับสร้างภาพของตัณหาเป็นหญิงสาวผู้ยั่วยวน ทำให้สังคมไทยเข้าใจความหมายของหลักธรรมข้อนี้ผิดไป และเกิดภาพจำว่าตัณหาคือผู้หญิงไม่ดี เป็นสาเหตุให้ผู้ชายเกิดตัณหา ผู้สร้างสรรค์จึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานในหัวข้อ “ตัณหา” ด้วยเทคนิคจิตรกรรมผสมและการปะติดวัสดุบนกรอบผ้าใบ เพื่อสร้างรูปสัญลักษณ์ใหม่ ของตัณหาที่มีความเป็นกลางทางเพศ ผ่านการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัณหา เชื่อมโยงกับพฤติกรรมบริโภคนิยม และอคติทางเพศในสังคม มุ่งเน้นการส่งเสริมการทำความเข้าใจหลักธรรมโดยไม่ยึดโยงไว้กับเพศใดเพศหนึ่ง ขั้นตอนการสร้างสรรค์เริ่มจากการศึกษาข้อมูล จัดทำภาพร่าง และเข้าสู่กระบวนการ โดยผลสรุปของการสร้างสรรค์ ได้ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่นำเสนอสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ยึดติดทางเพศ ปรากฏดินแดนแห่งตัณหาที่มีรูปทรงของปราสาท อวัยวะบนใบหน้าและมือที่ไขว่คว้าเอื้อมหยิบสิ่งของมีค่าต่าง ๆ แสดงถึงดินแดนแห่งความอยากที่เชื้อเชิญให้มนุษย์ทุกคนลุ่มหลง ไม่ใช่เฉพาะหญิงหรือชายเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาโดยปราศจากอคติทางเพศอันเป็นผลมาจากความเชื่อ จารีตประเพณี</p> ญาณี พรหมเดชะ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271358 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด บุพเพจีตราเนียง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271360 <p>นาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุด บุพเพจีตราเนียง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุดใหม่โดยการศึกษาแนวทางจากความเป็นมาของอาณาจักรขอมโบราณ การถวายตัวในยุคของขอม เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ ชุด บุพเพจีตราเนียง หมายถึง การตีตรา ในโชคชะตาของหญิงสาว ซึ่งได้ศึกษาจากเรื่องราวของนางห้าม อันเกี่ยวข้องกับภาพจำหลักนางอัปสรา ซึ่งได้เชื่อมโยงศิลปะทางด้านสถาปัตยกรรมกับปราสาทศีขรภูมิ ที่สร้างขึ้น ตามรูปแบบศิลปกรรมขอมโบราณ ตรงกับศิลปะสมัยบาปวนสืบเนื่องถึงสมัยนครวัด จึงเป็นหลักแนวคิดนำมาถ่ายทอดสู่กระบวนท่ารำในรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยใช้นักแสดงทั้งหมด 12 คน เป็นนักแสดงหญิง 10 คน นักแสดงชาย 2 คน มีท่ารำ 76 รูปแบบ ทิศทางการแปรแถวมี 20 แบบ การแต่งกายนั้นได้ศึกษาจากภาพจำหลัก รูปปั้นนางอัปสราของนครวัด นครธม ของประเทศกัมพูชา นางอัปสราสวมชุดเข้ารูปแขนกุด และนุ่งผ้าจีบหน้านาง มีเครื่องประดับศีรษะเสียบกับมวยผม เครื่องแต่งกายกษัตริย์ นุ่งผ้าแบบจีบโจง สวมศีรษะตามแบบภาพจำหลักของกษัตริย์ขอม นอกจากนี้ยังแต่งลายเพลงขึ้นมาใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีอีสานใต้ผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล เพื่อเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกของเพลงในการแสดง โดยรูปแบบการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1) เหล่าสตรี นวยนาฏ ยาตรา ช่วงที่ 2) ถวายบำเรอท้าวไท้ ช่วงที่ 3) โทษทัณฑ์นางห้าม</p> ศุทธินี สมศรี, ปิยะศิริ ดวงดี, สุภัสสร แสนอุบล Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271360 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประตูแห่งกาลเวลา : ศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271362 <p>ผลงานสร้างสรรค์ชุด ประตูแห่งกาลเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงในรูปแบบศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่าสงขลา โดยศึกษาความเป็นมาของประวัติความเป็นมาของประตูเมืองสงขลาและวิถีพหุวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นเมืองท่า เป็นแหล่งรวมผู้คนต่างกลุ่มวัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ร่วมกันจนกลายเป็น อัตลักษณ์ของเมืองสงขลา และนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ในรูปแบบการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ บอกเล่าพื้นที่ประตูเมืองสงขลาและร่องรอยวิถีวัฒนธรรมในอดีตภายในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน และดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง ผสมผสานดนตรีสากล และดนตรีจีน ใช้นักแสดงผู้ชาย 4 คน ผู้หญิง 4 คน ออกแบบชุดแต่งกายตามแนวศิลปะน้อยชิ้นแต่ให้คุณค่ามาก เลือกใช้โทนสีน้ำเงินสื่อถึงความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่น ของคนสงขลา นำผ้าปาเต๊ะมาตกแต่งเป็นสื่อเชิงสัญลักษณ์ของวิถีวัฒนธรรมภาคใต้ ออกแบบท่ารำเต้นให้สัมพันธ์กับเรื่องราวในพื้นที่ โดยใช้ นาฏยลักษณ์นาฏศิลป์ตะวันตก นาฏศิลป์มาลายู ผสานกับโครงสร้างท่ารำและ การเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ ใช้ระยะเวลาในการแสดง 5 นาที</p> อรวรรณ โภชนาธาร, ชุติมา จรชัย, เสาวลักษณ์ ล่ำล่อง Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271362 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271364 <p>การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสาน 2) สร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” 3) เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย ผลการสร้างสรรค์พบว่า 1. องค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แนวคิดการสร้างสรรค์มาจากการล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรม ผ่านอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แขวงไชยะบุรี ผ่านจังหวัดหนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ ผ่านจังหวัดนครพนม และแขวงคำม่วน แขวงสะหวันเขต ผ่านอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และแขวงจำปาสัก 2. การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” แบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เชียงคานม่วนชื่น ตอนที่ 2 หนองคายม่วนหลาย ตอนที่ 3 ออนซอนนครพนม และตอนที่ 4 เมืองอุบลลำเพลิน ใช้แนวคิดในการประพันธ์ คือ 1) การผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสานกับดนตรีตะวันตก 2) การแสดงเอกลักษณ์ดนตรีพื้นบ้านอีสาน 3) การประพันธ์“ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดเสียงและสีสันใหม่ 3. การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” โดยช่องทางออนไลน์ และทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย</p> โยธิน พลเขต Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271364 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในบทละครเรื่อง “วัยมันพันธุ์อสูร” https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271302 <p>บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะการสืบสรรค์ตัวละครจากวรรณคดีมรดกของไทยในบทละครเรื่อง “วัยมันพันธุ์อสูร” โดยมีขอบเขตของการศึกษาจากบทละครโทรทัศน์เรื่องวัยมันพันธุ์อสูร ซึ่งมีการนำวรรณคดีมรดกของไทย เรื่องไกรทอง เรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย มาปรับใช้กับการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนบทละครมีกลวิธีการนำวรรณคดีมรดกของไทยมาสืบสรรค์ในบทละคร 2 ลักษณะ คือ 1) การนำตัวละครจากวรรณคดีมรดกมาสืบทอดและปรับใช้ในตัวบทใหม่ 2) การนำเหตุการณ์จากวรรณคดีมรดกมาใช้ในตัวบทใหม่ ซึ่งลักษณะการสืบสรรค์ตัวละครจากวรรณคดีมรดกของไทยในละครดังกล่าว ช่วยเพิ่มสีสันและบทบาทใหม่ตามจินตนาการของผู้แต่ง โดยยังคงนำเรื่องราวและตัวละครในวรรณคดีมรดกมาเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดทางความคิดและเสริมสร้างจินตนาการ ทำให้เห็นถึงมิติของการสืบทอดขนบทางวรรณศิลป์ที่มีพลวัตและการสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในปัจจุบันอีกทางหนึ่ง</p> สุวรรณา คุ้ยเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271302 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการฝึกและวิธีการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่หมู่ 9 วง เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ของนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271303 <p>กระบวนการฝึกและวิธีการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่หมู่ 9 วง เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ของนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์นี้ เป็นโครงการด้านดุริยางคศิลป์ของนักศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิชาเอกดนตรีไทย ที่ถ่ายทอดความรู้ระหว่างครูผู้สอนสู่นักศึกษา ประกอบด้วย ผู้บรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่จำนวน 9 คน มีเครื่องกำกับหน้าทับ เครื่องประกอบจังหวะ และเครื่องภาษา ได้แก่ กลองสองหน้า ฉิ่ง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก และลูกเปิงมาง โดยการบรรเลงครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฝึกและวิธีการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่หมู่ 9 วง เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)</p> <p>ผลการการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ พบว่า กระบวนการฝึกและวิธีการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่หมู่ 9 วง เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) มีกระบวนการฝึกและวิธีการถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย 1) การนั่งและจับไม้ ที่เหมาะสมตามสรีระของผู้บรรเลง 2) การตีฉาก ที่ตีลงพร้อมกันและสม่ำเสมอ ไม่ดังหรือเบาจะเกินไป 3) การไล่เสียง ประกอบด้วย การแบ่งมือซ้ายและมือขวา การตีไล่ทีละเสียง การกวาด การไขว้ 4) การสะบัด สะเดาะ ทั้งสะบัดขึ้นและสะบัดลง 5) การต่อเพลงเดี่ยว แบบค่อยเป็นค่อยไปที่ละวรรค ตั้งแต่แรกเริ่มจนจบเพลง 6) การไล่เพลงเดี่ยว โดยไล่เดี่ยวด้วยตัวเอง และไล่เดี่ยวร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่ม และ 7) การซ้อมเดี่ยวรวมวงใส่เครื่องภาษาและเปลี่ยนหน้าทับให้เข้ากับสำนวนของทางเดี่ยว </p> ชัยวัฒน์ ครุฑบุญ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271303 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การฝึกโสตทักษะดนตรีสากลสำหรับผู้เรียนดนตรีไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271307 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการนำโสตทักษะดนตรีสากล มาบูรณาการกับธรรมชาติการสอนของดนตรีไทย โดยพบว่า การฝึกโสตทักษะดนตรีสากลสำหรับผู้เรียนดนตรีไทย เริ่มจากกำหนดวัตถุประสงค์การประเมินผล และทฤษฎีดนตรีสากลที่สอดคล้องกับธรรมชาติของดนตรีไทย ตามรูปแบบจังหวะ ทำนอง และการประสานเสียง วิธีการฝึกเน้นการฟัง ร้องหรือตบจังหวะ อ่านโน้ต บันทึกโน้ต ตามที่ได้ยิน จากพื้นฐานไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น ทฤษฎีดนตรีสากลที่เกี่ยวกับการฝึกโสตทักษะดนตรีไทย ได้แก่ ค่าตัวโน้ตและตัวหยุด ประกอบด้วย 1) โน้ตและตัวหยุดตัวกลม โน้ตและตัวหยุดตัวขาว โน้ตและตัวหยุดตัวดำ โน้ตและตัวหยุดตัวเขบ็ต 1 ชั้น โน้ตและตัวหยุดตัวเขบ็ต 2 ชั้น และการประจุด 2) บันไดเสียง ประกอบด้วย บันไดเสียง ซี เพนทาโทนิก และบันไดเสียง ซี เมเจอร์ 3) ขั้นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4 คู่ 5 และคู่ 8 4) การสอดประสานทำนอง 5) อัตราจังหวะ ในอัตราจังหวะธรรมดา 6) สัญลักษณ์ทางดนตรีที่เกี่ยวของกับการบันทึกโน้ต ได้แก่ (1) บรรทัด 5 เส้น (2) กุญแจประจำหลัก ได้แก่ กุญแจซอล (3) เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ประกอบด้วยจังหวะ และ (4) เส้นกั้นห้อง และเส้นจบ เมื่อผู้เรียนดนตรีไทยมีความเข้าใจ โสตทักษะดนตรีสากลที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติของดนตรีไทยแล้ว จึงเพิ่มเติมเนื้อหาทฤษฎีดนตรีสากลอื่น ๆ รวมถึงสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่แสดงถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่ปรากฏ ในดนตรีไทย ให้ผู้เรียนดนตรีไทยได้เข้าใจยิ่งขึ้น</p> ดารารัตน์ หุตะวัฒนะ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271307 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาอนุภาคทางคติชนวิทยาและบทบาทหน้าที่ในสังคมไทย ของบทเพลงที่เกี่ยวกับพระเกจิอาจารย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271311 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาอนุภาคและบทบาทหน้าที่ในสังคมไทยของบทเพลง ที่เกี่ยวกับพระเกจิอาจารย์ในภาคกลางของไทย ผู้วิจัยใช้กลุ่มข้อมูลจำนวน 4 เพลง โดยเลือกจากปีที่เผยแพร่เพลงนั้น ๆ 1 ปี ต่อ 1 เพลง ตั้งแต่พุทธศักราช 2562-2565 จำกัดเฉพาะเพลงที่กล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ในภาคกลางของไทย ได้แก่ เพลงวอนหลวงพ่อรวย เพลงขอพรหลวงพ่อเพี้ยน เพลงหลวงพ่อไปล่ และเพลงคาถาขุนแผน (หลวงพ่อกวย) ตามลำดับ โดยใช้วิธีวิทยาทางคติชนวิทยา ได้แก่ การศึกษาอนุภาคทางคติชน วิเคราะห์ ถึงอนุภาคในเนื้อหาของบทเพลง จากนั้นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีบทบาทหน้าที่ ของวิลเลียม บาสคอม ผลการศึกษาพบว่าอนุภาคทั้ง 4 เพลงมีอนุภาคครบทั้ง 3 ประเภท คือ 1) ตัวละครและสถานที่ 2) วัตถุ สิ่งของหรือสิ่งแทน และ 3) เหตุการณ์หรือพฤติกรรม โดยพบว่า มีอนุภาคร่วมกันที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติและวัฒนธรรม ในขณะปัจจุบันของมนุษย์ที่ส่งถ่ายผ่านงานวรรณกรรมประเภทนี้โดยเฉพาะ ส่วนการศึกษาบทบาทหน้าที่ของบทเพลงที่เกี่ยวกับพระเกจิอาจารย์ในภาคกลางของไทยนั้น พบว่า มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) บทบาทด้านการสืบทอดและเผยแพร่ประวัติพระเกจิอาจารย์ 2) บทบาทด้านการสืบทอดและเผยแพร่ความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระเกจิอาจารย์ 3) บทบาท ด้านการสืบทอดพิธีการบูชาพระเกจิอาจารย์ และ 4) บทบาทด้านการสร้างความบันเทิงและคลายความทุกข์ใจ ทั้ง 4 กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นพันธกิจของบทเพลง อันนับเป็น คติชนวิทยากลุ่มหนึ่งในวัฒนธรรมที่มีมากกว่าด้านเศรษฐกิจและการค้า ทำให้เกิดมุมมอง ต่อความเป็นไปด้านสังคมได้อย่างชัดเจน และยังแสดงความคิดอันเป็นสากลของ การสร้างสรรค์วรรณกรรมของมนุษย์ตามบริบทสังคมร่วมสมัยได้อีกด้วย</p> ณัฐวัตร อินทร์ภักดี Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271311 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271315 <p>การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดลอง ใช้หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการของหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมและระยะเวลา สื่อการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม แนวทางการฝึกอบรม และการประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้ โดยผลการประเมินความเหมาะสมความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร และประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม สอดคล้องกัน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินผลมีความเหมาะสมเที่ยงตรง</p> <p>2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยาพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้ารับการฝึกอบรม โดยผลการประเมินทักษะหลังการฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\large \dpi{100} \bg_white \fn_cm {\bar{x}}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\dpi{100}&amp;space;\bg_white&amp;space;\fn_cm&amp;space;\large&amp;space;\dpi{100}&amp;space;\bg_white&amp;space;\fn_cm&amp;space;{\bar{x}}" />= 4.41, S.D. = 0.52) รวมทั้ง มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\large \dpi{100} \bg_white \fn_cm {\bar{x}}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\dpi{100}&amp;space;\bg_white&amp;space;\fn_cm&amp;space;\large&amp;space;\dpi{100}&amp;space;\bg_white&amp;space;\fn_cm&amp;space;{\bar{x}}" />= 4.65, S.D. = 0.47)</p> สุพัตรา วิไลลักษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271315 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการเรียนรู้นาฏศิลป์ดนตรี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271319 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้เทคโนโลยี ในกระบวนการเรียนรู้ด้านนาฏศิลป์และดนตรีของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 408 คน ได้แก่ ครู อาจารย์ ผู้สอนที่เป็นหัวหน้าภาควิชาและหัวหน้ากลุ่มสาระ 12 คน ครู อาจารย์ผู้สอน 38 คน นักเรียน 210 คน นักศึกษา จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบรายงานการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ และโครงการสอนของครู อาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการเรียนรู้นาฏศิลป์ดนตรีของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สามารถดำเนินการใน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดทำเอกสาร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน ใบงาน ใบความรู้ 2) การจัดทำสื่อการสอน ได้แก่ สื่อที่เป็นภาพนิ่ง เช่น โมเดลต่าง ๆ กราฟิก แผนที่ความคิด และภาพเคลื่อนไหว เช่น คลิปวิดีโอ ไฟล์นำเสนอรูปแบบต่าง ๆ 3) การวัด และประเมินผล เช่น การสอบออนไลน์ การส่งงานและตรวจงานออนไลน์ และ 4) การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ เช่น การเรียนการสอนออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูม กูเกิลคลาสรูม ไมโครซอฟต์ทีม โปรแกรมมีท เฟสบุ๊คไลฟ์ และกลุ่มไลน์</p> จุติณัฏฐ์ วงศ์ชวลิต Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271319 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E รายวิชาวิทยาศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271337 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E และ 2) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนการสอน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมิน เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_jvn&amp;space;\bar{x}">) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 2) ด้านเจตคติของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E ในภาพรวมมีระดับเจตคติมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_jvn&amp;space;\bar{x}">= 4.70, S.D. = 0.53)</p> ศิวะรักข์ ศรแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271337 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่ง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271349 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้รายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้รายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งกับกลุ่มควบคุมที่สอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม รวมทั้งสิ้นจำนวน 62 คน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ใช้สถิติทดสอบค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และ t - test แบบกลุ่มตัวอย่างอิสระ พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักเรียน กลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> วัลย์ลดา สีงาม, คำรณ สุนทรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271349 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271350 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยมีแบบแผนการวิจัย และพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 2) สร้างและ หาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ 3) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้ 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย (1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ (2) ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ (3) ตารางความสัมพันธ์ของมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้และเวลา (4) เวลาเรียน (5) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ (7) การวัดและการประเมินผล และ (8) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะปฏิบัติการแสดงซัมเป็ง หลังการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> วิไลลักษณ์ ลบลาย, จุไรศิริ ชูรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271350 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลการพัฒนาทักษะผู้นำและทักษะอาชีพ ของครูและนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271352 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชนใน 2 ประเด็น คือ 1) ประเมินการเปลี่ยนแปลงในตัวครู ในด้านภาวะผู้นำ ทักษะอาชีพ และทักษะการโค้ช และ 2) ประเมินการเปลี่ยนแปลงในตัวนักเรียนในด้านภาวะผู้นำ ทักษะอาชีพ และความต่อเนื่อง ในการรวมกลุ่มอาชีพ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประเมิน โดยใช้แนวคิดการประเมิน แบบระหว่างโครงการ และการประเมินสรุปผล โครงการเริ่มเมื่อตุลาคม พ.ศ.2564 มีโรงเรียนเข้าร่วม 16 โรงเรียนในการประเมินครั้งที่ 1 โดยสนทนากลุ่มครูจำนวน 32 คน และการตอบแบบสอบถามของนักเรียนจำนวน 256 คน ส่วนการประเมินครั้งที่ 2 เหลือโรงเรียนเข้าร่วม 15 โรงเรียน โดยสนทนากลุ่มครูจำนวน 15 คน สัมภาษณ์และจัดเสวนาครูและนักเรียนระหว่างการจัดนิทรรศการ และการตอบแบบสอบถามของนักเรียนจำนวน 226 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และร้อยละ ผลการประเมิน พบว่า 1) ผลการประเมินครู พบว่าครูมีมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น แสดงความเป็นผู้นำในการตัดสินใจและเป็นต้นแบบ ครูได้ร่วมคิดร่วมทำ พัฒนาทักษะอาชีพไปกับนักเรียน โดยวางแผน ให้คำแนะนำ ดูแลการฝึกปฏิบัติ อย่างใกล้ชิด แล้วค่อย ๆ ให้นักเรียนทำเอง 2) ผลการประเมินนักเรียน พบว่า นักเรียนมีบทบาทเป็นผู้นำโรงเรียน มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น กล้าแสดงออก สามารถเป็นผู้นำได้เมื่อครูไม่ได้อยู่ด้วย นักเรียนต้องการประกอบอาชีพระหว่างเรียน และมีทักษะที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ การขาย การนำเสนอสินค้า การตลาด การคิดต้นทุนกำไร บัญชี การขายออนไลน์ การผลิต และการซ่อมรถ ความต่อเนื่องของการรวมกลุ่มอาชีพของนักเรียนเกิดขึ้นได้เนื่องจาก มีเงินทุนและอุปกรณ์พร้อมทำ และกำหนดให้การทำอาชีพอยู่ในหลักสูตร</p> มยุรี เสือคำราม, นิตยา สำเร็จผล, ประสิทธิ์ ศรเดช, กิติชัย รุจิมงคล Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/271352 Wed, 06 Mar 2024 00:00:00 +0700