https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/issue/feed
วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
2024-06-30T15:51:03+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ ภูวิชิต
pjkpru@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมและรองรับการตีพิมพ์ เผยแพร่ ผลงานวิชาการ ในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่เป็นองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) และจะต้องค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ จำนวน 3,500 บาท/เรื่อง ทางวารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในขั้นตอน Peer Review</p> <p>ISSN : XXXX-XXXX (Print) </p> <p>ISSN : 3027-6462 (Online)</p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/268443
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA)
2024-04-24T16:23:37+07:00
น้ำฝน กันมา
numfon.gu@up.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารแห่งละ 1 คน อาจารย์แห่งละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 121 คน ของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์/วิทยาลัยการศึกษา ที่ใช้เกณฑ์ ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) จำนวน 11 แห่งภาคเหนือ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 3 ตอน มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) มีค่าเท่ากับ 0.86 และด้านสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) มีค่าเท่ากับ</p> <p>0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) อยู่ในระดับมาก ( = 4.27,S.D.= 0.61) 2) ระดับสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) อยู่ในระดับมาก ( = 4.31,S.D.= 0.59) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภาพรวม (X<sub>t</sub>) และด้านกระบวนการจัดทำผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (X<sub>a</sub>) เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะนิสิตครูตามแนวทาง ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN QA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.733 สหสัมพันธ์ของการพยากรณ์ (R<sup>2</sup> ) เท่ากับ 0.537 หรือมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 53.70 และมีสัมประสิทธิ์การถดถอย (Adj. R<sup>2</sup> ) เท่ากับ 0.525 หรือร้อยละ 52.50 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Ŷ = 1.103 + .422 (X<sub>t</sub>) + .321 (X<sub>a</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Ẑ = .439 (X<sub>t</sub>) + .325 (X<sub>a</sub>)</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/269218
ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏใน วรรณกรรมแปลเรื่อง ฮาจิโกะ
2024-05-14T11:54:13+07:00
ประภัสสรา ห่อทอง
full_nui32@hotmail.com
จิราพร ภูวรัตนาวิวิธ
bonga_moji@hotmail.co.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคม จากวรรณกรรมแปลเรื่องฮาจิโกะ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ในวรรณกรรมแปลเรื่อง ฮาจิโกะ มีภาพสะท้อนสังคมทั้งหมด 5 ด้าน คือ <br>1.ภาพสะท้อนสังคมด้านความเชื่อ พบว่า มีความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องสี ความเชื่อเรื่องตัวเลข และความเชื่อเรื่องดอกไม้ 2.ภาพสะท้อนสังคมด้านวัฒนธรรม พบว่ามีภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมด้านศิลปะ การแต่งกาย เครื่องดื่ม เครื่องดนตรี และเพลงพื้นบ้าน 3.ภาพสะท้อนสังคมด้านศาสนา พบ ศาสนาชินโต และ พิธีศพของชาวญี่ปุ่น 4.ภาพสะท้อนสังคมด้านประเพณี พบประเพณีวันปีใหม่ และวันโคโดโมะ 5.ภาพสะท้อนสังคมด้านวิถีชีวิต พบ ด้านการประกอบอาชีพ การคมนาคม และอาหารการกิน โดยพบภาพสะท้อนสังคมด้านวัฒนธรรมมากที่สุด จำนวน 5 เรื่อง ส่วนด้านที่พบน้อยที่สุดมีอยู่ 2 ด้าน คือ ภาพสะท้อนสังคมด้านศาสนาและภาพสะท้อนสังคมด้านประเพณี มีอยู่ด้านละ 2 เรื่อง</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/270646
การจัดการระบบสารสนเทศชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
2024-05-23T16:14:57+07:00
นารถนรี เฟื่องอิ่ม
nathpoj@gmail.com
อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์
nathpoj@gmail.com
อนุชา พวงผกา
pjkpru@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูล และ3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ คือตัวแทนหรือผู้นำชุมชน และผู้ที่เข้าใช้ระบบฐานข้อมูล รวมจำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกชนิดกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปความ เชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศนั้น ผู้ประกอบการในชุมชนไม่เคยผ่านการอบรมหรือศึกษาดูงาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่คือ ร้านอาหาร สิ่งประดิษฐ์ และผ้าทอ การประกอบอาชีพของชุมชนคือ ผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดั่งเดิมจะสืบทอดจากบรรพบุรุษ ส่วนผลิตภัณฑ์ใหม่คือได้จากศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือผลิตจากธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่พบภายในชุมชนคือ ขาดการประสัมพันธ์ และผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2) การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คือผู้ใช้บริการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยได้รับการแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ใช้ฐานข้อมูล วัตถุประสงค์ของผู้ใช้บริการคือต้องการสืบค้นข้อมูลความรู้เฉพาะเรื่องที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟนและโน็ตบุ๊ค ซึ่งสามารถได้ข้อมูลตรงตามตวามต้องการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน ศึกษาค้นคว้า และการประชาสัมพันธ์ 3) การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการฐานข้อมูลสารสนเทศ คือการใช้บริการฐานข้อมูลด้านเนื้อหาและข้อมูลข่าวสารเพราะง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลในระดับมากที่สุด( x̅=4.51) และรูปแบบคุณภาพการนำเสนอฐานข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅=4.52) ผู้ใช้บริการมีข้อเสนอแนะคือต้องการให้อัพเดทข้อมูลใหม่ๆเสมอ และพัฒนาเป็นสองภาษา</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/271781
การบริหารทุนมนุษย์ภาครัฐในยุคดิจิทัล
2024-03-21T17:29:35+07:00
ชาลิสา ศิริธรรมเกตุ
Charisa001@hotmail.com
อรัญญารัตน์ ศรีสุพัฒนะกุล
rungtiwa09085@gmail.com
เสริมศักดิ์ กิตติปาลวรรธก์
Charisa001@hotmail.com
วาสนา อาจสาลิกรณ์
Charisa001@hotmail.com
<h4>บทคัดย่อ</h4> <p>บทความทางวิชาการนี้ ผู้เขียนมีความต้องการนำเสนอแนวทางการบริหารทุนมนุษย์ภาครัฐในยุคดิจิทัล ซึ่งได้วางลำดับการนำเสนอเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาการบริหารทุนมนุษย์ในแง่ความหมาย ความแตกต่างของทุนมนุษย์กับทุนทางกายภาพ 2) หลักการบริหารทุนมนุษย์ภาครัฐระดับบุคคล 3) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ภาครัฐ 8 K’s และทฤษฎี 5 K’s เพื่อการบริหารและพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ และ 4) เทคโนโลยีดิจิทัลกับภาครัฐและการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารทุนมนุษย์</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/273003
การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ กลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร
2024-05-09T11:23:44+07:00
อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม
is-mk@hotmail.com
โอกามา จ่าแกะ
is-mk@hotmail.com
วิยุดา ทิพย์วิเศษ
is-mk@hotmail.com
<h4>บทคัดย่อ</h4> <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรและเพื่อศึกษาการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือสมาชิกกลุ่มทอผ้า จำนวน 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ มีกระบวนการเชื่อมต่อกับประสบการณ์ของตนเองทำให้เกิดภูมิปัญญาทำให้สิ่งนั้นเกิดการจัดการด้วยสติปัญญาที่ดีขึ้นกลุ่มทอผ้านิคมทุ่งโพธิ์ทะเล มีความเชื่อ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นแบบอีสาน วิถีการทอผ้านั้นเป็นการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ในงานพิธีกรรม ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ห้ามทอผ้าในวันที่มีงานเผาศพ โดยมีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนในชุมชน คือ ลายพญานาคหรืองูที่แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย และการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ มีการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงวิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร