วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun <p>วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมและรองรับการตีพิมพ์ เผยแพร่ ผลงานวิชาการ ในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่เป็นองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) และจะต้องค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ จำนวน 3,500 บาท/เรื่อง ทางวารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในขั้นตอน Peer Review</p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ISSN : 3056-9044 (พิมพ์) </span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">E-ISSN : 3027-6462 (ออนไลน์)</span></span></p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น</p> pjkpru@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัจนภา เพชรรัตน์) pjkpru@gmail.com (นางสาวรุ่งทิวา ฉัตรชัยสุริยา) Tue, 31 Dec 2024 20:55:32 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การขยายผลการเรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาลดการเผาอ้อย “สระแก้วโมเดล” สู่เกษตรกรไร่อ้อย ในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/273260 <h4>บทคัดย่อ</h4> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแก้ปัญหาลดการเผาอ้อยตามแนวทางสระแก้วโมเดล เพื่อสร้างชุดองค์ความรู้ “หนังสือเล่มเล็ก” ในการแก้ปัญหาลดการเผาอ้อยตามแนวทางสระแก้วโมเดล และเพื่อสร้างกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมการขยายผลการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาลดการเผาอ้อยตามแนวทางสระแก้วโมเดลให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับโครงการสระแก้วโมเดล ทั้งหมด 28 คน 2)กลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมการขยายผลการเรียนรู้ฯ จาก 3 ตำบล คือ ตำบลเทพนคร ตำบลทรงธรรม และตำบลอ่างทอง จำนวน 120 คน โดยทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์โดยแบบสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง (Unstructured Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย (analytic induction) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) จากนั้น นำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาลดการเผาอ้อย เพื่อสร้างร่างชุดความรู้หนังสือเล่มเล็ก ระยะสุดท้ายใช้แบบสอบถามประเมินผลกิจกรรมการขยายผลการเรียนรู้ฯ ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา มีค่าที่ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)กระบวนการสำคัญที่ทำให้โครงการสระแก้วโมเดลประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยได้ค้นพบและนำเสนอเป็นสรุปบทเรียนภายใต้ชื่อ “6 ก้าวสำคัญ ลดการเผาอ้อย” ประกอบด้วย ก้าวที่ 1 สถานการณ์/ที่มา ก้าวที่ 2 หลักการการดำเนินงาน ก้าวที่ 3 กลไกการทำงาน ก้าวที่ 4 กระบวนการ ก้าวที่ 5 ผลที่เกิด และก้าวที่ 6 ปัจจัยความสำเร็จ 2)การสร้างชุดความรู้หนังสือเล่มเล็ก โดยสรุปองค์ความรู้ พบว่า ดำเนินงานผ่าน หลักคิด หลักการ และหลักปฏิบัติ ผู้คุณวุฒิตรวจให้คำแนะนำ และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่พื้นที่เป้าหมาย แก้ไขให้ได้ข้อสรุปตรงกัน ได้ตัวอย่างชุดความรู้หนังสือเล่มเล็ก 6 ก้าวสำคัญ ลดการเผาอ้อย บทเรียนเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ 3)การสร้างกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมการขยายผลการเรียนรู้ฯ ผ่านสื่อชุดความรู้หนังสือเล่มเล็ก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาชีพเกษตรกรชาวไร่อ้อย อาศัยอยู่ตำบลทรงธรรม ความคิดเห็นต่อการขยายผลการเรียนรู้การแก้ปัญหาลดการเผาอ้อย พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวม (x̅= 4.39) ด้านการนำความรู้ไปใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̅= 4.44) ลำดับถัดมา คือ ด้านสื่อ (ชุดความรู้หนังสือเล่มเล็ก 6 ก้าวสำคัญ ลดการเผาอ้อย) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (x̅= 4.42) รองลงมาเป็นด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยมาเป็นอันดับ 3 คือ (x̅= 4.39) และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านความเข้าใจ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (x̅= 4.30)</p> Aranyarat Srisuphatthanakul, พัจนภา เพชรรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/273260 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/277741 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขของพนักงานภาครัฐและภาคเอกชนภาคเหนือตอนล่าง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family ประชากรเป้าหมายที่ใช้ศึกษา คือ หน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ จำนวน 306 คน โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสุขของพนักงานภาครัฐและภาคเอกชนภาคเหนือตอนล่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.03,S.D.=0.62) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสด ได้แก่ ด้านการมีน้ำใจงาม Happy Heart ( &nbsp;= 4.50,S.D.= 0.59) รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีครอบครัวที่ดี Happy Family &nbsp;( &nbsp;= 4.42, S.D.=0.59) การสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family ขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระ 4 ตัว คือ การมีคุณธรรม Happy Soul การมีครอบครัวที่ดี Happy Family การมีสังคมดี&nbsp; Happy Society และ การมีความสมดุลในชีวิตการทำงาน Happy Work life Balance มีความสัมพันธ์กับการสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family สามารถอธิบายหรือทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ .850&nbsp; การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่ส่งผลต่อความสุขมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามคือ การสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family ทำให้ค่าสหสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นเป็น .323 (Multiple R=.323) และสามารถอธิบายถึงระดับอิทธิพลที่มีต่อการสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 104 (R Square = .104) สำหรับแนวทางการสร้างองค์กรต้นแบบสุขภาวะองค์กรกับตัวคูณด้าน Happy Family ควรมีการแสดงออกถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวแสดงความคิดเห็นในโอกาสต่าง ๆ การร่วมแบ่งปันความรู้สึกของสมาชิก การวางแผนอนาคตร่วมกันหรือการแบ่งเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในโอกาสพิเศษ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> ธวชินี ลาลิน, ตรรกพร สุขเกษม, บุญญาบารมี สว่างวงศ์, วสุนธรา รตโนภาส, ฤทธิรงค์ เกาฏีระ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/277741 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมทางสังคมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/275660 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างนวัตกรรมทางสังคม และถอดบทเรียนนวัตกรรมทางสังคมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองปลาไหล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กรอบแนวคิดตามทฤษฎี Systemic Approach และประยุกต์ใช้ Soft Systems Methodology (SSM) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการส่งเสริมพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้องการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการวางแผนการพัฒนา แปรรูปผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมทางสังคมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากทั้งในชุมชน เขตพื้นที่ และจังหวัด โดยส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ การออกแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และดำเนินการผ่านกระบวนการ Design Thinking นำรูปแบบธุรกิจเดิมมาปรับปรุงและวิเคราะห์การดำเนินงานผ่านโมเดล Business Model Canvas (BMC) สำหรับการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจและสมาชิก ได้แก่ การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ผลการถอดบทเรียนองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการกลุ่ม วัตถุดิบของกลุ่ม ทรัพยากรมนุษย์หรือสมาชิก และเงินทุน นำมาบูรณาการโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในกระบวนตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ การวางแผนพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก</p> <p><sup>1</sup>อาจารย์, สาขาวิชานวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชน คณะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี</p> สุทิน อ้อนอุบล Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/275660 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหารของชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/277855 <p>บทคัดย่อ<br>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร ประชากร ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 721,000 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปรายประเด็น ผลการวิจัยพบว่า ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.18, S.D=.73) การมีอยู่ของอาหาร (𝑥̅=4.11, S.D=.38) การเข้าถึงอาหาร (𝑥̅=4.32, S.D=.34) การใช้ประโยชน์จากอาหาร (𝑥̅=4.08, S.D=.48) และเสถียรภาพด้านอาหาร (𝑥̅=4.21, S.D=.45) สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายประกอบด้วย 1) นโยบายความมีอยู่ทางอาหารของครัวเรือนในชุมชน 2) นโยบายความเท่าเทียมของครัวเรือนในการเข้าถึงแหล่งอาหาร 3) นโยบายการใช้ประโยชน์จากอาหารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และ 4) นโยบายผลิตอาหารหมุนเวียนทุกครัวเรือนในชุมชน</p> ศุภฤทธิ์ ธาราทิพย์นรา, พิษณุ บุญนิยม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/277855 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ลักษณะภาษาในการเขียนย่อหน้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/269477 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาษาในการเขียนย่อหน้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลการเขียนย่อหน้าของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่ลงเรียนรายวิชา GEBLC 201 ศิลปะการใช้ภาษาไทย ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน รวมการเขียนย่อหน้าทั้งสิ้น 66 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะภาษาในการเขียนย่อหน้าของนักศึกษา สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบของการเขียนย่อหน้า ด้านการคัดลอกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ด้านความไม่เหมาะสมในทำเนียบภาษาทางการ และด้านการใช้ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง</p> phongsatorn surin, สรินยา สุภัทรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/269477 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด-19 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/274201 <p>บทความวิชาการนี้ เพื่อนำเสนอความท้าทายที่ภาครัฐต้องเผชิญจากวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยปี 2563 และประกาศเป็นโรคประจำถิ่นในปี 2565 จนถึงปัจจุบัน การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข และองค์กรภาครัฐต่างๆ ที่ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดยหลังสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ความท้าทายของภาครัฐในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่นำมาใช้ในการทำงาน อย่างแพร่หลาย ดังนั้น ประเทศไทยโดยเฉพาะองค์กรภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสมัยใหม่โดยถอดบทเรียนจากความล้มเหลวหลังผลกระทบโรคโควิด 19 มาใช้ที่เรียกว่า New Normal หรือชีวิตวิถีใหม่ เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้เกิดการทำงานอยู่บ้าน (Work From Home) การประชุมออนไลน์ และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงาน ได้แก่ แอปพลิเคชัน ThaID, ทางรัฐ, หมอพร้อม บริการ e-Service และแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือกับ Next Normal ชีวิตวิถีถัดไปหลังโควิดและความท้าทายในอนาคตข้างหน้าต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> Wongsakorn Heancharoen, มนพัทธ์ จันทโย, ทิพสุดา สุพรรณ์, อิทธิฤทธิ์ ขาวละออ Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/274201 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/276231 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม เนื่องจากในอดีตการป้องกันอาชญากรรมจะมุ่งใช้ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายและทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นหลัก แต่ยังปรากฏว่าสถิติคดีอาชญากรรมมิได้ลดลง จึงแสดงให้เห็นว่าการป้องกันอาชญากรรมแบบเดิมยังไม่มีประสิทธิภาพ ต่อมาได้มีการคิดค้นทฤษฎีตำรวจชุมชนที่เน้นให้ความสำคัญในการเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน ผสมผสานกับทฤษฎีหน้าต่างแตก ซึ่งเน้นการจัดระเบียบชุมชน ป้องกันปัญหาความไร้ระเบียบต่าง ๆ ควบคู่ไปกับทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ที่เน้นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อลดช่องโอกาสในการลงมือกระทำผิดของคนร้าย รวมทั้งใช้ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนากระบวนทัศน์ของตำรวจใหม่ที่เรียกว่า หลักการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชนด้วย ฉะนั้น การจะทำให้ปัญหาอาชญากรรมลดลงได้ ตำรวจจำเป็นต้องปฏิรูปตนเองให้เป็นไปตามกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างจริงจัง</p> สุชิน รอดกำเหนิด Copyright (c) 2024 วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Phikun/article/view/276231 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700