https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/issue/feed วารสารวิจัยรำไพพรรณี 2025-01-04T23:56:09+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร patcharin.r@rbru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยรำไพพรรณี เป็นวารสารระดับชาติที่ผ่านการรับรองผลการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (พ.ศ.2563-2567) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก นักวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกต่าง ๆ สู่สาธารณชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ได้นำผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ไปใช้ประโยชน์ เปิดรับบทความวิจัยใน สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและชุมชน โดยจัดทำเป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) จำนวน 15 บทความ</p> <p>ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) จำนวน 15 บทความ </p> <p>ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) จำนวน 15 บทความ</p> <p>โดยบทความที่ตีพิมพ์ทุกบทความผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewed) ในสาขาวิชานั้น ๆ <strong>ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน</strong> โดยเป็นการประเมินแบบ double-blinded review</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277902 การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ หลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษา: บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด หน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2025-01-04T18:06:32+07:00 นนท์ลฉัตร วีรานุวัตติ์ pornpimol.cha@mfu.ac.th ราณี อิสิชัยกุล pornpimol.cha@mfu.ac.th พรพิมล ไชยสนิท pornpimol.cha@mfu.ac.th จารุกิตติ์ ไชยวรรณ์ pornpimol.cha@mfu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019&nbsp; งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาหน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารหน่วยงาน 2 ท่าน และกลุ่มพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ 4 ท่าน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์เพื่อการสนทนากลุ่ม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ 2) สมรรถนะองค์การ 3) ความยืดหยุ่น และ 4) การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ภายหลังสถานการณ์วิกฤตในมุมมองของผู้บริหารและพนักงานมีความเห็นที่คล้ายกันในแนวทางการขับเคลื่อนองค์การ การปรับเปลี่ยนและการปรับปรุงกฎระเบียบและการทำงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์การอย่างมีคุณค่า การมีส่วนร่วมในการวางแผน รับฟังความคิดเห็น แก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ สุดท้ายคือความตั้งใจและมุ่งมั่นร่วมกันของผู้บริหารและพนักงานที่จะนำพาองค์การก้าวผ่านภาวะวิกฤตไปด้วยกัน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277906 การพัฒนาการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2025-01-04T20:39:14+07:00 เสาวนิต มีสิน 62920082@go.buu.ac.th อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์ 62920082@go.buu.ac.th วีระพันธ์ พานิชย์ 62920082@go.buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนออนไลน์ <br>เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ E1/ E2 เท่ากับ 75/ 75 และ 2) เพื่อศึกษาทักษะการคิดเชิงตรรกะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้รูปแบบการสอนแบบผสมผสาน ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดปลวกเกตุ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบการเรียนรู้ และแบบวัดทักษะการคิดเชิงตรรกะของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพ E1/ E2 ผลการวิจัย พบว่า <br>1) ผลประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 81.88/ 83.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) ทักษะการคิดเชิงตรรกะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย หลังการใช้รูปแบบการสอนแบบผสมผสาน พบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดเชิงตรรกะอยู่ในระดับ 3 จำนวน 7 คน หมายถึง มีทักษะการคิดเชิงตรรกะในระดับมาก หรือระดับดี ขณะที่นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดเชิงตรรกะอยู่ในระดับ 2 จำนวน 13 คน หมายถึง มีทักษะการคิดเชิงตรรกะในระดับปานกลาง หรือระดับผ่าน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277907 อินโฟกราฟิก: การออกแบบเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดระยอง 2025-01-04T20:50:27+07:00 ปรอยฝน ทวิชัย proyfon.w@rbru.ac.th วินิชยา วงศ์ชัย proyfon.w@rbru.ac.th หทัยชนก อินลบ proyfon.w@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนเป็นฐานข้อมูลในการออกแบบอินโฟกราฟิก 2) ออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกในภาคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพริกแกงบ้านเนินหย่อง หมู่ 8 ตำบลวังหว้า&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 5 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล&nbsp; คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับเรื่องราวของชุมชนและผลิตภัณฑ์ และช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ชาวบ้านเนินหย่องได้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรขึ้นมาเพื่อที่จะหาเวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน คือการตำพริกแกง มี 4 ประเภท ได้แก่ 1. พริกแกงเผ็ด 2. พริกแกงส้ม 3. พริกแกงกะทิ 4. พริกแกงป่า&nbsp; 2) อินโฟกราฟิกมีเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน 1. ชนิดของพริกแกง 2. ส่วนผสมแต่ละประเภท 3. วิธีการทำ 4. ประวัติความเป็นมาชุมชน การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับอินโฟกราฟิกพริกแกงของขุมชนบ้านเนินหย่องจะเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาที่กระชับเข้าใจง่ายและชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ รวมถึงใช้รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการโฆษณา เช่น ประเภทวิทยาหน่วยคำ (Morphological Category) เพื่อบรรยายประเภทผลิตภัณฑ์พริกแกง และประเภทวากยสัมพันธ์ (Syntactical Category) เพื่อบรรยายกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277908 การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “สมรรถนะดิจิทัล” สำหรับบุคลากรภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา 2025-01-04T21:05:13+07:00 ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ preedaporn.arg@gmail.com ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี preedaporn.arg@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การสร้างและประเมินผลหลักสูตรระยะสั้น “สมรรถนะดิจิทัล” เพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาและวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารและบุคลากรระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐของจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้นำชุมชน ผู้แทนชาวบ้าน นักวิชาการด้านสังคมวิทยา และอาจารย์ระดับอุดมศึกษา รวม 29 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 90 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารองค์กรภาครัฐมีความต้องการให้สถาบันการศึกษาหรือธุรกิจภาคเอกชนจัดบริการวิชาการในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านสมรรถนะดิจิทัลให้กับองค์กรภาครัฐและแนะนำช่องทางการฝึกอบรมออนไลน์เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล 5 ด้าน คือ 1) ทักษะการรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถซ่อมบำรุงรักษาเบื้องต้นได้ &nbsp;&nbsp;2) ทักษะการเข้าใจนโยบายกฎหมายและมาตรฐาน ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 3) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อการประยุกต์และพัฒนา ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งภายในหน่วยงานและการให้บริการประชาชน 4) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อการวางแผนบริหารจัดการและนำองค์กร ควรส่งเสริมให้บุคลากรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงาน และ 5) ทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ ควรกำหนดเป้าหมายและแผนงานสู่องค์กรภาครัฐดิจิทัลให้ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรระยะสั้นพบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในด้านหลักสูตรมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านวิทยากร และด้านความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการฝึกอบรม ตามลำดับ และนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “หลักสูตรวิธีปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคลากรภาครัฐเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ที่นำไปประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าสามารถนำไปพัฒนาใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277910 การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด 2025-01-04T21:19:34+07:00 ภัทรา ศรีสุโข pathra.s@rbru.ac.th กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล pathra.s@rbru.ac.th นฤมล เลิศคำฟู pathra.s@rbru.ac.th ภัทรบดี พิมพ์กิ pathra.s@rbru.ac.th สุรพงษ์ ปัญญาทา pathra.s@rbru.ac.th วรฉัตร อังคะหิรัญ pathra.s@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลบริบทชุมชนและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ร่วมกับชุมชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่เหลือทิ้งในท้องถิ่น คือ เปลือกหอยเชลล์ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นดินปั้นนำมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนความเป็นท้องถิ่น วิธีการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อหาจุดเด่นของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ตัวแทนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จำนวน 3 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางในการออกแบบและร่วมออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวัดวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลวิเคราะห์เชิงพรรณนา กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 คน ใช้แบบสอบถามเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงแบบร่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1)ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวเน้นจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ได้แก่ งอบใบจาก อาหารทะเลแปรรูป และผลิตจากเปลือกหอยเหลือทิ้ง 2) ชุมชนได้ผลิตภัณฑ์พวงกุญแจของที่ระลึกจากดินปั้นจากเปลือกหอยเชลล์ แรงบันดาลใจจากสะพานวัดใจ ผลงานชื่อ สะพานแห่งความศรัทธา มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 (SD=0.65)</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277911 นวัตกรรมโมดูลแบบฝึกการเรียนรู้การหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างมวล-กำลังส่องสว่างและมวล-อายุขัย ของดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลัก 2025-01-04T21:40:00+07:00 สมยศ ศรีคงรักษ์ chote.n@rbru.ac.th โชติ เนืองนันท์ chote.n@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมโมดูลแบบฝึกการเรียนรู้การหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างมวล-กำลังส่องสว่างและมวล-อายุขัย ดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลักของแผนภาพเฮช-อาร์ การสร้างเครื่องมือทดลองอย่างง่าย และทำการวัดประสิทธิภาพโมดูลแบบฝึกโดยกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด คือนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพโมดูลแบบฝึกคือแบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมวล-กำลังส่องสว่าง และมวล-อายุขัย ดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลัก เป็นไปดังสมการ L= 2.224M<sup>3.365</sup> (R<sup>2</sup>=0.840) และ t= 4.498M<sup>-2.36</sup> (R<sup>2</sup>=0.725) ซึ่งมีความสอดคล้องกับดาราศาสตร์ทฤษฎีอย่างยอดเยี่ยม กรณีประสิทธิภาพโมดูลแบบฝึกพบว่า สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ผลชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญในอัตราร้อยละ 100 โดยค่าเฉลี่ยคะแนน Pre-test/Post-test ของกลุ่มเป้าหมายมี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ค่า 3.78±0.1 คะแนน (st.err) และ 9.88±0.1 คะแนน (st.err) ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 10.00 คะแนน สะท้อนให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าโมดูลแบบฝึกการเรียนรู้การหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างมวล-กำลังส่องสว่าง และมวล-อายุขัย ดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลัก สามารถสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277912 นวัตกรรมโมดูลการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ 2025-01-04T21:52:48+07:00 โชติ เนืองนันท์ somyot.s@rbru.ac.th สมยศ ศรีคงรักษ์ somyot.s@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โดยการศึกษาวิจัย/ทดลองโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ และสร้างแนวคิดหลัก ของโมดูลการเรียนรู้และทำการวัดประสิทธิภาพนวัตกรรมโมดูลการเรียนรู้ที่ได้ โดยการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวคิดหลัก 3 แนวคิดหลัก คือ สมดุลทางกลและสมดุลความร้อน พลังงานและปฏิกิริยาพลังงาน การวิเคราะห์สเปกตรัม&nbsp; โมดูลการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ระยะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดหลัก โมดูลการเรียนรู้ถูกนำไปทดสอบและประเมินประสิทธิภาพกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 37 คน และนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 63 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน โดยใช้แบบประเมินปรนัยจำนวน&nbsp; 10 ข้อ เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าโมดูลการเรียนรู้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ผลชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนน ก่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม คือ 3.77 (S.D=1.869) และค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ กลุ่มตัวอย่าง คือ 9.63 (S.D=0.720)ประสิทธิผลด้านผลลัพธ์การเรียนรู้หลังใช้โมดูลโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์กับกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีผลลัพธ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 โดยในจำนวนนี้กลุ่มตัวอย่างที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ยอดเยี่ยมในอัตราร้อยละ 100 มากถึงร้อยละ 74 จากผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโมดูลการเรียนรู้ดาวฤกษ์เกี่ยวกับโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์สามารถสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277913 ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2025-01-04T22:04:50+07:00 ศรัณย์พร สุดโต 62910113@go.buu.ac.th นพมณี เชื้อวัชรินทร์ 62910113@go.buu.ac.th กิตติมา พันธ์พฤกษา 62910113@go.buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านบึง จ.ชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 41 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (2) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิวัฒนาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบค่าทีแบบ dependent sample และการทดสอบค่าทีแบบ one sample ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (ร้อยละ 87.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ทักษะการสร้างแบบจำลอง</li> <li class="show">&nbsp;ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (ร้อยละ 86.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านความคิดสร้างสรรค์</li> </ol> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277914 การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ เพื่อยกระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนในศตวรรษที่ 21 2025-01-04T22:30:54+07:00 ธันยวิช วิเชียรพันธ์ Thanyawich1977@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 2.เพื่อประเมินคุณภาพของ ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์&nbsp; 3) เพื่อประเมินความพึงพอใช้ของผู้สอนที่มีต่อดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์และ4)เพื่อศึกษาการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของผู้เรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ&nbsp; ผู้สอนจากสถาบันการศึกษา จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 2)แบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ 3)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สอนที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ และ4)แบบสำรวจจำนวนนักเรียนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาในชั้นเรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ ประกอบด้วย 7 ดิจิทัลแพลตฟอร์ม คือ 1)ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรการเรียนรู้อาณาจักรดิจิทัล(Learning Kingdom)&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2)ระบบคลังแผนการสอนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก( Active Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน (Pedagogy Planet) 3)ระบบการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพครู (Creative Profiler Land) 4) ระบบการวัดและประเมินความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ของผู้เรียน (Creative Challenge Saturn) 5) ระบบจัดเก็บเครื่องมือการประเมินและเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ (Creative Tool Moon) 6)ระบบแบบทดสอบออนไลน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์(Assessment) และ7)ระบบแบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทโค้ช(Coach)&amp; แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจโค้ช(Coach) 2.ผลการประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์มดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน 3.ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สอนที่มีต่อการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ไปใช้กับการจัดการเรียนการสอน พบว่า ในภาพรวมผู้สอนมีความพึงพอใจในระดับมาก 4.ผลการสำรวจจำนวนนักเรียนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาในชั้นเรียนภายหลังจากผู้สอนใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์ในชั้นเรียน พบว่า จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนที่หลุดออกนอกระบบหรือลาออกกลางคันมีจำนวนลดลง ผลการวิจัยทำให้ได้ดิจิทัลแพลตฟอร์มดาราจักรรังสรรค์เพื่อยกระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277915 การพัฒนาบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2025-01-04T22:42:27+07:00 เพียงจันทร์ โมฟเฟ็ทท์ madammoffatt@kru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ก่อนและหลัง 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 56 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) บทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงาน จำนวน 8 บท 3) แบบทดสอบความสามารถด้านไวยากรณ์ จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) คะแนนความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">=28.10, S.D.=2.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงานในภาพรวม พบว่า ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีความคิดเห็นในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">&nbsp;= 4.33, S.D. = 0.79) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงาน มีความคิดเห็นในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> =4.38, S.D. = 0.70)</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277916 การสืบสรรค์บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้าในนวนิยายเรื่องพักตร์อสูร 2025-01-04T23:05:18+07:00 จุฑามาศ ศรีระษา Chuthamat@go.buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสืบสรรค์บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้าไปสู่นวนิยายเรื่อง&nbsp;&nbsp; พักตร์อสูร ผู้วิจัยได้ปรับกรอบแนวคิดการวิจัยจากการศึกษาเรื่อง “การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในนวนิยาย&nbsp; ของพงศกร” ของ สุวรรณา คุ้ยเอี่ยม (2561) และการศึกษาเรื่อง “นิยายออนไลน์เรื่อง “ลิขิตปรารถนา กากีข้ามภพ” :&nbsp; &nbsp; การสืบสรรค์และการสื่อความคิดในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย” ของ ต่อพงศ์ เชื้ออุ่น (2565) บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารและเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การสืบสรรค์บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้าใน&nbsp; นวนิยายเรื่องพักตร์อสูร ปรากฏ 7 กลวิธี ได้แก่ 1. การนำตัวบทเดิมมาสร้างเป็นโครงเรื่องในตัวบทใหม่ 2. การนำแนวคิดจากตัวบทเดิมมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ 3. การนำเหตุการณ์จากตัวบทเดิมมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ 4. การนำเนื้อเรื่องจากตัวบทเดิมมาขยายความในตัวบทใหม่ตามจินตนาการของผู้เขียน 5. การนำตัวละครจากตัวบทเดิมมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ 6. การนำฉากและบรรยากาศจากตัวบทเดิมมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ และ 7. การนำอนุภาคของวิเศษจากตัวบทเดิมมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ จากการศึกษาการสืบสรรค์บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้าในนวนิยายเรื่องพักตร์อสูร แสดงให้เห็นคุณค่าของตัวบทต้นทางที่เป็นรากฐานสำคัญ อันทำให้เกิดการสืบทอดผลงานวรรณกรรมจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันและสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม ร่วมสมัยที่ทรงคุณค่า ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าแนวคิดในบทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้าซึ่งเป็นวรรณกรรมในยุคเก่าไม่ใช่แนวคิดที่ล้าสมัย แต่สามารถนำกลับมาสืบสรรค์และเป็นแนวคิดที่มีความร่วมสมัยกับวรรณกรรมในยุคปัจจุบันได้</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277917 แนวทางการวางแผนทางการตลาดสำหรับบริการรับส่งผู้สูงอายุไปสถานพยาบาล ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2025-01-04T23:17:18+07:00 กมลชนก เศรษฐบุตร kamolchanok@go.buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการวางแผนทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับบริการรับส่งผู้สูงอายุไปสถานพยาบาลในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ และบุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 10 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-dept Interview) แบบสัมภาษณ์ประกอบไปด้วยคำถามเรื่องลักษณะทางประชากรศาสตร์ จิตวิทยา พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความต้องการและตั้งใจจะใช้บริการ โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการทั้ง 7 ข้อนั้นสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับวางแผนทางการตลาด</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277918 การออกแบบประติมากรรมเพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์และพัฒนาให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา : สวนสาธารณะบึงหน้าเทศบาลเมืองท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 2025-01-04T23:33:32+07:00 กิตติพล คำทวี Kittipol.c@rbru.ac.th กฤติยา โพธิ์ทอง Kittipol.c@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบประติมากรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์เทศบาลเมืองท่าช้าง 2) เพื่อเสนอแนวทางการใช้ประติมากรรมสร้างสรรค์พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยมีวิธีดำเนินงานวิจัยเริ่มจาก การสำรวจพื้นที่บึงหน้าเทศบาลเมืองท่าช้าง ศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างผลงานและหาตำแหน่งที่เป็นปัญหาลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของชุมชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม วิถีชีวิต ศึกษาข้อมูลแนวทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การใช้ประติมากรรมในการปรับปรุงส่งเสริมภูมิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดกรอบแนวคิดในการออกแบบประติมากรรม เริ่มการสร้างแบบร่าง 2 มิติ นำต้นแบบ 2 มิติ นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในปรับปรุงแก้ไขผล และสร้างต้นแบบ 3 มิติ นำเสนอผลสรุปโครงการวิจัยต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลจากการวิจัยได้แนวความคิดประติมากรรมที่จะสื่อถึงอัตลักษณ์เทศบาลเมืองท่าช้าง คือ การใช้รูปทรงของช้างและรูปทรงของรูปทรงลูกทุเรียนที่เป็นผลไม้ท้องถิ่น ผลงานมีจำนวน 3 ชุด เป็นลักษณะประติมากรรมกลุ่มมีบางชิ้นงาน ชุดที่ 1 เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงช้างมีจำนวน 3 ชิ้น ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม ชุดที่ 2 เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงทุเรียนมีจำนวน 3 ชิ้น ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม (เป็นที่นั่งได้) ชุดที่ 3 เป็นประติมากรรมรูปทรงดอกทุเรียนมีจำนวน 1 ชิ้นงาน ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบการลดทอนรูปทรงลดรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เห็นถึงความงามในแบบกึ่งนามธรรม (เป็นที่นั่งได้) ผลงานที่ความพึงพอใจมากที่สุด คือ 1. เป็นประติมากรรมรูปทรง ดอกทุเรียนมีจำนวน 1 ชิ้นงาน มีค่าเฉลี่ย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.33) 2.เป็นประติมากรรมกลุ่มรูปทรงทุเรียน มีจำนวน 3 ชิ้น &nbsp;มีค่าเฉลี่ย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.30) 3. ประติมากรรมกลุ่ม รูปทรงช้าง มีจำนวน 3 ชิ้น มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.19)</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277919 การเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อพัฒนาธุรกิจฐานราก 2025-01-04T23:46:10+07:00 ปัญญณัฐ ศิลาลาย panyanat.s@rbru.ac.th โชติ เนืองนันท์ panyanat.s@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวาน เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อสร้างสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค จำนวน 30 คน เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตชุมชนที่เหมาะสม จำนวน 3 รูปแบบ แล้วนำรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 รูปแบบนั้น สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ ผู้บริโภคโดยแบบสอบถาม จำนวน 400 ราย เพื่อคัดเลือกต้นแบบ Bio cup เพื่อนำไปสู่การสร้างเครื่องขึ้นรูปโมเดลต้นแบบ เพื่อทำการผลิต Bio cup ที่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชนได้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย สามารถเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งกระวานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup ตามรูปแบบที่ต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการได้ ในรายละเอียดผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค จำนวน 30 ราย เลือกต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 รูปแบบ ตามเกณฑ์การเลือก คือ มีเอกลักษณ์ พกพาสะดวก จัดเก็บง่าย และเมื่อนำต้นแบบทั้ง 3 รูปแบบให้ผู้บริโภค จำนวน 400 รายเลือกพบว่าผู้บริโภคเลือกต้นแบบที่ 1 แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ในอัตรา ร้อยละ 25.25, ร้อยละ 12.75 และ ร้อยละ 62.00 ตามลำดับ โดยพบว่า (1) ผลรวมด้านการใช้งาน:&nbsp; มีเอกลักษณ์ พกพาสะดวก และจัดเก็บง่าย มีค่า <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">= 4.01, S.D.=1.00ระดับพึงพอใจ : มากและ (2) ผลรวมด้านอัตลักษณ์ธุรกิจ: เพิ่มมูลค่าธุรกิจ ประทับใจสร้างความทรงจำ สื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชัดเจน <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">=4.42, S.D.=0.82ระดับพึงพอใจ : มาก ดังนั้นจากผลการวิจัยทั้งหมด พบว่า ต้นแบบที่ 3 สะท้อนสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากกระวาน เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน Bio cup เพื่อพัฒนาธุรกิจฐานรากได้</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/277920 การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2025-01-04T23:56:09+07:00 เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์ jenjob.s@rbru.ac.th ติยาพร ธรรมสนิท jenjob.s@rbru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องผู้ตัดสินและกติกาการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 30 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) นวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องผู้ตัดสินและกติกาการแข่งขัน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนและแบบทดสอบท้ายบทเรียน และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง สถิติที่ใช้คือ การหาประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2&nbsp; </sub>ค่าเฉลี่ย ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องผู้ตัดสินและกติกาการแข่งขัน&nbsp; มีประสิทธิภาพ 82.56/85.17 (E<sub>1</sub>/&nbsp;E<sub>2</sub>)<sub>&nbsp; </sub>สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่า โดยภาพรวมมีความ&nbsp; &nbsp; &nbsp;พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">&nbsp;= 4.56, S.D. = 0.58) ความพึงพอใจสูงสุดเรื่องความเหมาะสมในการใช้เป็นสื่อฝึกทักษะ &nbsp;( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">&nbsp;= 4.90, S.D. = 0.30) สรุปได้ว่า นวัตกรรมเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องผู้ตัดสินและกติกาการแข่งขัน สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025