วารสารวิจัยรำไพพรรณี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR <p>วารสารวิจัยรำไพพรรณี เป็นวารสารระดับชาติที่ผ่านการรับรองผลการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (พ.ศ.2563-2567) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก นักวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกต่าง ๆ สู่สาธารณชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ได้นำผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ไปใช้ประโยชน์ เปิดรับบทความวิจัยใน สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและชุมชน โดยจัดทำเป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) จำนวน 15 บทความ</p> <p>ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) จำนวน 15 บทความ </p> <p>ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) จำนวน 15 บทความ</p> <p>โดยบทความที่ตีพิมพ์ทุกบทความผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewed) ในสาขาวิชานั้น ๆ <strong>ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน</strong> โดยเป็นการประเมินแบบ double-blinded review</p> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี th-TH วารสารวิจัยรำไพพรรณี 1906-327X การจำลองเสียงเครื่องดนตรีไทยเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย : กรณีศึกษาบทเพลง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272057 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเสียงจำลองเครื่องดนตรีไทยภาคกลางด้วยการใช้เทคโนโลยีทางดนตรีในปัจจุบัน มาสร้างเสียงเครื่องดนตรีไทยด้วยกระบวนการจำลองเสียง โดยใช้ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ ประสบการณ์ทางดนตรีและทักษะทางเทคโนโลยีของคณะผู้วิจัย โดยการนำเสียงเครื่องดนตรีไทยจำลองมาใช้ในกระบวนเรียบเรียงเสียงประสานและสร้างสรรค์บทเพลงขึ้นมาใหม่ในรูปแบบเพลงไทยร่วมสมัย โดยเลือกใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 3 บทเพลง คือ 1.เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น 2.เพลงเขมรลออองค์เถา และ 3.เพลงราตรีประดับดาว เถา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่าเสียงจำลองเครื่องดนตรีไทยที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถทดแทนเครื่องดนตรีจริงได้ ประหยัดต้นทุนในการผลิตผลงานที่ต้องใช้เครื่องดนตรีจริง และสะดวกในการบรรเลงและเรียบเรียงดนตรีด้วยเทคโนโลยีทางดนตรี ในการประดิษฐ์สร้างสรรค์บทเพลงไทยร่วมสมัยด้วยคลังเสียงเครื่องดนตรีไทยจำลองในครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางใหม่ ที่&nbsp;&nbsp; นักประพันธ์หรือผู้ที่สนใจจะนำวิธีและกระบวนการไปผลิตงานสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลงานที่จะกระตุ้นหรือผลักดันงานดนตรีในรูปแบบใหม่ๆ ที่น่าสนใจในปัจจุบันมากขึ้น</p> พิสุทธิ์ การบุญ นวรัตน์ นักเสียง กฤติเดช อารมย์อุ่น ศุภศิระ ทวิชัย รัชชานนท์ ยิ้มระยับ วารินทร์ สุภาภรณ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 5 15 การพัฒนาบอร์ดเกมเรื่อง Going to the Movies เพื่อใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272061 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบอร์ดเกม Going to the Movies ที่ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บอร์ดเกม (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฝ่ายประถม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) บอร์ดเกมเรื่อง Going to the Movies (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บอร์ดเกมในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า (1) บอร์ดเกมเรื่อง Going to the Movies ที่ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.13/81.33 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังใช้บอร์ดเกมสูงกว่าก่อนใช้บอร์ดเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ภูษิตา นกสกุล อรัญญา ศรีจงใจ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 16 26 ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้แบบจำลอง VARs https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272062 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยวิธี&nbsp; Vector Autoregressive (VARs) model โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่ปี 2554 ถึง ปี 2565 ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ&nbsp; เป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าของตัวมันเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทั้งตัวแปรอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สาเหตุเนื่องมาจาก โดยส่วนใหญ่อัตราแลกเปลี่ยนถูกขับเคลื่อนจากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา</p> ประภัสสร คำสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 27 39 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมะขามสรรเสริญ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272065 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมะขามสรรเสริญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565&nbsp; ซึ่งได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 33/82.67&nbsp;</p> <p>2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp;</p> <p>3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปิยนุช ธรรมสุทธิ์ วิวัฒน์ เพชรศรี ภูวดล บัวบางพลู Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 40 50 การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ประเภทน้ำมันนวดสปา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหอมเมืองสระแก้ว แบบมีส่วนร่วม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272066 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อพัฒนาและออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ประเภทน้ำมันนวดสปา และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาและออกแบบขึ้นมาใหม่ พื้นที่วิจัยคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหอมเมืองสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกภายในกลุ่มในการให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อเสนอแนะและประเมินผลการออกแบบ และกลุ่มผู้บริโภค โดยเจาะจงผู้ประกอบการร้านนวดสปา เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ต่อบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ มีขั้นตอนในการวิจัย คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การศึกษาปัญหาและความต้องการ 3) กำหนดแนวทางการพัฒนาและออกแบบ 4) กระบวนการพัฒนาและออกแบบ 5) ประเมินการออกแบบ 6) ศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาและออกแบบขึ้นใหม่ ขอบเขตการออกแบบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ออกแบบฉลากสินค้าชนิดเจลและชนิดครีม และออกแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดเจลและชนิดครีม ผลการวิจัยพบว่า ฉลากสินค้า นำลักษณะใบของสมุนไพรต่าง ๆ มาตัดทอนรายละเอียดให้เป็นภาพลายเส้น เน้นสีที่คลุมโทน เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาด การออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ โครงสร้างรูปทรงเป็นเรขาคณิตสี่เหลี่ยม เพื่อให้ผลิตได้ง่าย ใช้งานสะดวกและสามารถนําพาหรือขนส่งและจัดวางได้สะดวก ด้านกราฟฟิกบนบบรจุภัณฑ์ มีอักษรไทยและอังกฤษ ใช้สีแบบธรรมชาติ และมีความเรียบง่าย ภาพลวดลายกราฟิกตัดทอนจากใบสมุนไพรมาประกอบเพื่อสื่อให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ โดยผลของการศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ ภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 4.32</p> วุฒิชัย วิถาทานัง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 51 63 การเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272067 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในครั้งนี้ คือผู้จัดการฝ่ายในแผนกต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม และซ่อมบำรุง ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ และผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรแบบแบ่งตามหน้าที่/ การบริหารจัดการขั้นตอนการทำงาน (2) การลดต้นทุนการผลิตทางด้านวัตถุดิบ/ ลดต้นทุนค่าจ้างของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน/ ปรับรูปแบบการผลิตแบบลีน (3) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ด้วยการเพิ่มคุณค่าในงาน/การเพิ่มปริมาณงาน/ การหมุนเวียนเปลี่ยน (4) การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์/ สร้างวัฒนธรรมทีม</p> อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์ ศิริประภา แจ้งกรณ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 64 74 ปัจจัยที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272069 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 และฟิสิกส์ 2 ใน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 118 คน ซึ่งมีนักศึกษาตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 36 คน&nbsp; โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้</p> <p>&nbsp;1) นักศึกษามีเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีเจตคติด้านความสนใจในวิชาฟิสิกส์มากที่สุด (3.9±0.9) และมีเจตคติด้านการวางแผนเรียนต่ำที่สุด (3.4±1.0)&nbsp;</p> <p>2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก &nbsp;&nbsp;โดยนักศึกษาพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอนมากที่สุด (4.13±0.82) และมีความพึงพอใจต่อการวัดและการประเมินผลต่ำที่สุด (3.79±0.84)</p> <p>3) นักศึกษามีความพึงพอใจสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาฟิสิกส์โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (4.05±0.79) โดยนักศึกษาให้คะแนนความพึงพอใจด้านการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศเพื่อการค้นคว้ามากที่สุด นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างกันมีความ คิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสามด้านไม่แตกต่างกัน (P³0.05)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรายวิชาวิชาฟิสิกส์1 และฟิสิกส์ 2 ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนักศึกษามีความพึงพอใจด้านอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดตามด้วยด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และด้านผู้เรียน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาเฉพาะบางตัวแปรเท่านั้นดังนั้นควรจะมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ หรือปัจจัยที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น</p> เกษม หมั่นธรรม วีระ ยินดี วัชนะชัย จูมผา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 75 84 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272070 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 58 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">1. บทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 4.57, S.D. = 0.14 )</li> <li class="show">2. ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าเท่ากับ 22/82.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้</li> <li class="show">3. ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> <p>4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 4.56 , S.D. = 0.17)</p> เกศินี โสขุมา กฤษณะ โสขุมา ลาวัลย์ พิชญวรรธน์ วรพล วิแหลม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 85 93 การใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272072 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะการใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ (2) ศึกษาเนื้อหาที่นำเสนอในสื่อใหม่ซึ่งใช้ในการประชาสัมพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต&nbsp; และ (3) ศึกษาศักยภาพการใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ&nbsp; ใช้แบบสอบถามศึกษาข้อมูลจากนักประชาสัมพันธ์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตทุกหน่วยงาน รวม 38 คน&nbsp; ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างสัมภาษณ์นัก&nbsp; ประชาสัมพันธ์ จำนวน 10 คน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณในเพจ เฟซบุ๊กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภูเก็ต 10 เพจ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะการใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต เป็นดังนี้ มีการใช้สื่อผสมผสานกันทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ โดยสื่อใหม่ที่ใช้มากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันไลน์ สื่อดั้งเดิมที่ใช้มากที่สุดคือ รายงานประจำปีและรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ บทบาทของสื่อใหม่ที่โดดเด่นที่สุดคือ การเผยแพร่ข่าวสารในและนอกหน่วยงาน&nbsp; (2) เนื้อหาที่นำเสนอในสื่อใหม่ซึ่งใช้ในการประชาสัมพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่มีรูปแบบการเขียนเป็นข่าว นำเสนอด้วยตัวอักษรและภาพถ่าย หน่วยงานโพสต์มากที่สุดเฉลี่ย 4.7 โพสต์/วัน (3) ศักยภาพการใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ด้านความรู้ในการใช้สื่อเฟซบุ๊กในการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.53) &nbsp;นักประชาสัมพันธ์ควรใช้สื่อใหม่เพื่อช่วยให้เกิดการสื่อสารสองทางแบบสมดุลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 94 106 มาตรการทางกฎหมายและสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่า: กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272073 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้มาตรการทางกฎหมายและทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่า และศึกษาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการใช้มาตรการทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ในการศึกษาจะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานแบบรับลูกต่อกันระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจในแง่เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงสำรวจจะใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 379 คน เป็นประชากรอำเภอแก่งหางแมว โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนวิเคราะห์ ซึ่งใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ส่วนในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพจะใช้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติ จำนวน 10 คน คือ กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า อำเภอแก่งหางแมว และปลัดอำเภอแก่งหางแมว โดยการวิเคราะห์เชิงตีความทางสังคม&nbsp; ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยสามารถนำเสนอในประเด็นดังต่อไปนี้</p> <ol> <li class="show">การใช้มาตรการทั้งทางกฎหมายในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้ผลในระดับพอสมควร</li> <li class="show">การใช้มาตรการทั้งทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้ผลในระดับพอสมควร</li> <li class="show">โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะมาตรการทั้งทางกฎหมายในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี</li> <li class="show">โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะทางสังคมในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่าในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี</li> </ol> ทรัพยสิทธิ์ เกิดในมงคล กุลปราณี กุลวิทิต ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ พรทิวา อาชีวะ จิตรา ประดิษฐศิลป์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 107 116 อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272074 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิโดยศึกษาข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565 จำนวน 11 บริษัท ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ตัวแปรอิสระที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน, อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม, อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม และ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตามคือ มูลค่าธุรกิจ ตามวิธีการประเมินแบบ Tobin’s Q&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลกระทบต่อมูลค่าธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 คือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม และ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม&nbsp;</p> สุรยุทธ ทองคำ สุธาสินี ศิริโภคาภิรมย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 117 125 การเปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ระหว่าง วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐาน กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272075 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน<br>หลังเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาช่างยนต์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจงแล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.58 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.57 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดสมรรถนะวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานมีสมรรถนะวิชาชีพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; 2) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีสมรรถนะวิชาชีพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน มีสมรรถนะวิชาชีพแตกต่างกัน <br>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; และ 4) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ภัทราวรรณ ไกรกิจราษฎร์ เยาวเรศ ใจเย็น วิวัฒน์ เพชรศรี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 126 136 การส่งเสริมทักษะอาชีพ เรื่อง การแปรรูปอาหาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272076 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ&nbsp; 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะอาชีพ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์&nbsp; 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแปรรูปอาหาร ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีต่อแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา &nbsp;กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3&nbsp; ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนและม้ง ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย&nbsp;&nbsp;(Simple random sampling) จำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปรรูปอาหาร , แบบวัดทักษะอาชีพ,แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติวิลคอกซัน&nbsp; &nbsp; (The Wilcoxon Signed- Ranks Test)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีทักษะอาชีพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 18.15 , S.D.= 1.214) และก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 9.85 , S.D.= 1.625 )&nbsp; (2) นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แปรรูปอาหาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน &nbsp;( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 22.23 , S.D.= 2.522)&nbsp; และก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 16.85 , S.D.= 4.180)&nbsp; (3) ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีต่อแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาทั้ง 4 ด้าน ผู้เรียนมีความพึงพอใจ มากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 4.53 , S.D = 0.14)</p> วนิฐา ปัญญาส่อง รุ่งทิวา กองสอน Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 137 147 การออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาของชุมชนบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272080 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ที่เหมาะสมกับศักยภาพการทำงานของกลุ่มชุมชน 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และ 3) ผลประเมินความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยแบ่งออกเป็นระบบย่อย ๆ 4 ระบบ คือ ระบบวางแผน ระบบปฏิบัติการ ระบบติดตามตรวจสอบ และ ระบบสะท้อนผล มาเป็นโครงสร้างของระบบประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) ดำเนินการวิจัย 3 รอบ คือ R1D1, R2D2 และ R3D3 พื้นที่วิจัย คือชุมชนบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้การจัดสนทนากลุ่ม กลุ่มข้อมูลสำคัญ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุมชน ตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ &nbsp;แบบประเมินการออกแบบ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของกลุ่มชุมชนประดิษฐ์เป็นดอกไม้จากกระดาษผักตบชวา 2) ชุมชนผลิตกระดาษจากผักตบชวาจากนั้นนำมาสร้างต้นแบบเบื้องต้นโดยทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์และนำมาพัฒนาประยุกต์ตกแต่งเป็นพานพุ่ม และพวงหรีดดอกไม้กระดาษ 3) ผลประเมินในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.97 (S.D.=0.55) &nbsp;คุณค่าในงานหัตถกรรมชุมชน ในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00 (S.D.=0.00) รองลงมาคือ ความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 (S.D.=0.58) และด้านความสวยงามของผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.33 (S.D.=0.58) ตามลำดับ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การแสวงหาความคิดใหม่เกี่ยวกับรูปแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาจะสามารถหาแนวคิดได้จากทักษะความรู้เดิมของชุมชน มาเพิ่มเติมต่อยอดความรู้ให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ในลักษณะการใช้วัตถุดิบอื่นมาทดแทน (Substitute)</p> ณัฐ จันทโรทัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 148 158 ผลการฝึกด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเข่า https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/272081 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬา ที่บาดเจ็บข้อเข่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2565 ที่บาดเจ็บข้อเข่า จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน&nbsp; ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดและแบบทดสอบแรงเหยียดขา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ 4, 8 และ 12 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ พบว่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกัน ส่วนคู่อื่นแตกต่างกันทุกคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp; ที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย: การฝึกด้วยยางยืด วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 12 สัปดาห์ สามารถพัฒนา&nbsp; ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเข่าได้</p> ธิติพงษ์ สุขดี กมลวรรณ เพชรศรี จิราวัฒน์ ขจรศิลป์ สบสันติ์ มหานิยม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-30 2024-03-30 18 1 159 165