https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/issue/feed รัฐศาสตร์นิเทศ 2025-02-03T12:33:41+07:00 รศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล polsci.tu.journal@gmail.com Open Journal Systems <p>&nbsp;“รัฐศาสตร์นิเทศ” (Political Science Review) เป็นวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายนำเสนอผลงานที่มุ่งเชื่อมโยงมิติทางทฤษฎีกับมิติทางปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ไม่เพียงครอบคลุมเฉพาะในหมู่คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา หรือนักวิจัยเท่านั้น หากยังรวมถึงบุคคลทั่วไปนอกวงวิชาการซึ่งมีความจำเป็นในเชิงนโยบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมิติทางทฤษฎีกับมิติทางปฏิบัติจะช่วยให้เกิดการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง รวมถึงความต้องการของสังคมยิ่งขึ้น โดยตีพิมพ์วารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม -- Print ISSN: 2465-4043</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/267855 นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย 2023-10-10T12:17:52+07:00 ธีรพัฒน์ อังศุชวาล t.ungsuchaval@gmail.com จีรภา โสสม jeerapa.sos@student.mahidol.ac.th <p>บทความวิชาการนี้มุ่งอธิบายนโยบายการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) ของประเทศไทย ผ่านการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทด้านการจัดการขยะพลาสติกของประเทศระยะ 20 ปี (ปี 2561-2573) เพื่อเป็นกรณีศึกษาถึงความพยายามของการร่วมผลิตในนโยบายสาธารณะระหว่างภาครัฐและเอกชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนหลายมิติ การมองแผนแม่บทฯ ผ่านมุมมองการร่วมผลิตทำให้เห็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลักดันให้ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในจัดการขยะพลาสติกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ บทความชิ้นนี้ชี้ให้เห็นด้วยว่า การขับเคลื่อนนโยบายนี้ยังขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนกระบวนการทางนโยบายในบทบาทผู้ร่วมริเริ่มกระบวนการ (co-initiator) และผู้ออกแบบร่วม (co-designer) โดยการร่วมผลิตจะสามารถช่วยให้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทยมีโอกาสและประสิทธิภาพของการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะมากยิ่งขึ้น</p> 2025-01-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/274006 ยุทธศาสตร์ชาติใต้ร่มเงาวุฒิสภา 2024-07-10T14:33:17+07:00 วรศักดิ์ จันทร์ภักดี worasak.janphakdee@gmail.com <p>วุฒิสภาชุดที่ 12 ถือเป็นวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีหน้าที่พิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งวุฒิสภาได้ใช้กลไกต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนผ่านภูมิหลังของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่จำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทหาร/ตำรวจ (2) กลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (3) กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมและปราชญ์ชาวบ้าน และ (4) กลุ่มนักการเมือง/นักธุรกิจ โดยแต่ละกลุ่มเลือกใช้บทบาทในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่แตกต่างกัน แต่ด้วยกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ของวุฒิสภาประกอบกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลทั้งในส่วนของคณะรัฐมนตรีและระบบราชการ ที่เป็นผู้ปฏิบัติขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อพิจารณาในเชิงการควบคุมวาระประเด็น (Agenda Control) จะพบว่า รูปแบบในการควบคุมวาระประเด็นจึงเป็นไปในเชิงบวก (Positive Agenda Control) กล่าวคือ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับที่วุฒิสภาพึงพอใจ และการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภาจึงมองว่าในช่วงเวลานี้รัฐบาลยังคงดำเนินการตามวิถีที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้เอง ส่งผลให้ในท้ายที่สุดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิสภาชุดที่ 12 กับฝ่ายบริหาร เป็นความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Relationship) ที่วุฒิสภากับฝ่ายบริหารต่างเดินไปด้วยกัน</p> 2025-01-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/273004 การวิเคราะห์เครือข่ายการดำเนินงานธนาคารเวลา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2024-08-05T08:36:58+07:00 ฐิติกาญจน์ บำรุงชัยกุล thitikarn.thk@g.swu.ac.th กัลยา แซ่อั้ง kanlayanaka@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงในการดำเนินงานธนาคารเวลา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษารวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ดังนี้ (1) ตัวแสดงในภาครัฐ คือ ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพญาชมภู จำนวน 2 คน (2) ตัวแสดงนอกภาครัฐ คือ ผู้จัดการธนาคารเวลา เลขานุการธนาคารเวลา ประธานศูนย์บริการคนพิการตำบลชมภู และสมาชิกธนาคารเวลา จำนวน 4 คน ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงภายในเครือข่ายในการดำเนินงานธนาคารเวลาตำบลชมภู มีลักษณะความสัมพันธ์ตามแนวคิดการประสานความร่วมมือ (Collaboration) ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มคนและหน่วยงาน ต่างภาคส่วนกันเข้ามาร่วมมือกันดำเนินงาน ผ่านการจัดตั้งโครงสร้างคณะกรรมการที่เป็นทางการ ซึ่งความสัมพันธ์ของเครือข่ายธนาคารเวลาตำบลชมภูมีลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีผู้จัดการธนาคารเวลาตำบลชมภู เป็นผู้ประสานความสัมพันธ์ให้ทุกตัวแสดงในเครือข่ายมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ร่วมแลกเปลี่ยนทรัพยากรแบบพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การขับเคลื่อนดำเนินงานธนาคารเวลาตำบลชมภู เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/276546 ว่าด้วยการสร้างความชอบธรรม 2024-10-31T14:31:07+07:00 ชัยพร พยาครุฑ chaiyaporn.p@pbic.tu.ac.th <p>บทความนี้ศึกษากระบวนการสร้างความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการครอบครองทิเบตช่วงปี ค.ศ.1951 โดยมุ่งตอบคำถามว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ปฏิบัติการอะไรในการกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือทิเบต ผลการศึกษาพบว่า นอกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะใช้ปฏิบัติการทางทหารแล้ว ยังมีกระบวนการนำเสนอภาพของการเป็นผู้ปลดแอกทิเบตอย่างสันติและเป็นระบบ ประกอบด้วย กระบวนการนำเสนอปัญหาภายในของทิเบต ตั้งแต่ภูมิศาสตร์ที่ทุรกันดารและโครงสร้างสังคมที่ล้าหลังและเอาเปรียบขูดรีดชนชั้นล่าง กระบวนการทำให้ปัญหาอธิปไตยของทิเบตเป็นปัญหาจากภายนอก กระบวนการนำเสนอความชอบธรรมของจีนว่ามีอธิปไตยเหนือทิเบต และกระบวนการนำเสนอประโยชน์ที่ทิเบตจะได้รับเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของจีน สิ่งนี้สามารถสะท้อนความสามารถด้านการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามขบวนการชาตินิยมจีนที่ต้องการจะผนวกทิเบตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนนี้มิได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังที่ยังคงพบเห็นกระแสชุมนุมประท้วงในทิเบตในเวลาต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน</p> 2025-01-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/276288 Imperialism and Subimperialism in Mainland Southeast Asia 2024-10-18T15:17:52+07:00 Charlie Thame charliethame@me.com Jana-Chin Rue-Glutting jana.chin@gmail.com <p>This article presents results of an exploratory study on imperialism and subimperialism in the Mekong subregion, including an overview of classical and contemporary debates on imperialism and methodologies developed to quantify unequal exchange. It extends these to analyse trade and investment trends based on existing data for the subregion. Previous studies have incorporated analysis of Thailand and Vietnam, this is the first to incorporate Myanmar, Laos, and Cambodia too. It finds existing data is inadequate but also evidence that Thailand and to a lesser extent Vietnam have benefited from subimperialist relations with neighbouring countries at the expense of ecology and fractions of labour. It concludes that developing countries should remain sceptical of mainstream development economics and statistical data based on them and that Thailand and Vietnam can be considered subimperialist powers with a functional role of mediating imperialist relations between the subregion and the world market. The research contributes to historical materialist scholarship on the international relations and development of mainland Southeast Asia and the political economy of contemporary imperialism and has implications for subaltern classes across the subregion and other peripheral and semi-peripheral economies across the world. It can also be used to support future research that challenges realist, liberal, and constructivist approaches to minilateral institutions such as the GMS, ACMECS, and the LMC from a historical materialist perspective.</p> 2025-01-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์