รัฐศาสตร์นิเทศ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet <p>&nbsp;“รัฐศาสตร์นิเทศ” (Political Science Review) เป็นวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายนำเสนอผลงานที่มุ่งเชื่อมโยงมิติทางทฤษฎีกับมิติทางปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ไม่เพียงครอบคลุมเฉพาะในหมู่คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา หรือนักวิจัยเท่านั้น หากยังรวมถึงบุคคลทั่วไปนอกวงวิชาการซึ่งมีความจำเป็นในเชิงนโยบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมิติทางทฤษฎีกับมิติทางปฏิบัติจะช่วยให้เกิดการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง รวมถึงความต้องการของสังคมยิ่งขึ้น โดยตีพิมพ์วารสาร “รัฐศาสตร์นิเทศ” ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม -- Print ISSN: 2465-4043</p> th-TH polsci.tu.journal@gmail.com (ผศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล) polsci.tu.journal@gmail.com (ผศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล) Mon, 22 Apr 2024 20:13:37 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อิทธิพลของรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อการเมืองไทยหลัง คสช https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268605 <p>“อิทธิพลของรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งออกแบบภายใต้การกำกับของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งผลอย่างไรต่อการเมืองไทยหลังจากเปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้ง?” เพื่อตอบคำถามในข้างต้น บทความชิ้นนี้จึงอภิปรายผ่านการวิเคราะห์การเมืองรัฐธรรมนูญของรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสู่ระบอบพันทางภายใต้การกำกับของกลไกรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยการเมืองรัฐธรรมนูญของรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นสะท้อนให้เห็นความเป็นการเมืองของการเสนอข้อถกเถียงในกระบวนการออกแบบรัฐธรรมนูญภายใต้อิทธิพลของ คสช. ขณะเดียวกัน กลไกทางรัฐธรรมนูญและองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญไม่เพียงแต่สร้างข้อจำกัดทางอำนาจแก่ระบบรัฐสภา และทำให้สังคมการเมืองไทยเข้าสู่การเป็นระบอบพันทางที่เผชิญกับการถดถอยออกจากประชาธิปไตย แต่กลไกทางรัฐธรรมนูญก็กลับเป็นอุปสรรคต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ที่สืบทอดอำนาจหลังจากการเลือกตั้ง 2562 เช่นกัน จากปัจจัยของการสูญเสียความชอบธรรมในการปกครอง และรัฐธรรมนูญได้กลายเป็นพื้นที่ต่อสู้ที่ทำให้พรรคฝ่ายค้านเติบโตภายใต้ข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ 2560 จนสามารถสร้างพันธมิตรกับประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้ในที่สุดแล้วฝ่ายค้านสามารถชนะการเลือกตั้งในปี 2566 ทว่าการออกจากประชาธิปไตยของระบอบพันทางยังไม่ได้จบลง แต่ยังต้องตั้งคำถามและติดตามต่อไปถึงอิทธิพลของรัฐธรรมนูญมรดกของ คสช. ที่ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยหลังจากนี้</p> ศิปภน อรรคศรี Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268605 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies: HiAP) และการทำให้เป็นรูปธรรมผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268915 <p>แนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” หรือ Health in All Policies (HiAP) ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะแนวคิดและหลักการสำคัญของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพทั่วโลก บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าแนวคิด HiAP ปรากฏเป็นรูปธรรมในประเทศไทยได้อย่างไร และการปรากฏเป็นรูปธรรมนั้นส่งผลต่อการขับเคลื่อนแนวคิดผ่านกลไกนโยบายในลักษณะใด</p> <p>การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวน 44 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2565 การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลบนฐานของการวิเคราะห์แก่นสาระเพื่อค้นหาประเด็นและเรื่องราวที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิด HiAP ในกลไกนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในประเทศไทย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าแนวคิด HiAP ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550” ผ่านกลไกขับเคลื่อนใน 3 ลักษณะสำคัญ ได้แก่ (1) การปรับเปลี่ยนนิยามสุขภาพใหม่ ผ่านการขยายนิยามสุขภาพในหมวดสิทธิและการมีธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพสุขภาพแห่งชาติ (2) การมีส่วนร่วมของสาธารณะ ผ่านกลไกเด่นที่ เช่น สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และ (3) ความร่วมมือแบบข้ามภาคส่วน โดยรูปธรรมปรากฏอย่างเด่นชัดในเรื่องคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่เชื่อมตัวแทนผู้กำหนดนโยบายจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกประเด็นสุขภาพอันทำให้นโยบายที่ตัดสินใจมีความชอบธรรมและสอดคล้องกับทิศทางของสังคม นอกจากนี้ การขับเคลื่อนแนวคิด HiAP ผ่านพระราชบัญญัติฯ ปรากฏความท้าทายในเรื่องการพัฒนากระบวนการและรูปแบบในการสื่อสารนิยามสุขภาพใหม่ การสร้างการมีส่วนร่วมมีความหมายมากยิ่งขึ้น และการประสานพลังเชิงนโยบายและสร้างผลกระทบควบคู่กัน</p> ธีรพัฒน์ อังศุชวาล, จอมขวัญ โยธาสมุทร, คนางค์ คันธมธุรพจน์, ศรวณีย์ อวนศรี , อารยา ญาณพิบูลย์ Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268915 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภูมิสถาบันการจัดการน้ำของประเทศไทย: การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสถาบันด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาพรวมเชิงระบบ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268242 <p style="font-weight: 400;">การจัดการน้ำเป็นภาคส่วนมีที่ความเป็นการเมืองและถูกทำให้เป็นการเมือง (politicized) ทั้งด้านการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมและจัดการความขัดแย้ง การเมืองยังส่งผลต่อการกำหนดกรอบกติกาการบริหารจัดการน้ำ ทั่วโลกจะพบอุปสรรคการจัดการน้ำที่แยกส่วนโครงสร้างบริหารจัดการโดยภาครัฐ (fragmented sector) ประเทศไทยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำจำนวน 38 ฉบับ สะท้อนถึงหน่วยงานด้านน้ำที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องมีจำนวนมากกว่า 30 หน่วยงาน งานวิจัยนี้มีมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเข้าใจในมิติโครงสร้างเชิงสถาบันด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ใช้แนวทางการสำรวจโครงสร้างเชิงสถาบันหรือ Institutional review โดยการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพเชิงโครงสร้างและระบบอันซับซ้อนในปัจจุบันและเพื่อต่อยอดสู่ข้อเสนอการนำเสนอเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างการจัดการน้ำของประเทศ งานวิจัยนี้พบว่าในขณะที่ทิศทางโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำทั่วโลกคือเน้นการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นหลัก (area-based integration) หน่วยงานด้านน้ำในประเทศไทยยังเน้นบทบาทเชิงฟังค์ชั่น (functional-based agencies) และอำนาจความรับผิดชอบการจัดการระบบน้ำที่เกี่ยวข้องยังเน้นอยู่ที่อำนาจของกรมมากกว่าพื้นที่ จากการศึกษาพบว่าได้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการน้ำของไทยคือสามหน่วยงานหลัก บวกหน่วยงานอื่นที่มีบทบาทที่แตกต่างกันแบบกระจาย งานวิจัยนี้เสนอว่าควรเพิ่มบทบาทของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการให้ความหมายและคำนิยามระบบการจัดการน้ำที่ชัดเจนขึ้นและต้องสามารถมองภาพรวมการทำงานร่วมกันมากขึ้นทั้งระดับนโยบายที่มีหลายมิติ ครอบคลุมความเท่าทันวิกฤติที่เผชิญอยู่และแนวโน้มการบริหารจัดการน้ำและความยั่งยืนระดับโลก</p> นาอีม แลนิ Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268242 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 เศรษฐกิจภาคป่าไม้ไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/265120 <p>การที่ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในปี ค.ศ. 2065 นอกจากจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังหมายถึงการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูดกลับคาร์บอน ทั้งป่าเศรษฐกิจ ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่สีเขียวในเมือง รวมถึงการปลูกไม้เศรษฐกิจจากการทำสวนป่าที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศป่าไม้ที่สามารถเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสู่โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือเศรษฐกิจบีซีจี บทความนี้ทบทวนและอธิบายการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจภาคป่าไม้ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงการเกิดขึ้นของโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ผ่านการเปรียบเทียบนโยบายการส่งเสริมป่าเศรษฐกิจ การคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าไม้ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์นโยบาย ตลอดจนการทับซ้อนและความไม่ลงรอยกันในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจภาคป่าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์นำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจภาคป่าไม้ไปสู่โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี</p> วิชชุดา สร้างเอี่ยม Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/265120 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินอย่างยั่งยืนในบริบทสากล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268347 <p>“เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเรื่องการบริหารจัดการทะเล ชายฝั่งและมหาสมุทรสมัยใหม่ แนวความคิดนี้มุ่งแสวงหาหนทางเพื่อการอยู่ร่วมกันได้ระหว่างโอกาสทั้งหลายในแง่การพัฒนากับการรักษาและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม บทความนี้นำเสนอการทบทวนเอกสารเกี่ยวกับแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงิน และเลือกกรณีศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้ว (กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป) ประเทศที่กำลังพัฒนา (ประเทศฟิลิปปินส์) และประเทศชายฝั่งที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (ประเทศบังกลาเทศ) เพื่อให้เห็นตัวอย่างของแนวทางและมาตรการการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงิน การนำแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินไปปฎิบัติของบริบทสากล แบ่งออกเป็นสามแนวทางหลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีน้ำเงินในเศรษฐกิจมหภาค (2) การพัฒนากรอบนโยบายทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน และ (3) การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการจัดการเศรษฐกิจสีน้ำเงิน แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินในสามประเด็นนี้ไม่ได้แยกขาดจากกันเสียทีเดียว แต่เชื่อมโยงและประสานองค์ความรู้เข้าด้วยกัน ในขณะที่ ทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินอย่างยั่งยืนที่จะมุ่งไปในอนาคตคือ ให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับมนุษย์ทุกคน ทั้งด้านเศรษฐกิจ และวิถีชีวิต รวมทั้งการต่อสู้กับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาภาคพื้นทะเลอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> โสภารัตน์ จารุสมบัติ Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/268347 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700