https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/issue/feed
วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
2024-12-25T16:21:45+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี
sasjournal.mju@gmail.com
Open Journal Systems
<table width="624"> <tbody> <tr> <td width="624"> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์การบริหารกิจการสังคม และสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> 2. เพื่อให้บริการวิชาการเกี่ยวกับการเสนอทางออกในการแก้ปัญหาสังคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ</strong> </p> <p> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันและมิใช่สังกัดเดียวกับผู้นิพนธ์บทความ และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind Peer Review)</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong> </p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม</p> <p> ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> </td> </tr> </tbody> </table>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/274161
เพดานแก้วในแวดวงวิชาการ: บทเรียนจากงานวิจัยต่างประเทศและความจำเป็นของการศึกษาในบริบทไทย
2024-07-10T09:47:06+07:00
ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร
sirisopa@mju.ac.th
นารีวรรณ กลิ่นรัตน์
sirisopa@mju.ac.th
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ "เพดานแก้ว" ในแวดวงวิชาการ โดยมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าของนักวิชาการหญิงในมหาวิทยาลัย ผลการทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศมาอย่างยาวนาน แต่ผู้หญิงในแวดวงวิชาการยังคงเผชิญกับอุปสรรคที่มองไม่เห็น ซึ่งขัดขวางการเลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่สร้างเพดานแก้วประกอบด้วย การแบ่งแยกทางเพศในแนวตั้งและแนวนอน ความไม่เป็นธรรมในกระบวนการประเมินผลงาน การขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและเครือข่าย ตลอดจนภาระงานที่หนักและความไม่สมดุลระหว่างเพศ นอกจากนี้ปัจจัยเชิงวัฒนธรรม เช่น การเหมารวมและอคติแอบแฝง การขัดกันระหว่างบทบาททางเพศกับบทบาทผู้นำ และการขาดภาพต้นแบบของผู้นำหญิงยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความก้าวหน้าของนักวิชาการหญิง บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการศึกษาปรากฏการณ์เพดานแก้วในบริบทของมหาวิทยาลัยไทยอย่างเป็นระบบ เนื่องจากการขาดข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อนักวิชาการหญิง การศึกษาประเด็นนี้จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ กระตุ้นความตื่นตัวทางสังคม และเป็นพื้นฐานในการพัฒนานโยบายที่เหมาะสม และนำไปสู่การยกระดับความเสมอภาคและคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทย</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273851
มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการหายใจในอากาศสะอาด : ศึกษากรณีประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์
2024-07-21T20:15:48+07:00
สลิลา กลั่นเรืองแสง
salila.k@rsu.ac.th
รพีพร สายสงวน
rapeeporn.s@rsu.ac.th
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิในการหายใจในอากาศสะอาด ที่จำเป็นต้องมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายในหลายแหล่งที่มา ทั้งของประเทศไทย ต่างประเทศ และระหว่างประเทศ ซึ่งบทความวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหน่วยงานด้านการกำกับดูแลมลภาวะทางอากาศเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชน<br /><strong> กล่าวได้ว่า</strong>กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยในปัจจุบัน ต้องใช้กฎหมายหลายฉบับประกอบกัน เพื่อลดการสร้างมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจากปัญหาข้อเท็จจริงในการบังคับใช้กฎหมายที่มี อยู่นั้น สรุปผลวิจัยที่สำคัญ ประการแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักป้องกันตนเองเมื่อเผชิญกับอากาศที่ไม่สะอาด พร้อมให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่อ้างอิงมาตรฐานสากลที่น่าเชื่อถือ ประการที่สอง คือ สมควรมีองค์กรกลาง ซึ่งอาจทำในลักษณะของศูนย์เฉพาะกิจ (เมื่อสถานการณ์ฝุ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ) เพื่อประสานความร่วมมือให้บังคับใช้กฎหมายรวดเร็ว ครอบคลุม และทั่วถึง และประการที่สาม คือ ปรับปรุงกฎหมายที่เน้นการควบคุมแหล่งกำเนิดหรือผู้ก่อมลพิษ เน้นมาตรการป้องกันล่วงหน้า กับบทกำหนดโทษที่เหมาะสม (ครอบคลุมทั้งการก่อมลพิษภายในประเทศและกรณีข้ามพรมแดน) เพื่อให้บุคคลหรือองค์กรที่อาจจะก่อมลพิษทางอากาศ ตระหนักต่อการไม่คุกคามหรือกระทำการละเมิดต่อสิ่งแวดล้อม<br /> ทั้งนี้ สหประชาชาติได้รับรอง <strong>สิทธิที่จะมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ซึ่งดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน </strong>ในฐานะสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเรียกร้องให้รัฐสมาชิกเพิ่มขีดความสามารถในการทำให้มั่นใจว่าพลเมืองของรัฐจะมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ที่ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน จึงสมควรที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนากฎหมายเฉพาะด้านอย่างเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมอันจะส่งผลให้พลเมืองของรัฐมีสิทธิที่จะหายใจในอากาศสะอาดอย่างยั่งยืนต่อไป</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/272842
เจเนอเรชั่นกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคเหนือ
2024-05-08T16:35:21+07:00
อุบลวรรณ สุภาแสน
u_supasaen@hotmail.com
วัลลภัช สุขสวัสดิ์
wanlapachs@nu.ac.th
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนต่างเจเนอเรชั่นในภาคเหนือของประเทศไทย โดยจำแนกเจเนอเรชั่น ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นซี การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2562 ในภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน แพร่ และอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยมีแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน<br /><strong> ผลการวิจัย </strong>พบว่า เจเนอเรชั่นที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการติดตามสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ที่มีความโน้มเอียงทางการเมือง พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเบเบี้บูมเมอร์ติดตามสื่อโทรทัศน์หลักมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น ในขณะที่เจเนอเรชั่นวายติดตามสื่อออนไลน์ที่มีความโน้มเอียงทางการเมืองมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น สำหรับพฤติกรรมการเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง พบว่าทุกเจเนอเรชั่นเลือกตัวบุคคลและพรรคร่วมกันมากที่สุด โดยเบบี้บูมเมอร์จะเลือกตัวบุคคลมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/271766
ภาวะบ้างาน การสนับสนุนทางสังคม และความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร
2024-04-10T10:10:57+07:00
กวีศุภณิฐ วิกรมวยากรม์
idinhennamde@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะบ้างาน ระดับการสนับสนุนทางสังคม และระดับความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะบ้างาน กับความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม กับความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานบริษัท ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ อายุ 25 - 60 ปี จำนวน 400 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะบ้างาน มีค่าความเที่ยง .847 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเที่ยง .822 และแบบสอบถามความเหนื่อยหน่ายในงาน มีค่าความเที่ยง .890 สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า 1) พนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร มีภาวะบ้างาน การสนับสนุนทางสังคม และความเหนื่อยหน่ายในงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) ภาวะบ้างานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .347) และ 3) การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายในงาน ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.401)</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273094
การขับเคลื่อนนโยบายระบบฐานข้อมูล iSingle Form ของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อการนำไปปฏิบัติราชการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
2024-05-24T15:48:30+07:00
ชุติมา จีนะดิษฐ์
muk290737@gmail.com
ไชยวัฒน์ เผือกคง
chaiwat63@yahoo.com
วาสนา จาตุรัตน์
muk290737@gmail.com
<p> ระบบ iSingle Form คือระบบรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในรูปแบบออนไลน์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการรายงานข้อมูลการประกอบกิจการได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ระบบ iSingle Form และองค์ประกอบสำคัญต่อการขับเคลื่อนของกระทรวงอุตสาหกรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) สร้างรูปแบบที่ใช้ในการขับเคลื่อน iSingle Form ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อการนำไปปฏิบัติราชการในยุคไทยแลนด์ 4.0 รูปแบบการวิจัยใช้แบบผสมผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บุคลากร และแบบสอบถามจากผู้แทนโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน เพื่อนำผลการวิจัยเชิงปริมาณมาร่วมกันสร้างรูปแบบที่ใช้ในการขับเคลื่อน iSingle Form ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมต่อการนำไปปฏิบัติราชการในยุคไทยแลนด์ 4.0<br /> <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า 1) การใช้ระบบ iSingle Form ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สุราษฎร์ธานี มีพฤติกรรมในการใช้ระบบจากผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมาก แต่ยังพบปัญหา ทั้งในด้านการใช้ระบบ และประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหา อุปสรรค พบว่า การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐของกระทรวงอุตสาหกรรมต้องอาศัยหลายปัจจัย ต้องมีการวางแผนงานหรือการฝึกอบรมเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้เกี่ยวกับหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการผู้ประกอบการได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 2) ผลจากการสนทนากลุ่มผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบในการใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อน คือ <strong>ใช้ดี โมเดล</strong> จากการวิเคราะห์ปัจจัย ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกันทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้ใช้งานระบบ 2) ระบบ iSingle Form 3) ประสิทธิภาพของระบบ และ 4) การพัฒนาซึ่งต้องอาศัยการดำเนินการไปพร้อมกันก็จะเกิดการพัฒนาและในการขับเคลื่อนการใช้งานระบบ iSingle Form ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268617
รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลและการสร้างความเชื่อมโยงอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ
2024-01-11T13:59:30+07:00
จารุวรรณ ทองเนื้อแข็ง
jaruwan.t@tsu.ac.th
ห้าวหาญ ทวีเส้ง
Jaruwan.t@tsu.ac.th
ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง
Jaruwan.t@tsu.ac.th
ปนันดา ศิริพานิช
Jaruwan.t@tsu.ac.th
เกียรติศักดิ์ พันธ์พงศ์
Jaruwan.t@tsu.ac.th
ทัศนี ศรีมาชัย
Jaruwan.t@tsu.ac.th
ชลัฐชัย สุนทร-วิจารณ์
Jaruwan.t@tsu.ac.th
<p> การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลและการสร้างความเชื่อมโยงอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกในประเทศต่าง ๆ และ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและขอจำกัดในการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูล 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับอุทยานธรณีโลกสตูลและสร้างความเชื่อมโยงกับอุทยานธรณีโลกในระดับนานาชาติ โดยทำการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 117 คน ตลอดจนถอดบทเรียนการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลก ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ<br /> <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกในประเทศต่างๆ ดังนี้ San’in Kaigan UNESCO Global Geopark และ Oki Islands UNESCO การบริหารจัดการขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่ Japan Global Gepoark (JGG) (Head office) สำหรับ Langkawi UNESCO Global Geopark มีอำนาจเบ็ดเสร็จจากภาครัฐควบคุม คือ LADA ในส่วน ศักยภาพและข้อจำกัดในการบริหารจัดการ มิติสังคมและวัฒนธรรมเป็นสังคมพหุ วัฒนธรรมมีความเข้มแข็งและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิติสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล มิติเศรษฐกิจมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่สามารถนำสู่การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ข้อจำกัดการบริหารจัดการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำเป็นต้องขออนุญาตในการทำกิจกรรมนำเที่ยวตามระเบียบว่าด้วยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ โดยเคร่งครัด สำหรับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับอุทยานธรณีโลกสตูล โดยการออกแบบโครงสร้างการบริหารจะต้องครอบคลุมกรอบภาระงานที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินของ UNESCO โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัดออกเป็น 3 ชุด โดยคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการอำนวยการ 2) คณะกรรมการดำเนินงาน 3) คณะอนุกรรมการ ที่รับผิดขอบโดยตรงในเรื่องต่างๆ ทั้ง 6 ภารกิจที่กำหนดโดยองค์การยูเนสโก พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลมีความเหมาะสม ทิศทางการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลในอนาคตจึงควรมีการจัดตั้งองค์กรกลาง ที่มีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะองค์กรมหาชน เป็นหน่วยงานอิสระ โดยจัดตั้งผ่านทางกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกสตูลมีเครือข่ายภายในประเทศและดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศตามเกณฑ์กำหนดขององค์การยูเนสโกต่อไป</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/275243
Strategies for the Development of Area-Based Cooperation Mechanisms to Reduce Inequality in Education
2024-09-04T16:31:29+07:00
Vikrom Boonnun
crurds@gmail.com
<p> This article aims 1) to analyze the current situation and necessary needs for developing a spatial cooperation mechanism to reduce educational inequality in Chiang Rai Province, 2) to create strategies for developing a spatial cooperation mechanism to reduce educational inequality in Chiang Rai Province, and 3) to establish cooperation mechanism to reduce educational inequality in Chiang Rai Province. The research follows a mixed-method approach. The study area includes the Office of Educational Service Area 16 and the Chiang Rai Provincial Education Office. The target group comprises 44 members, including the Provincial Education Committee, the Subcommittee on Strategic Government Administration, the Education Development Subcommittee, and the Strategic Government Administration Working Group, selected through purposive sampling. The research instruments include 1) questionnaires, 2) semi-structured interviews, and 3) focus group discussions. Data analysis employs percentage, mean, and standard deviation for quantitative research, while content analysis and descriptive writing are used for qualitative research.<br /> <strong>The research findings indicate </strong>that developing a spatial cooperation mechanism to reduce educational inequality in Chiang Rai Province should focus on providing information and options for special target groups to access education, fostering collaboration between various agencies to raise awareness in language, logic, and mathematics, and ensuring access to early childhood development and pre-primary education to prepare children for primary education by 2030. Additionally, strategies include developing education in border areas and Special Economic Zones (SEZs) by enhancing technological infrastructure and comprehensive human resource management and improving the efficiency of local learning resources, using the CATWOE process as the analytical framework. The results of this research can be further applied to create systems and mechanisms that promote participation in reducing educational inequality at the local level, particularly for the Provincial Education Office and the Regional Education Office, which have the primary responsibility for enhancing localized education.</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/271353
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรังภายใต้โลกยุคบานี่
2024-04-10T12:54:41+07:00
วิสุทธิณี ธานีรัตน์
wisuttinee.t@psu.ac.th
<p> การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรังภายใต้โลกยุคบานี่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานประจำ จำนวน 122 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว<br /> <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.23, S.D.= 0.426) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.25, S.D.=0.502) รองลงมา คือ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านปริมาณงาน และด้านเวลา ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่าพนักงานที่มีอายุ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273917
การบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
2024-07-04T13:04:13+07:00
นพดณ ปัญญาวีรทัต
nopphadon.pan@mcu.ac.th
อภิรมย์ สีดาคำ
nopphadon.pan@mcu.ac.th
ประเสริฐ ปอนถิ่น
nopphadon.pan@mcu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดถึงประชาชนในพื้นที่ บ้านใหม่ล้านนา หมู่ที่ 14 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ การรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีประชาคม โดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนสภาองค์กรชุมชน องค์กรในพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความ ประกอบภาพถ่าย บรรยายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน<br /> <strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มี 3 ประการ ดังนี้ 1.1) ปัญหาชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ 1.2) การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ชาวบ้านร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา 1.3) แนวทางแก้ไข กรมป่าไม้จัดพื้นที่โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเป็นพื้นที่รองรับให้แก่ชาวบ้านทำกินและดูแลรักษา 2) แนวทางการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบว่ามี 8 แนวทาง ดังนี้ 2.1) การประชุมประชามติ 2.2) การสำรวจข้อมูลแปลงที่ดินใหม่ 2.3) การออกแบบบ้านพักอาศัยโดยชาวบ้าน 2.4) การประสานความร่วมมือการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ 2.5) การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย 2.6) การจัดการด้านสาธารณูปโภค 2.7) การจัดการด้านสิทธิในที่ดิน 2.8) การจัดการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) รูปแบบในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน พบว่ามี 3 รูปแบบ ดังนี้ 3.1) รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม 3.2) รูปแบบการจัดการโดยชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการและ 3.3) รูปแบบการจัดการโดยภาครัฐ</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/269259
แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษา บุรีรัมย์โมเดล
2024-01-02T15:37:05+07:00
จินตนา แมลงผึ้ง
jintanar.mal@gmail.com
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล
pairote.nida@gmail.com
<p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้บุรีรัมย์โมเดลในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ศึกษาสภาพปัจจุบันและผลกระทบต่อการพัฒนาจังหวัด และศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและแนวทางการขยายผลบุรีรัมย์โมเดลในพื้นที่อื่น ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีตัวแทนผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 20 ท่าน<br /> <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า พัฒนาการการนำกีฬาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการใช้บุรีรัมย์โมเดล สามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ การริเริ่มการเปลี่ยนแปลง การผลักดันให้เกิดความร่วมมือ และการประสบความสำเร็จในระดับสากล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาจังหวัดและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคมในพื้นที่ การจัดกิจกรรมงานอีเว้นท์ให้โดดเด่น สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคที่ปลอดภัย การสร้างจุดแลนด์มาร์กและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270108
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา
2024-02-23T15:24:32+07:00
เสรี บุญรัตน์
saree.b@tsu.ac.th
อรอนงค์ อำภา
saree.b@tsu.ac.th
วสันต์ กาญจนมุกดา
saree.b@tsu.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์แก่นสาระ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง/เชิงลึกตามแบบตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้ง 6 ด้าน<br /> <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.41 2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีคะแนนที่ 3.75 3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีคะแนนที่ 3.67 4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.03 5) ด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.46 6) ด้านการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการด้านการเข้าถึงตลาด และทำงานร่วมกับผู้ประกอบการนำเที่ยวภายนอก อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.59 โดยภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 70.71 ซึ่งอยู่ในระดับดี<br /> ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนควรมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว การบริหารจัดการเงินและบัญชี การรวบรวมข้อมูลด้านมรดกทางวัฒนธรรม การรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและจัดทำข้อตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการนำเที่ยวในการกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวสู่การขอรับรองเกณฑ์มาตรการท่องเที่ยวโดยชุมชน</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270844
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
2024-04-04T12:05:34+07:00
มณีกาญจน เขียวรัตน์
maneekarn.k@ubru.ac.th
วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด
maneekarn.k@ubru.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือน ซะซอมโฮมสเตย์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือนซะซอมโฮมสเตย์ จำนวน 80 ราย โดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือนซะซอมโฮมสเตย์ ตัวแทนองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว จำนวน 20 ราย โดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br /> <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า 1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี ด้านนวัตกรรมโฮมสเตย์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.82) ด้านเกณฑ์ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.84) บริบทของชุมชนมีความโดดเด่นทางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน 2) การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน พบว่า จุดแข็ง คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถจัดกิจกรรมรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลาย จุดอ่อน คือทักษะด้านภาษาของคนในชุมชน และขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลและพัฒนาการตลาดออนไลน์ โอกาส คือ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และอุปสรรค คือ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ดังนั้นในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนนั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือของชุมชนในการปฏิบัติตามนโยบาย ร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270888
รูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
2024-03-06T15:15:47+07:00
นีนาถ ศังขะศิลปิน
tt.studymode@gmail.com
ยุทธการ ไวยอาภา
tt.studymode@gmail.com
กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร
tt.studymode@gmail.com
กีรติ ตระการศิริวานิช
tt.studymode@gmail.com
<p> บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยการออกแบบบริการที่มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ สมาชิกชมรมการท่องเที่ยวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้ด้วยการสอบถาม สัมภาษณ์ พูดคุยและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ระหว่างผู้วิจัย นักวิชาการและชุมชน และประชุมเชิงปฏิบัติการ (focus group) หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้มาสร้างรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการออกแบบบริการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน<br /> <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่ารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านส่งเสริมการตลาด 3) ด้านบุคคล 4) ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ และ 5) ด้านสิ่งมีตัวตนที่มองเห็นได้</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273006
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุกในชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
2024-05-24T15:44:46+07:00
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ
schonlada2516@hotmail.com
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ
csansanee@tsu.ac.th
วราภรณ์ ทนงศักดิ์
csansanee@tsu.ac.th
สุภฎา คีรีรัฐนิคม
csansanee@tsu.ac.th
ทวีเดช ไชยนาพงษ์
csansanee@tsu.ac.th
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุกในชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนกลับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรชุมชน ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 28 คน ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริโภคน้ำพริกบางแก้วเมืองลุง จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการ วิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน<br /> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> ชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอเป็นชุมชนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่ชุมชนมีทรัพยากรสำคัญ ได้แก่ “ปลาดุก” จึงนำมาสู่แนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุก ในรูปแบบของ “ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก” จำนวน 3 รสชาติ ได้แก่ น้ำพริกปลาดุกสมุนไพร น้ำพริกปลาดุกฟู และน้ำพริกปลาดุกลุยสวน ภายใต้ตราสินค้า “น้ำพริกบางแก้ว เมืองลุง” โดยให้ความสำคัญกับแนวคิด “ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s” ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคประมวลโดยภาพรวม พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกฟู (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.57) และน้ำพริกปลาดุกสมุนไพร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และน้ำพริกปลาดุกลุยสวน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.44) อยู่ในระดับมาก สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกจะมีการพัฒนาและต่อยอดต่อไปบนฐานความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและทุนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มการทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในชุมชน และการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชุมชน</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270714
การรับรู้และการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ระหว่างเกษตรกรที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2024-03-13T14:34:01+07:00
จันทรรัตน์ เชื้อเมืองพาน
chantharat.cmu@gmail.com
กรวรรณ กฤตวรกาญจน์
chantharat.cmu@gmail.com
ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์
chantharat.cmu@gmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ และศึกษาแนวโน้มต่อการตัดสินใจปฏิบัติเกษตรทฤษฎีใหม่ในอนาคตของเกษตรกรตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐ 2 คน และเกษตรกรที่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 4 ราย และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างจากเกษตรกรที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ กลุ่มละ 55 ราย รวมทั้งสิ้น 110 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง<br /> <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ระดับของการรับรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่ในระดับเข้าใจที่สูงกว่าเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแหล่งของการรับรู้ข้อมูลของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม คือ แหล่งสื่อบุคคลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีโอกาสพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทุกวัน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่มีการสื่อสารกันภายในกลุ่ม โดยนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะญาติ กลุ่มเกษตรกร และคนในชุมชน อย่างไรก็ดี วิธีการสื่อสารของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ จะให้แกนนำและเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเปิดรับความรู้จากหลากหลายแหล่งข้อมูลแล้วนำไปวิเคราะห์ ทดลองก่อนนำมาขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่มีความตั้งใจขยายพื้นที่การเกษตรเพื่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ขณะที่เกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ มีแนวโน้มในการขยายพื้นที่และปฏิบัติตามแนวทางเกษตร ทฤษฎีใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.45 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่เนื่องจากเกษตรกรเล็งเห็นว่าพื้นที่การเกษตรไม่เหมาะต่อการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่จึงยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์