วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ <table width="624"> <tbody> <tr> <td width="624"> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์การบริหารกิจการสังคม และสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> 2. เพื่อให้บริการวิชาการเกี่ยวกับการเสนอทางออกในการแก้ปัญหาสังคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ</strong> </p> <p> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันและมิใช่สังกัดเดียวกับผู้นิพนธ์บทความ และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind Peer Review)</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong> </p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม</p> <p> ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> </td> </tr> </tbody> </table> วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ th-TH วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ 3027-6128 <p>ลิขสิทธิ์</p> กว่าจะได้มาซึ่งบัตรชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย: ประสบการณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270166 <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาประสบการณ์การได้รับบัตรชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่ในบ้านห้วยโข่งแข่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นประชากรไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหย่อมบ้านห้วยโป่งแข่และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวคิดระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของประชากรไทใหญ่ในหย่อมบ้านห้วยโป่งแข่มีความเกี่ยวข้องกับสร้างสานสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้ใหญ่บ้านและประชากรไทใหญ่ผ่านประสบการณ์การต่อรองและยุทธวิธีของประชากรไทใหญ่ที่ต้องประสบพบเจอต่างกันตามบริบทสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว</p> หฤทัยชนก คำใส Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 1 17 พัฒนาการทางความคิดของรัฐไทยที่มีต่อบุคคลออทิสติกสะท้อนผ่านกฎหมาย ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2560 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270287 <p>บทความนี้มุ่งสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลออทิสติกในประเทศไทยระหว่างปีพ.ศ. 2503-2560 รวมทั้งวิเคราะห์พัฒนาการทางความคิดที่รัฐไทยมีต่อบุคคลออทิสติกในช่วงเวลาดังกล่าวผ่านแนวคิดผู้มีสถานะรองและการจัดวางความคิดทางการเมือง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแนวทางการวิจัยเอกสาร ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างคำอธิบายในรูปแบบของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ข้อมูลหลักของการวิจัย คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้พิการ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบุคคลออทิสติก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ พัฒนาการทางความคิดของรัฐไทยที่มีต่อบุคคลออทิสติกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2503-2539) ยุครุ่งเรือง (พ.ศ. 2540-2550) และยุคแห่งการต่อสู้ (พ.ศ. 2551-2560) งานศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของคนออทิสติกรวมถึงคนพิการประเภทอื่นยังคงมีปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากรัฐและผู้มีอำนาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างและความหลากหลายของภาวะออทิซึม ประกอบการจัดวางความหมายของออทิซึมเชื่อมโยงกับปัญญาอ่อนส่งผลให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลออทิสติกถูกกดทับและกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรองในสังคม ดังนั้น รัฐและผู้มีอำนาจจะต้องทำความเข้าใจต่อสภาวะออทิซึมอย่างถูกต้อง แก้ไขกฎหมายและนโยบายเพื่อรองรับการใช้สิทธิอย่างรอบด้าน รวมทั้งประกอบสร้างความหมายใหม่ที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับบุคคลออทิสติก</p> ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 18 35 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น บ้านบางสวรรค์ ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270343 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและปัจจัยเสริมสร้างการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง และ 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ประชากรเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากตัวแทนกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนตำบลบ้านบางสวรรค์ที่สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 45 คน ใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นการวิเคราะห์เอกสารควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ (Appreciation Influence Control: AIC)</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า 1) บริบทพื้นที่บางสวรรค์เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพระแสง จังหวัด สุราษฎร์ธานี ภูมิประเทศเป็นพื้นที่เชิงเขา มีฝนตกมาก ประชากรทั้งสิ้น 5,295 ครัวเรือน การปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล มีงบประมาณบริหารในปี พ.ศ. 2566 เท่ากับ 11,348,400 บาท ระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเลี้ยงผึ้ง แกะสลักไม้ อาหารพื้นถิ่น สมุนไพร น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และกลุ่มเครื่องแกง ปัจจัยเสริมสร้างการจัดการเศรษฐกิจชุมชนนั้น ผู้นำกลุ่มจะต้องเป็นคนมุ่งมั่น น่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ โปร่งใสและเสียสละ การสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้เข้าร่วมกลุ่มจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเป้าหมาย กฎกติกาที่ใช้หลักการประนีประนอม การระดมทุนจะต้องเริ่มจากทรัพยากรที่มีในชุมชนที่ไม่ใช่ตัวเงินเป็นหลัก และการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเศรษฐกิจชุมชนประเภทที่ชุมชนร่วมกันทำ ได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้มแข็งและยั่งยืน ประเภทที่ชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ความรู้ความเข้าใจการประกอบอาชีพเกษตรแบบะครบวงจร และการปฏิบัติการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง หลักการแนวคิดและการปฏิบัติการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง และประเภทขอการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน อาชีพรองและอาชีพเสริม จัดการศึกษาดูงาน ตัวอย่างการจัดการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง</p> <p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a></p> อรุณ งาแก้ว ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ วิศาล ศรีมหาวโร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 36 52 การดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลกับการบริหารจัดการด้านสาธารสุขเชิงรุก ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268113 <p>บทความเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลกับการบริหารจัดการด้านสาธารสุขเชิงรุก ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาสภาพการดำรงอยู่ การทำงาน การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขชุมชนของแพทย์ประจำตำบล และเพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการทำงานการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขชุมชนของแพทย์ประจำตำบล</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>พบว่า ด้านการดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลมีการดำรงอยู่ผ่านการรับรู้และความเข้าใจของผู้นำชุมชน หน่วยงาน องค์กรประชาชน และการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่มีต่อสังคมของแพทย์ประจำตำบล รวมถึงการทำงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล มีผลงานในเชิงประจักษ์ภายใต้การมีแรงจูงใจในการทำงาน เพราะมีความพอใจในงานและความเป็นแพทย์ประจำตำบลด้วยที่แพทย์ประจำตำบลมีการทุ่มเทแรงกายแรงใจแรงพลังความคิดทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการทำงาน การบริหารจัดการและการพัฒนา ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านความมีอุดมการณ์ในการทำงานการมีอุดมการณ์ในการเป็นแพทย์ประจำตำบล และรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจัยทางด้านการมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ทางด้านวิชาการ การบริหารจัดการ การพัฒนา และการปฏิบัติงาน ปัจจัยทางด้านการได้รับโอกาสในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ เพราะเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ร่วมกับการได้รับการยอมรับจากประชาชน การได้รับการยกย่องชมเชยจากคนในสังคม ซึ่งนำมาซึ่งการยอมรับนับถือในวงสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมแรงทางบวกให้กับแพทย์ประจำตำบลด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพราะแพทย์ประจำตำบลมีความพึงพอใจต่องานและความเป็นแพทย์ประจำตำบล ตลอดจนการมีปัจจัยทางด้านความมีฐานความมั่นคงของครอบครัวมาสนับสนุนจึงทำให้การทำงานของแพทย์ประจำตำบลมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น</p> วัจฉลา บุญมาก ธรรมพร ตันตรา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 53 68 แนวทางการประยุกต์การประเมินผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/271738 <p>การศึกษาแนวทางการประยุกต์การประเมินผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การประยุกต์ และรูปแบบแนวทาง การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทย ตลอดจนวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแนวทางการส่งเสริม ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ ที่เหมาะสมในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ประยุกต์มาตรฐาน จำนวน 8 คน ซึ่งผู้วิจัยคัดเลือกจากองค์กรที่มีประสบการณ์ในการประยุกต์ และกลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ส่งเสริมพัฒนามาตรฐาน จำนวน 4 คน ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ระดับความเข้าใจและการนำไปสู่ภาคบังคับใช้ในวงกว้าง โดยการประยุกต์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในประเทศไทย มีการบูรณาการความร่วมมือและมีความเข้มแข็งในระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รูปแบบการประยุกต์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในประเทศไทยสอดคล้องกับ "LIST MODEL" ที่มี 4 มิติ 20 องค์ประกอบ ทั้งนี้รูปแบบการประยุกต์มีลักษณะเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการหลอมรวมศักยภาพ และการบูรณาการความร่วมมือในการสร้างคุณค่าร่วมที่ครอบคลุมทั้งมิติคุณค่าทางการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีการยึดโยงระหว่างความรับผิดชอบและความร่วมมือด้วยการกาหนดตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมร่วมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน</p> สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ ชลวิทย์ เจียรจิตต์ สันติ เติมประเสริฐสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 69 83 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270107 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการวิจัยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed- method research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 382 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants) จำนวน 12 คน และจัดทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong> ผลการศึกษา </strong>พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมขององค์การภาครัฐ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมขององค์การภาคเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 2) แนวทางการพัฒนาความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) ด้านการบริหารองค์การ องค์การควรเพิ่มด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการจัดการองค์การ (2) องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ มีแนวปฏิบัติการดำเนินการในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ดี และมีการประเมินผลและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ควรเพิ่มด้านการรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ขององค์การ จะทำให้การพัฒนาต่อในการนำความรู้ต่างๆ ขององค์การมาสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์การอย่างต่อเนื่อง</p> นิสรา ใจซื่อ วัชระวินภ์ คำเขียว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 84 101 การมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : พื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้าน เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/269256 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอย และเสนอแนวทางและมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้าน เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้าน จำนวน 357 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม โดยใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้การจัดสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล (Content Analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ย 2.86) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอย โดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาอาศัยในชุมชนบ้านเกาะล้าน รวมถึงปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอย ด้านเจตคติเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย พบว่า มีตัวแปรจำนวน 5 ตัวแปร ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนบ้านเกาะล้าน ได้แก่ พฤติกรรมของประชาชน มากที่สุด (Beta = 0.661) รองลงมาคือ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอย (Beta = -0.316) ระดับการศึกษา (Beta = 0.194) และเจตคติของประชาชน (Beta = -0.110) ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และตัวแปรอายุ (Beta = 0.132) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนบ้านเกาะล้าน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 49.90 (R<sup>2</sup> = 0.499)</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการเสนอแนวทางและมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้าน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ต้นทาง มาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดปริมาณขยะมูลฝอยและมีการคัดแยกขยะมูลฝอย 2) กลางทาง มาตรการเพิ่มศักยภาพการเก็บขน การจัดทำระบบเก็บขยะและขนส่งขยะที่มีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ขยะในพื้นที่ 3) ปลายทาง มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ</p> ดวงทิพย์ พวงดอกไม้ ประพนธ์ สหพัฒนา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 102 119 การพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานภาคี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268132 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง และหน่วยงานภาคี และสังเคราะห์องค์ความรู้ นวัตกรรม และการเรียนรู้จากการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบายโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง โดยกระบวนการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม การสังเคราะห์ ถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบาย</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า 1) ระบบบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบการจัดการความรู้ นวัตกรรม องค์ความรู้ (2) ระบบเครือข่ายสร้างและใช้นวัตกรรม องค์ความรู้ร่วมกับภาคี (เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์) และ (3) ระบบฐานข้อมูล สารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ โดยภาพรวมแต่ละระบบย่อยจะมีกลไกการบริหารจัดการแบบ PDCA เป็นพลวัตควบวงจรอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับพื้นที่และภาคีที่เป็นระบบหนุนเสริมการทำงานของระบบหลักให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีกลไกของพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงานที่บูรณาการกับงานปกติโดยมีหน่วยจัดการนวัตกรรมชุมชนของอปท.เป็นหลักเชื่อมกับทีมวิชาการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 2) ผลการเรียนรู้จากการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบาย ได้ต้นแบบการขับเคลื่อนระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับภาคี พร้อมคู่มือ เครื่องมือที่เป็นผลจากการถอดบทเรียนของมหาวิทยาลัยกับพื้นที่นำร่องในแต่ละภูมิภาคที่มีรูปธรรม เพื่อการต่อยอดและผลักดันสู่ระดับภูมิภาค และเกิดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในพื้นที่กับระบบข้อมูลสารสนเทศของสถาบันวิชาการเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกันของภาคีที่เกี่ยวข้อง</p> มณฑณ ศรีสุข จีรภา ดามัง ประพันธ์ แจ้งเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 120 135 ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/269658 <p>การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มารับบริการสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) สำหรับค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.69, <em>S.D.</em>=0.111) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.76, <em>S.D.</em>=0.221) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2) ผลของการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ศาสนา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอำเภอที่อยู่อาศัยต่างกัน มีความเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุ และประสบการณ์การมารับบริการในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพต่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วิสุทธิณี ธานีรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 136 153 การจัดการความพอเพียงทางอาหารของกลุ่มมังสวิรัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19: กรณีชุมชนมังสวิรัติวิถีธรรม ภูผาฟ้าน้ำ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273156 <p>บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความพอเพียงทางอาหาร และศึกษาการจัดการความพอเพียงทางอาหารของกลุ่มมังสวิรัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการควบคุมอุปทานการผลิตและอุปสงค์การบริโภคอาหาร ภายใต้มาตรการปิดพื้นที่ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 (พ.ศ. 2563-2565) โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม คัดเลือกประชากรแบบเจาะจงของชุมชนในและนอกพื้นที่ภูผาฟ้าน้ำ ชุมชนละ 70 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า ชุมชนในพื้นที่ภูผาฟ้าน้ำ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เดินทางมาจากพื้นที่อื่น ทำให้ขาดความคุ้นเคยกับสภาพพื้นที่และการทำการเกษตร ทั้งนี้ปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อความพอเพียงด้านอาหารของชุมชน ได้แก่ 1) ปัจจัยสืบเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 2) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และ 3) ปัจจัยด้านบริบทของพื้นที่สูง สำหรับการจัดการความพอเพียงอุปทานอาหาร ประกอบด้วย 1) การผลิตอาหารในชุมชนและการใช้วัตถุดิบธรรมชาติ 2) การจัดการอาหารจากแหล่งภายนอกและเครือข่าย และการจัดการความพอเพียงด้านอุปสงค์การบริโภคอาหาร ประกอบด้วย 1) การควบคุมและการลดการบริโภคตามความต้องการของจิตใจ (ลดความอยาก) ของสมาชิกในชุมชน 2) การบริโภคเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) ของการจัดการอุปทานและอุปสงค์ระหว่างชุมชนภายในและภายนอก โดยดัชนีสัดส่วนของอุปทานต่ออุปสงค์ของชุมชนมีค่าเท่ากับ 1.02 ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบการจัดการความพอเพียงทางอาหารของชุมชนมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ความสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับมาก ชุมชนภายในและภายนอกประเมินความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และระดับมาก ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การจัดการความพอเพียงทางอาหารที่เหมาะสมของชุมชนเป็นการจัดการอุปทานการผลิตให้มีปริมาณอาหารที่พอเพียงด้วยหลักการพึ่งตนเองและเครือข่าย และจำเป็นต้องมีการจัดการอุปสงค์ด้วยการลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทั้งในด้านอุปทานและอุปสงค์</p> จิรนันท์ ทับเนียม วัชรพงษ์ วัฒนกูล มนัส สุวรรณ ภัทรวุฒิ สมยานะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 154 174 กระบวนการมีส่วนร่วมในการนำหลักกสิกรรมธรรมชาติ สร้างสวนบำบัด สำหรับเด็กพิเศษผ่านภาคีเครือข่าย หลายภาคส่วน กรณีศึกษา ตำบลช้างน้อย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273555 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมสร้างสวนบำบัดผ่านหลักกสิกรรมธรรมชาติให้แก่เด็กพิเศษ 2) นำเสนอรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในการนำหลักกสิกรรมธรรมชาติสร้างสวนบำบัดให้เด็กพิเศษผ่านรูปแบบการพัฒนาสวนของชุมชน (Community gardens) ภายใต้แนวคิดการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG) ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research: PR) และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน ได้แก่ 1) ภาครัฐ (มหาวิทยาลัย) 2) เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ 3) ผู้ปกครอง 4) คุณครูประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 5) ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาและร้อยเรียงเรื่องราว</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า 1) กระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อริเริ่มกิจกรรมการสร้างสวนบำบัดให้แก่เด็กพิเศษนั้นเริ่มต้นด้วยทุกภาคีเครือข่ายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในบทสนทนาตั้งแต่ภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สอบถามถึงบริบทของพื้นที่และการจุดประเด็นการพัฒนาพื้นที่ ไปจนถึงการหาข้อสรุปหรือลงมือทำ ตลอดจนจัดทำสวนที่มาจากข้อสรุปของทุกฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันและมีการวางแผนทรัพยากรของแต่ละฝ่ายไว้ตั้งแต่ต้น 2) รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการวางบทบาทและการลงมือช่วยสร้างสวนบำบัดจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ภาครัฐ โรงเรียน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และชุมชนภายในพื้นที่ ผ่านการพัฒนาพื้นที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของของกิจกรรมที่ร่วมสร้างตลอดจนการสร้างสรรค์พืชที่แปลงผักนั้นให้เต็มไปด้วยแหล่งของการเรียนรู้พืชผักที่สามารถบริโภคได้ และการสร้างคลองขนาดเล็กหล่อเลี้ยงน้ำภายในแปลงผักบริเวณพื้นที่นั้น</p> ผกามาศ เลียงธนะฤกษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 175 191 การวิเคราะห์การดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทอผ้าตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/272346 <p>วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมาค่อนข้างรุนแรง แต่ยังคงมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแห่งที่สามารถดำเนินกิจการต่อได้อย่างยั่งยืน การได้ทราบถึงวิธีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน การดำเนินงานอย่างยั่งยืน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทอผ้าตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ร่วมกับเทคนิคการอภิปรายกลุ่ม กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (ρ)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่าสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.30) อายุเฉลี่ย 52.62 ปี สมรสแล้ว (ร้อยละ 67.30) สำเร็จการศึกษาในระดับประถม (ร้อยละ 34.00) มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 8,393.33 บาท ไม่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 56.00) และไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 63.30) เป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 3.64 ปี และเชื่อว่าผู้บริหารกลุ่มมีภาวะความเป็นผู้นำอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.47) อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจ (ร้อยละ 98.00) มีทัศนคติเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98) และมีความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่ได้รับในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.68) ในขณะที่มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) สำหรับการวิเคราะห์ AMOS พบแบบจำลองสมการโครงสร้างของปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยด้าน เศรษฐสังคมมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังพบ 3 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมคือ อายุ การเข้าร่วมอบรมด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐด้านการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีอายุมากขึ้น ได้รับการฝึกอบรมและการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐบ่อยครั้ง จะส่งผลให้มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในระดับที่สูงขึ้น</p> ธีรภัทร์ จุ่มปี๋ จักรพงษ์ พวงงามชื่น Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 192 210 ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/269996 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว บุคลากรจากองค์กรของรัฐ และภาคเอกชน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling Random) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 50-60 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมีอาชีพเกษตรกร ผลการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ด้านของการประเมินแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ด้านศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพในการบริหารจัดการ สามารถสรุปได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนครได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74.5 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาตรฐาน ดีมาก ตามการกำหนดระดับมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทราบถึงศักยภาพของของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหรือสิ่งดึงดูดใจทางวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร และสามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม</p> ชมพูนุท สมแสน ลินจง โพชารี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 211 227 กลยุทธ์การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวในอุทยานธรณีโลกสตูล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268650 <p>กลยุทธ์การพัฒนาตลาดท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล อยู่ภายใต้โครงการชุดวิจัยการพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 85 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลควรมีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ข้อ ได้แก่ 1) การปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่อุทยาน ธรณีโลกสตูลให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย 2) การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Business to Business และ Business to Customer 3) การสร้างภาพลักษณ์ (Brand Image) และสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว (2) การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และ (3) การสร้างภาพลักษณ์ Brand Image และสร้างการรับรู้ Brand Awareness</p> ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง ดนุวัศ สุวรรณวงศ์ อรอนงค์ เฉียบแหลม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 228 242 ศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268849 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ และ 2) กำหนดแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติภูสิงห์ และอุทยานแห่งชาติภูลังกา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัยคือสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตัวแทนจากภาครัฐ ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดบึงกาฬจำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้เลือกใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดบึงกาฬ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า 1) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬโดยรวมของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่ได้รับการประเมินศักยภาพ มากที่สุด คือ ด้านความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในอุทยาน/เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ด้านการเข้าถึง แหล่งท่องเที่ยวได้หลายเส้นทาง ด้านลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว ด้านข้อจำกัดในการรับรองนักท่องเที่ยว และน้อยที่สุดคือด้านแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวกปลอดภัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34, 4.12, 4.09, 4.05, 4.01 และ 3.84 ตามลำดับ 2) สำหรับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ สามารถกำหนดได้ดังนี้ คือ การจัดแพคเกจส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงหยุดยาวในสื่อดิจิตอล และผลักดันแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู เป็นปฏิทินท่องเที่ยวหลักของจังหวัดบึงกาฬ ใช้สื่อดิจิตอลและนำนวัตกรรมมาใช้ในงานบริการ ใช้คนที่มีชื่อเสียงมาเป็นแบรนด์ท่องเที่ยว ส่งเสริมรวมกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวครบวงจร หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก ชูนโยบายท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถท่องเที่ยวแบบเสมือนจริงด้วยตัวเองเพื่อจูงใจ พัฒนา OTOP ของฝากให้ครบทั้งของกินและของใช้เมื่อเที่ยวช่วงวันหยุดยาว</p> คเชนทร์ วัฒนะโกศล วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-29 2024-09-29 7 3 243 258