วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ <table width="624"> <tbody> <tr> <td width="624"> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์การบริหารกิจการสังคม และสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> 2. เพื่อให้บริการวิชาการเกี่ยวกับการเสนอทางออกในการแก้ปัญหาสังคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ</strong> </p> <p> บทความแต่ละบทความที่ตีพิมพ์จะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Doubleblind Peer Review)</p> </td> </tr> <tr> <td width="624"> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong> </p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม</p> <p> ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> </td> </tr> </tbody> </table> th-TH <p>ลิขสิทธิ์</p> [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี) [email protected] (นิตยา ไพยารมณ์) Sun, 31 Mar 2024 20:11:51 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบริหารงานรูปแบบใหม่ของเทศบาลนครนครสวรรค์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267169 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3) เพื่อวิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมโดยการวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาใช้ในการวิจัย</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong>ระดับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยภาพรวมอยู่ระดับน้อย (</span><img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.54, S.D.= 0.69) </span>สภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ 1) รูปแบบการสื่อสารและช่องทางการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 2) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมหรือการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 3) การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมและการจัดทำแผนการดำเนินงาน 4.การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน 5.การกำกับติดตาม และการประเมินผลการบริหารงานรูปแบบใหม่ของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) การแสดงความคิดเห็นและการติดตามรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์การ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ และการนำหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง การพัฒนา” เข้ามาดำเนินการติดตามประเมินผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์</p> <p> </p> วรรณมาฆะ เกษรดอกไม้ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267169 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐด้านการจัดการแก้ไขวิกฤตปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266595 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษากระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐในการจัดการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 2) ศึกษาความท้าทายและแนวทางการพัฒนาของการดำเนินงานแบบบริหารปกครองแบบร่วมมือกันในการจัดการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสาร มาตรการแต่ละช่วงและหนังสือสั่งการทางราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เป็นบุคคลเกี่ยวข้องต่อกิจกรรมหรือการดำเนินงานโดยตรง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ของ Ansell &amp; Gash (2007) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) กระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐที่เกิดขึ้นในเรือนจำ ประกอบด้วย 4 ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดวงจรกระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน ซึ่งมีตัวแปรหลัก ดังนี้ ตัวแปรที่ 1 ปัจจัยเริ่มต้นในการบริหารปกครองร่วมกัน โดยปัจจัยนี้เกิดจากสาเหตุหลายด้านที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม ประกอบด้วย 1.1 ปัจจัยสถานการณ์ที่รุนแรงเฉียบพลัน 1.2 ปัจจัยด้านนโยบายของหน่วยงานราชทัณฑ์ 1.3 ปัจจัยด้านศักยภาพและทรัพยากรของหน่วยงาน 1.4 ปัจจัยบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ1.5 ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานร่วมกันในอดีต ตัวแปรที่ 2 การออกแบบโครงสร้างสถาบัน ตัวแปรที่ 3 บทบาทผู้นำในการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน และตัวแปรที่ 4 กระบวนการบริหารปกครอง ซึ่งองค์ประกอบย่อยในตัวแปรนี้ประกอบด้วย 4.1 การเข้าร่วมการประชุมหรือการวางแผน 4.2 การสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกัน 4.3 การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน 4.4 การสร้างความเข้าใจ และ 4.5 การประเมินหรือการติดตามผลเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้ ผลลัพธ์การดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายตามที่หน่วยงานราชทัณฑ์ส่วนกลางกำหนดไว้ ในเรื่องของการควบคุมการแพร่ระบาดโรคได้สำเร็จตามมาตรการควบคุมโรค คือ 1.ควบคุมการติดเชื้อในเรือนจำและป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อออกสู่สังคมภายนอก 2. การรักษาพยาบาลให้มีอัตราการเสียชีวิตน้อยที่สุด</p> <p>2) ความท้าทายและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานในเรือนจำร่วมกัน ประกอบด้วยกฎระเบียบของหน่วยงานในเรื่องความปลอดภัย ลำดับต่อมา คือ ทัศนคติของสังคมภายนอกต่อศักยภาพขององค์กรในการจัดการโรคอุบัติใหม่ และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ องค์ความรู้ในการศึกษา พบว่า การบริหารการปกครองแบบร่วมมือกันที่เกิดขึ้นในเรือนจำ มีโครงสร้างการทำงานลักษณะพิเศษมาใช้ในระบบงานและตัวแสดงของผู้นำในการขับเคลื่อนภารกิจมีมากกว่าหนึ่งตัวแสดง</p> ณัฐพร อินทะกันฑ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266595 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 กรอบโครงความคิดของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการทำแท้งปลอดภัย และถูกกฎหมายในประเทศไทย พ.ศ.2550-2564 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266953 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์การสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการทำแท้งปลอดภัยและถูกกฎหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 โดยการต่อสู้ในเรื่องของ “การทำแท้ง” นอกจากจะเป็นการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ต้องการทำแท้งสามารถเข้าสู่บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมายแล้ว การต่อสู้ในประเด็นนี้ยังเป็นการต่อสู้เชิงความหมายและวาทกรรม ซึ่งแกนนำหรือนักกิจกรรมในขบวนการเคลื่อนไหวมีหน้าที่ประกอบสร้างกรอบโครงความคิด เพื่อเป็นการสร้างชุดความหมายใหม่ของการทำแท้ง ภายใต้ฐานคิดและอุดมการณ์เรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และสิทธิที่จะเลือก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักกิจกรรมขององค์กรเคลื่อนไหว</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> กรอบโครงความคิดแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประเด็นกฎหมาย ประเด็นนโยบาย และประเด็นวัฒนธรรม กรอบโครงความคิดหลัก คือกรอบยุติธรรม แม้ว่าองค์กรเคลื่อนไหวจะมีรูปแบบกิจกรรม สมาชิกในองค์การ และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันแต่ก็เป็นความแตกต่างอย่างสอดประสาน นอกจากนั้นยังมีการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อยืนยันความชอบธรรมของกรอบโครงความคิด การผลักดันสิทธิทำแท้งปลอดภัยและถูกกฎหมาย และการสร้างความหมายใหม่ให้กับการทำแท้งมีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเด็นทำแท้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและความเชื่อที่ผู้คนได้รับการปลูกฝังมาอย่างยาวนาน</p> ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร, วัชรพล พุทธรักษา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266953 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265434 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) การตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ เพศ สถานภาพ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง คุณสมบัติของผู้สมัคร นโยบายของผู้สมัคร พรรคการเมืองที่ ส.ส. สังกัด การหาเสียงและประชาสัมพันธ์ และหัวคะแนนของผู้สมัคร และส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และผลประโยชน์หรือผลตอบแทน</p> กรวิทย์ เกาะกลาง, วัฒนา นนทชิต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265434 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267024 <p>บทความนี้วิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนที่เกี่ยวกับช่องทางการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ 2) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาหาแนวทาง ที่เหมาะสมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งแบบบูรณาการเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 82 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>ผู้นำชุมชนทั้ง ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนมีการใช้เทคโนโลยีสนสนเทศระบบสื่อสารเป็นส่วนมาก แต่ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนมากนัก ปัจจัยเข้ามาสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคือ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ค่านิยม ความทันสมัย คุณประโยชน์ต่อการทำงาน และการมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน ส่วนแนวทางที่เหมาะสมนั้นประกอบด้วย 1) ควรสร้างผู้นำชุมชนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยควรออกระเบียบกฎหมายจัดสรรงบประมาณ อบรมสัมมนา 3) สถาบันการศึกษาควรจัดบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ชุมชน 4)ผู้นำชุมชนควรพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง 5) อำเภอควรใช้เวทีประชุมประจำเดือนให้ความรู้เพิ่มทักษะประสบการณ์ 6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นเจ้าภาพหลักพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในชุมชน 7) ทุกหน่วยงานองค์กรภาครัฐควรสนองตอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 8) ควรมีการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกลุ่มผู้นำทุกภาคส่วน</p> <p> </p> ปณยา ลอยมี, ธรรมพร ตันตรา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267024 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266358 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพย่านสร้างสรรค์ของชุมชน 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก 3) ถ่ายทอดรูปแบบนวัตกรรมและการประเมินความรู้ เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 200 คน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน </p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) ศักยภาพย่านสร้างสรรค์ของชุมชนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านกายภาพ และด้านการจัดการ ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “ECAP Model” มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) E= Environment (สภาพแวดล้อม) (2) C= Culture (วัฒนธรรม) (3) A= activity (กิจกรรม) และ (4) P= Person and Community (คนและชุมชน) ซึ่งมีองค์ประกอบร่วม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพบนฐานทุนทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นผนวกกับจุดแข็งทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างหลากหลายของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนฐานราก องค์ประกอบที่ 2 ยกระดับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่ามาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวกับสินค้าและกิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชน ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้แก่คนในท้องถิ่น องค์ประกอบที่ 3 ขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์จากทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถทำความเข้าใจคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ องค์ประกอบที่ 4 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกันภายในชุมชนให้มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ สามารถดึงคนสร้างสรรค์มาเข้าร่วมคิดต่อยอดเพื่อสานต่อเอกลักษณ์ย่านชุมชนให้โดดเด่นมากขึ้น และ 3) การประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายจากการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนการอบรมก่อนทดสอบอยู่ในระดับกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก</p> พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี, พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร, รัตติกร ชาญชำนิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266358 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266372 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัยได้แก่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 300 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) ทุนทางพระพุทธศาสนาของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนธรรม ศาสนบุคคล และศาสนพิธี ส่วนทุนทางวัฒนธรรมประกอบ ด้วยแหล่งการเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระบบคุณค่า ค่านิยม ความเชื่อและความศรัทธาของชุมชน สภาพแวดล้อมทางกายภาพและบริบทเชิงพื้นที่ และผลิตภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ 2) แนวทางการจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ควรรื้อฟื้นวัฒนธรรมของชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเลือนหายไป สืบทอดทุนชุมชนให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปในสังคมผ่านการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเรียนรู้และการปลูกฝังจิตสำนึก ปรับประยุกต์เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้กลยุทธ์ความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น จัดสภาพชุมชนให้มีความพร้อมโดยยกระดับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกเห็นคุณค่าในทุนทางศาสนาและวัฒนธรรม นำเรื่องราวของบุคคลสำคัญ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่เรื่องเล่าขานสืบต่อกันจนเป็นตำนาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน จัดให้มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในท้องถิ่น เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลของทุนชุมชนด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้ยอมรับและเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม </p> พระมหาสกุล มหาวีโร, พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี, วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266372 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืน ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268982 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม พื้นที่วิจัยคือ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาทะเลสาบสงขลาในการดำรงชีพ แต่ทะเลสาบสงขลาในปัจจุบันเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามใช้วิธีจัดเวทีชุมชนและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (เมษายน – พฤศจิกายน 2566)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>เจตนารมณ์สำคัญในการจัดทำธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนของตำบลนาปะขอ คือ เพื่อสร้างจิตสำนึกและเป็นข้อตกลงร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของทรัพยากรสัตว์น้ำและชายฝั่ง โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลา สาระสำคัญของธรรมนูญชุมชนมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา 2) ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน 3) ด้านการจัดการมลพิษ และภัยคุกคามจากมนุษย์ 4) ด้านการเสริมพลังอาสาสมัคร การจัดตั้งกลุ่มและสร้างเครือข่าย 5) ด้านการเสริมพลังสิทธิชุมชนเพื่อการสืบสาน รักษา ต่อยอด อาชีพ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนประมง และ 6) ด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งตำบลนาปะขอใช้คณะกรรมการประจำตำบล เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ทำให้ธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนสามารถเป็นเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทะเลสาบสงขลาได้</p> ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, วราภรณ์ ทนงศักดิ์, สุภฎา คีรีรัฐนิคม, ทวีเดช ไชยนาพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268982 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดทำกิจกรรมโครงการสนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นฐานรองรับทำประโยชน์สาธารณะ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265516 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินระบบโครงการสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยต่อผลผลิตโครงการระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 3) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดทำโครงการเพื่อเป็นฐานรองรับการทำประโยชน์สาธารณะ ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มย่อย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 92 คน ได้แก่ บุคลากรค่ายมวยบัญชาเมฆ ประชาชนตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และผู้นำภาคประชาสังคม</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong>โครงการมีการจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนเส้นทางธรรมชาติอุทยานศรีลานนา เส้นทางระบบชลประทานเขื่อนแม่งัด และการจัดแข่งขันชกมวยไทย ผลการประเมินโครงการพบว่า ด้านผลผลิต (Output) คือ ทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจ โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบัวขาววิลเลจและชุมชน ประชาชนในพื้นที่บ้านเป้าหันมาให้ความสนใจในการออกกำลังกาย ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ตามลำดับ ด้านผลลัพธ์ (Outcome) ทำให้บัวขาววิลเลจและชุมชนบ้านเป้าเป็นที่รู้จักของคนไทยและคนต่างชาติ และได้เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ในชุมชน เกิดความร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์และสานสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน นำเงินรายได้จากการจัดงานมาสนับสนุนกิจการสาธารณกุศลในพื้นที่ และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวในพื้นที่ตำบลบ้านเป้ามากขึ้นตามลำดับ ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่าทำให้หลายภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญกับทุนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจพื้นที่บ้านเป้ามากขึ้น เกิดอาชีพใหม่ให้กับชุมชนมากขึ้นและทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น ตามลำดับ</p> <p>ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตของ ได้แก่ เหตุผลความจำเป็น การวางแผนโครงการ และภาคส่วนความร่วมมือ โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุเท่ากับ 0.39 0.29 และ 0.20 ตามลำดับ คือ 1) ด้านเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ คือ เป็นโครงการที่ใช้โอกาสจากจุดแข็งของพลังละมุนทุนมนุษย์ คือ รต.สมบัติ บัญชาเมฆ (บัวขาว) เป็นเจ้าของโครงการ สอดคล้องกับจุดแข็งของชุมชนที่มีทุนธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และความต้องการการพัฒนาของผู้นำและประชาชน คือ ประชาสัมพันธ์พื้นที่ การพัฒนาการท่องเที่ยว และการพัฒนาวิสาหกิจรองรับการท่องเที่ยว สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมด้านกีฬา การอนุรักษ์ธรรมชาติและการท่องเที่ยว เป็นโครงการที่สนับสนุนในการสร้างความร่วมมือของหลายภาคส่วนในพื้นที่ 2) ด้านการวางแผนโครงการพบว่ามีการประชุมเพื่อระดมสมองในการวางแผนโครงการ ได้กำหนดโครงการให้มีความเหมาะสม มีการประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือภาคส่วนในการจัดทำโครงการ กำหนดแผนตารางเวลา ระยะเวลาในการนำโครงการสู่การปฏิบัติงานอย่างชัดเจน เป็นโครงการที่มีการเขียนโครงการ ได้แก่ การเขียนหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการมีความเหมาะสม และ 3) ด้านภาคส่วนความร่วมมือ โครงการได้รับการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม </p> ประวิทย์ สวัสดิรักษา, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265516 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษาการเกษตรอาหารปลอดภัยและศิลปวัฒนธรรมมวยไทยตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265519 <p>การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษา การเกษตรอาหารปลอดภัย และศิลปวัฒนธรรมมวยไทย ตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม 2) เพื่อนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการฯสู่การปฏิบัติ โดยการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาและการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ พบว่า การยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษา การเกษตรอาหารปลอดภัย และศิลปวัฒนธรรมมวยไทย ตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุนในการพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับทิศทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวด้วยพลังละมุน 5F และเป็นโครงการที่พัฒนาบนจุดแข็งและโอกาสประเทศไทย คือ บัวขาวเป็นนักมวยมีศักยภาพและชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมมวยไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีทุนธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีชื่อเสียงการผลิตอาหารเลี้ยงโลก โครงการทำธุรกิจเพื่อสังคมช่วยปัญหาลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโครงการมีความเป็นไปได้ในการลงทุน</p> สมบัติ บัญชาเมฆ, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/265519 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการขยายผลสู่ชุมชน กรณีศูนย์เรียนรู้ฮอมบุญอโศก บ้านป่าไผ่ ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267403 <p>การวิจัยแบบผสมผสานในการจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการขยายผลสู่ชุมชนที่ศูนย์เรียนรู้ฮอมบุญอโศก จังหวัดแพร่ ด้วยการ ถอดบทเรียนโดยผู้วิจัย แบบสอบถามและบทสัมภาษณ์กับเกษตรกรที่ศูนย์เรียนรู้ฯ 17 คนและ ผู้เข้ารับการอบรมที่ศูนย์เรียนรู้ฯ 226 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>เกษตรกรรุ่นบุกเบิกพบปัญหาเกี่ยวกับการขาดความรู้ด้านการ จัดการเกษตร การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ดินเสื่อมโทรมและไม่มีความมั่นคงในอาชีพ เมื่อผู้นำชุมชนน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้แก่ 1) เปลี่ยนจากแสวงหาความร่ำรวยเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรม 2) เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืชผสมผสานที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยง 3) เพิ่มความหลากหลายทางสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นเพื่อความพอเพียงด้านแหล่งอาหาร 4) พัฒนาแหล่งน้ำซับในรูปสระพวงตามแนวที่ราบเชิงเขาและเชื่อมต่อเป็นระบบประปาภูเขาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านแหล่งน้ำ หลังจากดำเนินงานกว่า 20 ปี ศูนย์เรียนรู้ฯ มีกิจกรรมการเกษตรที่เหมาะสมและพอเพียง ผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติของผู้รับการอบรมด้วยวิธีแมคนีมาร์พบว่าผู้รับการอบรมได้ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในพื้นที่ของตนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ในด้านการจัดการดิน น้ำ และป่าไม้ การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการทรัพยากรของศูนย์เรียนรู้ ฯ พบว่าเหมาะสมมากในด้านเศรษฐกิจ (4.44 ± 0.67) สังคม (4.92 ± 0.68) และสิ่งแวดล้อม (4.39 ± 0.71) แสดงให้เห็นว่าการจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถพลิกฟื้นพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างพอเพียงเหมาะสมกับบุคคลและชุมชน</p> อำนวย คลี่ใบ, วัชรพงษ์ วัฒนกูล, มนัส สุวรรณ, ภัทรวุฒิ สมยานะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267403 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางและสภาพการจัดการที่ดินอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267269 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการที่ดินอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการที่ดินโดยชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและผสานกับเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ เก็บข้อมูลโดยการเก็บแบบสอบถามในระดับครัวเรือน การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย</p> <p><strong>จากการศึกษาพบว่า </strong>มีปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชนที่ส่งผลมากที่สุดอยู่ 2 ปัจจัย ดังนี้ คือ 1) การวางแผนการเงินในครัวเรือนกับสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชนโดยเฉพาะ 2) รูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกับสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชน ทำให้ไม่ทราบถึงถึงอนาคตของการใช้ที่ดินตนเอง ด้านตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดิน คือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการประเมินผล โดยชาวบ้านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางมีแนวโน้มไปทางน้อย แนวทางการพัฒนาการจัดการที่ดินโดยชุมชน ด้านกฎหมาย คือ คือควรมีการออกกฎหมายเฉพาะในการจัดการปัญหาที่ดินของชุมชนและควรมีการจัดการอบรมให้ความรู้กฎหมาย ด้านการมีส่วนร่วม มีวางแผนการยกระดับให้ชาวบ้านเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบกระบวนการติดตามผลเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากกระบวนการมีส่วนร่วม</p> สยาม ราชวัตร, จรินทิพย์ ตรัยตรึงตรีคูณ, ฐากูร ข่าขันมะลี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/267269 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษารูปแบบการบริหารการเงินของธุรกิจ (SMEs) ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266172 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารเงินและการจัดการทางการเงินของผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อสร้างรูปแบบของการบริหารการเงินของธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในความส่งเสริมของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2562-2563 จำนวน 140 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการทางการเงินด้านการวางแผนทางการเงินที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการบริหารทางการเงิน ขาดระบบในการดำเนินธุรกิจตามหลักวิชาการ มีแบบฟอร์มในการบันทึกบัญชีในการบริหารการเงินที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไป จากผลการศึกษาข้างต้นได้นําไปสู่รูปแบบในการบริหารการเงินโดยออกแบบรูปแบบสมุดบัญชีจำนวน 6 บัญชี ประกอบด้วย 1) สมุดบัญชีรายรับ 2) สมุดบัญชีรายจ่าย 3) สมุดบัญชีคุมสินค้า 4) สมุดบัญชีคุมวัตถุดิบ 5) สมุดงบต้นทุนสินค้า 6) สมุดงบกำไรขาดทุน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ SMEs ในการออกแบบรูปแบบสมุดบัญชีในการบันทึกบัญชีเพื่อให้ตรงกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ได้จริงในกิจการและทำให้สามารถวางแผนทางการเงินได้</p> บุปผา คำนวน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266172 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงกรณีศึกษาสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266578 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและความคิดเห็น รวมถึงระดับความสำคัญและความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ปัจจัยด้านความจงรักภักดีของลูกค้า และปัจจัยด้านการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ ของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงและครอบครัวของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงที่มีต่อเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ของปัจจัยแต่ละปัจจัยของตัวแปร ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงและครอบครัวของผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงที่มีต่อเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิงด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบถดถอยพหูคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 15 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบเฉพาะเจาะจง ตามลำดับ พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา โดยใช้การตีความ เปรียบเทียบ และอธิบายความสัมพันธ์</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความพึงพอใจ และปัจจัยด้านความจงรักภักดีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ซ้ำ หรือ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือ ยอมรับสมมติฐานที่ 1 สมมติฐานที่ 2 และสมมติฐานที่ 4 ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงของเนิร์สซิ่งโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ซ้ำ หรือ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการซ้ำ หรือ ปฏิเสธสมมติฐานที่ 3</p> กรรณิการ์ วิฑูรย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/266578 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268150 <p>องค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่ทุกคนปรารถนาเปรียบเสมือนครอบครัวและบ้านหลังที่สองที่จะต้องใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่การงาน โดยนำสิ่งตอบแทนจากองค์กรแห่งความสุขมาสนับสนุนครอบครัวและบ้านหลังที่หนึ่งในการดำเนินชีวิตตามสถานภาพครอบครัว องค์กรแห่งความสุขจึงเป็นเสาหลักสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความตระหนักควบคู่กับการพัฒนาประเทศเพื่อลดอัตราการลาออกกลางคัน การว่างงาน ฯ ตลอดจนปัญหาทางทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ บทความนี้ จึงได้ศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย การพัฒนาองค์กร, กระบวนการพัฒนาองค์กร, องค์กรแห่งความสุข, และการขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุข โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข และเสริมสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า</strong> กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข เป็นการบูรณาร่วมกันระหว่างกระบวนการพัฒนาองค์กรในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์กรกับการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขเพื่อให้คนทำงานมีความสุข สถานที่ทำงานน่าอยู่ และสมานฉันท์ องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาบทความนี้ ทำให้ทราบว่าในกระบวนการพัฒนาองค์กร ควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขควบคู่กับการมุ่งเน้นบรรลุเป้าหมายในปัจจัยการผลิตหรือผลการปฏิบัติงาน และควรมีระบบกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจนแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและบุคลากรเพื่อให้เกิดสมดุลในการพัฒนา</p> <p> </p> พระครูประภาต ปัญญาธร, พระครูโกวิท บุญเขต, พระใบฏีกา ธวัชชัย จรณธมฺโม, อำนาจ ทาปิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268150 Sun, 31 Mar 2024 00:00:00 +0700