https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/issue/feed วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2024-06-19T17:39:10+07:00 ศาสตราจารย์ พลเรือตรีหญิง ยุวดี เปรมวิชัย yuwatisit@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>Focus and Scope</strong></p> <p>วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ ทั้งบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวกับ</p> <ul> <li class="show">ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities)</li> <li class="show">ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ และบัญชี (Business, Management and Accounting)</li> <li class="show">ด้านสังคมศาสตร์(Social Sciences)</li> </ul> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p>บทความทุกบทความผ่านการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (Double Blind)</p> <p> </p> <p><strong>Publication Charge</strong></p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความลงในวารสาร 4,000 บาทต่อ 1 บทความ (เป็นไปตามประกาศฯของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก) <a href="https://drive.google.com/file/d/1T_EOy639a6QPl_-1q6QVTXmnjmnzr4kt/view?usp=drive_link">Click</a></p> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency</strong></p> <p>กําหนดการเผยแพร่ : กําหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>Sources of Support</strong></p> <p>ประสานงานการผลิตและเผยแพร่ : กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก</p> <p>สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02-744 7356 - 65 ต่อ 186,187 e-mail : sbjournal@southeast.ac.th</p> <p> </p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/267616 ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลอาญาพระโขนง 2023-09-18T15:34:49+07:00 สมฤทัย แก้วใจ somruthai04@gmail.com อำพล นววงศ์เสถียร n_ampol@yahoo.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลอาญาพระโขนง และ 2) เปรียบเทียบระดับของความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลอาญาพระโขนง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานะของผู้มาติดต่อราชการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการที่มาติดต่อราชการศาลอาญาพระโขนง จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลอาญาพระโขนงในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้ใจได้ รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ และด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ 2) ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานะของผู้มาติดต่อราชการต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลอาญาพระโขนง ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/267545 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา 2023-11-21T16:33:49+07:00 ชนม์ธิดา ยศปัน chontida@sbu.southeast.ac.th ฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์ nittaya_g@southeast.ac.th ประสงค์ อุทัย prasong_mn@thonburi-u.ac.th จุมพล ขอบขำ chumphon@thonburi-u.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำที่ส่งผลถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวจังหวัดพังงาจำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ประกอบด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง (Structural Model) และการวิเคราะห์แบบจำลองการวัด (Measurement Model) ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจังหวัดพังงามากที่สุด รองลงมา คือ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ 2) โครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงาประกอบไปด้วย ปัจจัยศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว แรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ และภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว โดยโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ ได้แก่ ค่า/df = 1.227, P-value = 0.055, CFI = 0.936, GFI = 0.951, AGFI = 0.922, RMSEA 0.028 และ RMR = 0.011 พบว่า ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ ส่งผลถึงการท่องเที่ยวจังหวัดพังงาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.001 ตามลำดับ</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270049 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรในศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 2024-01-15T14:53:37+07:00 สมิตา ยะคะเรศ icesmita@gmail.com สิทธิชัย ฝรั่งทอง icesmita@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จำนวน 220 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากค่ามาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการ จัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุและระดับชั้นยศต่างกัน มีการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วน เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต่างกัน ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพแบบเจาะลึกถึงมูลเหตุที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดการค้นพบปัจจัยใหม่ ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมใหม่อาจมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งการพัฒนาแบตเตอรี่ กักเก็บพลังงาน สถานีพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ความแตกต่าง ด้านการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละตราสินค้า เป็นต้น รวมถึงศึกษาปัจจัยนำมาใช้ในการวางแผนกำหนดแนวทางในการดำเนินการทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/268514 กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง 2023-11-21T16:19:34+07:00 สมบัติ บุญประธรรม sombat.bun@kbu.ac.th <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคเดลฟาย ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และสังเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านโซเชียลแบงค์กิ้ง จำนวน 17 คน โดยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) กลยุทธ์องค์การนวัตกรรม 2) กลยุทธ์องค์การแห่งการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์วัฒนธรรมองค์การมุ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย 4) กลยุทธ์ประสิทธิภาพการสื่อสารภายใน 5) กลยุทธ์องค์การยืดหยุ่นการเปลี่ยนแปลง 6) กลยุทธ์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 7) กลยุทธ์ส่งเสริมบุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดการองค์การ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการให้บริการทางการเงินในรูปแบบเงินสดผ่านตัวกลาง และการเงินดิจิทัล ผสานร่วมกับสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ และยกระดับการพัฒนาการเงินอิสลาม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งบริการทางตามหลักการของศาสนาอิสลามได้อย่างทั่วถึง</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270206 NEEDS ANALYSIS OF ENGLISH SKILLS AND INTERCULTURAL COMPETENCE IN INTERCULTURAL COMMUNICATION OF THAI STUDENT TRAINEES AT A THAI AIRPORT 2024-03-11T15:06:49+07:00 อามีนี สะอีดี amini.s@psu.ac.th แบร์ พิตต์พันธุ์ bair@tsu.ac.th <p>สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยได้ผลักดันหลักสูตรสหกิจศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีการผนวกแผนการเรียนของมหาวิทยาลัยกับการทำงานจริงเข้าด้วยกันเพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบอิงการทำงานจริงให้กับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา โดยหลักสูตรดังกล่าวนับเป็นความท้าทายต่อผู้เรียนที่เข้าฝึกงานในองค์กรระดับนานาชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในบริบทดังกล่าว ไม่เพียงแต่ภาษาอังกฤษที่มีความจำเป็น สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญอีกด้วย ดังนั้น การวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการค้นหาและวิเคราะห์ความต้องการทักษะภาษาอังกฤษและสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรม อาสาสมัครของโครงการวิจัยนี้ประกอบด้วยนักศึกษาฝึกงานด้านสายการบินจำนวน 80 คนที่ปฏิบัติงาน ณ สนามบินในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในการคำนวณข้อมูลและใช้การวิเคราะห์แบบตีความข้อมูลเพื่อตีความข้อมูลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครมีความต้องการทักษะภาษาอังกฤษในระดับมาก โดยต้องการทักษะการพูดมากที่สุด ตามมาด้วยทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน นอกจากนี้อาสาสมัครมีความต้องการสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมในระดับมากที่สุด โดยต้องการสมรรถนะด้านทัศคติมากที่สุด ตามมาด้วยความรู้ระหว่างวัฒนธรรม ความตระหนักรู้ และทักษะระหว่างวัฒนธรรม ผลการวิจัยนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจเรื่องความต้องการทักษะภาษาอังกฤษและสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและหลักสูตรสหกิจศึกษา โดยมุ่งหวังให้บุคลากรด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้รับแนวคิดสำคัญในการผสมผสานเนื้อหาการเรียนภาษาอังกฤษกับเนื้อหาระหว่างวัฒนธรรม และออกแบบรายวิชาที่เหมาะสมที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและการฝึกงาน</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270419 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รายวิชา 100212 มารยาทในการสื่อสารสากล 2024-03-19T09:35:14+07:00 อนุชิต เพ็งบุปผา aj.notdekthai@gmail.com นวพร บุญประสม nawaporn@southeast.ac.th กันตชาติ เมธาโชติมณีกุล kantachart48@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติ ด้านความรู้ ด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2) ศึกษาพฤติกรรม ด้านความรู้ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นงานวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่ลงเรียนในรายวิชา 100212 มารยาทในการสื่อสารสากล ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยมีวิเคราะห์ผลทางสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์จากค่าสัมประสิทธิ์ Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติ ด้านความรู้ ด้านความรู้สึกและ</p> <p>ด้านพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อยู่ในระดับความคิดเห็น มากที่สุด (= 4.51, sd. = 0.63) 2) พฤติกรรม ด้านความรู้ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อยู่ในระดับความคิดเห็น มาก (= 4.33, sd. = 0.76) และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันฯ เท่ากับ 0.951 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันฯ เท่ากับ 0.915 อยู่ในเกณฑ์ระดับความสัมพันธ์เชิงบวก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/268847 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารที่มากเกินความจำเป็น จากการใช้แอปพลิเคชันส่งอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-03-19T09:20:31+07:00 รมยพร กิติเวียง romyaporn.kit@rmutr.ac.th จุฑามาศ วงค์กันทรากร jutamas.won@rmutr.ac.th ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย thanomsak.suw@rmutr.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารที่มากเกินความจำเป็น จากการใช้แอปพลิเคชันส่งอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและทฤษฎีการให้เหตุผลเชิงพฤติกรรม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 464 คน จากผู้ใช้แอปพลิเคชันส่งอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยแบ่งกลุ่มตามช่วงอายุและความถี่ในการใช้บริการ เพื่อตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารที่มากเกินความจำเป็นจากการใช้แอปพลิเคชันส่งอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง จิตสำนึกด้านสุขอนามัย ความเชื่อมั่น ปัญหาด้านคุณภาพ ความคุ้มค่าด้านราคา แรงจูงใจด้านความสะดวก บรรทัดฐานทางจริยธรรม และปัญหาด้านแพลตฟอร์ม ซึ่งกลุ่มผู้บริโภค Gen Z (อายุน้อยกว่า 25 ปี) และ Gen Y (อายุ 25 - 39 ปี) ให้ความสำคัญกับการรับรู้ความรุนแรง จิตสำนึกด้านสุขอนามัย และบรรทัดฐานทางจริยธรรม มากกว่าปัจจัยอื่น และกลุ่มผู้บริโภคที่มีการใช้งานมากกว่า 10 ครั้ง/เดือนให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความคุ้มค่าด้านราคา ปัจจัยด้านบรรทัดฐานทางจริยธรรม และปัจจัยด้านความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าปัจจัยอื่น ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การพัฒนาแพลตฟอร์ม การวางแผนกลยุทธ์ด้านราคา รวมถึงการพัฒนาด้านการบริการ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/271777 ปัญหาการเรียกชื่อกฎหมายไทย 2024-03-21T16:14:58+07:00 พรรณรัตน์ โสธรประภากร tuk3399@hotmail.com วรลักษณ์ ชูฤทธิ์ voraluk_rbru@hotmail.com ตวงพร อานันทศิริเกียรติ taunporn@cas.ac.th กิจบดี ก้องเบญจภุช Kijbodi@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชื่อของ “กฎหมาย” และ “กฎ” ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยมีการบัญญัติกฎหมายและกฎในชื่ออะไรบ้าง มีความเหมือนหรือแตกต่างจากกฎหมาย และกฎตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือไม่อย่างไร อีกทั้ง เพื่อทราบว่าตำรา เอกสารทางวิชาการ หนังสือ รวมทั้งเอกสารประกอบการสอน ที่ปรากฏอยู่เป็นสาธารณะ เรียกชื่อกฎหมายถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า “กฎหมาย” และ “กฎ” ในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีกระบวนการบัญญัติแตกต่างกัน เนื่องจากการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกัน แต่ชื่อของกฎหมายและกฎมีความพ้องหรือเหมือนกันอยู่บ้างแต่อยู่ในความหมายที่แตกต่างกัน ในส่วนของกฎหมายและกฎในปัจจุบัน จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใดขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้”สรุปผลการวิจัยพบว่า ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ เอกสารประกอบการสอน เรียกชื่อกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เช่น เรียกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ เป็นกฎหมายมหาชนบ้าง หรือเป็นกฎหมายรองบ้าง หรือเรียกกฎเป็นกฎหมาย หรือเป็นกฎหมายรอง หรือเป็นกฎหมายลูก ซึ่งชื่อกฎหมายดังกล่าวไม่เคยปรากฏในสารบบการบัญญัติกฎหมายของไทย กฎหมายและกฎของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีชื่อชัดเจนทุกฉบับ การเรียกชื่อกฎหมายไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/272586 Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น 2024-04-24T16:28:39+07:00 วรสิริ ธรรมประดิษฐ์ mathplus54@gmail.com <p>หนังสือเรื่อง Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น</p> <p>เขียนโดย Kan Sumita (คัน ซุมิตะ)</p> <p>แปลโดย ทินภาส ผาหะนิชย์</p> <p>สำนักพิมพ์ บิงโก Bingo</p> <p>ISBN: 978-616-810-920-5</p> <p>240 หน้า ราคา 235 บาท</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/266900 ครูดิจิทัลภายใต้สื่อใหม่และการเรียนรู้ เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ 2023-09-11T12:19:40+07:00 สุทิน โรจน์ประเสริฐ suthin999@gmail.com <p>การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของครูดิจิทัล เป็นครูที่อยู่ในช่วงของความเจริญของสื่อใหม่ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบนเครือข่ายไร้สายอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้สังคมเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาในวิถีชีวิตของมนุษยชาติมากขึ้น การออกแบบนวัตกรรมทางการเรียนรู้และเทคโนโลยีการจัดการศึกษา โดยมีแนวคิดสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนของครูให้สามารถสร้างประโยชน์ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบต่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ซึ่งปัจจุบันการใช้สื่อใหม่ในยุคสังคมออนไลน์บนเครือข่ายไร้สายที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญสามารถช่วยขับเคลื่อนสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึงได้รับอิทธิพลจากการใช้การสื่อสารเทคโนโลยี 5G ดังนั้น กระบวนการทำงานของครูดิจิทัลภายใต้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาตินั้น เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะหลัก ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการศึกษาให้กับครูดิจิทัลบนพื้นฐาน 3 ประการ คือ การบริหารจัดการเรียนรู้ นวัตกรรม และความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต การพัฒนา และการเติบโตของมนุษยชาติในเศรษฐกิจดิจิทัล และนวัตกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน และจะเป็นพลังที่แข็งแกร่งของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพของมนุษยชาติให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับเทคโนโลยีในอนาคต และความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการในการจัดการศึกษาด้านต่างๆ</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/267555 IMPROVEMENT GUIDELINES LAWS ON THE PRINCIPLE OF ALLOCATION OF INHERITANCE TO STATUTORY HEIRS OF THAILAND 2023-10-24T09:16:23+07:00 วีระพงศ์ เชาวลิต apisa8888@gmail.com นิวัติ วุฒิ vvvdewvvv@gmail.com สัมฤทธิ์ เกตุแย้ม sumlit_ketyam@hotmail.com ธัญลักษณ์ ทองกร me.thanya34@gmail.com ทวีป ศรีน่วม thwipk@gmail.com <p>ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย มิได้มีหลักการให้ความคุ้มครองการรับมรดกสำหรับทายาทโดยธรรม ในชั้นบุตร บิดามารดา และคู่สมรส หมายความว่า อาจถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมตามเสรีภาพในการทำนิติกรรมส่งผลให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตกไปเป็นของผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรม โดยทายาทของเจ้ามรดกไม่สามารถโต้แย้งใด ๆ เว้นแต่กรณีโต้แย้งว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย</p> <p>เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญกับสังคมในฐานะของการเป็นระบบที่มีส่วนต่าง ๆ ต้องทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดความสมดุล ในการทำหน้าที่ของสถาบันครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจาก หลักกฎหมายมรดกของต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี มีบทบัญญัติที่ถือเป็น หลักจำกัดเสรีภาพการทำนิติกรรมเรียกว่า “หลักการกันส่วนมรดกแก่ทายาทโดยธรรม”</p> <p>ในอนาคตประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย ควรมีการแก้ไขเพื่อเสริมสร้างมาตรการ โดยการกำหนด การจำกัดอำนาจในการทำนิติกรรม ในการยกทรัพย์สินของผู้ตายให้อยู่ขอบเขตที่เหมาะสม โดยการกันส่วนมรดกให้กับทายาทเพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองให้กับทายาทโดยธรรมในชั้นบุตร บิดามารดา และคู่สมรสที่อาจจะได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิต ให้มีหลักประกันความเป็นอยู่ในการดำรงชีพหากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)