วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal <p><strong>Focus and Scope</strong></p> <p>วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ โดยรับตีพิมพ์ทั้งบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับ</p> <ul> <li class="show"> <p>ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities)</p> </li> <li class="show"> <p>ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ และบัญชี (Business, Management and Accounting)</p> </li> <li class="show"> <p>ด้านสังคมศาสตร์(Social Sciences)</p> </li> </ul> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p>บทความทุกบทความผ่านการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (Double Blind)</p> <p> </p> <p><strong>Publication Charge</strong></p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความลงในวารสาร 3,500.- บาทต่อ 1 บทความ (เป็นไปตามประกาศฯของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก)</p> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency</strong></p> <p>กําหนดการเผยแพร่ : กําหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>Sources of Support</strong></p> <p>ประสานงานการผลิตและเผยแพร่ : กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก</p> <p>สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02-744 7356 - 65 ต่อ 186,187 e-mail : [email protected]</p> <p> </p> Southeast Bangkok University th-TH วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2408-2279 การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/264371 <p>การวิจัยเรื่องการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือครูและผู้บริหาร จำนวน 32 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน 4 คน และครู 1 คน รวมทั้งหมด 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียน มีการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ทุกด้านเสนอแนะทิศทางเดียวกันคือ ให้พัฒนาระบบให้มีความเสถียร เก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนให้ครบถ้วนมากกว่าเดิม ระบบบันทึกทุกกิจกรรมทั้งครูและนักเรียน จะทำให้การปฏิบัติต่าง ๆ รวดเร็ว และประหยัดงบประมาณด้านการใช้กระดาษพิมพ์ แต่ระบบสารสนเทศยังขาดความเสถียรในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของนักเรียนที่จะใช้เป็นข้อมูลในการส่งต่อ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดความเข้าใจและการใช้งานของระบบสารสนเทศ</p> กฤษณี กาบคำ ธีระภัทร ประสมสุข เสกชัย ชมภูนุช Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 1 18 ความรักและความจงรักภักดีของแฟนบอลสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/264963 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรักของแฟนบอลสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด ที่มีต่อ 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความคิด ปัจจัยด้านความหลงใหล ปัจจัยด้านการเชื่อมต่อสโมสรฯ ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจภายใน และปัจจัยด้านความผูกพันทางอารมณ์ ว่าปัจจัยใดที่มีอิทธิพลที่ก่อให้เกิดความจงรักภักดีของแฟนบอลสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด โดยการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แฟนบอลสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด จำนวน 389 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยได้ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.67 ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น โดยได้ค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมเท่ากับ 0.89 ซึ่งปัจจัยในแต่ละด้านมีความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.77-0.81 สถิติที่ใช้ใน</p> <p>การวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรักของแฟนบอลสโมสรฯ มากที่สุด ประกอบด้วยปัจจัยด้านสิ่งจูงใจภายใน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.008 ปัจจัยด้านความหลงใหล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 ปัจจัยด้านความผูกพันทางอารมณ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 และปัจจัยด้านการเชื่อมต่อสโมสรฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 ตามลำดับ โดยมีค่าการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 57.8 และความรักต่อสโมสรฯ มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของแฟนบอลสโมสรฯ ซึ่งมีค่าการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 40.3 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยจากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางให้กับสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เพื่อสามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาสโมสรฯให้มีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้น</p> ธนพล พานิชกุล ธนานนท์ สิทธิวงศ์ ธวัชชัย แย้มศิริ นัทธพงศ์ ศรีประภานุมาศ จารุพร ตั้งพัฒนกิจ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 19 32 ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อเพิ่มกำไรจากการลงทุน กรณีศึกษา จังหวัดบึงกาฬ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/265327 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางพารา และสร้างตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพาราที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้แนวความคิดสร้างตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกผลิตและขายยางพารา เพื่อให้เกษตรกรและเจ้าของสวนยางพาราใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เลือกผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ทำให้มีกำไรสูงสุด โดยเบื้องต้นเกษตรกรมี 2 ทางเลือกคือ ขายในรูปแบบยางเครพก้อนถ้วย หรือขายในรูปแบบน้ำยางสด งานวิจัยนี้นำเสนอห่วงโซ่อุปทานของยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูปยางพารา จากน้ำยางสดเป็นผลิตภัณฑ์ยางพารากลางน้ำ เช่น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ยางคอมพาวด์ ยางสกิมบล็อคและยางแท่ง เกษตรกรยังสามารถขยายขีดความสามารถในการแปรรูปยางพาราจากผลิตภัณฑ์กลางน้ำเป็นปลายน้ำได้อีกด้วย เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย หรือยางล้อรถยนต์ งานวิจัยใช้ข้อมูลราคาซื้อ-ขายยางพาราเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2558 - 2562) ปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ของจังหวัดบึงกาฬ จากพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 698,465 ไร่ กระจายปลูกใน 8อำเภอ สามารถผลิตยางพาราได้เฉลี่ยวันละ 8,000 ตัน รวมผลิตยางพารา 5 ปี 1.82 ล้านตัน โดยผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพารา เกษตรกรสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น 190.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 เมื่อวิเคราะห์ตามตำบล/อำเภอ หลังใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจทุกตำบลก็มีกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ตามกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันขายยางพารา หลังจากใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจ ทุกกลุ่มมีกำไรสูงขึ้น ฉะนั้นผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าตัวแบบการสร้างรายได้สูงสุดจากการเลือกผลิตและขายน้ำยางสดหรือยางก้อนถ้วย เป็นตัวแบบที่สามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรและเจ้าของสวนยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ</p> รวมพล จันทศาสตร์ ยุทธ์ ปลิ้มภิรมย์ ชวัลวิทย์ โตจิต อาภัสรา ไชนคาม ชนิตรา ขาวมีศรี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 33 47 การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จากการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/266064 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้บริหารและพนักงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยขนาดใหญ่ 3 แห่ง จำนวน 15 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน รวมทั้งสิ้น 18 ท่านและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์และอภิปรายผลการวิจัยด้วยวิธีการเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เพื่อตอบคำถามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย ประกอบด้วย ด้านการเรียนรู้ ด้านองค์การ ด้านคน ด้านความรู้ ด้านเทคโนโลยี 2) องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธนาคารในประเทศไทย ประกอบด้วย ด้านประสบการณ์ลูกค้า ด้านการแปลงผลิตภัณฑ์และการบริการดิจิทัล ด้านการดำเนินการที่เป็นดิจิทัล ด้านการเป็นองค์กรดิจิทัล 3) รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจธนาคารในประเทศไทย ประกอบด้วย ด้านการใช้บริการของลูกค้า ด้านการปรับโครงสร้างการให้บริการที่สาขาของธนาคาร และด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์</p> ทองน้ำ วรมหัทธนกุล กานต์จิรา ลิมศิริธง บุรินทร์ สันติสาส์น Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 48 62 การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบทีมแข่งขันเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/267542 <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบทีมแข่งขันเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน และ 3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบทีมแข่งขัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู รวม 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกต่อบริบทของการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อบริบทของการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ แบบทดสอบพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาบริบทของการจัดการเรียนรู้จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า การจัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศของโรงเรียนวัดช่างเคี่ยนเอื้อต่อบริบทของนักเรียนและบริบทของโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบทีมแข่งขันที่ได้รับการพัฒนามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบทีมแข่งขันมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ศศิธร จันทร์สุข เกียรติชัย สายตาคำ ดุษฎี รังษีชัชวาล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 63 78 คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย เครือข่ายธุรกิจกรุงเทพ (คก.) 8 ในกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/267875 <p class="ctl" align="justify">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย เครือข่ายธุรกิจกรุงเทพ (คก.) 8 ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย เครือข่ายธุรกิจกรุงเทพ (คก.) 8 ในกรุงเทพมหานคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานธนาคารกสิกรไทย เครือข่ายธุรกิจกรุงเทพ (คก.) 8 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 29 ปี สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นเจ้าหน้าที่ให้บริการลูกค้า เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา เจ้าหน้าที่สนับสนุนธุรกิจและบริการ ส่วนความคิดเห็นคุณภาพชีวิตในการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการมีสิทธิของพนักงาน ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล และด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ผลการทดสอบสมมติฐาน พนักงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา อายุงาน และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานในธนาคารกสิกรไทยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> นิตยา ทวีศักดิ์วิชิตชัย สิทธิชัย ฝรั่งทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 79 91 การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/268080 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนรังษีวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับวิธี Student Teams Achievement Divisions (STAD) เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/4 โรงเรียนรังษีวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อบริบทของการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกต่อบริบทของการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าที การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาบริบทจากการสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา และจากความคิดเห็นพบว่า มีความเหมาะสมระดับมาก 2) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถการอ่าน พบว่ามีค่าสูงขึ้นหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิค STAD อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> พรพิมล นามา เกียรติชัย สายตาคำ ดุษฎี รังษีชัชวาล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 92 107 การสังเคราะห์วรรณกรรม : การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/264627 <p>บทความการสังเคราะห์วรรณกรรม : การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวส่งผลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อไปสู่การพัฒนามิติของการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวส่งผลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ดังที่อุตสาหกรรมคาดหวังไว้โดยอาศัย 2 ทฤษฎีหลัก คือ 1) ทฤษฎีฐานทรัพยากรของกิจการ 2) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ บทความนี้นำเสนอการสังเคราะห์กรอบแนวคิดทางการวิจัยที่บูรณาการเป็นตัวแปรอิสระของการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวส่งผลต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มีกระบวนการสร้างการจัดการโลจิสติกส์สีเขียว ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา 2 มิติ คือ มิติด้านความเป็นผู้ประกอบการ และมิติด้านกลยุทธ์องค์กร สุดท้ายบทความนี้ได้นำเสนอประโยชน์ทางด้านทฤษฎีและด้านนโยบายและการจัดการ รวมทั้งข้อจำกัดต่างๆ เพื่อต่อยอดงานวิจัยเชิงประจักษ์เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการต่อไปในอนาคต</p> สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์ วิศวะ อุนยะวงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 108 121 การบริหารเครือข่ายสถานศึกษาไทยโดยใช้แนวคิดการบริหารแบบคล่องตัว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/265967 <p>การบริหารเครือข่ายสถานศึกษาไทยอาจเผชิญกับความท้าทาย เช่น การขาดการสื่อสาร การประสานงาน และการสร้างวัตถุประสงค์ร่วมกันในเครือข่าย วิธีการจัดการแบบดั้งเดิมอาจไม่สามารถตามทันกับภูมิทัศน์ทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียน การนำเอาการบริหารงานแบบคล่องตัวมาใช้จะทำให้การบริหารการศึกษาของเครือข่ายสถาบันการศึกษาไทย สามารถช่วยตอบสนอง เพิ่มความยืดหยุ่น และสามารถช่วยปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทางสังคมและการศึกษาของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น การบริหารงานแบบคล่องตัว สามารถช่วยให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างสถานศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกันผ่านการสื่อสารที่สร้างการมีส่วนร่วม และเป็นเอกภาพมากขึ้นในการจัดการเครือข่ายสถานศึกษา การบริหารเครือข่ายสถานศึกษาไทยสามารถสร้างการพัฒนาในหลายรูปแบบ เช่น การทำงานร่วมกันและการสื่อสารระหว่างสถานศึกษาต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น การสร้างมาตรฐานในหลักสูตร วิธีการสอน การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถสร้างสภาพแวดล้อม ทางการศึกษา ที่สร้างสรรค์ และมีพลวัตมากขึ้น ซึ่งพร้อมตอบสนองความต้องการของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ดียิ่งขึ้น</p> สมชาย เทศปลื้ม สุดาสวรรค์ งามมงคลวงศ์ พรพรรณ วีระปรียากูร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 122 138 พูดให้ง่ายๆ คือไม้ตายของคนเก่ง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/268663 <p>หนังสือเรื่อง พูดให้ง่าย ๆ คือไม้ตายของคนเก่ง</p> <p>เขียนโดย Park So Yeon (ปาร์คโซยอน)</p> <p>แปลโดย อาสยา อภิชนางกูร</p> <p>สำนักพิมพ์อมรินทร์ How To พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2566</p> <p>392 หน้า ราคา 395 บาท</p> <p>ISBN: 978-616-185-894-0</p> วรสิริ ธรรมประดิษฐ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2023-12-19 2023-12-19 9 2 139 144