วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal <p><strong>Focus and Scope</strong></p> <p>วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ ทั้งบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวกับ</p> <ul> <li class="show">ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts and Humanities)</li> <li class="show">ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ และบัญชี (Business, Management and Accounting)</li> <li class="show">ด้านสังคมศาสตร์(Social Sciences)</li> </ul> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p>บทความทุกบทความผ่านการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (Double Blind)</p> <p> </p> <p><strong>Publication Charge</strong></p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความลงในวารสาร 4,000 บาทต่อ 1 บทความ (เป็นไปตามประกาศฯของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก) <a href="https://drive.google.com/file/d/1T_EOy639a6QPl_-1q6QVTXmnjmnzr4kt/view?usp=drive_link">Click</a></p> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency</strong></p> <p>กําหนดการเผยแพร่ : กําหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>Sources of Support</strong></p> <p>ประสานงานการผลิตและเผยแพร่ : กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก</p> <p>สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02-744 7356 - 65 ต่อ 186,187 e-mail : sbjournal@southeast.ac.th</p> <p> </p> th-TH yuwatisit@gmail.com (ศาสตราจารย์ พลเรือตรีหญิง ยุวดี เปรมวิชัย) sbjournal@southeast.ac.th (ขวัญชนก อาสาธะนา) Wed, 18 Dec 2024 10:56:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/276517 วรสิริ ธรรมประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/276517 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ ของผู้บริโภค Generation Y ในจังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270801 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภค Generation Y ในจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาปัจจัยการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภค Generation Y ในจังหวัดชลบุรีและ 3) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภค Generation Y ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่ม Generation Y ในชลบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการผ่านทางออนไลน์โดยแจกแบบสอบถามด้วยตนเองด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านทัศนคติทั้งด้านความรู้ความเข้าใจด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม รวมทั้งปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 <br />ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางให้กับร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าไพรเวทแบรนด์ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> อริสรา บุญมานำ, อาทิตย์ ตั้งเจริญศิริ, ธัญวรัตม์ คำนึงเป็น, พราน นามตาปี, นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270801 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการวัดมูลค่าหุ้นของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/273226 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการวัดมูลค่าหุ้นของบริษัท ด้านอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ และด้านอัตราส่วนราคาตลาดต่อยอดขายของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลงบการเงินรูปแบบทุติยภูมิจาก SETSMART ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2565 จำนวน 75 บริษัท <br />โดยพิจารณาผลการดำเนินงานจาก อัตราส่วนผลตอบแทนสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) อัตราส่วนเงินสดต่อกำไร <br />(Cash Flow from Operating : CFO) และกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (Earnings before Interest, Tax, Depreciation, and Amortization : EBITDA) โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่าคืออัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ อัตราส่วนราคาตลาดต่อยอดขาย และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา <br />การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุ โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์กับการวัดมูลค่าหุ้น การวัดมูลค่าหุ้น<br />ของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 ได้แก่ อัตราส่วนผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) มีความสัมพันธ์กับการวัดมูลค่าหุ้นด้านราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) มีความสัมพันธ์กับการวัดมูลค่าหุ้นด้านราคาตลาดต่อยอดขายและด้านราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) มีความสัมพันธ์กับการวัดมูลค่าหุ้นด้านราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี</p> อัจฉราพรรณ ศรีสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/273226 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270987 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารตำราวิชาการและการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เพื่อระงับข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในศาลยุติธรรมและศาลอื่น <br />2) ระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ.2562 แตกต่างจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสเรื่องการกำหนดผู้ไกล่เกลี่ยเป็นบุคคลภายนอกมิได้จำกัดเฉพาะตุลาการในศาลปกครอง 3) พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับคดีที่ศาลปกครองสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ไม่ครอบคลุมถึงคดีปกครองทุกประเภทคือไม่รวมคดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎคำสั่งห้ามการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 4) รูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองสามารถใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเพื่อยุติข้อพิพาทและมีผลทางกฎหมาย</p> รุจินันท์ วาธีวัฒนารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/270987 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/273633 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพและอิทธิพลของการให้บริการรถไฟฟ้าและคุณภาพของระบบรถไฟฟ้าที่มีต่อต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค ประชากรในการวิจัย เป็นผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนเชื่อมขยายทั้ง 3 สาย ประกอบด้วย 1) สายแบริ่ง-สมุทรปราการ 2) สายสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า และ 3) สายหมอชิต -สะพานใหม่-คูคต มีทั้งหมด 23 สถานี โดยเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าตามความสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.964 โดยใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค (Y) ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (X<sub>1</sub>) ด้านความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายระบบรางรถไฟฟ้าส่วนเชื่อมขยาย (X<sub>6</sub>) และด้านความน่าเชื่อถือ (X<sub>2</sub>) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.222, 0.299 และ 0.270 ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.524 สามารถทำนายต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภคได้ ร้อยละ 52.4 โดยผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณสามารถนำไปสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p>สมการในรูปแบบคะแนนดิบ</p> <p><em>Y</em>= 0.488 + 0.256(X<sub>1</sub>) + 0.295(X<sub>2</sub>) + 0.256(X<sub>6</sub>)</p> <p>สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน</p> <p><em>Z<sup>^</sup> </em>= 0.222(Z<sub>1</sub>) + 0.299(Z<sub>2</sub>) + 0.270(Z<sub>6</sub>)</p> <p> </p> <p> </p> ธนิตศักดิ์ พุฒิพัฒน์โฆษิต, รวมพล จันทศาสตร์, รวมพร ทองรัศมี โอเนส, อภิชิต เสมศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/273633 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การใช้การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274077 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลัง โดยการใช้การเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test Dependent) โดยใช้ t-test One Sample ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu" alt="equation" /> = 4.13, <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma" alt="equation" /> = 0.72).</p> อาทิตยา แสงหล้า, ดุษฎี รังษีชัชวาล, เกียรติชัย สายตาคำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274077 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 กรอบแนวคิด TOE ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/271620 <p>สารสนเทศบริหารงานบุคคล และศึกษาการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 266 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพนุคูณ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นการศึกษาปัจจัยการใช้งานตามกรอบแนวคิด TOE (Technology Organization Environment Framework) ที่มีต่อการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย การเข้ากันได้ การรับรู้ถึงประโยชน์ ปัจจัยด้านองค์กร ประกอบด้วย การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง แนวปฎิบัติขององค์กร ความสามารถทางการเงิน ความไว้วางใจต่อพนักงาน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ การยอมรับและการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านองค์กร มีความสัมพันธ์ กับการรับรู้ถึงประโยชน์และรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานระบบ และการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย และปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านองค์กรสามารถร่วมกันอธิบาย หรือทำนายตัวแปรตามได้ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีผลต่อการอธิบายหรือทำนายตัวแปรตามได้ สามารถนำมาเขียนสมการถดถอยได้ดังนี้</p> <p> Y<sup>^</sup> = 0.474 X<sub>1</sub> + 0.169 X<sub>2</sub></p> ธวัชชัย บุตรดี, นุชรัตน์ นุชประยูร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/271620 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชน กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274168 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนเพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียในการส่งเสริมการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 400 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และนำไปเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียในการเสริมสร้าง การรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญา ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการรับรู้เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการกระทำความผิดอาญา ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา และด้านการจับกุมเด็กหรือเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 3.12 ด้านการสอบสวน มีค่าเฉลี่ย 3.10 ด้านการควบคุมเด็กหรือเยาวชนหลังการตรวจสอบการจับกุม มีค่าเฉลี่ย 3.06 ด้านการฟ้อง มีค่าเฉลี่ย 2.97 และการตรวจสอบการจับ มีค่าเฉลี่ย 2.93 และ 2) สร้างสื่อมัลติมีเดียในการส่งเสริมการรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยเน้นการให้ความรู้ในเรื่องเงื่อนไขในการได้รับการคุ้มครองเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้ ผลการส่งเสริมการรับรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย พบว่ามีการรับรู้ คือ ด้านการกระทำความผิดอาญา ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา มีค่าเฉลี่ย 4.56 ด้านการตรวจสอบการจับ มีเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ด้านการควบคุมเด็กหรือเยาวชนหลังการตรวจสอบการจับกุม มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการจับกุมเด็กหรือเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 4.49 ด้านการฟ้อง มีค่าเฉลี่ย 4.24 และด้านการสอบสวน มีค่าเฉลี่ย 4.15 การวิจัยในครั้งนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย</p> พรรณรัตน์ โสธรประภากร, ชินะกานต์ แสงอำนาจ, อุดมลักษณ์ ระพีแสง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274168 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2564 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274799 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2564 และเพื่อเปรียบเทียบผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบการติดตามและประเมินผลโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่า ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนโครงการจำนวน 62 โครงการ ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 61 โครงการ ปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนโครงการ 53 โครงการ ปีที่มีโครงการผ่านเกณฑ์มากที่สุดคือปีพ.ศ. 2562 จำนวน 58 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 94 ส่วนปีที่มีจำนวนโครงการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดมากที่สุดคือปี พ.ศ. 2563 จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 11 จากจำนวนโครงการทั้งหมด การเปรียบเทียบจำนวนและร้อยละผลการติดตามและประเมินผลตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด จำแนกตามปี ปีพ.ศ. 2564 มีจำนวนร้อยละโครงการที่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 94.34</p> อิทธิดล สงฆรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/274799 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/275893 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 250 คน โดยการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับหลักการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ซึ่งขนาดของตัวอย่างควรมีจำนวนมากกว่าตัวแปรอย่างน้อย 200 ตัวอย่างขึ้นไป และคำนวณด้วยการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีไลค์ลิฮูดสูงสุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธ์ความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.790 การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วยค่าร้อยละ (Percentage) การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ คือ ความไว้วางใจ (Trust) โดยส่งผลต่อการยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (Adoption Intention of Inclusive Design) ได้ร้อยละ 69% โดยปัจจัยความไว้วางใจมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐานที่ 0.658 ปัจจัยทางอ้อมที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ปัจจัยด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Physical Environment Design) และ ปัจจัยด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological)</p> อสิกานต์ เฮงตระกูล, ชัยวัฒน์ อุตตมากร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/275893 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/272292 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน สถิติที่ใช้ในการสมมติฐาน ได้แก่ วิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling; SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับการยอมรับเทคโนโลยี 2) พฤติกรรมการเดินทางมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับการยอมรับเทคโนโลยี 3) การส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับการยอมรับเทคโนโลยี 4) การยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับความตั้งใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการด้านการรับรู้เทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อที่ภาคอุตสาหกรรมหรือภาครัฐนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมั่นคงและสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรต่อไป </p> สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, ปิยมาส กล้าแข็ง, อนุช นามภิญโญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/272292 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700