ปัจจัยด้านการบริหารงานขายที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขาย ของบริษัทในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: กรณีศึกษา: ซุปเปอร์คลัสเตอร์ของจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • สุปราณี วรรณรุณ มหาวิทยาลัยอีสเทริน์เอเชีย

คำสำคัญ:

ผลการดำเนินงานด้านงานขาย, องค์กรภาคอุตสาหกรรม, พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, กลุ่มซุปเปอร์คลัสเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่เป็นปัจจัยด้านการบริหารงานขายที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขายของบริษัทในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคของ 3 กลุ่มซุปเปอร์คลัสเตอร์ของจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างพนักงานขายของแต่ละองค์กรแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) จำนวน 415 คน จากองค์กรภาคอุตสาหกรรมใน 3 กลุ่มที่เป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ของจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าไค-สแควร์สำหรับการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขายของบริษัทในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกใน 3 กลุ่มซุปเปอร์คลัสเตอร์ของจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา  ในด้านความสัมพันธ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านงานขาย  ด้านการบริหารจัดการ ด้านกลยุทธ์ ด้านทัศนคติในงาน และมีตัวแปรที่เป็นผลลัพธ์ที่ได้รับความสำเร็จ ได้แก่ ผลการบริหารด้านงานขายโดยรวม ซึ่งจะประกอบไปด้วยด้านความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานขายและการตลาด รูปแบบและระดับของพนักงานขาย ความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือ ความเต็มใจในการให้ความร่วมมือ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และคุณภาพของการสื่อสาร สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยเชิงสาเหตุในการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านงานขายขององค์กรภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแบบสุดท้ายหลังปรับโมเดลมีค่าสถิติ ดังนี้ ค่า p-value = 0.436, Chi-Square/ Degree of Freedom (CMIN/DF) = 1.018, GFI = 0.981, NFI = 0.944, RFI = 0.870, IFI = 0.999, TLI = 0.997, CFI  = 0.999, AGFI  = 0.952,  RMSEA = 0.007, RMR = 0.016

References

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.
(2560, 17 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 (ตอนพิเศษ 19 ง), หน้า 30-36.
ฉวีวรรณ ชูสนุก, รพีพรรณ ไตรแสงรุจิระ และอัมพล ชูสนุก. (2560). อิทธิพลของความสัมพันธ์กับ พนักงานขายและคุณภาพการให้บริการต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าที่ซื้อ สินค้าไบโอบับ ของบริษัทยูไนเต็ดดิจิตอลคอร์ปอเรชั่น จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), หน้า 91-103.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2557). การเพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสารข้ามฝ่ายในทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(3), หน้า 136-149.
พรพรรณ อิสรางกูร ณ อยุธยา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของพนักงานขายในประเทศ กรณีศึกษา บริษัทตรีอรรถบูรณ์ อุตสาหกรรม จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2558). อนาคตก้าวไกลด้วยคลัสเตอร์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก: http://chonburi.boi.go.th/public/upload/center_4/file/BOI-brochure-cluster%20area-TH- 20151116.pdf [2560, 1 มิถุนายน].
Brown, T. A. (2006). Confirmatory factor analysis for applied research. New York, NY: Guilford.
Storbacka, Kaj, Polsa, Pia, & Sääksjärvi, Maria. (2011). Management practices in solution sales: A multilevel and cross-functional framework. Journal of Personal Selling & Sales Management, 31(1), pp. 37-58.
Peterson, Robert M., Gordon, Geoffrey, & Palghat, Vijaykumar Krishnan. (2015). When sales and
marketing align: Impact on performance. Journal of Selling, 15(1), pp. 29-43.
Roscoe, John T. (1975). Fundamental research statistics for the behavioral sciences. New York, NY:
Holt Rinehart and Winston.
Ryan, Sharon, & O'Connor, Rory. (2012). Social interaction, team tacit knowledge and trans active
memory: Empirical support for the agile approach (Online). Available:
http://doras.dcu.ie/17609/1/FinalPaper.pdf [2017, June 1].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-31