ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม, กลุ่ม อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ จำนวน 140 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายแบบจับสลากไม่คืนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI .80 ขึ้นไป วิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบสอบถามความรู้ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสม และนโยบายของหน่วยงาน ด้วยสูตร KR-20 ได้ค่า .61, .56 และ .55 ตามลำดับ แบบสอบถามทัศนคติความปลอดภัยในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า .80, .78 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

            ปัจจัยนำ ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ต่อวัน และระยะเวลาการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสม และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับชมเชย/คำเตือนจากผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้ร้อยละ 36.80ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานจะต้องสนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้บุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ทั้งต่อวันและต่อสัปดาห์ ตลอดจนให้ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานชมเชยหรือตักเตือน จะทำให้บุคลากรมีพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมที่ดี

References

กัญญ์ฐพิมพ์ บำรุงวงค์, สุรินธร กลำพากร และแอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานแพทย์แผนไทย. วารสาร
พยาบาลสาธารณสุข, 29(1), หน้า 15-28.
จามรี สอนบุตร, พิชญา พรรคทองสุข และสุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์. (2552). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อ ความล้าของตาในผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 27(2), หน้า 91-104.
ณัชชา เจริญรุ่งเรือง. (2551). พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานในโรงงานผลิตเม็ด พลาสติกแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา อนามัยสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฏฐ์สิณี สุขสมัย และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่
ทำงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(3), หน้า 80-93.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการรับรู้ความเสี่ยง อันตรายที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสาย สนับสนุน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), หน้า 30-44.
ธยา ภิรมย์ และพันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร. (2555). ความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานของพนักงานเย็บใน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 (หน้า 608-614). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของ พนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุษป์รัตน์ การะโชติ. (2559). โรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม. จดหมายข่าวองค์การเภสัชกรรม, 23(1), หน้า 17-18.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). การมี การใช้คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html [2560, 22 ตุลาคม].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม (ออนไลน์). เข้าถึง
ได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/27946­%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%
84%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8% [2560, 15 ตุลาคม].
สุวรรณดา สงธนู, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์ และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2558). การรับรู้ความเสี่ยงและ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทํางานของบุคลากรแผนกซักฟอกโรงพยาบาล ชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(3), หน้า 187-194.
อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการ ทำงานและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(1), หน้า 53-66.
Geller, E. S. (2000). The psychology of safety handbook (2nd ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecologicall approach (4th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30